โรคมะเร็ง รู้เร็วรักษาได้

หนึ่งในหกของการเสียชีวิตทั่วโลกเกิดจากโรคมะเร็ง ทำให้มะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตสูงสุดเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ มะเร็งเป็นคำทั่วไปที่ใช้เรียกกลุ่มโรคที่มีลักษณะของการสร้างเซลล์ผิดปกติอย่างรวดเร็วและเติบโตเกินขอบเขตปกติ มะเร็งสามารถเกิดขึ้นกับส่วนใดของร่างกายก็ได้และเป็นโรคที่มีลักษณะจำเพาะรวมถึงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ และวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปกัน

มะเร็งหรือการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ สามารถลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงและแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ ได้ หรือที่เรียกว่าการแพร่กระจาย (metastasising) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง แม้จะเป็นโรคที่มีโอกาสหายน้อย แต่ทุกปีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและรอดชีวิตจากโรคมะเร็งก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ

มะเร็งรักษาได้

หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้การรักษาโรคมะเร็งประสบความสำเร็จ นอกเหนือไปจากการมีวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดี คือการตรวจพบโรคมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการที่ใช้ในตรวจหาว่าผู้ป่วยเป็นมะเร็งหรือไม่ มะเร็งอยู่ตำแหน่งใด รวมถึงชนิดของเซลล์มะเร็งและความรุนแรงของโรค การตรวจพบมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ ช่วยให้สามารถกำจัดมะเร็งหรือรักษาได้ง่ายขึ้น แม้ว่ามะเร็งแต่ละชนิดจะมีอัตราการรอดชีวิตแตกต่างกัน แต่มะเร็งชนิดที่มีอัตรารอดชีวิตน้อย ก็มีโอกาสรอดชีวิตสูงขึ้นหากตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

อัตรารอดชีพสัมพัทธ์ (Relative Survival Rates)

อัตรารอดชีพสัมพัทธ์ เป็นการเปรียบเทียบอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งเทียบกับประชากรโดยรวม ต่อไปนี้คืออัตรารอดชีพสัมพัทธ์ของมะเร็งบางชนิดที่พบบ่อย และความแตกต่างของอัตราการรอดชีวิตหากมีการตรวจพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มต้น

มะเร็งเต้านม: 

เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง โดย 90% ของผู้หญิงที่ถูกวินิจฉัยด้วยโรคมะเร็งชนิดนี้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นสามารถรอดชีวิตจากโรคมะเร็งได้อย่างน้อย 5 ปี หรือเท่ากับประมาณ 15% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในระยะรุนแรงที่สุดของโรค

มะเร็งรังไข่:

90% ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ระยะแรกสุด มีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี หรือคิดเป็น 5% เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยในระยะร้ายแรงที่สุดของโรค

มะเร็งปากมดลูก:

อัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปากมดลูกคือ 67% แต่หากตรวจพบในระยะแรก อัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามคือ 92%

มะเร็งลำไส้ใหญ่:

มะเร็งที่พบบ่อยที่สุดทั้งผู้ชายและผู้หญิง มีอัตราการรอดชีวิต 5 ปีหลังการวินิจฉัยโดยเฉลี่ย 65% แต่หากตรวจพบตั้งแต่ระยะแรก มีโอกาสรักษาหายและรอดชีวิตได้มากกว่า 90%

มะเร็งปอด:

หนึ่งในเนื้องอกที่ลุกลามมากที่สุด ผู้ป่วยมะเร็งปอดมากกว่า 80% จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อยหนึ่งปีหากได้รับการวินิจฉัยในระยะแรกสุด เทียบกับผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่สุดประมาณ 15%

มะเร็งต่อมลูกหมาก:

ปัจจุบันเป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในผู้ชาย (ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง) มีแนวโน้มที่จะรักษาหายมากขึ้น โดยอัตราการรอดชีวิต 5 ปีของผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากในระดับท้องถิ่นหรือในระดับภูมิภาคอยู่ที่เกือบ 100% การตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากจึงมีโอกาสทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงถึง 21%

มะเร็งตับอ่อน:

เนื่องจากความยากในการวินิจฉัยโรคมะเร็งตับอ่อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบเมื่ออยู่ในระยะลุกลาม ด้วยเหตุนี้ หากมะเร็งถูกผ่าตัดออกในขณะที่ยังมีขนาดเล็กและยังไม่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง จะทำให้อัตราการรอดชีวิต 5 ปีเพิ่มขึ้นมากถึง 25% เทียบกับผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนส่วนใหญ่เพียง 9% 

มะเร็งผิวหนัง:

มะเร็งผิวหนังชนิดร้ายแรงที่สุด คือ มะเร็งผิวหนังชนิดเมลาโนมา มีอัตราการรอดชีวิตประมาณ 99% หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ เทียบกับ 64% เมื่อตรวจพบในระยะที่แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นจากแสงแดด การป้องกันผิวหนังให้ปลอดภัยจากแสงแดดเพื่อลดความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง ก็เป็นสิ่งสำคัญนอกเหนือไปจากการตรวจพบโรคตั้งแต่เนิ่นๆ

มะเร็งรักษาได้

การตรวจคัดกรองมะเร็งและการวินิจฉัย

การตรวจหาตัวชี้วัดทางชีวภาพ การถ่ายภาพ และการตรวจชิ้นเนื้อเป็นหนึ่งในตรวจคัดกรองและวินิจฉัยโรคมะเร็ง การพัฒนาเทคโนโลยีและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ทำให้สามารถวินิจฉัยและรักษามะเร็งได้เร็วขึ้น จึงมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าสู่ระยะลุกลามน้อยลง ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอัลตราซาวนด์ (การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง) การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) การถ่ายภาพด้วยคลื่นสนามแม่เหล็ก (การสแกน MRI) และการตรวจตรวจวัดอนุภาคโพสิตรอน (PET scans) ได้เข้ามาแทนที่การตรวจวินิจฉัยส่วนใหญ่ ศัลยแพทย์สามารถผ่าตัดเนื้องอกในลำไส้ใหญ่ หลอดอาหารและกระเพาะปัสสาวะผ่านทางท่อได้โดยการใช้กล้องวิดีโอขนาดเล็กและการส่องกล้อง และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการศึกษาวิธีการกำจัดเนื้องอกโดยไม่ต้องผ่าเอาออก เช่น ใช้สเปรย์ไนโตรเจนเหลวเพื่อแช่แข็งและฆ่าเซลล์มะเร็ง (การผ่าตัดด้วยความเย็น) นอกจากนี้ ยังมีการใช้เลเซอร์เพื่อตัดเนื้อเยื่อของเนื้องอกในปากมดลูก กล่องเสียง ตับ ไส้ตรง ผิวหนัง และอวัยวะอื่นๆ

แต่น่าเสียดายที่การเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งประมาณ 70% มักเกิดในประเทศที่คนมีรายได้ปานกลางไปถึงน้อย ซึ่งเป็นประเทศที่แทบไม่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคมะเร็ง การขาดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง วิธีการคัดกรอง และการเข้าถึงการรักษา นับเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลให้มีอัตราการเสียชีวิตสูง

มะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในไทย โดยในปี 2561 มีอัตราการเสียชีวิตหลังปรับผลของความแตกต่างด้านอายุ อยู่ที่ 104.8 ต่อประชากร 100,000 คน แม้ว่าอัตราการเกิดมะเร็งของคนไทยจะเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ ในเอเชีย และเป็นครึ่งหนึ่งของประเทศตะวันตก แต่อัตราการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งยังค่อนข้างสูง นี่อาจชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในการวินิจฉัยและตรวจรักษาโรคมะเร็งที่เรายังคงพบเห็นได้โดยทั่วไป

อุบัติการณ์โรคมะเร็งในประชากรโลกจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต โดยคาดว่าปี 2583 จะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าจากปี 2008 แต่เมื่ออัตราการวินิจฉัยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการจัดการรักษาก็ดีขึ้นเช่นกัน มีการพัฒนาการตรวจวินิจฉัยตลอดหลายปีที่ผ่านมา  และยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะมีการพยากรณ์โรคที่ดีขึ้น ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในคัดกรองและขั้นตอนกระบวนการตรวจรักษา เราจึงสามารถวินิจฉัยและรักษามะเร็งส่วนใหญ่ได้อย่างแม่นยำตั้งแต่ระยะเริ่มแรก

อันที่จริงแล้ว อัตราของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งลดลงถึง 20% ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา และมากกว่า 67% ของผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งในปัจจุบันจะยังมีชีวิตอยู่ในอีกห้าปีข้างหน้า

รู้เร็ว รักษาได้

อย่างไรก็ตาม การขาดความตระหนักเกี่ยวกับสัญญาณและอาการของโรคมะเร็ง ตลอดจนความไม่เต็มใจและความลำบากใจในการไปพบแพทย์อาจเป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยโรคมะเร็งตั้งแต่เนิ่นๆ

ดังนั้น หากคุณสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับร่างกาย หรือสงสัยว่ามีอาการใด ๆ ที่เป็นไปได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณโดยเร็ว เพราะท้ายที่สุดแล้ว กันไว้ก็ย่อมดีกว่าแก้ และที่สำคัญไปกว่านั้นคือการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ (ซึ่งต้องปรับให้เข้ากับประวัติด้านสุขภาพของคุณด้วย) พร้อมทั้งยึดหลักการใช้ชีวิตเพื่อสุขภาพที่ดีซึ่งจะลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้หลายชนิด

เพื่ออนาคตที่คุณวางใจได้ การมีประกันมะเร็งที่ครอบคลุมการรักษาโรคมะเร็งทั้ง IPD และ OPD ดูแลครบตั้งแต่ต้นจนจบ ก็จะช่วยให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างอุ่นใจยิ่งขึ้น

*บทความนี้แปลจากต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์โดยทีมแพทย์ภายในของ LUMA

อ่านเพิ่มเติม:

Last update: 

Table of Contents
DBD logo

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เลขที่ 0105555036794

OIC logo

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่00008/2555  

ใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย เลขที่ ช00012/2564

BOI logo

ได้รับการรับรองจาก BOI 2927/2555

บริษัท ลูม่า แคร์ จำกัด, 57 ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ชั้น 9 ยูนิต 912 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Copyright © 2025 lumahealth.com. All Rights Reserved.   นโยบายความเป็นส่วนตัว