5 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อย่าเพิ่งสรุปว่าลูกพัฒนาการล่าช้า

5 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อย่าเพิ่งสรุปว่าลูกพัฒนาการช้า

พัฒนาการตามวัยเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจและมีความรู้ชัดเจน เพื่อคอยสังเกตลูกอยู่ตลอดพร้อมสร้างความมั่นใจว่าเด็กกำลังเติบโตตามทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งในเด็กแต่ละคนย่อมมีช่วงเวลาของพัฒนาการแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะเรื่องการพูด คำถามของพ่อแม่จำนวนมากจึงหนีไม่พ้นจะรู้ได้อย่างไรว่า “ลูกพูดช้า” แล้วถ้าเกิดกับลูกของตนเองต้องมีวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดแบบไหนได้บ้าง สามารถศึกษาได้จากบทความนี้เลย

เด็กเริ่มพูดตอนไหน แต่ละช่วงวัยเป็นยังไงบ้าง?

ก่อนจะไปเรียนรู้วิธีสังเกตุว่าลูกพูดช้าเกินไปหรือไม่ รวมถึงวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลองมาเช็กช่วงอายุของเด็กแต่ละวัยกันสักนิด อายุเท่าไหร่ควรมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดอย่างไรบ้าง

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

สัญญาณเตือนว่าลูกพูดช้า แล้วพ่อแม่ควรกังวลหรือไม่

แม้ในตารางที่ระบุข้อมูลเอาไว้ด้านบนจะเป็นพัฒนาการด้านการพูดเบื้องต้นตามช่วงวัย ทว่าเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก อย่างไรก็ตามหากถึงช่วงอายุ 2 ขวบแล้วลูกยังไม่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ ไม่สามารถพูดคำ 2 พยางค์แบบชัดเจนเพื่อให้พ่อแม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการจะบอก หรือยังสื่อสารกับคนรอบข้างไม่รู้เรื่อง ลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่พ่อแม่ต้องเริ่มกังวลใจ 

ทั้งนี้ในอีกด้านหนึ่งอาจไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกถึงอายุ 2 ขวบ ก็ได้ หากพ่อแม่พยายามสื่อสารกับลูกแล้วแต่ไม่มีการตอบสนองตามตารางที่ระบุเอาไว้แม้ผ่านช่วงอายุนั้น ๆ เกิน 1-2 เดือน ไปจนถึงพยายามบอกกล่าวหรือการสั่งให้ลูกทำตามแล้วเด็กไม่ยอมทำ เช่น ไม่ยกมือ พ่อแม่เรียกชื่อแล้วไม่หันหน้ามา นั่นบ่งบอกว่าลูกอาจกำลังมีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านการพูดและการฟัง ต้องรีบพาลูกพบกุมารแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อวินิจฉัยพร้อมหาวิธีแก้ปัญหาหรือรักษาต่อไป 

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า มีอะไรบ้าง?

1. ขาดการกระตุ้นจากพ่อแม่

เด็กหลายคนไม่ได้มีปัญหาด้านพัฒนาการใด ๆ แต่อาจไม่ได้รับการกระตุ้นให้พูดอย่างเหมาะสมจากพ่อแม่ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับแนวทางการเลี้ยงดูลูกใหม่จะช่วยให้เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านการพูดที่ควรเป็น 

2. ความผิดปกติทางสมอง

เด็กบางคนเกิดมาแล้วมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น ระบบประสาทด้านการควบคุมความเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่งผลให้มีภาวะพูดช้าหรือไม่สามารถสื่อสารได้ตามที่ควรจะเป็น 

3. ประสาทหูบกพร่อง

ภาวะประสาทหูพิการ ทำให้เด็กเกิดความบกพร่องทางการได้ยินจึงไม่สามารถเข้าใจคำพูด ไม่ได้ยินเสียง และไม่สามารถสื่อสารได้ จึงมักเลือกใช้ท่าทางแทนการเปล่งเสียง ส่วนมากมักมีปัญหาด้านอารมณ์ร่วมด้วย เช่น ร้องโวยวายหนักเมื่อไม่ได้ดั่งใจ แต่กลับไม่สามารถพูดสิ่งที่ตนเองต้องการได้ 

4. ออทิสติก / ภาวะพัฒนาการช้า

เด็กที่มีภาวะพัฒนาการช้า รวมถึงอาจมีความบกพร่องในด้านอื่นร่วมด้วย เช่น การเข้าสังคม การดูแลตนเอง การสื่อสารหรืออธิบายความหมาย การเข้าใจสิ่งที่ต้องเรียนรู้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวเร็วหรือช้าผิดปกติ เป็นต้น เมื่อสมองมีภาวะผิดปกติจากโรคดังกล่าวก็ทำให้พัฒนาการด้านการพูดช้าตามไปด้วย 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

5 เทคนิคดี ๆ เป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

1. มองตาลูกบ่อยๆ แล้วสอนให้ลูกพูด

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเทคนิคแรกสายตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ทุกสิ่งอย่าง การที่พ่อแม่มองหากับลูกน้อยก่อนแล้วค่อยสอนให้เขาพูดแบบช้า ๆ โดยการทำรูปปากเป็นคำที่สอน เด็กจะอ่านรูปปากพร้อมฟังเสียงที่ถูกเอ่ยออกมาจากปากของพ่อแม่แล้วพยายามทำตาม เพราะเขารู้สึกได้ถึงความปลอดภัย ความสบายใจ และความรัก ความรู้สึกที่ส่งผ่านทางสายตา 

2. หมั่นคุยกับลูกเป็นประจำ

การจะให้เด็กสื่อสารเรียนรู้เรื่องใดก็ตามพ่อแม่ต้องหมั่นทำให้เห็นเป็นตัวอย่างบ่อย ๆ ซึ่งวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดที่อยากแนะนำนั่นคือการหมั่นพูดคุยกับลูกเป็นประจำเพื่อให้ลูกเกิดปฏิสัมพันธ์ มีการเปล่งเสียงหัวเราะ สนุก ดีใจ เวลาทำกิจกรรมใดกับลูก เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า กินข้าว ก็พูดกับลูกอยู่ตลอด เด็กจะเรียนรู้ความหมายของคำเหล่านั้นได้มากขึ้น พร้อมอยากพูดตามให้เป็น หรือถ้าเวลาว่างก็อาจชวนลูกพูดคุยและให้ทำกิจกรรมตามคำสั่ง เช่น ถามว่าคนไหนแม่ คนไหนพ่อ เป็นต้น 

3. ค่อยๆ สอนคำพูดทีละคำ

การสอนให้ลูกพูดตามทีละคำคือวิธีสุดคลาสสิกที่จะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจ อยากเรียนรู้ และพูดตามพ่อแม่มากขึ้น แนะนำให้สอนทีละคำโดยเน้นคำที่พูดง่าย เช่น ป๊า ม๊า ปลา หมา หมู รวมถึงสอนคำที่เด็กต้องพบเจอทั่วไปในแต่ละวัน เช่น หิว อิ่ม อึ หม่ำ นม เพื่อเวลาที่เขารู้สึกแบบไหนจะได้สื่อสารออกมาอย่างเข้าใจ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ลูกพูดได้เร็วขึ้น 

4. ทำกิจกรรมที่ลูกมีส่วนร่วม

นอกจากการสอนที่เน้นการสื่อสารด้านคำพูดแบบทั่วไปแล้ว วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดอีกเทคนิคนั่นคือ พ่อแม่ทำกิจกรรมโดยให้ลูกมีส่วนร่วมเพื่อเด็กจะอยากสื่อสาร บอกสิ่งที่เขาต้องการ หรือทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เช่น ให้ชี้ไปที่พ่อ ชี้ไปที่แม่ ถามว่าชื่อน้อง (ชื่อลูก) ใช่ไหม แล้วให้เด็กยกมือ หากเขารู้สึกสนุกก็จะมีการยิ้ม หัวเราะ มีเสียงกรี๊ดออกมา แสดงถึงพัฒนาการที่ดีตามวัย 

5. ชื่นชมเมื่อลูกทำได้

ท้ายที่สุดพ่อแม่ต้องชื่นชมหรือมีการให้รางวัลบ้างหากลูกสามารถทำได้ตามที่บอก หรือมีการพูดคำที่พ่อแม่สอนได้แบบชัดเจน เด็กจะรู้สึกมีความสุขและอยากพูดบ่อย ๆ เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ตนเองทำได้ถูกต้อง มีคนชื่นชม และยังมักได้สิ่งดี ๆ กลับมาอีกด้วย

สรุป

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดต้องเริ่มต้นจากการเอาใจใส่ของพ่อแม่ หากรู้ว่าลูกพูดช้ากว่าพัฒนาการที่ควรเป็นก็ต้องรีบพบกุมารแพทย์ทันที หากตรวจแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนการสอนลูกให้พูดด้วยวิธีต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การสอนคำทีละพยางค์ การให้ทำตามคำสั่ง การหากิจกรรมทำร่วมกัน มีการชื่นชมเมื่อลูกทำได้ เป็นต้น รับรองว่าเด็กจะไม่เจอปัญหาพัฒนาการในด้านนี้อีกต่อไป

Last update: 

Table of Contents

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เลขที่ 0105555036794

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่00008/2555  

ใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย เลขที่ ช00012/2564

BOI logo

ได้รับการรับรองจาก BOI 2927/2555

บริษัท ลูม่า แคร์ จำกัด, 57 ปาร์ควินเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ชั้น 9 ยูนิต 912 ถนนวิภาวดี แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10330

Copyright © 2024 lumahealth.com. All Rights Reserved.   นโยบายความเป็นส่วนตัว