New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard 

New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard?

เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน มาตรฐานประกันสุขภาพแบบเดิมจึงอาจมีความคุ้มครองไม่ครอบคลุมอีกต่อไปกับเทคนิคการแพทย์แบบใหม่ ๆ นอกจากนั้น ในสมัยนี้มีแผนประกันสุขภาพซึ่งถูกออกแบบโดยบริษัทประกันภัยต่าง ๆ ออกมาแบบหลากหลายเพื่อหวังจะแข่งขันกันภายในตลาด จึงทำให้ผู้บริโภคเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างแผนประกันได้ยาก รวมถึงข้อกำหนดบางอย่างของประกันสุขภาพนั้นกว้างเกินไป จนอาจทำให้ผู้เอาประกันถูกเอาเปรียบได้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จึงออกมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่มาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ ให้การซื้อประกันสุขภาพอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน เนื้อหาความคุ้มครองมีความทันสมัยตามทันการแพทย์สมัยใหม่ และเปรียบเทียบกันเองได้

New Health Standard คืออะไร

เงื่อนไขสำคัญของ New Health Standard

1. หลักเกณฑ์ทั่วไป

  • กรมธรรม์ประกันสุขภาพแบบ New Health Standard ต้องมี 13 หมวดความคุ้มครองหลัก
  • ข้อความในกรมธรรม์ต้องชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่คลุมเครือ
  • ผู้เอาประกันมีสิทธิ์ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์อย่างครบถ้วน

2. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการต่ออายุกรณีครบรอบปีกรมธรรม์ 

บริษัทประกันไม่ต่ออายุกรมธรรม์ได้ใน 3 กรณีเท่านั้น คือ 

  1. 1. ผู้เอาประกันปกปิดข้อมูล ไม่แถลงตามจริง 
  2. 2. ผู้เอาประกันเคลมโดยไม่มีความจำเป็นทางการแพทย์ 
  3. 3. ผู้เอาประกันเรียกร้องค่าชดเชยรายได้เกินรายได้ที่แท้จริง

3. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการปรับเบี้ยประกัน

ข้อกำหนดของการปรับเบี้ยประกันของมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่จะขึ้นอยู่กับ 2 เงื่อนไข ได้แก่

  1. 1. อายุ และขั้นอาชีพของบุคคลนั้น ๆ
  2. 2. หากค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น รวมถึงการจ่ายค่าสินไหมทดแทนโดยรวมการพอร์ตนั้น ๆ โดยทางบริษัทจะต้องแจ้งให้กับผู้เอาประกันทราบไม่น้อยกว่า 30 วัน ในรูปแบบของลายลักษณ์อักษร และอัตราที่มีการปรับขึ้นต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนด้วย

4. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญา

บริษัทประกันสามารถบอกเลิกสัญญาได้ในกรณีที่ผู้เอาประกันฉ้อฉลเท่านั้น รวมถึงมาตรฐานประกันสุขภาพแบบเก่าจะสามารถบอกเลิกสัญญาได้ตลอด แต่มาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่จะไม่สามารถบอกเลิกสัญญาได้หลังจากผ่านไป 2 ปี 

New Health Standard คืออะไร

13 หมวดความคุ้มครองหลัก ได้แก่

 

ผลประโยชน์ถูกแบ่งออกเป็น 13 หมวดมาตรฐาน โดยแบ่งตามการเข้ารักษา ดังนี้

 

ผลประโยชน์กรณีผู้ป่วยใน

 

หมวด 1: ค่าห้องพัก ค่าอาหาร และค่าบริการทั่วไป

หมวด 2: ค่าบริการทางการแพทย์ เพื่อวินิจฉัยโรค

หมวด 3: ค่าตรวจรักษาของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (แพทย์)

หมวด 4: ค่ารักษาโดยการผ่าตัดและหัตถการ

หมวด 5: การผ่าตัดใหญ่แต่ไม่ได้เข้าพักเป็นผู้ป่วยใน (Day Surgery)

 

ผลประโยชน์กรณีไม่ได้รักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

 

หมวด 6: ค่าบริการการแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรง ทั้งก่อนและหลังการพักรักษาตัว

หมวด 7: ค่ารักษากรณีบาดเจ็บเป็นผู้ป่วยนอกจากอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง

หมวด 8: ค่าเวชศาสตร์ฟื้นฟูหลังการเข้ารักษาเป็นผู้ป่วยใน

หมวด 9: ค่าบริการการแพทย์เพื่อรักษาโรคไตวายเรื้อรัง

หมวด 10: ค่าบริการการแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง โดยรังสีรักษา

หมวด 11: ค่าบริการการแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง โดยเคมีบำบัด

หมวด 12: ค่าใช้จ่ายสำหรับรถพยาบาลฉุกเฉิน

หมวด 13: ค่ารักษาพยาบาล การผ่าตัดเล็ก

คำนิยามที่มีการเพิ่มและเปลี่ยนแปลงใน New Health Standard

คำนิยามที่มีการเพิ่มเข้ามา

 

  1. 1. ฉ้อฉลประกันภัย หมายถึง การกระทำของผู้เอาประกันหรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัย ที่จงใจกระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อมูลเท็จ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเกินจริง การแกล้งทำร้ายตัวเอง หรือการร่วมมือกับบุคคลอื่นเพื่อฉ้อฉลเอาประกันภัย

 

  1. 2. เบี้ยประกันภัยในการต่ออายุ หมายถึง เงินที่ผู้เอาประกันภัยต้องชำระให้กับบริษัทประกันภัย เพื่อต่ออายุความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปอีก 1 ปี และจะไม่มีการนำเงื่อนไขหรือส่วนลดเบี้ยประกันใดมาใช้เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายร่วม หรือเพื่อกำหนดเบี้ยประกันใด เมื่อครบรอบปีกรมธรรม์หรือกรมธรรม์สิ้นผลบังคับใช้ 

 

คำนิยามที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

  1. โรงพยาบาล หมายถึง สถานพยาบาลที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง ครอบคลุมโรงพยาบาลขนาดเล็กและโรงพยาบาลเฉพาะทาง
  2. การรักษาตัวครั้งหนึ่งครั้งใด หมายถึง การเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หรือได้รับการผ่าตัดใหญ่แบบไม่นอนโรงพยาบาลแต่ละครั้ง แล้วรักษาไม่หาย ต้องรักษาต่อเนื่องใน 90 วัน นับจากวันออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย จะถือว่าเป็นการรักษาครั้งเดียวกัน
  3. ผ่าตัด โดยจะมีการแบ่งรูปแบบการผ่าตัดออกเป็น 3 แบบ ได้แก่ การผ่าตัดใหญ่ การผ่าตัดเล็ก การผ่าตัดใหญ่แบบไม่นอนโรงพยาบาล (Day Surgery) 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

New Health Standard คืออะไร, New Health Standard คืออะไร

คนที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว ต้องทำยังไง?

 

ผู้ที่มีประกันสุขภาพอยู่แล้ว สามารถพิจารณาได้ว่าอยากจะถือประกันสุขภาพแบบเดิมหรือเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากประกันสุขภาพแบบ New Health Standard อาจมีเบี้ยประกันสุขภาพสูงกว่าแบบเดิม เพราะแลกมากับความคุ้มครองที่ครอบคลุมมากขึ้น ดังนั้นหากคุณพึงพอใจกับความคุ้มครองและเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายอยู่แล้วก็สามารถถือประกันฉบับเดิมได้ แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยน สามารถติดต่อบริษัทประกันเพื่อขอปรับเปลี่ยนเป็น New Health Standard ได้ ทั้งนี้ทั้งนั้น โดยส่วนใหญ่บริษัทมักมีจดหมายหรือมีการปรับให้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

 

ข้อควรระวัง

ก่อนตัดสินใจปิดประกันสุขภาพแบบเก่า ควรพิจารณาประเด็นเหล่านี้ก่อนเสมอ

  1. สิทธิลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพแบบใหม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี ดังนั้นหากปิดประกันเก่า จะเสียสิทธิ์ลดหย่อนภาษีเต็มจำนวนตามมาตรฐานเก่า

  1. ระยะเวลารอคอย

ประกันสุขภาพแบบใหม่มีระยะเวลารอคอยสูงสุด 120 วัน หากปิดประกันเก่าไปแล้ว อาจไม่มีความคุ้มครองในระหว่างที่ต้องรอประกันใหม่มีผลบังคับใช้

  1. โรคประจำตัว

ประกันสุขภาพ (ทั้งแบบเก่าและใหม่) ไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน ดังนั้นหากปิดประกันเก่าที่เราทำตอนสุขภาพดีอยู่ แล้วในปัจจุบันเรามีโรคประจำตัวแล้ว อาจทำให้ไม่สามารถทำประกันได้อีก

Last update: 

Table of Contents