เด็กที่เคยมีประวัติติดเชื้อไวรัส Respiratory Syncytial Virus (RSV) มาก่อน ประกันสุขภาพอาจไม่คุ้มครองโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับโรค RSV เพราะต่อให้หายแล้ว เด็กยังมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเข้ารับการรักษาที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ อาจจะมีภาวะแทรกซ้อน และค่าใช้จ่ายในการรักษาค่อนข้างสูง แต่ละบริษัทมีเงื่อนไขในการรับประกันที่แตกต่างกันออกไป และอาจจะยกเว้นทั้งหมดที่เกี่ยวกับ RSV หรือ ยกเว้นเป็นช่วงระยะเวลา เช่น 2 ปี ถึง 5 ปี และสามารถกลับมาพิจรณาใหม่อีกครั้ง
แม้เป้าหมายของประกันสุขภาพคือการสร้างความมั่นคงทางการเงินเมื่อเกิดเจ็บป่วย แต่ก็มีความซับซ้อนยิ่งขึ้นในกรณีที่บุคคลนั้นเคยติดเชื้อ RSV ซึ่งอาจประสบปัญหาไม่ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมอย่างที่ต้องการจากประกันสุขภาพ บทความนี้จะเจาะลึกถึงสาเหตุต่างๆ เบื้องหลังว่าทำไมประกันสุขภาพอาจไม่คุ้มครองบุคคลที่เคยติดเชื้อ RSV รวมถึงแนวทางที่เป็นไปได้เพื่อแก้ไขปัญหานี้
ถ้าลูกเคยติดเชื้อ RSV สามารถทำประกันเด็กได้หรือไม่?
LUMA ในฐานะผู้ให้บริการด้านประกันสุขภาพ พบว่าบริษัทประกันภัยมักปฏิเสธใบสมัครขอทำประกัน หากผู้สมัครซึ่งเป็นเด็กเพิ่งหายจากการติดเชื้อ RSV การตัดสินใจปฏิเสธใบสมัครของบริษัทประกันนี้ มักมีสาเหตุจากภาวะหรืออาการที่ซับซ้อนหลายประการซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับผลกระทบของเชื้อ RSV ที่มีต่อระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่เพิ่งหายป่วยจากการติดเชื้อ RSV ระบบภูมิคุ้มกันอาจยังอยู่ในสภาวะที่อ่อนแอ ทำให้เจ็บป่วยและมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจได้ง่าย ผู้ให้บริการประกันภัยจึงตัดสินใจที่จะไม่ให้ความคุ้มครอง เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงกว่า
แม้ว่าผู้ให้บริการประกันสุขภาพบางแห่งจะพิจารณาให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่เพิ่งหายจากการติดเชื้อ RSV แต่สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ ประกันมักระบุข้อยกเว้นความคุ้มครองเฉพาะเจาะจงไว้ในกรมธรรม์ด้วยเช่นกัน ซึ่งโดยทั่วไปข้อยกเว้นเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ นั่นหมายถึง อาการ ความเจ็บป่วย หรือภาวะผิดปกติใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ ประกันอาจไม่ครอบคลุม
ต่อไปนี้คือรายชื่อโรคและภาวะผิดปกติในระบบทางเดินหายใจที่โดยทั่วไปมักไม่รวมอยู่ในความคุ้มครอง:
- โรคหอบหืด (Asthma)
- โรคหวัด (Acute Rhinopharyngitis)
- ไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
- โรคคออักเสบเฉียบพลัน (Acute Pharyngitis)
- หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน (Acute Bronchitis)
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease – COPD)
- โรคปอดอักเสบ ปอดบวม (Pneumonia)
- วัณโรค (Tuberculosis)
- โรคซิสติกไฟโปรซิส (Cystic Fibrosis)
- ภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pleural Effusion)
แม้จะมีข้อยกเว้นเหล่านี้ แต่ก็เป็นที่น่าสนใจว่าบริษัทประกันบางแห่งเปิดโอกาสให้มีการพิจารณายกเลิกข้อยกเว้นความคุ้มครอง ซึ่งมักจะมีระยะเวลาตั้งแต่ 2 ถึง 5 ปีหลังติดเชื้อ RSV ขั้นวิกฤติ ในระหว่างนี้ หากพบว่าบุคคลนั้นมีสุขภาพดีและไม่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ สามารถขอลบข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับอาการทางระบบทางเดินหายใจได้ กระบวนการนี้ช่วยให้สามารถประเมินสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคลได้อีกครั้ง และอาจนำไปสู่กรมธรรม์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้นได้ในอนาคต
สรุป
RSV คือโรคติดเชื้อที่มักระบาดในหมู่เด็กเล็ก ซึ่งนำไปสู่คำถามที่ว่า หากเคยเป็นโรคนี้มาก่อน จะทำประกันได้ไหม หรือประกันจะคุ้มครองหรือไม่ หากคุณเคยติดเชื้อ RSV คุณยังคงสามารถทำประกันได้ แต่อาจมีข้อยกเว้นที่เกี่ยวข้องกับโรคหรือภาวะผิดปกติที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งประกันไม่คุ้มครอง อย่างไรก็ตาม ข้อยกเว้นเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากไม่มีปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจในระหว่างนี้ สามารถพิจารณายกเลิกข้อยกเว้นความคุ้มครองเหล่านี้ได้
ดังนั้นเราจึงควรทำประกันสุขภาพตั้งแต่อายุยังและยังมีสุขภาพดี หรือทำประกันให้ลูกตั้งแต่ก่อนที่ลูกจะคลอด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดและหลีกเลี่ยงข้อยกเว้นความคุ้มครองที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เพื่อจะได้มั่นใจว่าจะได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุม
LUMA ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพเด็ก สามารถจัดหาแผนประกันที่เหมาะกับทุกครอบครัว ไม่ว่าคุณจะอยู่ในขั้นตอนไหนของการวางแผนครอบครัว LUMA ก็สามารถนำเสนอประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ตวามต้องการทั้งหมดได้ ติดต่อ LUMA เพื่อรับคำปรึกษาและวางแผนการประกันสุขภาพเด็กสำหรับคุณและคนที่คุณรักได้แล้ววันนี้