RSV คืออะไร? อาการ และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้!

RSVคือ

เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่ฤดูฝนของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ จำเป็นต้องเฝ้าระวังโรคต่างๆที่แพร่กระจายได้ง่ายด้วยสภาพอากาศ นอกจากโรคไข้หวัดใหญ่แล้ว อีกโรคฮิตในวัยเด็กก็คือ โรค RSV ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังคอยดูแลลูกอย่างใกล้ชิด เพื่อสังเกตสัญญาณและอาการของไวรัส RSV

มีรายงานผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อ RSV จำนวนมากที่เข้ารับการรักษาในห้องไอซียูทั่วประเทศไทย โรคไวรัสในฤดูฝนและฤดูหนาวที่พบบ่อยนี้มักไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง แต่สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายสำหรับเด็ก RSV เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของความผิดปกติของทางเดินหายใจในวัยเด็กเล็ก และติดเชื้อในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบเกือบทุกคน ปกติแล้วอาการมักจะไม่รุนแรง แต่ก็มีกรณีที่อาการรุนแรงและถึงแก่ชีวิตในเด็กที่มีปัจจัยเสี่ยง (โรคปอดหรือหัวใจพิการแต่กำเนิด ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และทารกเกิดก่อนกำหนด) หลอดลมฝอยอักเสบจากเชื้อ RSV ยังสามารถนำไปสู่ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหอบหืดในวัยเด็ก

RSV มีอาการอย่างไร?

อาการของ RSV ที่พ่อแม่ควรระวังจะคล้ายกับอาการของไข้หวัด ได้แก่

  • น้ำมูกไหล
  • ไอ
  • จาม
  • มีไข้
  • ไม่อยากอาหาร
  • หายใจลำบาก
  • หายใจมีเสียงหวีด หรือ หอบ

ในกรณีที่รุนแรง RSV อาจนำไปสู่หลอดลมฝอยอักเสบหรือปอดอักเสบได้ โดยเฉพาะในทารกที่อายุน้อยกว่าหนึ่งปี

RSVคือ, RSV คืออะไร? อาการ และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้!

RSV ติดต่อได้อย่างไร?

เช่นเดียวกับโรคหวัดและไข้หวัดใหญ่ RSV ติดต่อผ่านการสัมผัสส่วนตัว เช่น การจูบหรือการสัมผัส ละอองที่แพร่กระจายโดยการไอหรือจาม หรือผ่านการสัมผัสพื้นผิวที่ปนเปื้อน เช่น ลูกบิดประตู เส้นทางทั่วไปของการติดเชื้อคือเมื่อเด็กโตรับเชื้อที่โรงเรียนและส่งต่อไปยังพี่น้องที่บ้านโดยไม่รู้ตัว

ระยะฟักตัวคือ 4-6 วันหลังจากได้รับเชื้อ จากนั้นผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์

ป้องกัน RSV ได้อย่างไร?

ในการป้องกันลูกน้อยจาก RSV ให้ปฏิบัติตามกิจกรรมด้านสุขอนามัยตามเหล่านี้:

  • ล้างมือด้วยสบู่อย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง
  • ไอหรือจามในข้อศอกหรือ กระดาษทิชชู่
  • ทำความสะอาดพื้นผิวและของเล่น ซักเสื้อผ้าและเครื่องนอนเป็นประจำ
  • รักษาระยะห่างทางสังคมกับผู้ที่มีอาการหวัด
RSVคือ, RSV คืออะไร? อาการ และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้!

รักษา RSV อย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกัน RSV สำหรับกรณีที่ไม่รุนแรง ไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพียงทำตามขั้นตอนต่อไปนี้:

  • อย่าส่งลูกไปโรงเรียนและให้ลูกอยู่บ้าน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกของคุณดื่มน้ำมาก ๆ (ปริมาณเล็กน้อยตลอดทั้งวันเพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ)
  • ทำความสะอาดหากมีอาการคัดจมูก
  • ทำความสะอาดพื้นผิวตามบ้าน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ อย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อราและแบคทีเรีย
  • หากคุณใช้เครื่องทำความชื้น ให้ทำความสะอาดทุกวันตามคำแนะนำของเครื่อง
  • แจ้งโรงเรียนของบุตรหลานเพื่อเตือนผู้ปกครองคนอื่นๆ ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการแพร่เชื้อ

หากคุณสังเกตเห็นว่าลูกของคุณหายใจลำบาก ให้รีบไปพบแพทย์ทันที การวินิจฉัย RSV ที่โรงพยาบาลมักจะ มักจะใช้ไม้พันสำลีก้านยาวป้ายสารคัดหลั่งในจมูกหรือช่องคอเพื่อนำไปตรวจค้นหาเชื้อโรค ในกรณี ในกรณีที่อาการของโรคมีอาการรุนแรง หรือแพทย์ผู้ทำการรักษาต้องการติดตามภาวะของไข้หรือการหายใจ การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลอาจจำเป็นสำหรับการรักษาด้วยการ ให้สารน้ำและยาทางหลอดเลือดดำ ออกซิเจนเสริม และยาพ่นขยายหลอดลมเพื่อ ขยาย ทางเดินหายใจ การมีประกันสุขภาพเด็กจังเป็นเรื่องสำคัญมาก และควรทำตั้งแต่ลูกอายุยังน้อย ยังไม่เคยเป็นโรคหรือไม่สบาย โดยเฉพาะ RSV เพราะ หากมีประหวัดว่าเคยเป็น ประกันสุขภาพเด็กอาจจะติดข้อยกเว้นในการรักษาในอนาคต

 

Chontara Thammasith

ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทความทางการแพทย์ Luma’s Medical Team

ประสบการณ์ โรค RSV จากทีม LUMA

RSVคือ, RSV คืออะไร? อาการ และการรักษาที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้!

“ลูกชายคนรองของฉันเคยติดเชื้อ RSV ในประเทศไทย เมื่อตอนที่เขายังอายุไม่ถึง 3 เดือน

ลูกชายของฉันเริ่มมีอาการหายใจไม่ทั่วท้องและนอนไม่ค่อยหลับ ในขณะที่เรากำลังอยู่ในช่วงวันหยุด ฉันจึงไปที่โรงพยาบาลกรุงเทพ หัวหิน เพื่อที่จะไปปรึกษากับกุมารแพทย์ แพทย์จึงได้สั่งการรักษาโดยให้เป็นยาพ่น และสาธิตวิธีการนวดปวด หลังจากนั้นพวกเราจึงกลับโรงแรม

เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพ ฉันก็ได้ติดตามอาการกับกุมารแพทย์ของเราที่โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ซึ่งทางโรงพยาบาลก็ได้แนะนำว่าถ้าหากลูกชายของฉันยังมีอาการนอนไม่ค่อยหลับตอนที่อยู่บ้าน ก็ควรให้ลูกชายแอดมิทที่โรงพยาบาล อย่างน้อยพยาบาลก็จะสามารถช่วยดูแลเขาได้ 

ฉันจึงให้ลูกชายเข้าแอดมิทที่โรงพยาบาลสมิติเวชในกรุงเทพ ในตอนแรกก็เป็นไปเพื่อความสะดวกสบายมากกว่าความจำเป็นทางด้านการแพทย์ อย่างไรก็ตาม โชคไม่ดีที่ลูกชายของฉันมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว รวมถึงระดับออกซิเจนในร่างกายของเขาก็ค่อนข้างต่ำ เขาจึงถูกย้ายไปอยู่ที่ห้องผู้ป่วยไอซียู แล้วก็อยู่ในห้องไอซียูประมาณ 5 วัน ระดับออกซิเจนในร่างกายจึงกลับมาอยู่ในระดับปกติ เราถึงสามารถย้ายเขาไปอยู่ในห้องผู้ป่วยปกติเพื่อสังเกตอาการ จนกว่าทุกอย่างจะชัดเจนสำหรับเราที่จะพาเขาออกจากโรงพยาบาล

หลังจากสิ้นสุดการรักษาที่โรงพยาบาล ก็มีการเรียกเก็บค่ารักษาจำนวนมาก แต่ทาง LUMA ได้ให้ความคุ้มครองทั้งหมดภายใต้ Direct Billing ดังนั้นฉันจึงไม่ต้องจ่ายอะไรล่วงหน้าเลย ตอนที่ลูกชายฉันพักรักษาตัวอยู่ที่ห้องผู้ป่วยไอซียู ฉันก็พักอยู่ที่ห้องผู้ป่วยปกติในตึกเดียวกับห้องที่เขาพักอยู่ และส่วนนี้ก็ได้รับความคุ้มครองจากทาง LUMA ด้วยเช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้น ฉันยังได้รับสายโทรศัพท์จากผู้จัดการฝ่ายบริการลุฏค้าของ LUMA เพื่อยืนยันว่าพวกเราสามารถกลับบ้านได้ และประกันก็ได้จัดการกับบิลค่ารักษาทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว “

Thuyvan, แผนกการตลาด

Table of Contents

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …