เชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (CMV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่ปกติทั่วไปแต่ไม่ได้รับการรู้จักทั้งจากคนทั่วไปหรือพ่อแม่มากมายนัก เพราะโดยปกติจะพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยถ่ายไขกระดูก รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ หากเกิดจากการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ในระหว่างที่ตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กในครรภ์ได้ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อแต่กำเนิดในทารกได้ (Congenital CMV infection)
โดยอัตราติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) นั้นเกิดขึ้นสูงกว่าถึง 20 เท่าของโรคท็อกโซพลาสโมซิส(โรคไข้ขี้แมว)ที่เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลทางการแพทย์ในช่วงเวลาตั้งครรภ์
เชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) คือ เชื้อไวรัสที่อยู่ในจำพวกตระกูลเริม ไวรัสส่วนใหญ่ที่ติดต่อผ่านทางเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายผ่านทางสารคัดหลั่งที่ขับออกจากร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะ โดยปกติเชื้อไวรัสพวกนี้ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย
ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจากโรคเรื้อรัง หรือจากการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ยาเป็นประจำก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติที่ทั่วไปที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV)
อาการโดยปกติอาจพบ การอักเสบของระบบทางเดินอาหาร เช่นมีการกลืนเจ็บ กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระเหลวร่วมกับอาการไข้ ปอดอักเสบ เป็นต้น
ผลกของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นมักมีอาการไม่รุนแรง
ทารกในครรภ์ที่ติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) มีความเสี่ยงที่จะมีอาการต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิด เช่น น้ำหนักตัวน้อยจากการคลอดก่อนกำหนด ตัวเหลือ ตับม้ามโต และระหว่างการเจริญเติบโต รวมถึงอาจเกิดความพิการทางสมอง ศีรษะเล็ก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียก ดูดนมได้ไม่ดี รวมไปถึง ปัญหาทางการได้ยิน หรือแม้กระทั่งอาการหูหนวกได้
เมื่อทารกเกิดมาพร้อมกับเชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะเรียกว่า การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิด โดยที่ทารกบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่ทารกบางคนอาจแสดงอาการออกมาในภายหลังช่วงระหว่างการเจริญเติบโต
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐหรือ CDC ได้ออกมาประกาศในเดือนพฤษภาคม 2022 ว่า การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) เป็นการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดที่พบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยทารก 1 ใน 200 คนนั้นจะเกิดมาพร้อมกับเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิด และ 1 ใน 5 ของทารกที่มีเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิดจะมีอาการหรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว เช่น การสูญเสียการได้ยิน
เชื้อซีเอ็มวี (CMV) สามารถแพร่กระจายได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้
สถานการณ์บางอย่างที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV)
การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) มักจะไม่แสดงอาการหรือผลกระทบใด ๆ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และนอกจากทารกในครรภ์แล้ว การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
การตรวจหาการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการของการติดเชื้อไวรัสนี้มักจะคล้ายกับโรคไข้หวัด ร่วมกับอาการคลื่นไส้ ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในระหว่างการตั้งครรภ์
เชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจเลือดที่จะมีการตรวจหาแอนติบอดี2 ประเภท ได้แก่
หากการตรวจเลือดก่อนการตั้งครรภ์ตรวจพบแอนติบอดีIgG อาจหมายความว่าร่างกายมีแอนติบอดีเพียงพอที่จะป้องกันทั้งแม่และลูกในครรภ์ในระหว่างการตั้งครรภ์
หากการตรวจเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่พบแอนติบอดีIgM หรือ IgG นานถึง 12 สัปดาห์โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นผลที่น่าเชื่อถือ
ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็มีการรักษาที่ช่วยลดความรุนแรงของอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อไวรัสซีเอ็มวี(CMV)
โดยสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำและการจัดการกับอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อย่างเหมาะสม
เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะสามารถให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการรักษาและอาการแทรกซ้อนได้
จากการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) สำหรับมารดาหรือผู้ที่กำลังจะวางแผนการตั้งครรภ์คือภายในสองเดือนก่อนการตั้งครรภ์และตลอดสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์
ในช่วงเวลานี้เราจึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดการสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายของเด็ก ดังนี้
เราเข้าใจดีว่าคำแนะนำเหล่านี้อาจจะฟังดูยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองของเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม
นี่ก็เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้นจนกว่าช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะหมดไป
Methinee Chinmetheephithak
ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทความทางการแพทย์ Luma’s Medical Team
“ฉันเคยติดเชื้อซีเอ็มวี ตอนที่อยู่ประเทศจีน แต่ยังโชคดีที่ตอนนั้นฉันไม่ได้ท้อง ฉันคิดว่าน่าจะติดจากลูกชายฉัน เพราะตอนนั้นเขาอายุแค่ 4 ขวบ และเด็กๆเป็นกันเยอะ จริงๆตอนแรก ฉันไม่เคยคิดว่าตัวเองจะติดเชื้อ ซีเอ็มวี ไม่เคยนึกถึงโรคนี้เลย รวมถึงแพทย์หลายๆท่านที่ประเทศจีน ตอนนั้นไม่มีใครคิดจะตรวจหาเชื้อซีเอ็มวี
หลังจากตรวจแล้วตรวจอีก ทุกอย่างปกติดี ยกเว้นการทำงานของตับ พอดีฉันรู้จักกับแพทย์ท่านหนึ่งที่เป็นคนฝรั่งเศษด้วยกันเขาแนะนำให้ลองตรวจหาเชื้อซีเอ็มวี เพราะได้ข่าวมาว่า มีเด็กและผู้ปกครอง ที่โรงเรียนฝรั่งเศษที่จีน ติดเชื้อนี้ ฉันก็เลยลองตรวจดู
ตรวจครั้งแรก ไม่เจออะไร เลยลองดูไปก่อน อีก 2 สัปดาห์กลับมาตรวจอีกครั้ง เจอเชื้อซีเอ็มวีค่ะ
พอรู้ตัวว่าติดเชื้อซีเอ็มวี ตกใจมากค่ะ แต่คุณหมอไม่ได้ให้ทานยาอะไร อธิบายว่าเชื้อมันจะหายเองและ ให้ปรับการกินค่ะ ฉันเลยปรับการใช้ชีวิต การเลือกกิน ไม่กินไขมัน น้ำมัน ของทอด งดเนื้อสัตว์ กินแต่พักนึ่งกับข้าว เป็นเวลาหนึ่งเดือน
พอครบหนึ่งเดือน ฉันกลับไปตรวจกับคุณหมออีกครั้ง เชื้อหายหมดแล้ว การทำงานของตับปกติดี คุณหมอยังตกใจในผลที่ออกมา เพราะใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งเดือน และปรับการกิน ทำให้หายสนิท คุณหมอเองยังพูดเลย ว่าไม่เคยเจอคนไข้หายเร็วขนาดนี้!”
Fred, ทีมผู้บริหาร