9 เมนูอาหารเด็กตามวัย ทำได้ง่าย ๆ ให้สารอาหารแน่น ลูกติดใจ

เด็กในแต่ละช่วงวัยจำเป็นต้องได้รับอาหารที่เหมาะสมกับร่างกายเพื่อพัฒนาการที่ดี สร้างเติบโตอย่างแข็งแรงทั้งด้านร่างกาย จิตใจ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจในเรื่องของอาหารเด็กไม่แพ้กับเรื่องอื่นเลย อย่าคิดว่าลูกกินอะไรก็ได้เพราะอาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับร่างกาย จึงอยากแนะนำให้ลองทำ 9 เมนูสำหรับเด็กในแต่ละวัย แม้ไม่เก่งเรื่องทำกับข้าวก็หายห่วง เพราะทำง่าย สารอาหารแน่นครบ แถมรสชาติอร่อยจนลูกติดใจแน่นอน 

อาหารเด็ก broccoli-soup

อาหารเด็กวัย 6 เดือน – 1 ปี

ช่วงวัยที่เด็กเริ่มกินอาหารอื่นได้บ้างนอกจากนมแม่ การทำความเข้าใจโภชนาการของลูกช่วงดังกล่าวจะช่วยให้พ่อแม่เลือกอาหารเด็กได้อย่างเหมาะสม 

โภชนาการของเด็ก 6 เดือน - 1 ปี

เด็กที่มีช่วงอายุ 6 เดือน จนถึงช่วง 1 ปี พลังงานเฉลี่ยที่ควรได้รับต่อวันจะอยู่ระหว่าง 600-700 แคลอรี โดยแบ่งเป็นพลังงานจากนมแม่ประมาณ 300-400 แคลอรี และพลังงานจากอาหารอื่น ๆ เฉลี่ย 300-400 แคลอรี  

เมนูอาหารเด็ก 6 เดือน – 1 ปี ทำง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

1. ข้าวบดไข่แดงฟักทอง

เมนูแรกแนะนำเป็นอาหารเน้นให้โปรตีนกับสารอาหารอีกหลากชนิดอย่างไข่พร้อมเพิ่มเติมสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุให้กับลูกด้วยฟักทอง

ส่วนผสม: ไข่ไก่, ฟักทอง ข้าวต้มสุก, ซีอิ๊วขาว 

วิธีทำ 

  • ต้มไข่ไก่ 1 ลูก จนสุกดี ตักเอาเฉพาะไข่แดง 
  • นำฟักทองใส่ลงไปในน้ำเดือดต้มจนฟักทองสุกนิ่ม 
  • นำข้าวต้มสุก ฟักทองและไข่แดงสุกบดจนละเอียดก็ให้ลูกทานได้เลย 

2. ข้าวบดปลาแซลมอนบรอกโคลี

เมนูอาหารเด็กต่อมาให้ลูกได้สารอาหารแบบครบถ้วนในถ้วยเดียวไม่ว่าจะเป็นคาร์โบไฮเดรตจากข้าว โปรตีน และโอเมก้า 3 จากแซลมอน รวมถึงวิตามินและไฟเบอร์จากบรอกโคลี 

ส่วนผสม: ข้าวต้มสุก, แซลมอน, บรอกโคลี 

วิธีทำ  

  • นำแซลมอนต้มในน้ำซุปจนสุกแล้วพักเอาไว้จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ  
  • ตามด้วยบรอกโคลีต้มสุกจนนิ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 
  • นำข้าวต้มสุกตามด้วยแซลมอนและบรอกโคลีหั่นชิ้นบดให้เข้ากันจนเป็นเนื้อละเอียดพร้อมทานทันที 

3. ข้าวโอ๊ตบดไก่สับ

ข้าวโอ๊ตถือเป็นข้าวที่ให้สารอาหารเยอะทั้งคาร์โบไฮเดรตและไฟเบอร์ ขณะที่ไก่สับก็เต็มไปด้วยโปรตีน รสชาติอร่อยไม่แพ้ใคร 

ส่วนผสม: ข้าวโอ๊ตต้มสุก, เนื้อไก่ 

วิธีทำ 

  • นำไก่ไปต้มในน้ำเดือดไก่จนสุกทั่วกัน 
  • สับไก่ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ กึ่งละเอียดเล็กน้อย 
  • นำข้าวโอ๊ตต้มสุกใส่ชาม แล้วตามด้วยไก่สับเท่านี้ก็เรียบร้อย 
อาหารเด็กวัย 1-3 ปี

อาหารเด็กวัย 1-3 ปี

เป็นช่วงที่เด็ก ๆ สามารถกินอาหารอร่อยได้มากขึ้น พ่อแม่จึงต้องพยายามหาเมนูใหม่เพื่อไม่ให้เขารู้สึกเบื่ออาหารมากเกินไป 

โภชนาการของเด็กวัย 1-3 ปี

เด็กที่มีช่วงอายุ 1-3 ปี พลังงานเฉลี่ยที่ควรได้รับต่อวันจะอยู่ระหว่าง 800-1,000 แคลอรี และยังเป็นวัยที่เริ่มเลิกนมแม่แล้วจึงเน้นพลังงานจากอาหารที่กินแต่ละวันเป็นหลัก 

เมนูอาหารเด็ก 1-3 ปี ทำง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

4. ไข่ตุ๋น 3 สี 

เมนูสำหรับเด็กโตขึ้นมาอีกนิดแนะนำเป็นอาหารเน้นให้โปรตีนกับสารอาหารอีกหลากชนิดอย่างไข่พร้อมเพิ่มเติมสารอาหารประเภทวิตามินและแร่ธาตุให้กับลูกด้วยผัก 3 ชนิด ได้แก่ ผักโขม แครอท และผักกาดขาว  

ส่วนผสม: ไข่ไก่, ผักโขม, แครอท ผักกาดขาว, น้ำสะอาด, ซีอิ๊วขาว 

วิธีทำ 

  • ตอกไข่ 1-2 ใบ ตีให้แตกเทใส่ลงถ้วยที่ทนความร้อนได้  
  • เติมน้ำสะอาดลงไปประมาณ 1 แก้ว  
  • ปรุงรสด้วยซีอิ๊วเล็กน้อย  
  • ผักทุกชนิดหั่นเต๋าเล็ก ๆ แล้วใส่ตามลงไป  
  • นำไปตุ๋นกับไฟปานกลางจนสุกก็พร้อมเสิร์ฟแล้ว 

5. ผัดเต้าหู้หมูสับทรงเครื่อง

เมนูนี้จะเน้นไปที่โปรตีนทั้งจากเต้าหู้และหมูสับ รวมถึงเสริมด้วยผักต่าง ๆ ที่เด็กชอบ หรือพ่อแม่อยากให้ลูกกินผักอะไรก็ตามสะดวก ทำได้ง่ายมาก แถมรสชาติอร่อยด้วยนะ กินกับข้าวสวยคือดีงาม 

ส่วนผสม: เต้าหู้ไข่, หมูสับ, แครอท, ถั่วลันเตา, ข้าวโพดอ่อน, แครอท, ซีอิ๊วขาวหรือซอสปรุงรส, น้ำตาล, น้ำมันพืช 

วิธีทำ 

  • เริ่มจากนำผักที่จะใช้มาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาดพอดีคำ แล้วพักไว้  
  • ตั้งกระทะใส่น้ำมันพืชพอประมาณ  
  • ตัดเต้าหู้ไข่เป็นชิ้นประมาณแท่งละ 3 ชิ้น นำลงไปทอดในน้ำมันให้พอกรอบตักขึ้นพักไว้  
  • ตั้งกระทะอีกรอบใส่น้ำมันเล็กน้อย นำหมูสับลงผัด ตามด้วยผัก ปรุงรสด้วยซอสและน้ำตาลนิดหน่อย  
  • ผักจนสุกได้ที่ใส่เต้าหู้ทอดคลุกเคล้าเบา ๆ ตักเสิร์ฟพร้อมข้าวสวยได้เลย 

6. ซุปไข่มักกะโรนี

ถ้าเด็ก ๆ เบื่อข้าวลองใช้เมนูเส้นเปลี่ยนความอร่อยบ้างก็น่าสนใจอยู่ ซึ่งอาหารเด็กอย่างซุปไข่มะกะโรนีเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากแถมสารอาหารก็ครบทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต รวมถึงแร่ธาตุกับวิตามิน 

ส่วนผสม: น้ำสต๊อก, เส้นมะกะโรนี, ไข่ไก่, บรอกโคลี, แครอท, เนื้อไก่ 

วิธีทำ 

  • ต้มน้ำสต๊อกตามสูตร เช่น ใส่ผงปรุงรส ใส่ซุปก้อน หรือกระดูกหมู ซีอิ๊วขาว เคี่ยวจนมีรสชาติดี 
  • นำเส้นมะกะโรนีลวกน้ำเดือดให้สุก ตักพักเอาไว้ 
  • ใส่เนื้อไก่หั่นชิ้นพอดีคำลงไปต้มในน้ำซุปก่อนสักครู่ ตามด้วยบรอกโคลีและแครอทหั่นเต๋าเล็ก ๆ ต้มจนสุกทุกอย่าง 
  • นำไข่ตอกไข่ถ้วยตีให้เข้ากัน แล้วนำมาเทลงในน้ำซุปที่ต้มเครื่องเอาไว้ก่อนหน้าโดยใช้ทัพพีมีตะแกรงรองด้านบนให้ไข่ไหล       ลงมาเป็นเส้น รอจนสุกตักซุปใส่ชามมะกะโรนีได้เลย 
อาหารเด็กวัย 3-6 ปี

อาหารเด็กวัย 3-6 ปี

เด็กกำลังอยู่ในช่วงเติบโต สารอาหารต่าง ๆ ในอาหารเด็กจึงต้องครบถ้วน ที่สำคัญหมั่นปรับพลิกแพลงเมนูให้บ่อยเพื่อเขาจะได้ไม่รู้สึกเบื่อ สามารถกินรสชาติได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่แต่ยังไม่แนะนำให้ทำรสจัดจ้านมากเกินไป 

โภชนาการของเด็กวัย 3-6 ปี

เด็กที่มีช่วงอายุ 3-6 ปี พลังงานเฉลี่ยที่ควรได้รับต่อวันจะอยู่ระหว่าง 1,000-1,200 แคลอรี เพราะเป็นวัยที่เริ่มโตเข้าโรงเรียน มีกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น การใช้พลังงานของร่างกายจึงปรับตัวสูงตาม 

เมนูอาหารเด็ก 3-6 ปี ทำง่าย ๆ ได้ที่บ้าน

7. ไข่เจียวสารพัดเครื่อง

เมนูไข่เจียวถือเป็นอาหารคลาสสิกที่เด็กทุกคนต่างหลงรัก พ่อแม่สามารถเพิ่มความแตกต่างพร้อมจัดเต็มเนื้อสัตว์และผักได้ตามชอบ เอาให้สารอาหารครบถ้วนกันไปเลย 

ส่วนผสม: ไข่ไก่, น้ำมันพืช, หมูสับหรือกุ้งสับ, หอมใหญ่ซอย, แครอทหั่นเต๋า, เห็ดฟางหั่นชิ้นเล็ก, ซีอิ๊วขาว 

วิธีทำ 

  • ตอกไข่ 1-2 ฟอง ตีจนแตกดีเติมซีอิ๊วขาว  
  • ตามด้วยเครื่องทั้งหมดที่เตรียมไว้เรียบร้อย 
  • ตั้งกระทะใส่น้ำมัน 3-4 ช้อนโต๊ะ รอน้ำมันร้อน 
  • ค่อย ๆ เทไข่ที่ตีแล้วลงไป ทอดจนสุกเหลืองน่าทาน ตักเสิร์ฟพร้อมข้าวสวย 

8. แพนเค้กกล้วย

เปลี่ยนมาลองทำขนมกันบ้าง เป็นมื้อว่างแสนอร่อยสำหรับเด็ก ๆ แถมยังได้วิตามินจากกล้วย แคลเซียมจากนมสดอีกด้วย ทำไม่ยากเลย 

ส่วนผสม: นมสด, แป้งแพนเค้ก, ไข่ไก่ 1 ฟอง, กล้วย 1-2 ลูก, น้ำผึ้ง, น้ำตาลไอซิ่ง, เนยจืด 

วิธีทำ 

  • ใส่แป้งแพนเค้ก 1 ถ้วย ตามด้วยไข่ไก่และนมสด 1 ถ้วย ตีจนเข้ากัน 
  • นำกล้วยสับละเอียดแล้วใส่เข้าไปผสมกันอีกครั้ง 
  • ตั้งกระทะไฟอ่อน ใส่เนยจืดเล็กน้อย  
  • เทแป้งที่ผสมกันดีแล้วลงไป อาจวางแม่พิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ ในกระทะเพิ่มความสวยงามด้วยก็ได้ ทอดจนสุกเหลือง 
  • นำแพนเค้กใส่จาน เคียงด้วยกล้วยหั่นเป็นแว่น หรือจะใส่ผลไม้อื่นเพิ่มเติม เช่น กีวี สตรอเบอร์รี่หั่นเป็นชิ้นก็ตามชอบ ราดน้ำผึ้ง และโรยน้ำตาลไอซิ่งเล็กน้อย อร่อยมาก

9. แกงจืดหมึกยัดไส้หมูสับ

อาหารเด็กสำหรับเด็กวัยนี้ต้องมีการพลิกแพลงให้ดูน่าสนใจ แต่รสชาติยังไม่ต้องจัดจ้านอย่างที่บอกไป จึงอยากแนะนำเมนูที่ซดคล่องคอ สารอาหารครบมาก  

ส่วนผสม: หมึกกล้วยลอกแกนกลางล้างสะอาดทั้งตัว, หมูสับ, เห็ดหอม, ฟัก, แครอทหั่นชิ้น, ผักชี, ซุปก้อน, น้ำปลา, ซีอิ๊วขาว, รากผักชี, กระเทียม, พริกไทย 

วิธีทำ 

  • นำหมูสับหมักด้วยซีอิ๊วขาวหรือซอสปรุงรสให้ได้รสตามชอบพักไว้ 15-20 นาที 
  • ได้ที่แล้วนำไปยัดไส้กับหมึกที่ล้างทำความสะอาดเรียบร้อย กรีดรอยตรงลางตัวหมึกป้องกันการแตก แล้วกลัดไม้แหลมไว้ 
  • ตั้งหม้อใส่น้ำต้มจนสุก เติมซุปก้อนกับน้ำปลา รากผักชี กระเทียม พริกไทย  
  • ปรุงได้รสชาติดีแล้วใส่หมึกยัดไส้ลงไปต้มจนสุกทั่วทั้งชิ้น 
  • ใส่เห็ดหอม แครอทหั่นชิ้น กับฟักหั่นกำลังพอดีคำ ไม่ต้องหนามากลงไป รอสุกอีกรอบ 
  • ปิดท้ายด้วยการโรยผักชีก็พร้อมเสิร์ฟ 

สรุป

ทั้งหมดนี้คือ 9 เมนูอาหารเด็ก สำหรับพ่อแม่ที่กำลังมีลูกในแต่ละช่วงวัยสามารถนำไปปรับสูตรเพื่อเลือกรังสรรค์ความอร่อยเพื่อลูกน้อยกันได้เลย ที่สำคัญอย่าลืมหัดให้ลูกกินผักและกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ห่างไกลจากโรคภัย เติบโตอย่างมีศักยภาพเพื่อการเป็นผู้ใหญ่ในแบบที่ฝันต่อไป เพราะ LUMA เห็นเรื่องสุขภาพเด็กเป็นเรื่องสำคัญ

5 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อย่าเพิ่งสรุปว่าลูกพัฒนาการล่าช้า

5 วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด อย่าเพิ่งสรุปว่าลูกพัฒนาการช้า

พัฒนาการตามวัยเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ต้องใส่ใจและมีความรู้ชัดเจน เพื่อคอยสังเกตลูกอยู่ตลอดพร้อมสร้างความมั่นใจว่าเด็กกำลังเติบโตตามทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งในเด็กแต่ละคนย่อมมีช่วงเวลาของพัฒนาการแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะเรื่องการพูด คำถามของพ่อแม่จำนวนมากจึงหนีไม่พ้นจะรู้ได้อย่างไรว่า “ลูกพูดช้า” แล้วถ้าเกิดกับลูกของตนเองต้องมีวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดแบบไหนได้บ้าง สามารถศึกษาได้จากบทความนี้เลย

เด็กเริ่มพูดตอนไหน แต่ละช่วงวัยเป็นยังไงบ้าง?

ก่อนจะไปเรียนรู้วิธีสังเกตุว่าลูกพูดช้าเกินไปหรือไม่ รวมถึงวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด ลองมาเช็กช่วงอายุของเด็กแต่ละวัยกันสักนิด อายุเท่าไหร่ควรมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดอย่างไรบ้าง

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

สัญญาณเตือนว่าลูกพูดช้า แล้วพ่อแม่ควรกังวลหรือไม่

แม้ในตารางที่ระบุข้อมูลเอาไว้ด้านบนจะเป็นพัฒนาการด้านการพูดเบื้องต้นตามช่วงวัย ทว่าเด็กแต่ละคนอาจมีพัฒนาการช้าเร็วแตกต่างกันออกไปบ้างเล็กน้อยก็ไม่ใช่เรื่องแปลก อย่างไรก็ตามหากถึงช่วงอายุ 2 ขวบแล้วลูกยังไม่สามารถพูดเป็นคำที่มีความหมายได้ ไม่สามารถพูดคำ 2 พยางค์แบบชัดเจนเพื่อให้พ่อแม่เข้าใจสิ่งที่ต้องการจะบอก หรือยังสื่อสารกับคนรอบข้างไม่รู้เรื่อง ลักษณะแบบนี้ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติที่พ่อแม่ต้องเริ่มกังวลใจ 

ทั้งนี้ในอีกด้านหนึ่งอาจไม่จำเป็นต้องรอให้ลูกถึงอายุ 2 ขวบ ก็ได้ หากพ่อแม่พยายามสื่อสารกับลูกแล้วแต่ไม่มีการตอบสนองตามตารางที่ระบุเอาไว้แม้ผ่านช่วงอายุนั้น ๆ เกิน 1-2 เดือน ไปจนถึงพยายามบอกกล่าวหรือการสั่งให้ลูกทำตามแล้วเด็กไม่ยอมทำ เช่น ไม่ยกมือ พ่อแม่เรียกชื่อแล้วไม่หันหน้ามา นั่นบ่งบอกว่าลูกอาจกำลังมีความผิดปกติทางพัฒนาการด้านการพูดและการฟัง ต้องรีบพาลูกพบกุมารแพทย์โดยเร็วที่สุดเพื่อวินิจฉัยพร้อมหาวิธีแก้ปัญหาหรือรักษาต่อไป 

สาเหตุที่ทำให้ลูกพูดช้า มีอะไรบ้าง?

1. ขาดการกระตุ้นจากพ่อแม่

เด็กหลายคนไม่ได้มีปัญหาด้านพัฒนาการใด ๆ แต่อาจไม่ได้รับการกระตุ้นให้พูดอย่างเหมาะสมจากพ่อแม่ การเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ปรับแนวทางการเลี้ยงดูลูกใหม่จะช่วยให้เด็กเริ่มมีพัฒนาการด้านการพูดที่ควรเป็น 

2. ความผิดปกติทางสมอง

เด็กบางคนเกิดมาแล้วมีความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับสมอง เช่น ระบบประสาทด้านการควบคุมความเคลื่อนไหวผิดปกติ ส่งผลให้มีภาวะพูดช้าหรือไม่สามารถสื่อสารได้ตามที่ควรจะเป็น 

3. ประสาทหูบกพร่อง

ภาวะประสาทหูพิการ ทำให้เด็กเกิดความบกพร่องทางการได้ยินจึงไม่สามารถเข้าใจคำพูด ไม่ได้ยินเสียง และไม่สามารถสื่อสารได้ จึงมักเลือกใช้ท่าทางแทนการเปล่งเสียง ส่วนมากมักมีปัญหาด้านอารมณ์ร่วมด้วย เช่น ร้องโวยวายหนักเมื่อไม่ได้ดั่งใจ แต่กลับไม่สามารถพูดสิ่งที่ตนเองต้องการได้ 

4. ออทิสติก / ภาวะพัฒนาการช้า

เด็กที่มีภาวะพัฒนาการช้า รวมถึงอาจมีความบกพร่องในด้านอื่นร่วมด้วย เช่น การเข้าสังคม การดูแลตนเอง การสื่อสารหรืออธิบายความหมาย การเข้าใจสิ่งที่ต้องเรียนรู้ การตอบสนองต่อสิ่งเร้ารอบตัวเร็วหรือช้าผิดปกติ เป็นต้น เมื่อสมองมีภาวะผิดปกติจากโรคดังกล่าวก็ทำให้พัฒนาการด้านการพูดช้าตามไปด้วย 

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

5 เทคนิคดี ๆ เป็นวิธีกระตุ้นให้ลูกพูด

1. มองตาลูกบ่อยๆ แล้วสอนให้ลูกพูด

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดเทคนิคแรกสายตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ สามารถบ่งบอกได้ทุกสิ่งอย่าง การที่พ่อแม่มองหากับลูกน้อยก่อนแล้วค่อยสอนให้เขาพูดแบบช้า ๆ โดยการทำรูปปากเป็นคำที่สอน เด็กจะอ่านรูปปากพร้อมฟังเสียงที่ถูกเอ่ยออกมาจากปากของพ่อแม่แล้วพยายามทำตาม เพราะเขารู้สึกได้ถึงความปลอดภัย ความสบายใจ และความรัก ความรู้สึกที่ส่งผ่านทางสายตา 

2. หมั่นคุยกับลูกเป็นประจำ

การจะให้เด็กสื่อสารเรียนรู้เรื่องใดก็ตามพ่อแม่ต้องหมั่นทำให้เห็นเป็นตัวอย่างบ่อย ๆ ซึ่งวิธีกระตุ้นให้ลูกพูดที่อยากแนะนำนั่นคือการหมั่นพูดคุยกับลูกเป็นประจำเพื่อให้ลูกเกิดปฏิสัมพันธ์ มีการเปล่งเสียงหัวเราะ สนุก ดีใจ เวลาทำกิจกรรมใดกับลูก เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า กินข้าว ก็พูดกับลูกอยู่ตลอด เด็กจะเรียนรู้ความหมายของคำเหล่านั้นได้มากขึ้น พร้อมอยากพูดตามให้เป็น หรือถ้าเวลาว่างก็อาจชวนลูกพูดคุยและให้ทำกิจกรรมตามคำสั่ง เช่น ถามว่าคนไหนแม่ คนไหนพ่อ เป็นต้น 

3. ค่อยๆ สอนคำพูดทีละคำ

การสอนให้ลูกพูดตามทีละคำคือวิธีสุดคลาสสิกที่จะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจ อยากเรียนรู้ และพูดตามพ่อแม่มากขึ้น แนะนำให้สอนทีละคำโดยเน้นคำที่พูดง่าย เช่น ป๊า ม๊า ปลา หมา หมู รวมถึงสอนคำที่เด็กต้องพบเจอทั่วไปในแต่ละวัน เช่น หิว อิ่ม อึ หม่ำ นม เพื่อเวลาที่เขารู้สึกแบบไหนจะได้สื่อสารออกมาอย่างเข้าใจ เป็นเทคนิคที่ช่วยให้ลูกพูดได้เร็วขึ้น 

4. ทำกิจกรรมที่ลูกมีส่วนร่วม

นอกจากการสอนที่เน้นการสื่อสารด้านคำพูดแบบทั่วไปแล้ว วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดอีกเทคนิคนั่นคือ พ่อแม่ทำกิจกรรมโดยให้ลูกมีส่วนร่วมเพื่อเด็กจะอยากสื่อสาร บอกสิ่งที่เขาต้องการ หรือทำตามคำสั่งของพ่อแม่ เช่น ให้ชี้ไปที่พ่อ ชี้ไปที่แม่ ถามว่าชื่อน้อง (ชื่อลูก) ใช่ไหม แล้วให้เด็กยกมือ หากเขารู้สึกสนุกก็จะมีการยิ้ม หัวเราะ มีเสียงกรี๊ดออกมา แสดงถึงพัฒนาการที่ดีตามวัย 

5. ชื่นชมเมื่อลูกทำได้

ท้ายที่สุดพ่อแม่ต้องชื่นชมหรือมีการให้รางวัลบ้างหากลูกสามารถทำได้ตามที่บอก หรือมีการพูดคำที่พ่อแม่สอนได้แบบชัดเจน เด็กจะรู้สึกมีความสุขและอยากพูดบ่อย ๆ เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ตนเองทำได้ถูกต้อง มีคนชื่นชม และยังมักได้สิ่งดี ๆ กลับมาอีกด้วย

สรุป

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูดต้องเริ่มต้นจากการเอาใจใส่ของพ่อแม่ หากรู้ว่าลูกพูดช้ากว่าพัฒนาการที่ควรเป็นก็ต้องรีบพบกุมารแพทย์ทันที หากตรวจแล้วไม่พบสิ่งผิดปกติก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนการสอนลูกให้พูดด้วยวิธีต่าง ๆ มากขึ้น เช่น การสอนคำทีละพยางค์ การให้ทำตามคำสั่ง การหากิจกรรมทำร่วมกัน มีการชื่นชมเมื่อลูกทำได้ เป็นต้น รับรองว่าเด็กจะไม่เจอปัญหาพัฒนาการในด้านนี้อีกต่อไป

อ่านเพิ่มเติม:

ประกันอุบัติเหตุเด็กที่ได้มาจากโรงเรียน คุ้มครองพอหรือไม่?

ประกันอุบัติเหตุเด็ก คืออะไร ?

ประกันอุบัติเหตุเด็ก คือ ประกันภัยที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุ้มครองเด็กจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นทั้งในและนอกสถานศึกษา ประกันประเภทนี้จะช่วยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบาดเจ็บ เช่น ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ค่ายา และบางครั้งอาจรวมถึงค่าชดเชยในกรณีที่เด็กไม่สามารถไปโรงเรียนหรือทำกิจกรรมปกติได้ชั่วคราว

ประกันอุบัติเหตุสำคัญอย่างไร ทำไมถึงควรทำ ?

การป้องกันค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด: อุบัติเหตุคือเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อและเกิดได้กับทุกคน เด็กมักมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุสูง เช่น การเล่นซน หรือการทำกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ การมีประกันอุบัติเหตุจะช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายของครอบครัวที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด

 

ความคุ้มครองครอบคลุม: ประกันอุบัติเหตุเด็กคุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ ค่ารักษาพาบาลจากอุบัติเหตุ และมักครอบคลุมการรักษาพยาบาลที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการรักษาในโรงพยาบาล หรือการรักษาผ่านคลินิกเฉพาะทาง ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับครอบครัวที่ต้องการความมั่นใจในความปลอดภัยของลูกหลาน


การสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง: การมีประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองว่าลูกหลานของตนจะได้รับการดูแลอย่างดีหากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น ช่วยแบ่งเบาภาระทางใจได้

ประกันอุบัติเหตุเด็กจากโรงเรียน พอหรือไม่ ?

แม้ว่าโรงเรียนหลายแห่งจะมีประกันอุบัติเหตุให้กับนักเรียน แต่ความคุ้มครองที่โรงเรียนจัดหาให้อาจไม่เพียงพอ เนื่องจากอุบัติเหตุมีทั้งขนาดเล็กและใหญ่ เช่น การลื่นล้มที่อาจจะต้องการเพียงการทำแผลเบา ๆ ไปจนถึงอุบัติเหตุที่ต้องผ่าตัดหรือรักษาพยาบาลในระยะยาว ค่าใช้จ่ายจากอุบัติเหตุเหล่านี้อาจมีความแตกต่างกันมาก ดังนั้น การมีประกันสุขภาพที่ครอบคลุมเพิ่มเติมจะช่วยให้ครอบครัวมีความมั่นใจในความปลอดภัยของลูกหลาน

 

การทำประกันสุขภาพเพิ่มเติมเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากอุบัติเหตุและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุนั้นไม่สามารถคาดการณ์หรือวางแผนได้ การมีประกันที่ครอบคลุมจะช่วยปกป้องครอบครัวจากภาระทางการเงินที่ไม่คาดคิด

ประกันอุบัติเหตุเด็ก

กรณีศึกษา เด็กผู้ชายที่เล่นฟุตบอล

มีเด็กผู้ชาย อายุ 10 ขวบเล่นฟุตบอลอยู่กับเพื่อน และได้สะดุดขาตัวเอง ล้มหัวกระแทกพื้น แต่ไม่มีแผล ไม่มีเลือด เลยได้กลับบ้านปกติ  เย็นวันนั้นเด็กผู้ชายได้มีการบ่นว่าปวดหัว และเช้าวันรุ่งขึ้นก็ยังปวดหัวอยู่แถมมีอาการคลื่นไส้ด้วย

 

ด้วยความกังวลของคุณแม่ คุณแม่เลยตัดสินใจพาลูกเขาไปโรงพยาบาล แต่ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล ที่ได้ทำมาจากโรงเรียนให้ความคุ้มครองสูงสุด 10,000 บาทต่ออุบัติเหตุ เด็กผู้ชายคนนี้จำเป็นต้องเอ็กซเรย์และทำ CT Scan ทำให้มีค่าใช้จ่ายเกือบ 16,000 บาท ซึ่งเกินมาจากความคุ้มที่ประกันอุบัติเหตุจากโรงเรียนมีให้ แต่โชคดี ที่คุณแม่ท่านนี้ได้ทำประกันสุขภาพเด็กแบบเหมาจ่าย ที่มีความคุ้มครองให้กับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมง สามารถนำมาใช้ในส่วนเกินของค่าใช้จ่ายครั้งนี้

 

หลังจากตรวจอะไรเสร็จเรียบร้อย คุณแม่ได้พาเด็กผู้ชายกลับบ้านหลังจากได้รับการรักษาเบื้องต้น แต่พอมาถึงช่วงเย็นวันนั้น เด็กผู้ชายเริ่มอาเจียน คุณแม่เลยตัดสินใจพากลับไปที่โรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยเพิ่มเติมว่าเขามีอาการกระทบกระเทือนทางสมอง (Concussion) และได้มีการแอดมิทเข้ารับการรักษาเพื่อสังเกตอาการต่อไป เด็กผู้ชายมีการพักรักษาตัวและเฝ้าดูอาการในโรงพยาบาลอีกสองวันจนกระทั่งอาการของเขาดีขึ้นและการกระทบกระเทือนทางสมองคลี่คลายแล้ว

 

คุณแม่ท่านนี้ถือว่าโชคดี ที่มีประกันสุขภาพเด็กส่วนตัวที่ครอบคลุมถึงอุบัติเหตุ สามารถดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายที่เป็นส่วนเกินมา เกือบ 6,000 บาท และคุ้มครองการเข้าแอดมิทโรงพยาบาล 2 คืน หากไม่ได้มีประกันสุขภาพเสริม ค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่คุณแม่ต้องจ่าย อยู่ที่ประมาณ 40,000 บาท

ค่าใช้จ่ายในการทำ CT Scan

ข้อดีของการทำประกันสำหรับเด็ก

ปลอดภัยไว้ก่อน ดีกว่ามาเสียใจทีหลัง: การมีประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กช่วยให้ผู้ปกครองมีความสบายใจว่าลูกหลานของตนจะได้รับการดูแลที่เหมาะสมหากเกิดเหตุไม่คาดคิด

 

ค่าเบี้ยประกันอุบัติเหตุราคาย่อมเยาว์: ประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กมักมีค่าเบี้ยประกันที่ไม่สูงมาก ทำให้สามารถรับประกันได้โดยไม่เป็นภาระทางการเงินมากเกินไป

 

ได้รับการรักษาทันที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย: ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ การมีประกันจะช่วยให้เด็กได้รับการรักษาพยาบาลทันที โดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ผู้ปกครองสามารถมุ่งมั่นในการดูแลสุขภาพและความปลอดภัยของลูกหลานได้อย่างเต็มที่

 

การคุ้มครองที่ครอบคลุม: ประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กมักครอบคลุมหลากหลายกรณี เช่น การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา การเกิดอุบัติเหตุในบ้าน หรือการเดินทาง ทำให้ผู้ปกครองมั่นใจได้ว่าลูกหลานจะได้รับความคุ้มครองทุกที่ทุกเวลา

 

การชดเชยรายได้: ในกรณีที่อุบัติเหตุทำให้เด็กต้องหยุดเรียนหรือหยุดทำกิจกรรมบางอย่าง ประกันอุบัติเหตุบางประเภทอาจมีการชดเชยรายได้ให้ผู้ปกครอง เพื่อช่วยลดภาระทางการเงินที่อาจเกิดขึ้น

 

เสริมสร้างความรู้สึกมั่นคง: การมีประกันอุบัติเหตุช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจให้กับผู้ปกครองและเด็ก ทำให้รู้สึกว่ามีการป้องกันที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิด

 

ส่งเสริมการเรียนรู้และการพัฒนาของเด็ก: เมื่อเด็กได้รับการคุ้มครองและรู้สึกปลอดภัย ผู้ปกครองสามารถให้เด็กทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมั่นใจ ส่งผลให้เด็กสามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่

สรุป

การทำประกันอุบัติเหตุสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองควรพิจารณาอย่างจริงจัง เนื่องจากอุบัติเหตุสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถควบคุมได้ การมีประกันสุขภาพเด็กที่ครอบคลุมเรื่องอบุัติเหตุด้วย จะช่วยให้ครอบครัวมีความมั่นใจและสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดได้อย่างมั่นใจ

อ่านเพิ่มเติม:

DBD logo

ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

เลขที่ 0105555036794

OIC logo

ใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัย เลขที่00008/2555  

ใบอนุญาตนายหน้าประกันภัย เลขที่ ช00012/2564

BOI logo

ได้รับการรับรองจาก BOI 2927/2555

บริษัท ลูม่า แคร์ จำกัด, 57 ปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ ชั้น 9 ยูนิต 912 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330

Copyright © 2025 lumahealth.com. All Rights Reserved.   นโยบายความเป็นส่วนตัว