เฉลยคำถามยอดฮิต! ประกันสุขภาพกับประกันชีวิตต่างกันอย่างไร?

หลายคนมักจะเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิต มาบ้าง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่รู้ถึงความแตกต่างของประกันทั้ง 2  ประเภทนี้ หรือพูดง่าย ๆ คือเข้าใจว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เพื่อสร้างความกระจ่างและป้องกันการเข้าใจผิด สำหรับใครที่กำลังพิจารณาเลือกซื้อประกันสุขภาพ Luma ขออาสาชี้แจงข้อเท็จจริงและชวนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างของประกันชีวิตและประกันสุขภาพ

ชี้แจงแถลงไข! ประกันสุขภาพกับประกันชีวิตต่างกันอย่างไร

ประกันสุขภาพ

ประกันชีวิต

ได้รับผลประโยชน์เมื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ

ได้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพด้วยโรคหรืออุบัติเหตุ หรืออยู่ครบสัญญาประกัน

ระยะเวลาเอาประกัน 1 ปี

ระยะเวลาเอาประกันมากกว่า 1 ปี หรือตลอดชีพ

จ่ายเงินเป็นค่ารักษาพยาบาลหรือเงินชดเชยรายได้เมื่อเข้าโรงพยาบาล

ได้รับเงินก้อนคืนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามเงื่อนไข

ลดหย่อนภาษีได้

ลดหย่อนภาษีได้

เหมาะสำหรับคนที่ต้องการแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาล

เหมาะสำหรับคนที่ต้องการมีเงินก้อนให้ครอบครัว

เผยความหมายของประกันสุขภาพ

ประกันสุขภาพ คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับสุขภาพ โดยประกันสุขภาพจะมอบผลประโยชน์และความคุ้มครองในการจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมไปถึงอุบัติเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ รวมไปถึงการเจ็บป่วยแบบที่ต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเช่นกัน ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองก็จะขึ้นอยู่กับแผนประกันสุขภาพที่เลือกซื้อ โดยผู้ที่สนใจสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับประกันสุขภาพฉบับเต็มได้บทความ ประกันสุขภาพ คืออะไร

ประกันชีวิตคืออะไร ดูความหมายได้ที่นี่

ประกันชีวิต คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับชีวิต โดยประกันชีวิตจะมอบผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพ นอกจากนี้ประกันชีวิตยังเป็นหนึ่งในวิธีการวางแผนด้านการเงิน สร้างวินัยในการออมเงิน เพราะหากผู้เอาประกันอยู่ครบสัญญาประกันชีวิตก็จะสามารถได้รับเงินผลประโยชน์คืนอีกด้วย อย่างไรก็ตามประกันชีวิตยังมีส่วนของสัญญาเพิ่มเติมด้านสุขภาพเพื่อเพิ่มความคุ้มครองเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งส่วนนี้อาจเป็นส่วนที่ทำให้ใครหลายคนเข้าใจผิดว่าประกันชีวิตและประกันสุขภาพคือประกันชนิดเดียวกันก็เป็นได้

ประกันสุขภาพมีกี่ประเภท

ประกันสุขภาพสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้

1. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล

ประกันสุขภาพที่มอบความคุ้มครองให้แก่บุคคลเพียงคนเดียวเท่านั้น ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกแผนประกันสุขภาพได้ตามความต้องการและงบประมาณที่เหมาะสมกับตนเองได้

2. ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม

ประกันสุขภาพที่มอบความคุ้มครองให้แก่ผู้เอาประกันเป็นกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นการที่บริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ซื้อประกันสุขภาพเหล่านี้เอาไว้เพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ภายในองค์กร ซึ่งความคุ้มครองที่มากน้อยจะขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัทที่ซื้อประกันภัย และมีเบี้ยประกันภัยที่ต่ำกว่าประกันสุขภาพส่วนบุคคล 

ประกันชีวิตมีกี่ประเภท

ประกันชีวิตแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้

 1. ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา

ประกันชีวิตประเภทชั่วระยะเวลาหรือ Term Life Insurance จะเป็นการให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับการเสียชีวิตในระยะเวลาที่กำหนด เช่น 5 ปี 10 ปี หรือ 20 ปี หากครบกำหนดสัญญาแล้วผู้เอาประกันยังมีชีวิตอยู่จะไม่ได้เงินชดเชย ซึ่งประกันชีวิตประเภทนี้จะมีเบี้ยประกันชีวิตค่อนข้างถูก

 2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ

ประกันชีวิตประเภทตลอดชีพหรือ Whole Life Insurance ประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับชีวิตตลอดชีพ หรืออายุ 90 – 99  ปี แต่ผู้เอาประกันจ่ายค่าเบี้ยประกันเพียงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น เช่น 5 – 20 ปี เป็นต้น โดยผู้เอาประกันจะได้รับผลประโยชน์ในกรณีที่เสียชีวิตระหว่างการประกันชีวิต หรือมีอายุอยู่จนครบสัญญา ประกันชีวิตแบบตลอดชีพมักจะนำมาเป็นแผนประกันหลักที่สามารถซื้อสัญญาเพิ่มเติมหรือความคุ้มครองอื่น ๆ เพิ่มเติมได้เช่นกัน

3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์

Endowment Insurance หรือประกันชีวิตประเภทสะสมทรัพย์เป็นแผนประกันที่จ่ายผลประโยชน์ให้แก่ผู้เอาประกันเมื่อมีชีวิตอยู่ครบสัญญา ซึ่งเหมาะมากสำหรับคนที่ต้องการเก็บออมเงินในระยะยาว เพราะเป็นการสร้างวินัยในการออมเงินและยังได้รับดอกเบี้ยที่สูงกว่าการฝากเงินกับธนาคารทั่วไป

 4. ประกันชีวิตแบบบำนาญ 

 ประกันชีวิตประเภทบำนาญหรือที่เรียกว่า Annuities Insurance เป็นประกันชีวิตแบบที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีรายได้อย่างสม่ำเสมอเมื่อเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว โดยผู้เอาประกันจะต้องส่งเบี้ยประกันอย่างต่อเนื่องทุกเดือนหรือทุกปีและจะเริ่มได้รับผลประโยชน์คืนเมื่ออายุ 55-60 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและแผนประกันชีวิตที่เลือก

สรุป

เชื่อว่าหลายคนคงจะเข้าใจความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพ หลังจากได้ทำความรู้จักประกันแต่ละประเภทกันไปแล้ว ซึ่งประกันชีวิตก็จะเน้นให้ความคุ้มครองในส่วนของการสูญเสียชีวิตและการวางแผนทางการเงิน ส่วนประกันสุขภาพก็จะมุ่งไปที่ผลประโยชน์ทางด้านสุขภาพ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระยามเจ็บป่วยนั่นเอง แต่ไม่ว่าจะเป็นการซื้อประกันประเภทไหนผู้เอาประกันควรศึกษารายละเอียด เงื่อนไขการประกัน และผลประโยชน์ต่าง ๆ ให้ดีและเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการและงบประมาณของผู้เอาประกัน

You May Also Like

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …

HPV คือ
สุขภาพ

HPV คืออะไร อาการ เป็นอย่างไร ควรทำความเข้าใจให้ดี

เรื่องสุขภาพ ยิ่งรู้ก็มากยิ่งดี และถ้ายิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรค HPV (Human Papillomavirus) การรู้จักและทำความเข้าใจไวรัสชนิดนี้ที่พบได้อย่างแพร่หลาย ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้เช่นกัน HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปมีมากกว่า 100 ชนิด และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ตั้งแต่หูดไปจนถึงมะเร็ง ในบทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อ HPV ทั้งการแพร่เชื้อ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน …