มะเร็ง โรคยอดฮิต กับค่ารักษาที่ไม่ได้เตรียมพร้อม

โรคมะเร็งถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้น ๆ ของทั้งคนไทยและคนทั่วโลก โดยองค์กรอนามัยโลกเผยว่า ในปี พ.ศ. 2561 มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ทั่วโลกถึง 18,078,957 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งทั่วโลกกว่า 9,555,027 คน ส่วนในไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 170,495 คน หรือเฉลี่ยวันละ 467 คน และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งถึง 114,119 คน หรือประมาณวันละ 313 คนเลยทีเดียว

จากข้อมูลของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ปีพ.ศ. 2561 พบว่า โรคมะเร็ง 3 อันดับแรกที่พบมากในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งตับและท่อน้ำดี และมะเร็งปอด ส่วนโรคมะเร็ง 3 อันดับแรกที่พบมากในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งลำไส้และทวารหนัก

จำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจากมะเร็งนั้นเพิ่มสูงขึ้นทุกปี การทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งให้มากขึ้น จึงน่าจะเป็นช่องทางหนึ่ง ที่ช่วยให้คุณรู้เท่าทันและพร้อมรับมือกับโรคนี้ได้ดีขึ้น

ค่ารักษามะเร็ง

โรคมะเร็ง คืออะไร

โรคมะเร็ง (Cancer) คือ โรคที่เกิดจากเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง หรือแบ่งตัวแบบกระจายอย่างรวดเร็ว และอาจลุกลามไปยังอวัยวะใกล้เคียง หรือแพร่กระจายไปตามอวัยวะสำคัญต่าง ๆ ในร่างกายได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ แต่มะเร็งบางชนิดก็อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เช่น มะเร็งเต้านม โดยโรคมะเร็งส่วนใหญ่จะก่อให้เกิดก้อนเนื้องอก หรือที่เรียกว่าก้อนมะเร็ง แต่ก็ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิดที่เกิดขึ้นในร่างกายจะต้องเป็นมะเร็งเสมอไป 

การจะรู้ว่าเนื้องอกที่เกิดขึ้นใช่มะเร็งหรือไม่ แพทย์จะต้องเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือก้อนเนื้องอกทั้งหมดออกมา โดยวิธีที่เรียกว่า การตัดชิ้นเนื้องอกออกมาวิเคราะห์ (Biopsy) 

ประเภทของมะเร็ง

โดยทั่วไปแล้ว มะเร็งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  • มะเร็งคาร์ซิโนมา (Carcinoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากผิวหนัง หรือเยื่อบุอวัยวะ

  • มะเร็งซาร์โคมา (Sarcoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ ไขมัน หรือหลอดเลือด

  • มะเร็งไมอีโลมา (Myeloma) และมะเร็งลิมโฟมา (Lymphoma) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน

  • มะเร็งลูคีเมีย หรือมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) คือ มะเร็งที่มีจุดกำเนิดมาจากเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดผิดปกติ

  • มะเร็งระบบสมองและไขสันหลัง (Central nervous system cancers) คือ มะเร็งที่เกิดในสมอง อวัยวะในระบบประสาทส่วนกลาง หรือไขสันหลัง

รู้ทันมะเร็ง ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งนั้นมีค่าใช้จ่ายสูง  แถมหากตรวจพบช้า อาการก็อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ฉะนั้น จึงเป็นการดีกว่าหากคุณสามารถตรวจเพื่อค้นหาโรคมะเร็งได้ตั้งแต่ก่อนเป็นโรค หรืออยู่ในระยะเริ่มต้น 

โดยวิธีการที่แพทย์นิยมใช้ก็คือ การตรวจคัดกรองมะเร็ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตจากมะเร็ง แถมช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งได้ด้วย 

ในปัจจุบัน คุณสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นได้ทั้งที่โรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน โดยค่าใช้จ่ายในการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นนั้นก็แตกต่างกันไปตามชนิดของมะเร็ง วิธีการตรวจ และสถานพยาบาล ดังนี้

ค่าตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นของโรงพยาบาลรัฐ 

  • ชาย อยู่ที่ประมาณ 270 – 8,800 บาท

  • หญิง อยู่ที่ประมาณ 270 – 15,000 บาท

ค่าตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นของโรงพยาบาลเอกชน

  • ชาย อยู่ที่ประมาณ 2,800 – 9,500 บาท

  • หญิง อยู่ที่ประมาณ 3,500 – 19,000 บาท

มะเร็งค่ารักษา

วิธีการรักษามะเร็ง และค่าใช้จ่าย

วิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้กันในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้แก่

  • การผ่าตัด คือ การผ่าเอาก้อนมะเร็งรวมทั้งต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงออก

  • เคมีบำบัด หรือการทำคีโม (Chemotherapyคือ การรักษาหรือการทำลายเซลล์มะเร็งทั้งที่จุดกำเนิดและจุดที่มะเร็งแพร่กระจายไป โดยการให้ผู้ป่วยกินยาที่มีความสามารถในการฆ่าหรือทำลายเซลล์มะเร็ง ฉีดยาทางหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ เป็นต้น

  • รังสีรักษา (Radiotherapy) คือ การฉายรังสีที่มีพลังงานสูง เช่น รังสีเอ็กซ์ ไปยังบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งอยู่ เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเนื้อเยื่อที่ไม่เป็นมะเร็ง

  • ฮอร์โมนบำบัด (Hormone therapy) คือ การรักษาโดยการลดปริมาณฮอร์โมนในร่างกายที่อาจไปกระตุ้นให้เซลล์มะเร็งเจริญเติบโต หรือใช้ยาที่เข้าไปขัดขวางการส่งสัญญาณของฮอร์โมนที่เซลล์มะเร็ง เพราะฮอร์โมนบางชนิด สามารถทำให้มะเร็งบางประเภทเติบโตขึ้นได้

  • ภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) คือ การรักษาโดยการเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพื่อให้สามารถต่อสู้และกำจัดเซลล์มะเร็งให้หมดไปจากร่างกายได้ แต่วิธีการนี้ยังถือเป็นวิธีการใหม่ที่ยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

โดยค่ารักษาโรคมะเร็งแต่ละชนิดนั้นจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสภาวะของผู้ป่วย วิธีการรักษา และสถานพยาบาล 

ตัวอย่างค่ารักษาโรคมะเร็งยอดฮิตในโรงพยาบาลรัฐชั้นนำ มีค่ารักษาโดยเฉลี่ย ดังนี้

  • มะเร็งเต้านม มีค่ารังสีรักษาอยู่ที่ประมาณ 69,300 – 84,500 บาท

  • มะเร็งปอด มีค่ารังสีรักษาอยู่ที่ประมาณ 87,500 – 140,000 บาท

  • มะเร็งปากมดลูก มีค่ารังสีรักษาอยู่ที่ประมาณ 144,400 บาท

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก มีค่ารังสีรักษาอยู่ที่ประมาณ 182,400 บาท

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจคัดกรองมะเร็งเบื้องต้นหรือการรักษามะเร็ง ต่างก็มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ฉะนั้น หากคุณไม่อยากมีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหรือกะทันหัน การเตรียมความพร้อม หรือการสำรองค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอาไว้ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณไม่ควรละเลย 

สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ หากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคมะเร็ง อ่าน ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับประกันสุขภาพ หรือกรอกแบบฟอร์มด้านล่างและกดส่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพของเราจะติดต่อกลับภายใน 24 ชั่วโมง

*บทความนี้แปลจากต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับการตรวจสอบทางการแพทย์โดยทีมแพทย์ภายในของ LUMA

You May Also Like

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …

HPV คือ
สุขภาพ

HPV คืออะไร อาการ เป็นอย่างไร ควรทำความเข้าใจให้ดี

เรื่องสุขภาพ ยิ่งรู้ก็มากยิ่งดี และถ้ายิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรค HPV (Human Papillomavirus) การรู้จักและทำความเข้าใจไวรัสชนิดนี้ที่พบได้อย่างแพร่หลาย ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้เช่นกัน HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปมีมากกว่า 100 ชนิด และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ตั้งแต่หูดไปจนถึงมะเร็ง ในบทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อ HPV ทั้งการแพร่เชื้อ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน …