วิธีตรวจสอบกรมธรรม์ออนไลน์

ในปัจจุบันการมี ประกันสุขภาพ เพียงฉบับเดียวอาจไม่เพียงพอแล้ว หลายคนจึงมองหาประกันสุขภาพและประกันอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในทุกปี หลายคนถือทั้งประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง รวมไปถึงประกันมะเร็ง ไหนจะซื้อให้คนในครอบครัวอีก ก็คงมีกันบ้างที่หลงลืมเกี่ยวกับรายละเอียดของกรมธรรม์ ในบทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีตรวจสอบกรมธรรม์ โดยจะพามารู้จักช่องทางต่าง ๆ ในการเช็คว่าเรามีประกันอะไรบ้างแบบเข้าใจง่าย ติดตามได้ในบทความนี้เลย

3 วิธีตรวจสอบกรมธรรม์ ง่ายและสะดวก

สำหรับคนที่อาจหลงลืมไปว่าที่ผ่านมาได้ทำประกันอะไรกับบริษัทประกันเจ้าไหนไว้บ้าง หรือแม้กระทั่งทำกรมธรรม์หายก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะในปัจจุบันมีช่องทางที่ให้คุณเช็คประกันและตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวกถึง 3 ช่องทาง ดังนี้

ตรวจสอบผ่านทางออนไลน์

วิธีที่แรกคือการตรวจกรมธรรม์จากบริษัทประกันภัยทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถตรวจสอบได้จากแอปพลิเคชัน “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ซึ่งทำได้ไม่ยาก ผ่าน LINE Official Account ของ “คปภ. รอบรู้ หรือ  @OICConnect”  นั่นเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เพิ่ม LINE Official Account @OICConnect เป็นเพื่อน

2. ลงทะเบียนและทำการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานด้วยการถ่ายบัตรประชาชน และถ่ายภาพตนเองคู่กับบัตรประชาชน

3. กรอกเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน เพื่อขอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน

4. เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้วก็สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ของคุณได้ทันที


ขั้นตอนที่ 1

ตรวจสอบกรมธรรม์

ขั้นตอนที่ 2

เช็คกรมธรรม์

ขั้นตอนที่ 3

ตรวจสอบกรมธรรม์ออนไลน์

ขั้นตอนที่ 4

เช็คกรมธรรม์ด้วยบัตรประชาชน

ขั้นตอนที่ 5

ตรวจสอบกรมธรรม์ด้วยบัตรประชาชน

ขั้นตอนที่ 6

ตรวจสอบกรมธรรม์ออนไลน์

ขั้นตอนที่ 7

เช็คประกันจากบัตรประชาชน

ขั้นตอนที่ 8

ลืมเลขกรมธรรม์

ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับสำนักงาน คปภ.

วิธีตรวจสอบกรมธรรม์วิธีต่อมาคือ การยื่นเรื่องตรวจสอบที่สำนักงาน คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยตรงนั้นเอง ซึ่งสามารถทำได้โดยการโทรศัพท์ไปยังสายด่วนประกันภัย 1186 หรือยื่นคำร้องตามขั้นตอนต่อไปนี้

ขั้นตอนการยื่นคำร้องกับ คปภ. ผ่านทางอีเมล์

การยื่นคำร้องขอตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยทำได้โดย

1. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอที่เว็บไซต์ คปภ. 

2. กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องต่อไปนี้

  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
  • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
  • สำเนาใบมรณบัตร
  • สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
  • สำเนาทะเบียนรถ
  • หลักฐานอื่น เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส

3. นำแบบฟอร์มและเอกสารทั้งหมดส่งในอีเมล

ใครสามารถยื่นคำร้องเพื่อตรวจสอบกรมธรรม์ได้บ้าง

นอกจากเราจะสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองในกรณีหลงลืมหรือต้องการตรวจสอบข้อมูลแล้ว ยังสามารถตรวจสอบว่าคนใกล้ชิดของเราถือกรมธรรม์อะไรไว้บ้างหากเกิดเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลประกัน โดยวิธีตรวจสอบกรมธรรม์ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำได้ 2 กรณี

1. กรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ยื่นคำร้องของตรวจสอบข้อมูลของตนเอง

2. กรณีขอตรวจข้อมูลกรมธรรม์ของคนใกล้ชิดเมื่อเกิดเหตุจำเป็น

ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับ ฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย

วิธีสุดท้ายเป็นการตรวจสอบกรมธรรม์โดยยื่นเรื่องกับฐานข้อมูลกลางประกันภัย หรือ TID ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าแนท จำกัด (Thai Insurers Datanet Co., Ltd)  โดย TID เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลด้านการประกันวินาศภัยทุกประเภทในประเทศไทยนั้นเอง สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ได้ที่เว็บไซต์ www.insure.co.th หรือส่งอีเมล์ไปยัง [email protected] ก็ได้เช่นกัน


ตรวจสอบกรมธรรม์ออนไลน์

การตรวจสอบกรมธรรม์มีประโยชน์อย่างไร

การที่เราสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลการทำประกันภัยได้ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ทำประกันหลายฉบับหรือทำกรมธรรม์หายแล้ว ยังช่วยให้ผู้ถือประกันภัยสามารถวางแผนการต่ออายุกรมธรรม์หรือซื้อประกันเพิ่มเติมได้ ช่วยในการวางแผนทางการเงินสำหรับการชำระเบี้ยประกันภัย และนอกจากนี้หากคนใกล้ตัวมีเหตุจำเป็นต้องใช้ประกัน ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นได้ไม่ยาก


 

สรุป

จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าคุณทำประกันไว้หลายเล่ม หรือทำกรมธรรม์หาย หรือต้องการตรวจสอบกรมธรรม์ของคนใกล้ชิดก็สามารถตรวจสอบได้ผ่านทาง 3 ขั้นตอนที่แจ้งมาข้างต้น ไม่ว่าจะผ่านทางแอปพลิเคชันที่เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ยื่นคำร้องผ่านคปภ. โดยตรง หรือขอตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางก็ได้เช่นกัน


 

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …