ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการขอวีซ่าเชงเก้นในปี 2024

อัพเดทข้อมูลล่าสุด: 

ปัจจุบันการเดินทางท่องเที่ยวด้วยตัวเองนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นประเทศในแถบเอเชียรวมถึงกลุ่มประเทศในยุโรป เพราะสามารถหาข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เพียงแค่มีพาสปอร์ตกับวีซ่าเชงเก้นสำหรับการไปยุโรปและประกันเดินทางต่างประเทศซึ่งเป็นข้อบังคับสำหรับทุกประเทศในกลุ่มเชงเก้นอยู่ในมือเท่านั้น ทุกอย่างก็สามารถเป็นไปได้อย่างราบรื่น

 

สำหรับคนที่กำลังมีแพลนไปเที่ยวยุโรป วันนี้ LUMA มีขั้นตอนง่าย ๆ สำหรับการสมัครวีซ่าเชงเก้นที่คุณสามารถเตรียมเอกสารเพื่อยื่นขอวีซ่าได้ด้วยตัวเองมาฝากกัน

วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

วีซ่าเชงเก้น คือ ใบอนุญาตเข้าเมืองที่ทำให้เราสามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในโซนทวีปยุโรป ได้สะดวกรวดเร็ว เพราะการเดินทางไปเที่ยวยุโรปในแต่ละครั้ง เราอาจจะเดินทางไปหลายประเทศ หากต้องขอวีซ่าทุก ๆ ประเทศเหมือนในอดีต ก็เป็นเรื่องยุ่งยากมาก สำหรับการทำวีซ่าเชงเก้นสามารถทำเพียงครั้งเดียว ก็ใช้เดินทางไปยังกลุ่มประเทศยุโรปได้มากมาย โดยวีซ่าชนิดนี้จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 90 วัน ในการเดินทางเข้าประเทศในกลุ่มเชงเก้นทั้งหมด หากเดินทางไปหลายประเทศ ให้ยื่นขอวีซ่ากับประเทศที่จะเดินทางไปเป็นประเทศแรก

กลุ่มประเทศวีซ่าเชงเก้น มีประเทศอะไรบ้าง

และยังมีประเทศที่ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มประเทศ EU แต่เป็นสมาชิกกลุ่มสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) ที่เข้าร่วมด้วยอีก 4 ประเทศ ด้วยกัน คือ

และยังครอบคลุมไปถึงรัฐในยุโรปอีก 3 รัฐ ที่ไม่ได้เป็นประเทศกลุ่มสมาชิก EU แต่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศยุโรป จึงเป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเก้นไปด้วยเช่นเดียวกัน คือ รัฐโมนาโก ซานมาริโน และนครวาติกัน

วีซ่าเชงเก้น

ขั้นตอนการขอวีซ่าเชงเก้น

ระบุประเภทวีซ่า

จริง ๆ แล้ววีซ่าเชงเก้นไม่ได้มีประเภทเดียว ยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน สำหรับการขอวีซ่าเพื่อเดินทางไปท่องเที่ยว ควรเลือกวีซ่าประเภท C หรือวีซ่าระยะสั้น ที่เรียกกันว่าวีซ่าท่องเที่ยวนั่นเอง โดยมีรายละเอียดดังนี้

วีซ่าเชงเก้นประเภท A (สำหรับเปลี่ยนเครื่อง)

เป็นประเภทของวีซ่าสำหรับเปลี่ยนเครื่อง (Transit) ในกรณีที่นักท่องเที่ยวเดินทางโดยเครื่องบิน จากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง และต้องแวะพักเปลี่ยนเครื่องในกลุ่มประเทศเชงเก้น หากต้องการเดินทางออกนอกเขตสนามบิ ก็ให้ทำวีซ่าประเภท A แต่ถ้าไม่ต้องการออกจากสนามบินก็ไม่จำเป็นต้องขอวีซ่า

วีซ่าเชงเก้นประเภท B (สำหรับทางผ่าน)

วีซ่าประเภท B ค่อนข้างคล้ายกับวีซ่าประเภท A สำหรับกรณีแวะเปลี่ยนเครื่องเช่นกัน เพียงแต่วีซ่าเชงเก้นประเภท B จะมีอายุ 5 วัน ออกให้กับผู้เดินทางจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งโดยจุดหมายปลายทางไม่ใช่กลุ่มประเทศเชงเก้น หากแวะผ่านประเทศดังกล่าวสามารถขอวีซ่าประเภทนี้ได้

วีซ่าเชงเก้นประเภท C (สำหรับการเดินทางระยะสั้น)

เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยวหลาย ๆ ประเทศ ในกลุ่มประเทศยุโรปช่วงเวลาสั้น ๆ มีให้เลือกทั้งแบบ Single Entry เดินทางเข้าออกครั้งเดียวแบบ Double Entry เดินทางเข้าออกได้ 1-2 ครั้ง และแบบ Multiple Entry เดินทางเข้าออกหลายครั้ง มีระยะเวลาอนุญาตให้พักแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี แต่ไม่ว่าเลือกแบบใดก็ตาม นักท่องเที่ยวจะสามารถพักในกลุ่มประเทศเชงเก้นทั้งหมดได้ไม่เกิน 90 วัน ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน

วีซ่าเชงเก้นประเภท D (สำหรับพักระยะยาวเกิน 90 วัน)

เป็นการขอวีซ่าเข้าประเทศ และขอพักอยู่เกินกว่า 90 วัน แต่วีซ่าประเภท D จะใช้เข้าประเทศอื่นไม่ได้ หากต้องการเดินทางไปเที่ยวชั่วคราวระหว่างประเทศกลุ่มเชงเก้นด้วยกัน ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบและเงื่อนไขของสถานทูตประเทศนั้น ๆ เป็นกรณี ๆ ด้วย หรือสามารถเดินทางไปเที่ยวได้ แต่ต้องกลับมาพักที่ประเทศที่ขอวีซ่าประเภทนี้ไว้

เริ่มต้นยื่นคำร้องและทำการนัดหมาย

สามารถยื่นวีซ่าได้ล่วงหน้าสูงสุด 90 วันก่อนเดินทางและต้องยื่นเอกสารสมัครวีซ่าอย่างน้อย 15 วันตามปฏิทินก่อนวันที่ประสงค์จะเดินทาง โดยผู้เดินทางสามารถกรอกรายละเอียดความประสงค์ในการยื่นวีซ่าและทำการนัดหมายได้ผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงานซึ่งเป็นตัวแทนซึ่งได้รับการรับรองจากสถานทูต ได้แก่ ศูนย์ VSF ซึ่งเป็นตัวแทนในการยื่นวีซ่าสำหรับหลายประเทศ อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เบลเยี่ยม ฟินแลนด์ หรือ ศูนย์ TLS สำหรับการยื่นขอวีซ่าสำหรับประเทศฝรั่งเศส เป็นต้น

เตรียมเอกสาร ยื่น Schengen Visa

ทั้งนี้หากเอกสารเป็นภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาประจำชาติของประเทศปลายทางด้วย

ยื่นเอกสารด้วยตัวเอง

เมื่อเตรียมเอกสารครบถ้วนและได้ทำการนัดหมายเรียบร้อยแล้ว ผู้ที่ไม่เคยสแกนลายนิ้วมือเพื่อขอวีซ่าเชงเก้นมาก่อนต้องทำการยื่นเอกสารและสแกนลายนิ้วมือด้วยตัวเอง แต่หากผู้สมัครเคยได้รับวีซ่าเชงเก้นภายใน 59 เดือนล่าสุดก็สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นมายื่นเอกสารแทนหรือสามารถส่งเอกสารเพื่อยื่นขอวีซ่าทางไปรษณีย์ได้

ค่าธรรมเนียมกาขอวีซ่าเชงเก้น

วีซ่าเชงเก้นสำหรับผู้ใหญ่มีค่าธรรมเนียม 80 ยูโรหรือ 2,900 บาท วีซ่าเชงเก้นสำหรับเด็กอายุระหว่าง 6 – 11 ปี มีค่าธรรมเนียม 40 ยูโรหรือ 1,450 บาท ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 0 – 5 ปีนั้นไม่มีค่าธรรมเนียมวีซ่า โดยสามารถชำระเป็นเงินบาทเท่านั้น

 

เมื่อยื่นเอกสารและชำระค่าธรรมเนียมเรียบร้อยแล้วก็รอรับแจ้งผลการพิจารณาวีซ่าได้ทางอีเมล์ SMS หรือสามารถติดตามผลได้ทางเว็บไซต์ของศูนย์รับยื่นวีซ่าได้เลย

วีซ่าเชงเก้น, ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการขอวีซ่าเชงเก้นในปี 2024

Rejected Visa คืออะไร 

เมื่อทำการยื่นเอกสารต่าง ๆ ผ่านตัวแทนรับยื่นวีซ่า หรือสถานทูตฯ จะต้องรอผลพิจารณาวีซ่าเชงเก้นตามระยะเวลาที่กำหนดตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป จากนั้นสถานทูตฯ จะทำการส่งเอกสารตอบรับกลับมาว่าวีซ่าเขงเก้นของคุณผ่านหรือไม่ ในกรณีที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านตัวจดหมายจะระบุเอาไว้ชัดเจนว่า “Rejected Visa” หรือการปฏิเสธรับทำวีซ่า หมายถึง สถานทูตฯ มีการประเมินทั้งจากเอกสารและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว บุคคลดังกล่าวยังไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอกับการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเชงเก้น จึงยังไม่อนุมัติในการทำวีซ่านั่นเอง 

เหตุผลที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน เกิดจากอะไรได้บ้าง 

สำหรับเหตุผลที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยซึ่งขอสรุปให้เห็นภาพชัดเจนเพื่อจะได้จัดเตรียมทุกอย่างแบบครบถ้วน ลดความเสี่ยงการขอวีซ่าเชงเก้นแล้วเกิดปัญหาตามมาภายหลัง 

 

  1. 1. เอกสารที่ยื่นไปทั้งหมดยังมีความไม่น่าเชื่อถือในบางจุด เช่น Statement รายการเดินบัญชีย้อนหลังมีเงินเก็บอยู่น้อยเกินไป มีเงินเข้าเป็นรายได้ไม่ชัดเจน มีรายจ่ายบางเดือนมากกว่ารายได้ มีเงินเข้ามายังบัญชีก้อนใหญ่ก่อนขอวีซ่าไม่กี่วัน มีรายได้ไม่สมเหตุสมผลกับเงินเก็บ ฯลฯ
  2.  
  3. 2. ไม่มีหลักฐานการทำงานที่ชัดเจนในเมืองไทย อายุการทำงานน้อยเกินไป หนังสือรับรองการทำงานระบุข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น วันลางาน ระยะเวลาที่ลางาน ชื่อบริษัท ตำแหน่งภายในบริษัท รายได้ ฯลฯ รวมถึงหลักฐานการศึกษา (กรณีเป็นนักศึกษา) สถานทูตฯ อาจประเมินถึงความเสี่ยงที่จะลักลอบไปเป็นแรงงานผิดกฎหมาย และไม่สามารถเดินทางกลับได้ตามวัน-เวลาที่ระบุ จึงไม่อนุมัติวีซ่าเชงเก้น
  4.  
  5. 3. หลักฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยื่นขอวีซ่ากับสปอนเซอร์ไม่สอดคล้องกัน หรือยังขาดความน่าเชื่อถือ
  6.  
  7. 4. การกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าไม่ถูกต้อง หรือมีจุดที่ระบุรายละเอียดไม่ชัดเจน เช่น ไม่ระบุวันเดินทางกลับ ลืมใส่ข้อมูลส่วนตัวบางจุด ไม่ระบุวัตถุประสงค์การเดินทางชัดเจน เป็นต้น
  8.  
  9. 5. ไม่สามารถตอบคำถามกับเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ ได้ในกรณีมีการเรียกสัมภาษณ์พูดคุยเพิ่มเติม หรือตอบไม่ตรงคำถาม ตอบคนละข้อมูลกับที่ระบุเอาไว้ในเอกสารการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น เป็นต้น
  10.  
  11. 6. มีการปกปิดข้อมูล หรือพยายามตั้งใจไม่บอกว่าเคยถูกปฏิเสธวีซ่าประเทศอื่น ๆ มาก่อนหน้า แม้บางคนมองว่ามันทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง แต่ก็เป็นเรื่องอดีตและเจ้าหน้าที่สถานทูตยังมองถึงความจริงใจ ไม่ปกปิด อีกมุมหนึ่งหากคุณนิ่งเฉย หรือเจ้าหน้าที่สอบถามแล้วบอกว่าไม่เคย ปรากฏมีการค้นข้อมูลแล้วพบว่าเคยถูกปฏิเสธก็มีสิทธิ์ไม่ผ่านได้เช่นกัน

การยื่นอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้น

เมื่อผู้ขอวีซ่าเชงเก้นถูกปฏิเสธวีซ่า โดนยกเลิก เพิกถอนวีซ่าใด ๆ ก็ตาม ทางสถานทูตฯ จะเปิดโอกาสให้ได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งกับเหตุผลที่ระบุเอาไว้โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง ทั้งนี้มีข้อกำหนดว่าต้องทำการยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ผลการพิจารณาวีซ่าเชงเก้นออกมา  

 

ซึ่งขั้นตอนหลัก ๆ ต้องทำการเขียนจดหมายยื่นอุทธรณ์วีซ่า (Appeal Letter for Visa Refusal) ชี้แจงเหตุผลจากข้อมูลที่สถานทูตระบุไว้ถึงการไม่อนุมัติวีซ่า เมื่อเขียนเรียบร้อยให้แนบพร้อมเอกสารการถูกปฏิเสธวีซ่าส่งไปยังที่อยู่ของสถานทูตฯ หรือใช้การส่งผ่านอีเมลก็ได้เช่นกัน สุดท้ายรอผลการตัดสินประมาณ 30 วัน 

 

โดยรายละเอียดที่ควรมีอยู่ในจดหมายการยื่นอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้น ประกอบด้วย 

วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านเลือกอุทธรณ์หรือขอใหม่ดีกว่ากัน 

จากวิธีแก้ปัญหากรณีผลพิจารณาวีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านอาจยังทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาอีกเล็กน้อย ควรเลือกวิธีไหนที่เหมาะกับสถานการณ์ของตนเองมากที่สุด ก็ต้องขอแบ่งจุดเด่นและจุดควรพิจารณาของแต่ละทางเลือกเพื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม 

 

หากคุณเลือกอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้นจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม แค่ส่งจดหมายชี้แจง ระบุรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมเขียนเหตุผลร้องขอให้สถานทูตพิจารณาใหม่ แต่ก็ต้องใช้เวลารอไม่ต่ำกว่า 30 วัน ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่เร่งรีบเดินทาง หรือมีเวลาเหลือไม่เพียงพอในการรอพิจารณาวีซ่าเชงเก้น 

 

ส่วนใครที่เลือกวิธียื่นขอวีซ่าใหม่จะง่ายกว่าตรงที่คุณทำตามขั้นตอนเดิมได้เลย แต่ต้องพิจารณาเหตุผลว่าสถานทูตฯ ไม่อนุมัติวีซ่าเชงเก้นเพราะอะไร แล้วก็เตรียมเอกสารใหม่ให้ครบถ้วน ใช้เวลารอคอยผลไม่เกิน 15 วัน แต่ก็จะแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายใหม่ทั้งหมดของการทำวีซ่าเชงเก้นนั่นเอง 

Last update: 

Table of Contents