รู้ทันมะเร็งปากมดลูก อะไรคือสาเหตุ ป้องกันได้อย่างไร ?
มะเร็งปากมดลูกคือโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวมากกว่าที่คุณคิด ในขณะที่คุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ มีผู้กำลังเสียชีวิตจากโรคมะเร็งอย่างน้อยวันละ 200 คน แบ่งออกเป็นผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยวันละ 10 คน และยิ่งระยะเวลาผ่านไปตัวเลขของผู้ป่วยยิ่งเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ
สาเหตุใดโรคร้ายนี้ถึงรับมือได้ยาก มีวิธีไหนบ้างที่จะป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับคุณและคนใกล้ตัวของคุณ บทความนี้จะช่วยให้ความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้คุณสามารถรู้เท่าทันโรคมะเร็งปากมดลูกได้ดียิ่งขึ้น
ภัยเงียบสำหรับคุณผู้หญิง มะเร็งปากมดลูก คืออะไร ?
มะเร็งปากมดลูกคือ โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ภายในปากมดลูก โดยจะเกิดขึ้นในบริเวณช่วงล่างของมดลูกที่เป็นส่วนที่เชื่อมต่อโดยตรงเข้ากับช่องคลอด ทำให้ความอันตรายของโรคชนิดนี้มีสูงกว่ามะเร็งชนิดอื่น ๆ ที่หลังจากเกิดโรคจะไม่ค่อยแสดงอาการร้ายแรง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรู้ตัวในระยะที่ลุกลามแล้ว ซึ่งมักจะแสดงอาการเจ็บป่วยอย่างชัดเจน
หากนับตามสถิติในปี 2566 มะเร็งปากมดลูก คือโรคอันดับ 2 ที่คร่าชีวิตหญิงไทยมากที่สุดในแต่ละปี ในทุก ๆ ปีจะมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้สูงกว่า 8,000 คน ซึ่งคาดว่าตัวเลขน่าจะพุ่งสูงขึ้นมากกว่านี้อีกอย่างแน่นอน ในปัจจุบันถึงแม้เทคนิคทางการแพทย์จะพัฒนามากกว่าเดิม แต่โรคมะเร็งปากมดลูกก็ยังคงเป็นภัยเงียบที่กว่าผู้ป่วยหลายคนจะรู้ตัวก็สายไปแล้ว
สาเหตุที่ส่งผลให้เกิดเกิดมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูกเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักที่พบได้บ่อยที่สุด คือการได้รับเชื้อไวรัส Human Papillomavirus (HPV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ หลังได้รับเชื้อจะไม่ได้แสดงอาการเจ็บป่วยใด ๆ ออกมาในระยะแรก แต่จะเกิดการฝังตัวของเชื้อไวรัส และค่อย ๆ ทำให้เกิดอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกแสดงออกมาทีละน้อย ๆ เปรียบเสมือนระเบิดเวลาที่ฝังเอาไว้ในร่างกาย เมื่อถึงช่วงเวลาที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำ ก็ถึงเวลาที่ระเบิดเวลาลูกนี้จะเริ่มทำลายร่างกายของคุณ
ทำความรู้จักกับ “เชื้อ HPV” เชื้อร้ายที่ใกล้ตัวกว่าที่คิด
จากหัวข้อเมื่อสักครู่ ที่เราได้นำเสนอข้อมูลที่ว่า “มะเร็งปากมดลูกเกิดจากเชื้อ HPV” ไวรัส Human Papillomavirus แท้จริงแล้วไวรัสชนิดนี้ไม่ใช่สารก่อมะเร็งโดยตรง แต่เป็นไวรัสที่ติดต่อระหว่างเพศสัมพันธ์ เป็นสารที่เพียงได้สัมผัสโดยตรง ก็สามารถส่งต่อได้แล้ว เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบใด หากมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของอีกฝ่าย โอกาสที่จะได้รับเชื้อชนิดนี้ก็สูงตามไปด้วย แต่ข่าวดีก็คือ ในปัจจุบันมีการคิดค้นวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัส HPV ซึ่งสามารถแจ้งความประสงค์ฉีดได้จากสถานบริการทางการแพทย์ใกล้บ้านคุณ
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็งปากมดลูก
นอกจากไวรัส HPV แล้ว ปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของโรคมะเร็งปากมดลูก คือสิ่งที่ทุกคนควรรู้เอาไว้ เพราะมีบางเคสที่ผู้ป่วยไม่ได้มีรสนิยมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ แต่ก็มีอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งนั่นก็เป็นคำตอบได้อย่างดีว่ามะเร็งชนิดนี้ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่หลากหลายเหมือนมะเร็งชนิดอื่น ๆ มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้
เพศ
แน่นอนว่ามะเร็งปากมดลูกคือโรคที่เกิดในเพศหญิงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเชื้อไวรัสตัวร้ายอย่าง HPV ก็สามารถสร้างโรคร้ายให้กับฝ่ายชายได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ ไปจนถึงมะเร็งองคชาต และมะเร็งทวารหนักที่เกิดได้ในกลุ่มความสัมพันธ์แบบชายรักชาย
เชื้อชาติ
เชื้อชาติยังไม่มีการวิจัยที่บ่งชัดได้ว่าจะมีโอกาสเกิดโรคได้มากกว่า แต่การที่เป็นเชื้อชาติที่ไม่สามารถเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้ มีโอกาสสูงมากขึ้นที่จะเกิดความร้ายแรงของโรค ส่วนมากจะเกิดกับเชื้อชาติที่ขาดโอกาสทางด้านการรักษาเป็นหลัก
การมีบุตร
การมีบุตรส่งผลโดยตรงต่อการเกิดอาการของมะเร็งปากมดลูก โดยเฉพาะสุภาพสตรีที่มีบุตรเร็วในช่วงวัยรุ่น และผู้ที่มีการตั้งครรภ์มากกว่า 3 ครั้งเป็นต้นไป กลุ่มคนเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้หญิงที่ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์มาก่อน
ฮอร์โมน
จะให้กล่าวถึงฮอร์โมนในร่างกายก็คงไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่ แต่จะเป็นการทานยาคุมกำเนิด ซึ่งเป็นยาที่มีการบรรจุฮอร์โมนเอสโตรเจนสังเคราะห์ มีการวิจัยว่าหากทานติดต่อกันเป็นระยะเวลาเกิน 5 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้หญิงที่ไม่ได้ทาน
อายุ
ช่วงอายุที่พบมะเร็งปากมดลูกได้บ่อยที่สุดคือ “ช่วงวัยกลางคน” บางครั้งจะพบโรคนี้ในผู้ที่ป่วยที่อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ แต่ก็มีโอกาสน้อยกว่าวัยกลางคนที่เกิดจากการรับเชื้อไวรัส HPV แล้วเกิดการลุกลามของโรคภายในช่องคลอด
ความอ้วน
นับว่าเป็นโรคมะเร็งเพียงไม่กี่โรค ที่ความอ้วนไม่ได้เป็นปัจจัยหลักของการเกิด แต่จะเป็นอุปสรรคต่อขั้นตอนของการรักษามะเร็งปากมดลูก ดังนั้นการคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรทำตั้งแต่ยังแข็งแรง อย่าเริ่มออกกำลังกายในวันที่เริ่มป่วย แต่จงออกกำลังกายเพื่อไม่ให้ป่วยจะดีที่สุด
พันธุกรรม
มีหลักฐานอย่างชัดเจนว่ามะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์โดยตรงกับคนในครอบครัว โดยเฉพาะผู้ที่เป็นสายเลือดโดยตรง อย่างเช่น ยาย แม่ พี่สาว น้องสาว แต่ก็ยังไม่สามารถการันตีได้ว่า เป็นโรคที่สามารถส่งต่อได้ทางพันธุกรรมโดยตรง หากครอบครัวมีอาการของโรคนี้ ก็จะมีแนวโน้มสูงที่จะเกิดขึ้นอีกในทายาทลำดับถัดไป
อาการของมะเร็งปากมดลูก สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปากมดลูก
ความน่ากลัวที่ทำให้มะเร็งปากมดลูก ถูกเรียกว่าเป็น “มัจจุราชเงียบ” ก็คืออาการของโรคมะเร็งปากมดลูกช่วงเริ่มต้นที่ไม่ชัดเจนมากนัก บางอาการเป็นเหมือนอาการทั่ว ๆ ไปที่พบได้บ่อยในผู้หญิงที่เป็นรอบเดือน หากไม่ได้รับการวินิจฉัยอย่างชัดเจน มักทำให้การรักษามะเร็งปากมดลูกล่าช้าเกินไป เพื่อเป็นการรับมือปัญหานี้ เราได้รวบรวมสัญญาณเตือนของคุณผู้หญิง เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้ว ควรรีบพบแพทย์ในทันที
- มีอาการเจ็บขณะที่มีเพศสัมพันธ์ รวมไปถึงมีเลือดออกในบริเวณช่องคลอด
- เกิดอาการปัสสาวะแสบขัด ปวดท้อง มีเลือดปนออกมาพร้อมปัสสาวะ
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- มีอาการผิดปกติภายในช่องคลอด เช่น ตกขาวมากกว่าปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดกะปริบกะปรอย
- อาการปวดท้องบริเวณหัวหน่าวที่หาสาเหตุไม่ได้
มะเร็งปากมดลูก มีกี่ระยะ
มะเร็งปากมดลูก
มี 2 ช่วงของการเกิดโรคใหญ่ ๆ คือ “ช่วงก่อนเป็นมะเร็ง” จะเป็นช่วงเริ่มต้นของการเกิดโรค ผู้ป่วยจะไม่มีความผิดปกติใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นช่วงแรกที่เซลล์มะเร็งกำลังเติบโต หลังจากผ่านช่วงเวลานั้นมาสักพัก ก็จะเข้าสู่ “ช่วงลุกลาม” เป็นช่วงที่มีอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกแสดงออกมาอย่างชัดเจน โดยจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังต่อไปนี้
- ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่เซลล์มะเร็งกำลังลุกลามเข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของปากมดลูก
- ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
- ระยะที่ 3 เกิดการเปลี่ยนแปลงของผนังช่องคลอด อาจไปกดจนท่อไตทำงานผิดปกติ ส่งผลให้มีอาการบวมน้ำ
- ระยะที่ 4 เซลล์มะเร็งลุกลามจากปากมดลูกไปยังกระเพาะปัสสาวะ และอวัยวะอื่น ๆ ที่ใกล้เคียง
มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้หรือไม่ ?
เนื่องจากความน่ากลัวของโรคมะเร็งปากมดลูก ทำให้มีการวิจัยอย่าง จนในปัจจุบันสามารถวิเคราะห์อาการของโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการรักษามะเร็งปากมดลูกที่ทันท่วงที ก็สามารถทำให้ความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยลดลง แต่หากเป็น “การป้องกัน” แม้จะไม่สามารถทำได้ 100% แต่ก็สามารถทำได้ตามวิธีดังต่อไปนี้
ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV
จากที่กล่าวถึงอยู่ตลอดในบทความนี้ ว่าสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกคือ “ไวรัส HPV” ดังนั้นการตัดไฟตั้งแต่ต้นลม คือการเข้ารับวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นวิธีป้องกันไม่ให้เกิดโรคมะเร็งในบริเวณปากมดลูกได้ดีที่สุด สามารถป้องกันได้สูงถึง 90% เลยทีเดียว
การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
การคัดกรองคือขั้นตอนการตรวจหารอยโรค ซึ่งสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก จำเป็นจะต้องเข้ารับการ “ตรวจภายใน” ซึ่งการตรวจประเภทนี้เป็นเรื่องที่ดี เพราะสามารถเฝ้าระวัง และรักษาอาการของโรคมะเร็งปากมดลูกได้อย่างทันท่วงที เพียงแค่ค่านิยมต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้หญิงไทยมักจะเขินอายต่อการเข้ารับการตรวจประเภทนี้
วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูก
หลังจากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปากมดลูกแล้ว แนวทางการรักษาคือ “รักษาตามระยะของอาการ” หากเป็นช่วงระยะที่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ก็จะมีการรักษาด้วยการจี้รอยโรคด้วยความเย็น ไปจนถึงการตัดบริเวณที่มีเซลล์มะเร็งทิ้งไป สำหรับการรักษามะเร็งปากมดลูกในระยะที่ลุกลามแล้ว ยังคงเป็นแนวทางคล้ายเดิม แต่อาจจะมีการรักษาที่ซับซ้อนมากขึ้น มีบริเวณที่จะต้องตัดเนื้อร้ายทิ้งกว้างกว่า และจะต้องมีการทำเคมีบำบัดผสมผสานไปด้วยระหว่างการรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อร้ายกลับมาเป็นซ้ำ
บทส่งท้าย
มะเร็งปากมดลูกคือฝันร้ายของผู้หญิงทุกคน อย่างที่ทุกคนรู้กันเป็นอย่างดีว่า มะเร็งคือโรคที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แม้จะเป็นผู้ที่ไม่มีความเสี่ยงเลยก็ตาม ก็ยังสามารถเป็นผู้โชคร้ายจากการเป็นผู้ป่วยของโรคมะเร็งได้เช่นเดียวกัน แนวทางการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกคือ การเข้ารับการตรวจคัดกรองอยู่เสมอ พร้อมกับการรับวัคซีนตามเวลาที่เหมาะสม
ทางด้านของความมั่นคงในชีวิต หากไม่อยากให้ปัญหาของโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ เข้ามาทำลายชีวิตของคุณ ให้ประกันมะเร็งของ LUMA ดูแลคุณสิครับ การทำประกันเอาไว้ตั้งแต่ร่างกายยังแข็งแรง เมื่อเกิดโรคร้ายแรงที่คาดไม่ถึงขึ้นมาจริง ๆ คุณก็ยังสามารถเบาใจได้ในเรื่องของค่ารักษา เงินเยียวยาต่าง ๆ ที่จะได้รับตามเงื่อนไขของสัญญา
Rungnapa T.
ผู้ตรวจสอบบทความทางการแพทย์ Luma’s Medical Team