ประกันสุขภาพคืออะไร แบบไหนถึงตอบโจทย์

หากพูดถึง ‘ประกันสุขภาพ’ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ในช่วงสามปีที่ผ่านมาผู้คนหันมาให้ความสนใจการทําประกันสุขภาพมากขึ้น นอกเหนือจากการทำประกันภัยโควิดแล้ว ยังรวมถึงประกันภัยประเภทอื่นด้วย เพราะเหตุการณ์ไม่คาดฝันอาจเกิดขึ้นเมื่อไหร่ก็ได้ และประกันสุขภาพ คือ ตัวช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินที่ดีไม่น้อยเลยทีเดียว 

อย่างไรก็ตามรูปแบบของประกันภัยหลากหลายประเภทจนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเลือกซื้อ วันนี้ Luma จะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยว่าประกันสุขภาพแบ่งออกเป็นกี่ประเภท คุ้มครองด้านใดและมีโครงสร้างสัญญาแบบไหนบ้าง เพื่อให้คุณเลือกแบบที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างง่ายดาย

ประกันสุขภาพ คืออะไร? มาคลายความสงสัยให้กระจ่าง

การประกันสุขภาพ คือ การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามข้อตกลงของบริษัทประกันภัยไม่ว่าผู้เอาประกันภัย (Insured) จะเจ็บป่วยจากโรคภัยหรือบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หากสงสัยว่าประกันสุขภาพคุ้มครองโรคใดบ้าง จำเป็นต้องตรวจสอบตารางผลประโยชน์ในแผนประกันภัยและกรมธรรม์ เพราะแต่ละแผนจะให้ความคุ้มครองแตกต่างกันไป

ปัจจุบันการประกันภัยสุขภาพสามารถแบ่งตามประเภทของกรมธรรม์ประกันภัยได้ 2 ประเภทใหญ่ ได้แก่ ประกันสุขภาพส่วนบุคคลและประกันสุขภาพกลุ่ม ซึ่งให้ความคุ้มครองหลักเหมือนกันทั้งสองประเภท แต่จะแตกต่างกันอย่างไรมาค้นหาคำตอบกันต่อเลย

ประกันสุขภาพ แบ่งออกได้กี่แบบ แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากทราบแล้วว่าประกันสุขภาพ คืออะไร เราจะพามาเปรียบเทียบให้ชัดว่าประกันสุขภาพ 2 ประเภททั้งประกันสุขภาพส่วนบุคคลและประกันสุขภาพกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ประกันเหล่านี้คุ้มครองด้านใดบ้าง

1. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล

สำหรับประกันสุขภาพส่วนบุคคล (Individual Health Insurance) คือ ประเภทของประกันภัยสุขภาพที่คุ้มครองผู้เอาประกันรายเดียว โดยผู้ซื้อสามารถกำหนดความต้องการให้เหมาะสมกับความเสี่ยงหรือไลฟ์สไตล์ของตน ดังนั้นจุดเด่นของประกันสุขภาพ คือ การเลือกความคุ้มครองที่ตอบโจทย์ตนเองและค่าเบี้ยประกันสุขภาพจะถูกคำนวณตามอายุและเพศ ปรับเปลี่ยนแผนได้ตามงบประมาณ ซึ่งประกันแบบเหมาจ่ายที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันก็ถือเป็นหนึ่งในความคุ้มครองประกันสุขภาพส่วนบุคคลด้วย

2. ประกันสุขภาพกลุ่ม

รูปแบบต่อมาของประกันสุขภาพ คือ ประกันภัยสุขภาพกลุ่ม (Group Health Insurance) ที่องค์กรหรือบริษัทนิยมซื้อให้แก่บุคลากรเพื่อเป็นสวัสดิการคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล โดยกรรมธรรม์ของทุกคนจะเป็นแบบเดียวกันทั้งหมด ทั้งนี้แต่ละองค์กรจะมีความคุ้มครองแตกต่างกัน ซึ่งจุดเด่นของประกันสุขภาพกลุ่มก็คือ ค่าเบี้ยประกันต่อหัวที่ต่ำกว่าประเภทส่วนบุคคลเพราะมีการคำนวณเบี้ยเฉลี่ยเป็นราคาเดียว

ประกันสุขภาพคุ้มครองอะไรบ้าง ต้องทำการบ้านก่อนซื้อ

การประกันค่ารักษาพยาบาลของผู้เอาประกันนั้นครอบคลุมทั้งการเจ็บป่วยจากโรคภัยและอุบัติเหตุ นอกจากจะมีรูปแบบส่วนบุคคลและแบบกลุ่มแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของประกันสุขภาพตามความคุ้มครองผลประโยชน์ในการรักษาพยาบาลได้ ดังต่อไปนี้

1. ประกันสุขภาพผู้ป่วยใน (IPD)

การคุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยใน หรือ In-Patient Department ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลติดต่อกัน 6 ชั่วโมงขึ้นไปซึ่งต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ รวมถึงกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายใน 6 ชั่วโมงเมื่อโรงพยาบาลรับตัวเป็นผู้ป่วยในแล้วด้วย 

สำหรับค่าใช้จ่ายที่บริษัทประกันมอบให้ครอบคลุมทั้งค่ารถพยาบาล ค่าปรึกษาแพทย์ ค่ายา ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าผ่าตัด เหมาะสำหรับการทําประกันสุขภาพให้ลูกและผู้สูงอายุอย่างยิ่งเพราะมีโอกาสเจ็บป่วยสูงกว่าวัยอื่น อย่างไรก็ตามประกันสุขภาพ ราคาอาจจะสูงเพราะเป็นการคุ้มครองเหมาจ่าย

2. ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก (OPD)

การคุ้มครองสุขภาพผู้ป่วยนอก หรือ Out-Patient Department  ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโดยที่ผู้เอาประกันไม่นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล  ส่วนใหญ่จะเป็นการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง เช่น ปวดศีรษะ เป็นไข้หวัด ตาแดง เป็นต้น ผู้ทำประกันจะได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและค่าปรึกษาแพทย์ ฉะนั้นประกันภัยสุขภาพนี้จึงเหมาะกับทุกวัย สามารถรับการรักษาได้แบบไม่ต้องสำรองจ่ายก่อน

3. ผลประโยชน์แนบท้ายสัญญา/สัญญาเพิ่มเติมอื่น  

นอกจากความคุ้มครองทั้งสองรูปแบบหลักแล้ว กรมธรรม์ประกันภัยสุขภาพยังมีการระบุเอกสารแนบท้ายเพิ่มเติมเพื่อขยายความคุ้มครอง ผู้เอาประกันภัยจึงสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองเพิ่มนอกเหนือจากกรมธรรม์หลักได้ เช่น การคลอดบุตร การรักษาจากอุบัติเหตุหรือโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ทันตกรรม การดูแลโดยพยาบาลพิเศษ เป็นต้น

โครงสร้างของประกันสุขภาพ 2 รูปแบบที่คุณควรรู้

โครงสร้างสัญญาประกันสุขภาพแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ สัญญาประกันหลักและสัญญาเพิ่มเติม โดยมีลักษณะดังนี้

1. สัญญาประกันสุขภาพหลัก

ประกันภัยสุขภาพหลัก คือ สัญญาหลักที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดใช้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลแก่ผู้เอาประกัน ซึ่งจำเป็นต้องซื้อประกันรูปแบบหลักก่อนจึงจะสามารถถือสัญญาเพิ่มเติมเข้าไปได้ อย่างไรก็ตามการแนบสัญญาเพิ่มเติมจะขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันว่าซื้อแบบใดเพิ่มเติมได้บ้างและเพิ่มได้กี่สัญญา

2. สัญญาประกันสุขภาพเพิ่มเติม

สัญญาประกันภัยสุขภาพเพิ่มเติม หมายถึง สัญญาเพิ่มเติมนอกเหนือจากกรมธรรม์หลักที่ซื้อเพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้กว้างขึ้น โดยสัญญาประเภทนี้จะไม่มีการคืนเงินแก่ผู้เอาประกันเมื่อหมดสัญญา ยกตัวอย่างเช่น ประกันชดเชยรายได้และประกันโรคร้ายแรง 

ทำไมถึงต้องทำประกันสุขภาพ จำเป็นแค่ไหนในยุคนี้?

บางคนอาจมองว่าการซื้อประกันสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแบบตลอดชีพหรือประกันสุขภาพรายปีนั้นเป็นเรื่องฟุ่มเฟือยไม่จำเป็น แต่ในความเป็นจริงแล้วการทำประกันสุขภาพเป็นหลักประกันให้ครอบครัวได้ว่าเมื่อป่วยจะมีเงินเพียงพอในการรักษา ไม่ต้องกังวลว่าเงินเก็บที่สะสมมาจะละลายในแม่น้ำแถมคุณยังสามารถจัดการแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละปีได้อย่างรัดกุมอีกด้วย 

เท่านั้นยังไม่พอการซื้อประกันยังได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี เลือกโรงพยาบาลที่สะดวกหรือมีแพทย์เฉพาะทางได้ตามความต้องการ ดังนั้นการจ่ายเบี้ยประกันจึงเป็นการวางแผนล่วงหน้าที่ดี คุ้มค่าแก่การจ่ายเบี้ยประกันหากราคาเหมาะสมและตรงกับความต้องการ

สรุป

เป็นอย่างไรบ้างสำหรับรายละเอียดที่น่าสนใจของประกันสุขภาพที่เราหยิบมาฝากกันวันนี้ หลายคนคงคลายความสงสัยเกี่ยวกับการทำประกันภัยประเภทนี้กันแล้วว่ามีลักษณะอย่างไร หากต้องการทำประกันให้ตัวเองหรือคนที่คุณรัก อย่าลืมตัวเลือกดี ๆ อย่าง Luma ไม่ว่าจะประกันสุขภาพส่วนบุคคลหรือแบบกลุ่มก็มีตัวเลือกหลากหลาย ตอบโจทย์ทุกความต้องการในราคาที่แสนคุ้มค่า

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …