โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรดูแลตนเองอย่างไร?

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มุ่งเป้าไปที่ข้อต่อเป็นหลัก ทำให้เกิดอาการปวด บวม และตึง การจัดการกับภาวะเรื้อรังนี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ด้วยแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ป่วยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือการดูแลตนเอง ซึ่งคุณสามารถทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมแนวทางต่างๆ ตลอดจนเคล็ดลับการดูแลตนเอง เพื่อช่วยให้คุณจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

ทำความเข้าใจกับโรคโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ก่อนที่จะเจาะลึกไปถึงแนวทางการดูแลตนเอง เรามาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กันก่อนว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออะไร และส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเยื่อบุข้อ (synovium) ซึ่งเป็นเยื่อบุของเยื่อหุ้มรอบข้อต่อ การอักเสบเรื้อรังนี้อาจนำไปสู่การทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกภายในข้อได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวด ตึง และเคลื่อนไหวข้อต่อลำบาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้

แม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การจัดการอย่างถูกวิธีสามารถช่วยควบคุมอาการ ป้องกันความเสียหายของข้อต่อ และทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

ดูแลตัวเองดี เมื่อเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

การดูแลตนเองมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ช่วยให้คุณดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ โดยแนวทางการดูแลตนเองที่กล่าวถึงในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวด อาการอักเสบ และอาการตึง รวมถึงดูแลให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

1. ออกกำลังกายเบาๆ ให้รู้สึกแอคทีฟอยู่เสมอ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาการทำงานของข้อต่อและสุขภาพโดยรวม แต่สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต้องเลือกการออกกำลังกายที่ไม่กระทบต่อข้อต่อ ตัวอย่างการออกกำลังที่เหมาะสมเช่น: 

  • การว่ายน้ำ: น้ำจะช่วยพยุงและรองรับน้ำหนักตัวของคุณ ช่วยลดผลกระทบต่อข้อต่อ การว่ายน้ำและแอโรบิกในน้ำช่วยให้ข้อต่อเกิดความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การเดิน: การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำซึ่งใครๆ ก็ทำได้ ลงทุนซื้อรองเท้าเดินสบายสักคู่และตั้งเป้าหมายที่จะเดินเล่นทุกวัน เพื่อให้ข้อต่อของคุณเคลื่อนไหวได้ดี
  • โยคะ: โยคะผสมผสานระหว่างการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ และการควบคุมลมหายใจ ช่วยให้ข้อต่อเกิดความยืดหยุ่นและผ่อนคลาย ลองหาคลาสเรียนหรือวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับโยคะสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แต่อย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับอาการของคุณ

2. จัดการกับความเครียด

ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นการนำเทคนิคการจัดการความเครียดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างวิธีลดความเครียดที่ได้ผลดี เช่น:

  • การหายใจลึก: ฝึกการหายใจลึกๆ อย่างมีสติเพื่อทำให้ระบบประสาทสงบลงและลดระดับความเครียด ทดลองฝึกหายใจเข้าลึกๆ โดยไม่เร่งรีบสักสองสามนาทีทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกเครียด
  • การทำสมาธิและฝึกให้มีสติ: ช่วยให้คุณอยู่กับปัจจุบัน ลดความวิตกกังวล และจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแอปฝึกสมาธิรวมถึงให้คำแนะนำในการฝึกสติที่น่าสนใจมากมายทางออนไลน์ให้คุณลอง
  • ตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง: แม้การจัดการกับโรครูมาตอยด์อาจจะมีหลายอย่างที่ต้องทำ แต่ลองเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญ ตั้งเป้าหมายที่คุณทำได้จริง และอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและครอบครัวเมื่อคุณต้องการ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

3. ปรับการกินอาหารให้สมดุล

การกินอาหารสมดุลจำเป็นต่อสุขภาพโดยรวมและส่งผลอย่างมากในการจัดการกับโรครูมาตอยด์ อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติลดการอักเสบซึ่งช่วยลดการอักเสบของร่างกายได้ ลองรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของสารอาหารดังต่อไปนี้:

  • กรดไขมันโอเมก้า 3: พบในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน วอลนัท และเมล็ดแฟลกซ์ โอเมก้า 3 มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งช่วยลดการอักเสบของข้อได้
  • อาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ: ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส เช่น เบอร์รี่ เชอร์รี่ และผักโขม เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่จะต่อสู้กับอาการอักเสบ
  • ธัญพืชไม่ขัดสี: เลือกรับประทานธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ควินัว และขนมปังโฮลวีต ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าธัญพืชขัดสี

แม้ว่าการเปลี่ยนมารับประทานอาหารเหล่านี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ก็ควรปรึกษานักกำหนดอาหารที่มีใบอนุญาตหรือนักโภชนาการด้วยเช่นกัน เพื่อวางแผนโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการและความชอบของแต่ละบุคคล

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน และสำคัญยิ่งกว่าสำหรับผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ ระหว่างการนอนหลับลึก ร่างกายจะซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมถึงเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการอักเสบ คุณสามารถปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้โดย:

จัดสถานที่พักผ่อนให้เหมาะกับการนอนหลับ สร้างบรรยากาศในห้องนอนที่เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน ลงทุนซื้อที่นอนและหมอนที่นุ่มสบาย รักษาอุณหภูมิห้องให้เย็น และกำจัดเสียงรบกวนและแสงรบกวน 

  • จัดตารางการนอน: นอนหลับและตื่นให้เป็นเวลา โดยกำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับจังหวะร่างกาย
  • การจัดการความเจ็บปวด: หากคุณรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวจนไม่สามารถนอนหลับได้ ให้ปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีจัดการกับความเจ็บปวดเหล่านั้น
  • หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น: หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและการกินอาหารจนอิ่มเกินไปในช่วงใกล้เวลานอน เพราะอาจรบกวนวงจรการนอนหลับได้

5. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วย

อุปกรณ์และเครื่องมือช่วยเหลือบางอย่างสามารถทำให้งานในแต่ละวันจัดการได้ง่ายขึ้นและลดการใช้ข้อต่อ ลองใช้เครื่องมือต่อไปนี้เพื่อลดความตึงของข้อต่อ เช่น

  • ที่เปิดขวด: ช่วยให้เปิดขวดและภาชนะได้ง่ายขึ้น
  • อุปกรณ์ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์: อุปกรณ์ที่มีด้ามจับออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์จะใช้งานได้สะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อมือ
  • เครื่องช่วยพยุงและเฝือก: ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำอุปกรณ์ช่วยพยุงหรือเฝือกเพื่อรองรับและป้องกันข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ

6. กินยาอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

การใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับโรครูมาตอยด์ หมั่นปรึกษาแพทย์โรคไขข้อสม่ำเสมอ เพื่อจัดยาให้เหมาะสมสำหรับควบคุมอาการของโรค อย่าลดขนาดยาหรือเปลี่ยนแปลงยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

7. หมั่นหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรค 

การหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการ และวิธีรักษาที่เป็นไปได้ ช่วยให้คุณดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น การได้รับข้อมูลที่ดีจะช่วยให้คุณมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของคุณเอง และสามารถสื่อสารกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามหรือแจ้งข้อกังวลใดๆ ก็ตามที่คุณมีให้กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทราบทุกครั้งที่มีการนัดหมาย

 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์, โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรดูแลตนเองอย่างไร?

สรุป

การเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่หากรู้จักดูแลตนเองให้ดี คุณก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและจัดการกับอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณโดยเฉพาะ เพียงแค่คุณรู้จักดูแลรักษาตนเองอย่างถูกวิธั ก็สามารถลดความเจ็บปวด อาการอักเสบ และอาการตึง ให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และสะดวกสบายมากขึ้นทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองการทำกายภาพบำบัด ที่สามารถช่วยแก้อาการต่างๆ แต่ต้องไม่ใช่โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน หากสนใจประกันสุขภาพที่คุ้มครองตรงนี้ สามารถติดต่อ LUMA เพื่อขอดูแผนประกัน

Last update: 

Table of Contents

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เลขที่ 0105555036794

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่00008/2555  

ใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย เลขที่ ช00012/2564

BOI logo

ได้รับการรับรองจาก BOI 2927/2555

บริษัท ลูม่า แคร์ จำกัด, 57 ปาร์ควินเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ชั้น 9 ยูนิต 912 ถนนวิภาวดี แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10330

Copyright © 2024 lumahealth.com. All Rights Reserved.   นโยบายความเป็นส่วนตัว