ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน

ผู้รับประกันภัย คือ

คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย

หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย 
  • – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 
  • – ให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการรับแจ้งเคลม 

 

สิทธิของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับเบี้ยประกันภัย รวมถึงปรับเบี้ยประกันภัยในกรณีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • – บอกเลิกสัญญา ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งข้อความจริงหรือผิดสัญญาประกันภัย รวมถึงไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย 
  • – ระงับความคุ้มครอง ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย ฝ่าฝืนเงื่อนไขในกรมธรรม์ หรือผู้เอาประกันไปรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย 
  • – ตรวจสอบข้อมูลสุขภาพผู้เอาประกันทั้งก่อนทำสัญญาและระหว่างที่มีผลบังคับใช้  รวมไปถึงเอกสารการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันด้วย 
  • – เรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันกรณีผู้เอาประกันแจ้งข้อความเท็จหรือจงใจทำให้เกิดความเสียหา

ผู้เอาประกัน คือ 

ถึงแม้ชื่อเรียกจะฟังแล้วชวนให้คิดถึงผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำประกันหรือกรมธรรม์นั้นๆ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ถูกทั้งหมด เพราะผู้เอาประกันคือบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกันภัย รวมถึงเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์นั้นด้วย ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากกรมธรรม์นั้นอาจไม่ใช่ผู้เอาประกันเสมอไปหากผู้เอาประกันทำสัญญาและจ่ายเบี้ยประกันโดยมีเงื่อนไขให้ผู้อื่นเป็นผู้รับประโยชน์แทน ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ทำประกันสุขภาพให้ลูก หรือพ่อแม่ทำประกันชีวิตเอาไว้โดยระบุให้ลูกคือผู้ได้รับผลประโยชน์หากตนเองเสียชีวิต ผู้เอาประกันในที่นี้คือพ่อแม่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์จากการทำประกันนั้นก็ตาม แต่บางกรณีผู้เอาประกันก็สามารถเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันได้เหมือนกัน เช่น ผู้เอาประกันทำประกันสุขภาพให้ตัวเองเพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล  

 

หน้าที่หลักของผู้เอาประกัน ได้แก่ 

  • – จ่ายเบี้ยประกันตามกำหนด  
  • – แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่จะเอาประกันอย่างถูกต้อง  
  • – แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น  
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 

สิทธิของผู้เอาประกันมีดังนี้ 

  • – ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 
  • – ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 
  • – ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ 

ผู้อยู่ในอุปการะ คือ

เป็นผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้เอาประกันที่ได้รับการระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย โดยสามารถเป็นได้ทั้งคู่สมรส ผู้ที่อยู่กินฉันท์สามีภรรยากับผู้เอาประกัน รวมไปถึงบุตร ซึ่งบุตรสามารถเป็นได้ทั้งบุตรของผู้เอาประกันเอง บุตรบุญธรรม หรือบุตรภายใต้การปกครอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นบุตรที่ยังต้องพึ่งพาการสงเคราะห์จากผู้เอาประกันอยู่ 

 

หน้าที่หลักของผู้อยู่ในอุปการะคือ 

  • – เป็นผู้รับผลประโยชน์ 
  • – แจ้งข้อมูลและเอกสาร 
  • – รักษาสิทธิ์ 
  • – แจ้งการเปลี่ยนแปลง 
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไข 

 

สิทธิของผู้อยู่ในอุปการะมีดังนี้  

  • – สิทธิได้รับเงินชดเชย เช่น เงินชดเชยรายได้ เงินชดเชยการศึกษา  
  • – สิทธิได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ 
  • – สิทธิในการตรวจสอบกรมธรรม์ 
  • – สิทธิในการร้องเรียน 
ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

ผู้ได้รับความคุ้มครอง คือ

  • หมายถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยผู้ได้รับความคุ้มครองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ  

    1. 1. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้เอาประกันเอง  
    1. 2. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้อยู่ในอุปการะ

ผู้รับผลประโยชน์ คือ

บุคคลที่จะได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไป ผู้รับผลประโยชน ในกรมธรรม์ประกันสุขภาพจะระบุชื่อไว้ ดังนี้ 

  • – ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – บุคคลที่เอาประกันไว้ให้ เช่น คู่สมรส บุตร บิดา มารดา กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 

โดยส่วนมากแล้วตอนสมัครทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเลือกลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้อย่างน้อยหนึ่งคน  

หน้าที่หลักของผู้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – แจ้งเคลม แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – รักษาสิทธิ์ โดยแจ้งบริษัทประกันภัยหากได้รับความคุ้มครองไม่ครบถ้วนตามกรมธรรม์หรือร้องเรียนหากไม่พอใจการบริการของบริษัท 
  • – แจ้งบริษัทหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล  
  • – ชำระเบี้ยประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยไม่สามารถชำระได้ 
  • – แจ้งการเสียชีวิต กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต 

สิทธิของผู้ได้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับเงินชดเชย กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 
  • – สิทธิเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย 
  • – มีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการเคลม 
  • – สิทธิร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่ควรได้รับหรือได้รับบริการที่ไม่ดีจากบริษัทประกันภัย 

 

ความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภท คือ

ผู้เอาประกัน 

  • – เป็นบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกัน 
  • – มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ผู้อยู่ในอุปการะ 

  • – เป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 
  • – ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เอาประกัน 
  • – ไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – ไม่มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างของผู้เอาประกันกับผู้อยู่ในอุปการะและสิทธิ์ความคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันสุขภาพแต่ละฉบับ 

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิของผู้ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิทั่วไป 

  • – สิทธิได้รับความคุ้มครอง คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลภายใต้วงเงินคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมไปถึงค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไข 
  • – สิทธิได้รับข้อมูล คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ เช่น เงื่อนไข ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง ระยะเวลารอคอย 
  • – สิทธิร้องเรียน คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิร้องเรียนบริษัทประกันกรณีไม่พอใจการบริการหรือการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 

สิทธิเฉพาะ 

  • – สิทธิเลือก คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – สิทธิได้รับบริการ คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น บริการตรวจสุขภาพ บริการฉุกเฉิน 

 

ทั้งหมดนี้คือผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ทั้งหมด เมื่อคุณต้องอ่านกรมธรรม์หรือเงื่อนไขสัญญาใดๆที่เกี่ยวข้องกับประกันสุขภาพก็จะสามารถบอกถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลที่ถูกกล่าวถึงได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าเงื่อนไขและข้อตกลงมักแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ดังนั้นการอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนทำประกันเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ, ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง
Table of Contents

You May Also Like

วีซ่าออสเตรเลีย
บทความ

อัปเดตการขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยว ฉบับปี 2024

การไปเที่ยวออสเตรเลียจัดเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของหลายคน นอกจากความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ยังมีเรื่องน่าสนใจทั้งสัตว์ป่า ชุมชนคนไทย และอีกมากมาย ซึ่งใครวางแผนอยากสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่แบบนี้ก็จำเป็นต้องมี “วีซ่าออสเตรเลีย” ก่อนเดินทางเข้าประเทศด้วยเช่นกัน จึงขออัปเดตวิธีขอวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลียและข้อมูลน่าสนใจฉบับปี 2024 ให้ทุกคนทำตามกันเลย ข้อมูลเบื้องต้นในการขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยวจะถูกจัดอยู่ในหมวดของ Visitor Visa สามารถใช้ได้ทั้งจุดประสงค์การท่องเที่ยว ทำธุรกิจ เยี่ยมญาติ รวมถึงการเรียนคอร์สระยะสั้นไม่เกิน 3 …

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …