โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรดูแลตนเองอย่างไร?

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC)

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มุ่งเป้าไปที่ข้อต่อเป็นหลัก ทำให้เกิดอาการปวด บวม และตึง การจัดการกับภาวะเรื้อรังนี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ด้วยแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ป่วยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือการดูแลตนเอง ซึ่งคุณสามารถทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมแนวทางต่างๆ ตลอดจนเคล็ดลับการดูแลตนเอง เพื่อช่วยให้คุณจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

ทำความเข้าใจกับโรคโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ก่อนที่จะเจาะลึกไปถึงแนวทางการดูแลตนเอง เรามาทำความเข้าใจแบบง่ายๆ กันก่อนว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คืออะไร และส่งผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำลายเยื่อบุข้อ (synovium) ซึ่งเป็นเยื่อบุของเยื่อหุ้มรอบข้อต่อ การอักเสบเรื้อรังนี้อาจนำไปสู่การทำลายกระดูกอ่อนและกระดูกภายในข้อได้ ส่งผลให้เกิดอาการปวด ตึง และเคลื่อนไหวข้อต่อลำบาก ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตได้

แม้ว่าโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การจัดการอย่างถูกวิธีสามารถช่วยควบคุมอาการ ป้องกันความเสียหายของข้อต่อ และทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้

ดูแลตัวเองดี เมื่อเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

การดูแลตนเองมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ช่วยให้คุณดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ควบคู่ไปกับการรักษาโดยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ โดยแนวทางการดูแลตนเองที่กล่าวถึงในบทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อลดความเจ็บปวด อาการอักเสบ และอาการตึง รวมถึงดูแลให้มีสุขภาวะที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ

1. ออกกำลังกายเบาๆ ให้รู้สึกแอคทีฟอยู่เสมอ

การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลรักษาการทำงานของข้อต่อและสุขภาพโดยรวม แต่สำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ต้องเลือกการออกกำลังกายที่ไม่กระทบต่อข้อต่อ ตัวอย่างการออกกำลังที่เหมาะสมเช่น: 

  • การว่ายน้ำ: น้ำจะช่วยพยุงและรองรับน้ำหนักตัวของคุณ ช่วยลดผลกระทบต่อข้อต่อ การว่ายน้ำและแอโรบิกในน้ำช่วยให้ข้อต่อเกิดความยืดหยุ่นและสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
  • การเดิน: การออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกต่ำซึ่งใครๆ ก็ทำได้ ลงทุนซื้อรองเท้าเดินสบายสักคู่และตั้งเป้าหมายที่จะเดินเล่นทุกวัน เพื่อให้ข้อต่อของคุณเคลื่อนไหวได้ดี
  • โยคะ: โยคะผสมผสานระหว่างการยืดกล้ามเนื้อเบาๆ และการควบคุมลมหายใจ ช่วยให้ข้อต่อเกิดความยืดหยุ่นและผ่อนคลาย ลองหาคลาสเรียนหรือวิดีโอออนไลน์เกี่ยวกับโยคะสำหรับผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แต่อย่าลืมปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นกิจกรรมออกกำลังกายที่ปลอดภัยและเหมาะสมกับอาการของคุณ

2. จัดการกับความเครียด

ความเครียดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และอาจทำให้อาการรุนแรงขึ้นได้ ดังนั้นการนำเทคนิคการจัดการความเครียดมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันจึงเป็นสิ่งสำคัญ ตัวอย่างวิธีลดความเครียดที่ได้ผลดี เช่น:

  • การหายใจลึก: ฝึกการหายใจลึกๆ อย่างมีสติเพื่อทำให้ระบบประสาทสงบลงและลดระดับความเครียด ทดลองฝึกหายใจเข้าลึกๆ โดยไม่เร่งรีบสักสองสามนาทีทุกครั้งที่เริ่มรู้สึกเครียด
  • การทำสมาธิและฝึกให้มีสติ: ช่วยให้คุณอยู่กับปัจจุบัน ลดความวิตกกังวล และจัดการความเครียดได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีแอปฝึกสมาธิรวมถึงให้คำแนะนำในการฝึกสติที่น่าสนใจมากมายทางออนไลน์ให้คุณลอง
  • ตั้งเป้าหมายที่ทำได้จริง: แม้การจัดการกับโรครูมาตอยด์อาจจะมีหลายอย่างที่ต้องทำ แต่ลองเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญ ตั้งเป้าหมายที่คุณทำได้จริง และอย่าลังเลที่จะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนและครอบครัวเมื่อคุณต้องการ
โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์

3. ปรับการกินอาหารให้สมดุล

การกินอาหารสมดุลจำเป็นต่อสุขภาพโดยรวมและส่งผลอย่างมากในการจัดการกับโรครูมาตอยด์ อาหารบางชนิดมีคุณสมบัติลดการอักเสบซึ่งช่วยลดการอักเสบของร่างกายได้ ลองรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของสารอาหารดังต่อไปนี้:

  • กรดไขมันโอเมก้า 3: พบในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอน วอลนัท และเมล็ดแฟลกซ์ โอเมก้า 3 มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ซึ่งช่วยลดการอักเสบของข้อได้
  • อาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ: ผักและผลไม้ โดยเฉพาะผักและผลไม้ที่มีสีสันสดใส เช่น เบอร์รี่ เชอร์รี่ และผักโขม เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่จะต่อสู้กับอาการอักเสบ
  • ธัญพืชไม่ขัดสี: เลือกรับประทานธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ควินัว และขนมปังโฮลวีต ซึ่งเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าธัญพืชขัดสี

แม้ว่าการเปลี่ยนมารับประทานอาหารเหล่านี้จะส่งผลดีต่อสุขภาพ แต่ก็ควรปรึกษานักกำหนดอาหารที่มีใบอนุญาตหรือนักโภชนาการด้วยเช่นกัน เพื่อวางแผนโภชนาการที่เหมาะสมกับความต้องการและความชอบของแต่ละบุคคล

4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

การนอนหลับอย่างมีคุณภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับทุกคน และสำคัญยิ่งกว่าสำหรับผู้ที่เป็นโรครูมาตอยด์ ระหว่างการนอนหลับลึก ร่างกายจะซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมถึงเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบจากการอักเสบ คุณสามารถปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับได้โดย:

จัดสถานที่พักผ่อนให้เหมาะกับการนอนหลับ สร้างบรรยากาศในห้องนอนที่เอื้อต่อการนอนหลับพักผ่อน ลงทุนซื้อที่นอนและหมอนที่นุ่มสบาย รักษาอุณหภูมิห้องให้เย็น และกำจัดเสียงรบกวนและแสงรบกวน 

  • จัดตารางการนอน: นอนหลับและตื่นให้เป็นเวลา โดยกำหนดเวลาเข้านอนและเวลาตื่นให้เป็นเวลาเดียวกันทุกวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับจังหวะร่างกาย
  • การจัดการความเจ็บปวด: หากคุณรู้สึกเจ็บปวดหรือไม่สบายตัวจนไม่สามารถนอนหลับได้ ให้ปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาวิธีจัดการกับความเจ็บปวดเหล่านั้น
  • หลีกเลี่ยงสารกระตุ้น: หลีกเลี่ยงคาเฟอีนและการกินอาหารจนอิ่มเกินไปในช่วงใกล้เวลานอน เพราะอาจรบกวนวงจรการนอนหลับได้

5. ใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ช่วย

อุปกรณ์และเครื่องมือช่วยเหลือบางอย่างสามารถทำให้งานในแต่ละวันจัดการได้ง่ายขึ้นและลดการใช้ข้อต่อ ลองใช้เครื่องมือต่อไปนี้เพื่อลดความตึงของข้อต่อ เช่น

  • ที่เปิดขวด: ช่วยให้เปิดขวดและภาชนะได้ง่ายขึ้น
  • อุปกรณ์ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์: อุปกรณ์ที่มีด้ามจับออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์จะใช้งานได้สะดวกขึ้นสำหรับผู้ที่มีอาการปวดข้อมือ
  • เครื่องช่วยพยุงและเฝือก: ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำอุปกรณ์ช่วยพยุงหรือเฝือกเพื่อรองรับและป้องกันข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ

6. กินยาอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ

การใช้ยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับโรครูมาตอยด์ หมั่นปรึกษาแพทย์โรคไขข้อสม่ำเสมอ เพื่อจัดยาให้เหมาะสมสำหรับควบคุมอาการของโรค อย่าลดขนาดยาหรือเปลี่ยนแปลงยาเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณ

7. หมั่นหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรค 

การหมั่นหาความรู้เกี่ยวกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการ และวิธีรักษาที่เป็นไปได้ ช่วยให้คุณดูแลตนเองได้ดียิ่งขึ้น การได้รับข้อมูลที่ดีจะช่วยให้คุณมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของคุณเอง และสามารถสื่อสารกับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอบถามหรือแจ้งข้อกังวลใดๆ ก็ตามที่คุณมีให้กับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทราบทุกครั้งที่มีการนัดหมาย

 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

สรุป

การเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่หากรู้จักดูแลตนเองให้ดี คุณก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีและจัดการกับอาการของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตาม การดูแลตัวเองเป็นเรื่องเฉพาะบุคคล ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์หรือผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพอย่างใกล้ชิด เพื่อวางแผนการดูแลรักษาที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณโดยเฉพาะ เพียงแค่คุณรู้จักดูแลรักษาตนเองอย่างถูกวิธั ก็สามารถลดความเจ็บปวด อาการอักเสบ และอาการตึง ให้คุณใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่และสะดวกสบายมากขึ้นทั้งที่บ้านและที่อื่นๆ นอกจากนี้ ยังมีประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองการทำกายภาพบำบัด ที่สามารถช่วยแก้อาการต่างๆ แต่ต้องไม่ใช่โรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน หากสนใจประกันสุขภาพที่คุ้มครองตรงนี้ สามารถติดต่อ LUMA เพื่อขอดูแผนประกัน

ป้องกันออฟฟิศซินโดรมได้ง่ายๆ ทำได้ที่บ้าน

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC)

สภาพแวดล้อมการทำงานที่เร่งรีบและเน้นการใช้เทคโนโลยีเป็นหลักในปัจจุบัน หลายคนใช้เวลาอยู่หน้าคอมพิวเตอร์นานๆ ส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกกันว่าออฟฟิศซินโดรม ซึ่งเป็นภาวะที่ระบบกล้ามเนื้อและกระดูกต่างๆ มีปัญหา เนื่องจากการนั่งเป็นเวลานานและการทำงานนั่งโต๊ะซ้ำๆ

ป้องกันออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมเป็นอย่างไร?

รู้จักกับโรคออฟฟิศซินโดรม: 

ออฟฟิศซินโดรมหรือที่รู้จักกันในชื่อคอมพิวเตอร์ซินโดรมหรือเดสซินโดรม หมายถึงกลุ่มอาการที่เกิดจากการนั่งและทำงานซ้ำๆ เป็นเวลานาน ซึ่งมักพบในที่ทำงาน ภาวะนี้ส่งผลต่อกลุ่มกล้ามเนื้อต่างๆ และอาจทำให้รู้สึกไม่สบาย เจ็บปวด และลดประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

กล้ามเนื้อที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด: 

กล้ามเนื้อหลักๆ ที่ได้รับผลกระทบจากออฟฟิศซินโดรม ได้แก่ คอ ไหล่ หลังส่วนบนและหลังส่วนล่าง และข้อมือ การนั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสมและการเคลื่อนไหวซ้ำๆ เป็นเวลานานทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ อาการตึง ไปจนถึงอาการอักเสบในบริเวณดังกล่าว

สาเหตุจากการทำงานที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง

พฤติกรรมเนือยนิ่ง: 

สาเหตุหลักประการหนึ่งของอาการออฟฟิศซินโดรมคือธรรมชาติของงานออฟฟิศที่เป็นการนั่งทำงานอยู่กับที่ ไม่ค่อยได้ขยับตัว การนั่งเป็นเวลานานอาจทำให้สรีระร่างกายไม่สมดุล การไหลเวียนโลหิตลดลง และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ท่าทางที่ไม่ถูกหลักสรีระศาสตร์: 

การนั่งทำงานในท่าที่ไม่ถูกหลักเออร์โกโนมิคส์ รวมถึงเก้าอี้ โต๊ะ และการวางคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาไม่ดี มีส่วนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ การจัดพื้นที่นั่งทำงานตามหลักสรีรศาสตร์อย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันกล้ามเนื้อและข้อต่อบาดเจ็บ

การเคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

การทำงานซ้ำๆ เช่น การพิมพ์บนแป้นพิมพ์หรือใช้เมาส์เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการใช้งานมากเกินไป การเคลื่อนไหวเล็กน้อยซ้ำๆ ทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นในมือและข้อมือตึงได้

ความเครียด:

ความเครียดสามารถแสดงออกทางร่างกายได้ในรูปแบบของกล้ามเนื้อตึงหรือเกร็งตัวมากเกินไป โดยกล้ามเนื้อบริเวณไหล่และคอมีแนวโน้มที่จะเกิดความตึงเป็นพิเศษ ทำให้รู้สึกปวดและไม่สบายตัว

ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันอย่างไร?

จัดโต๊ะทำงานให้ถูกหลักสรีระศาสตร์:

ลงทุนกับเฟอร์นิเจอร์ห้องทำงานที่ออกแบบตามหลักสรีระศาสตร์ รวมถึงเก้าอี้และโต๊ะทำงานแบบปรับได้ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคออฟฟิศซินโดรม และอย่าลืมปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตาเพื่อให้นั่งทำงานในท่าที่เหมาะสม

หยุดพักและหมั่นขยับตัวเปลี่ยนอิริยบท:

หยุดพักสั้นๆ ทุกชั่วโมงเพื่อยืน ยืดตัว และขยับร่างกาย การออกกำลังกายง่ายๆ ที่โต๊ะทำงาน เช่น การยืดคอและการหมุนหัวไหล่ ก็สามารถช่วยป้องกันอาการตึงและเพิ่มการไหลเวียนโลหิตได้

จัดท่านั่งทำงานให้เหมาะสม:

จัดท่าทางนั่งทำงานให้เหมาะสม นั่งหลังตรง ไม่ห่อไหล่ และเท้าราบกับพื้น ไม่นั่งหลังงอหรือหลังค่อมเอนตัวไปด้านหน้าเพื่อจ้องจอคอมพิวเตอร์

รู้จักจัดการกับความเครียด

รวมเทคนิคการจัดการความเครียดเข้ากับกิจวัตรประจำวัน เช่น การฝึกหายใจลึกๆ การทำสมาธิ หรือโยคะ การจัดการความเครียดสามารถช่วยลดความตึงของกล้ามเนื้อและป้องกันอาการทางด้านร่างกายที่เป็นสัญญาณของโรคออฟฟิศซินโดรมได้

กายภาพบำบัดแก้ออฟฟิศซินโดรม

ปรึกษานักกายภาพบำบัด: 

หากคุณเริ่มมีอาการของโรคออฟฟิศซินโดรม การปรึกษาและขอคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญ นักกายภาพบำบัดสามารถประเมินท่าทางและความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ และให้การรักษาที่ตรงจุดเพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น

การทำกายภาพบำบัดด้วยมือ: 

นักกายภาพบำบัดอาจใช้เทคนิคการบำบัดด้วยมือ เช่น การนวด การดัดและดึงข้อต่อ และการยืดกล้ามเนื้อ เพื่อจัดการกับกล้ามเนื้อที่ตึงและเพิ่มความยืดหยุ่น เทคนิคเหล่านี้สามารถปรับให้เหมาะกับความต้องการเพื่อรักษาเฉพาะบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากออฟฟิศซินโดรมได้

การออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ:

โปรแกรมการออกกำลังกายที่ออกแบบให้เหมาะกับแต่ละบุคคลและเน้นไปที่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อแกนกลาง หลัง และคอ จะช่วยฟื้นฟูความสมดุลและป้องกันกล้ามเนื้อตึง ตัวอย่างการออกกำลังกายเพื่อฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและช่วยในเรื่องออฟฟิศซินโดรม เช่น การแพลงก์ ทำท่าบริดจ์ และการฝึกความต้านทานเพื่อสร้างความทนทานของกล้ามเนื้อ

ปรับโครงสร้างร่างกาย:

นักกายภาพบำบัดสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดท่าทางร่างกายที่เหมาะสม การเรียนรู้วิธีนั่ง ยืน และเคลื่อนไหว การจัดท่าทางให้ถูกต้องมีส่วนสำคัญในการป้องกันและแก้อาการออฟฟิศซินโดรม

รักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการออกกำลังกายที่บ้าน

ยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำทุกวัน:

ฝึกยืดกล้ามเนื้อทุกวันเป็นกิจวัตรเพื่อลดผลกระทบของออฟฟิศซินโดรม เน้นการยืดเหยียดบริเวณคอ ไหล่ หลังส่วนบนและส่วนล่าง รวมถึงข้อมือ ยืดแต่ละท่าค้างไว้ 15-30 วินาทีแล้วทำซ้ำหลายๆ ครั้ง

โยคะและพิลาทิส:

การเล่นโยคะหรือพิลาทิสที่บ้านช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง และความสามารถในการตระหนักรู้ของร่างกาย การออกกำลังลักษณะนี้จะเน้นควบคุมการเคลื่อนไหวและช่วยบรรเทาอาการตึงของกล้ามเนื้อที่เกิดจากออฟฟิศซินโดรม

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค:

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ เช่น การเดิน วิ่งจ๊อกกิ้ง หรือปั่นจักรยาน ช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง และดีต่อสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป นอกจากนี้ แอโรบิกยังช่วยลดความเครียด ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

การออกกำลังกายแบบแรงต้าน:

การออกกำลังกายแบบแรงต้านโดยการทำบอดี้เวทหรือไลท์เวท ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อของร่างกายส่วนบนและส่วนล่าง การออกกำลังโดยเน้นไปที่กลุ่มกล้ามเนื้อหลัก ช่วยให้จัดระเบียบร่างกายได้ดีขึ้นและลดความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและกระดูก

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

สรุป

แม้ออฟฟิศซินโดรมจะเป็นโรคที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศในปัจจุบัน แต่หากรู้จักดูแลรักษาตนเองอย่างถูกวิธี ก็สามารถรักษาและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การทำความเข้าใจผลกระทบที่มีต่อกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ หาสาเหตุ และใช้การบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรมที่เหมาะสม ร่วมกับการออกกำลังกาย และการยืดกล้ามเนื้อ ก็สามารถป้องกันตนเองจากผลข้างเคียงของการนั่งทำงานบนโต๊ะติดต่อกันเป็นเวลานานได้ และอย่าลืมว่าการออกกำลังเล็กๆ น้อยๆ แต่สม่ำเสมอ ก็ช่วยสร้างสุขภาวะที่ดีในและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย รู้หรื่อไม่ ว่ามีประกันสุขภาพที่สามารถคุ้มครองการทำกายภาพบำบัด ที่สามารถช่วยแก้อาการต่างๆ หากสนใจประกันสุขภาพที่คุ้มครองตรงนี้ สามารถติดต่อ LUMA เพื่อขอดูแผนประกัน

รักษาไมเกรนอย่างไรให้ได้ผล

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC)

อาการปวดหัวไมเกรนที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและมักมาพร้อมกับความเจ็บปวดแสนสาหัส อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิต แม้ผู้ป่วยไมเกรนจะพยายามหาวิธีรักษาหรือบรรเทาอาการปวดบริเวณด้านหลังศีรษะอย่างต่อเนื่องนี้ แต่การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างอาการปวดหัวทั่วไปและปวดหัวไมเกรนก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน

รักษาไมเกรน

อาการปวดหัวทั่วไปและไมเกรนแตกต่างกันอย่างไร?

อาการปวดหัวเป็นอาการป่วยที่พบได้บ่อย แต่ไมเกรนจะมีความรุนแรงและอาการที่เฉพาะเจาะจงกว่า อาการปวดหัวด้านหลังศีรษะมักมีปัจจัยที่แตกต่างออกไป อาการปวดหัวทั่วไปอาจทำให้รู้สึกไม่สบายเล็กน้อย แต่ไมเกรนจะทำให้เกิดอาการปวดตุบๆ อย่างรุนแรง โดยมักเกิดขึ้นที่ด้านใดด้านหนึ่งของศีรษะ การทำความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้เป็นก้าวแรกสู่การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนอย่างมีประสิทธิภาพ

การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนที่ได้ผลดีที่สุด

ไมเกรนมีความซับซ้อนและเกี่ยวข้องกับปัจจัยหลายประการ ตั้งแต่ความบกพร่องทางพันธุกรรมไปจนถึงสิ่งกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนให้ได้ผลดีที่สุดจึงต้องใช้อาศัยแนวทางที่หลากหลาย 

การใช้ยารักษาไมเกรน

การบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนมักเกี่ยวข้องกับการใช้ยา โดยทั่วไปจะมีการสั่งจ่ายยากลุ่มทริปแทน ยาแก้ปวด และยาป้องกัน ยากลุ่มทริปแทน เช่น sumatriptan (ซูมาทริปแทน) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของความเจ็บปวด ยาแก้ปวด เช่น ไอบูโพรเฟนและอะเซตามิโนเฟน สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ ในขณะที่ยาป้องกันมีจุดประสงค์เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน

ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตบางอย่างอาจช่วยจัดการกับอาการปวดไมเกรนได้เช่นกัน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารครบทุกหมู่ และดื่มน้ำ เป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก รวมถึงการสังเกตว่าอะไรคือตัวกระตุ้นอาการปวดและพยายายามหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นเหล่านั้น อย่างอาหารบางชนิดหรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ก็สามารถลดการเกิดไมเกรนได้อย่างมาก

การรักษาทางเลือก

นอกเหนือจากการรักษาแบบเดิมๆ การรักษาทางเลือก เช่น การฝังเข็มและการฝึกควบคุมร่างกาย ก็มีแนวโน้มว่าสามารถช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้เช่นกัน วิธีเหล่านี้มุ่งเน้นไปที่การจัดการกับปัจจัยที่ทำให้เกิดไมเกรน โดยการนำเสนอมุมมองการรักษาแบบองค์รวม

รักษาไมเกรน

กายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะจากความเครียด

อาการปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัวซึ่งมักมีลักษณะปวดคล้ายมีแถบรัดรอบศีรษะ ก็สร้างความกังวลให้กับผู้ป่วยได้เช่นกัน ผู้มีอาการดังกล่าวจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดด้วยวิธีกายภาพบำบัด

กายภาพบำบัดเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวจากความเครียดเป็นอย่างไร

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียดเป็นการผสมผสานระหว่างเทคนิคการรักษาแบบหัตถการ และการให้ความรู้ นักกายภาพบำบัดจะคลายความตึงของกล้ามเนื้อ ปรับท่าทางร่างกาย และช่วยให้คอและศีรษะเคลื่อนไหวได้คล่องตัวยิ่งขึ้น

เทคนิคการรักษาแบบหัตถการ

เทคนิคแบบหัตถการ เช่น การนวด การดัด ดึง ขยับเคลื่อนข้อต่อ และการนวดคลายกล้ามเนื้อ สามารถบรรเทาอาการตึงเฉพาะจุดบริเวณคอและไหล่ได้ เทคนิคเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด และลดความรุนแรงของอาการปวดศีรษะโดยรวมจากความเครียด

การบริหารคอสำหรับผู้มีอาการไมเกรน

การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณคอเป็นส่วนสำคัญในการทำกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดศีรษะจากความเครียด การออกกำลังกายแบบเสริมความแข็งแรงและยืดกล้ามเนื้อ จะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อบริเวณคอความละเอียดของกล้ามเนื้อคอ ลดความถี่และความรุนแรงของอาการปวดศีรษะจากความตึงเครียด

ออกกำลังกายรักษาไมเกรน

แม้ว่ากายภาพบำบัดจะช่วยเรื่องอาการปวดหัวจากความเครียด แต่การออกกำลังกายเน้นแบบส่วนต่างๆ ก็สามารถบรรเทาอาการไมเกรนได้เช่นกัน การออกกำลังกายเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อบรรเทาอาการปวดเฉพาะจุดอย่างการปวดศีรษะที่ด้านหลังศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และลดผลกระทบของไมเกรนที่มีต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

การออกกำลังกายบริเวณคอ

การออกกำลังกายบริเวณคอไม่เพียงแค่บรรเทาอาการปวดศีรษะจากความเครียด แต่ยังช่วยเรื่องไมเกรนด้วย การยืดเหยียดและการเคลื่อนไหวง่ายๆ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของคอ และลดความตึงของกล้ามเนื้อที่อาจส่งผลให้เกิดไมเกรน การผสมผสานการออกกำลังกายเหล่านี้เข้ากับกิจวัตรประจำวันก็เป็นวิธีป้องกันการเกิดไมเกรนที่มีประสิทธิภาพ

การออกกำลังกายแบบแอโรบิค

การออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำมีแนวโน้วว่าจะส่งผลเชิงบวกในการลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรน กิจกรรมต่างๆ เช่นการเดินเร็ว ว่ายน้ำ หรือการปั่นจักรยาน ช่วยให้หัวใจและหลอดเลือดแข็งแรง สุขภาพร่างกายดียิ่งขึ้น และอาจช่วยบรรเทาอาการไมเกรนได้

เทคนิคโยคะและการผ่อนคลาย

เทคนิคโยคะและการผ่อนคลาย รวมถึงการหายใจลึกๆ และการทำสมาธิ เป็นอีกหนึ่งวิธีในการจัดการกับไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดความเครียด และเสริมสร้างสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยลดการเกิดไมเกรนได้

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

สรุป

ในการรักษาอาการไมเกรน การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างอาการปวดหัวทั่วไปและปวดหัวไมเกรนเป็นสิ่งสำคัญ การรักษาอาการปวดหัวไมเกรนที่ได้ผลดีที่สุดต้องอาศัยการใช้ยา การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต และการรักษาทางเลือกร่วมกัน รวมทั้งกายภาพบำบัดสำหรับอาการปวดศีรษะจากความเครียด ซึ่งเน้นไปที่เทคนิคการรักษาแบบหัตถการและการออกกำลังกายเฉพาะจุด ก็ถือเป็นแนวทางที่ดีในการรักษาอาการปวดบริเวณด้านหลังศีรษะ 

นอกจากนี้ รู้หรือไม่ ว่ามีประกันสุขภาพที่มีความคุ้มครองสำหรับการทำกายภาพบำบัด ที่สามารถช่วยแก้อาการต่างๆ รวมถึงการปวดหัวไมเกรน หากสนใจในความคุ้มครองตรงนี้ สามารถติดต่อ LUMA วันนี้ได้เลย