การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย

อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้

หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ

ดื้อยา

ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี 2558 โดยกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทยและ Wellcome Trust พบว่ามีผู้เสียชีวิตโดยเฉลี่ย 2 คนทุกๆ หนึ่งชั่วโมงจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายชนิดในประเทศไทย จากการประมาณการในปี 2553 จะมีผู้เสียชีวิต 19,122 รายจากประชากร 68 ล้านคน โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาหลายชนิด ซึ่งประเทศไทยมีส่วนอยากมากในการจัดการปัญหาระดับโลกนี้ เพราะมีอัตราผู้เสียชีวิตต่อจำนวนประชากรมากกว่าเมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่องในระดับโลกที่จะทำความเข้าใจกับวิกฤติเชื้อดื้อยานี้ จึงเกิดเป็นโครงการความร่วมมือในประเทศไทยโดยมีจุดมุ่งหมายในการหาสาเหตุที่แท้จริงของการดื้อยาปฏิชีวนะในไทย ได้รับเงินทุนสนับสนุนมูลค่า 2.9 ล้านปอนด์จาก Global Challenges Research Fund (GCRF) ขณะขนาดของการวิจัยและเงินทุนจำนวนมากนี้ ก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงสถานการณ์เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในไทย

ตามแถลงการณ์ขององค์การอนามัยโลก ในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ยาปฏิชีวนะหลายชนิดสามารถหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา และเป็นเรื่องปกติที่คนมักซื้อยาปฏิชีวะจากร้านขายยาหรือเภสัชกรมารับประทานเอง หรือรับประทานยาที่เหลือจากการรักษาครั้งก่อนๆ

เนื่องจากจำนวนร้านขายยารายย่อยและร้านค้าอื่นๆ ที่จำหน่ายยาปฏิชีวนะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ยาปฏิชีวนะจึงมีวางจำหน่ายอย่างแพร่หลายและหาซื้อได้ง่าย นอกจากนี้ บุคลากรทางการแพทย์เองก็อาจมีแรงจูงใจในการสั่งยาปฏิชีวะเกินจำเป็นเพื่อทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายใจ หรือในบางกรณีมีแรงจูงใจทางการเงินเข้ามาด้วย กฎระเบียบและการบังคับใช้ที่หละหลวมในการจำหน่ายยาในประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลางยังเปิดโอกาสให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะซึ่งหาซื้อได้เองจากร้านขายยาเพิ่มมากขึ้น และยังเอื้อให้เกิดการใช้ยาดังกล่าวเป็นส่วนผสมในฟาร์มโดยตรงด้วยเช่นกัน

การศึกษาชิ้นหนึ่งในวารสารสมาคมการแพทย์แห่งประเทศไทย พบว่าขนาดของการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เหมาะสมในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยการแพทย์ในประเทศไทยสูงถึง 52.3% อย่างไรก็ตาม ยังพบว่าการอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์ช่วยลดการสั่งยาอย่างไม่เหมาะสมโดยรวม

แม้ว่าจะเป็นวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นในระดับโลก แต่การดื้อยาปฏิชีวนะสามารถป้องกันได้โดยเริ่มจากบุคลากรทางการแพทย์ ควรให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วยที่เหมาะสมตามการรักษา ให้ในปริมาณที่ตรงกับความต้องการของแต่ละบุคคล ในระยะเวลาที่เหมาะสมเท่านั้น เช่นเดียวกันกับการใช้ยาในกระบวนการจัดการปศุสัตว์หรือสัตวแพทยศาสตร์

ดื้อยา, การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

จากการสำรวจโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2015 ใน 12 ประเทศ พบว่าประชาชน 64% เชื่ออย่างผิดๆ ว่ายาปฏิชีวนะยังใช้ได้กับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ และอาการไอส่วนใหญ่ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดความรู้ ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์มีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่ทันได้ตระหนักถึงผลกระทบของการดื้อยาปฏิชีวนะที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก

สำหรับประชาชนทั่วไป WHO ได้กำหนดแนวทางที่ควรปฏิบัติตามไว้ดังนี้ 

  • ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคหวัด น้ำมูกไหล หรือเจ็บคอ ให้สอบถามแพทย์เพื่อหาวิธีอื่นๆ ที่จะช่วยรักษาอาการป่วยเหล่านี้แทน
  • ใช้ยาปฏิชีวะเมื่อแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กินยาปฏิชีวนะให้หมดครบตามที่กำหนดแม้จะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตาม รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวทำเช่นเดียวกันด้วย
  • ห้ามใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับผู้อื่น หรือใช้ยาปฏิชีวนะเดิมที่เหลือใช้จากครั้งก่อน

อย่าลืมว่าการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นส่งผลกระทบไปทั่วโลกไม่เพียงแต่ต่อตัวคุณเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประชากรทั้งโลกด้วย เมื่อยาปฏิชีวนะใช้ไม่ได้ผลทำให้การติดเชื้อระดับเล็กน้อยอาจมีความซับซ้อนมากขึ้นและยากต่อการรักษาในอนาคต หากทุกคนตระหนักและมีความรู้เกี่ยวกับการดื้อยาปฏิชีวนะ ปัญหาเชื้อดื้อยาที่ท้าทายนี้ก็สามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หากประกันสุขภาพของคุณมีบริการให้ความเห็นที่สองทางการแพทย์ สามารถขอคำแนะนำในกรณีที่คุณไม่แน่ใจเกี่ยวกับยาที่แพทย์สั่งจ่าย ติดต่อ Luma เพื่อดูว่าประกันสุขภาพของเราช่วยให้คุณรู้สึกอุ่นใจว่าจะเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่ดีที่สุดได้อย่างไร

Table of Contents

You May Also Like

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี 2567 แนะนำความสบายใจให้กับพ่อแม่

ประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี? แผนประกันสุขภาพสำหรับเด็กมีให้เลือกเยอะมาก วันนี้ ทาง LUMA ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว ว่าซื้อประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี 1. LUMA 2. Allianz Ayudhya – อลิอันซ์ อยุธยา 3. MTL – เมืองไทยประกันชีวิต 4. …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period ในประกันสุขภาพ คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …