ฝุ่น PM2.5 ผลเสียต่อสุขภาพของคนไทยที่ยังทวีความรุนแรงไม่หยุด

แม้ปัญหาของฝุ่น PM2.5 จะเกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน แต่ปัจจุบันเมื่อเข้าสู่ปี 2567 ความน่ากังวลของมลพิษร้ายตัวนี้ยังไม่หมดลง ในทางตรงข้ามยังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำ สังเกตได้จากข่าวคราวต่าง ๆ ซึ่งต้องยอมรับว่าส่งผลเสียต่อสุขภาพของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากการเรียนรู้วิธีป้องกันที่ถูกต้องแล้ว ทุกคนยังสามารถลดภาระเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลด้วยการมีประกันสุขภาพสักฉบับทั้งของผู้ใหญ่และประกันสุขภาพเด็กสำหรับลูกน้อย

ทำความรู้จักกับฝุ่น PM2.5 ตัวการร้ายทำลายสุขภาพ

แม้ทุกคนอาจคุ้นเคยกับชื่อของเจ้าฝุ่นตัวนี้ดีอยู่แล้ว แต่ก็ขอย้ำเตือนข้อมูลในเรื่องนี้กันอีกสักเล็กน้อยเพื่อให้เข้าใจถึงความอันตราย ฝุ่น PM2.5 คือ ฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 – PM2.5) จึงมองไม่เห็นด้วยสายตาเปล่า และด้วยขนาดที่เล็กจิ๋วจึงสามารถหลุดรอดการคัดกรองจากขนบริเวณโพรงจมูกและเยื่อเมือกเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจปริมาณมาก

บวกกับฝุ่นเหล่านี้มีส่วนประกอบของสารอันตราย อาทิ ซัลเฟต ไนเตรต แอมโมเนีย ซึ่งเป็นสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ กลุ่มสารโลหะหนัก เช่น แคดเมียม ทองแดง สังกะสี ไปจนถึงสารโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons, PAHs) จึงส่งผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพเมื่อต้องสูดดมหายใจเข้าไปเป็นประจำ

สาเหตุของการเกิดฝุ่น PM2.5

จริง ๆ แล้วฝุ่น PM2.5 มีอยู่ในอากาศที่ทุกคนหายใจเข้าไปมานานแสนนานมากแล้ว ซึ่งปกติมักพบบ่อยช่วงกำลังเปลี่ยนฤดูกาล สาเหตุดั้งเดิมคือระดับความกดอากาศสูงแผ่ลงมาบริเวณตอนบนของประเทศไทย ลมมรสุมจึงอ่อนตัวลงกลายเป็นช่วงลมสงบ อากาศปิด เมื่อบวกกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปแบบฉับพลันฝุ่นชนิดนี้จึงกระจุกตัวและมีการสะสมอยู่พอสมควร

แต่ในปัจจุบันไม่ใช่แค่ปัจจัยที่เกิดตามธรรมชาติ ฝุ่น PM2.5 ยังมีสาเหตุหลักจากการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่มักผลิตสารพิษเข้าสู่อากาศไม่เว้นแต่ละวัน เช่น ควันจากท่อไอเสีย การเผาป่า เผาหญ้า การเผาไม้ทำครัว การสูบบุหรี่ ควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การใช้เครื่องถ่ายเอกสาร การทำอาหารที่มีควันเยอะ เช่น ปิ้ง ทอด ย่าง การจุดธูป-เทียน เป็นต้น เมื่อทุกอย่างมารวมตัวกันในปริมาณมากเข้า ฝุ่นตัวนี้จึงเกิดขึ้นแบบต่อเนื่องและยังไม่มีทีท่าจะเบาบางลง

ฝุ่น PM2.5

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ฝุ่น PM2.5, ฝุ่น PM2.5 ผลเสียต่อสุขภาพของคนไทยที่ยังทวีความรุนแรงไม่หยุด

เข้าปี 2567 แนวโน้มฝุ่น PM2.5 จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น 

หากประเมินจากสถิติใกล้ตัวมากที่สุด ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2566 ประเทศไทยเริ่มกลับมาพบกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุหลักก็ยังมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบเดิม ๆ เช่น การจราจรขนส่ง การเกษตร โรงงานอุตสาหกรรม ต่อเนื่องมาจนถึงปี 2567 ที่เหล่านักวิเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญด้านฝุ่นละอองทั้งหลายต่างวิเคราะห์ตรงกันว่า อัตราความรุนแรงของ PM2.5 ในเมืองไทยจะเพิ่มขึ้นไปอีก  

โดยปัจจัยสำคัญเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (สภาพอากาศแปรปรวนผิดปกติ) ปริมาณฝนน้อยลงกว่า หลายพื้นที่แห้งแล้งและมีสิทธิ์เกิดไฟป่าง่ายขึ้น อีกทั้งสาเหตุตามธรรมชาติที่อธิบายเอาไว้ อากาศปิด ลมสงบ ฝุ่นละอองนี้จึงไม่ฟุ้งกระจายและปกคลุมเป็นกระจุกโดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ และปริมณฑล 

ผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ที่มีต่อทุกวัย 

เมื่อรู้จักกับฝุ่นละอองจิ๋วนี้กันไปแล้วก็มาถึงความอันตรายหรือผลกระทบของฝุ่น PM2.5 ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย หากขาดการป้องกันที่ดี ดังนี้ 

  1. 1. ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ

ถือเป็นผลกระทบโดยตรงมากที่สุดเมื่อต้องอยู่บริเวณพื้นที่ที่มีฝุ่นละอองจิ๋วปริมาณมากติดต่อกันนาน ๆ อาการเบื้องต้นที่เกิดขึ้นชัดเจนมักเริ่มจากหายใจไม่สะดวก มีน้ำมูกและเสมหะเยอะ คัดจมูกตลอดเวลา หากเป็นโรคหอบหืดหรือภูมิแพ้ฝุ่นอยู่แล้ว อาการก็มักกำเริบและมีสิทธิ์รุนแรงขึ้น ท้ายที่สุดโอกาสเสี่ยงจะเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ถุงลมโป่งพอง หรือมะเร็งปอดก็มีสูงขึ้นตามไปด้วย 

  1. 2. ผลกระทบต่อทางเดินหลอดเลือด

ไม่ใช่แค่ปอดเท่านั้นแต่ฝุ่น PM2.5 ยังก่อให้เกิดการตกตะกอนบริเวณทางเดินหลอดเลือดจนส่งผลกระทบในหลายส่วนต่อระบบร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เส้นเลือดสมองตีบ แตกจากเส้นเลือดแดงแข็งตัว  

ผลกระทบต่อสุขภาพแบบเชิงลึกของคนแต่ละวัย 

นอกจากปัญหาสุขภาพจากการที่ร่างกายได้รับฝุ่น PM2.5 ติดต่อกันเป็นเวลานานตามที่อธิบายไปแล้ว หากเจาะลึกกลุ่มคนที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดผลกระทบรุนแรงก็ยังสามารถแยกออกได้ นั่นบ่งบอกว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ต้องอยู่บริเวณที่มีฝุ่นละอองจิ๋วเยอะควรหลีกเลี่ยงหรือป้องกันให้ดีที่สุด 

  1. 1. ผลกระทบต่อเด็ก

ยิ่งเด็กอายุน้อยมากเท่าไหร่พวกเขามักมีความเสี่ยงต่ออันตรายเมื่อได้รับฝุ่นพิษเข้าสู่ร่างกายมากขึ้นเท่านั้น เหตุผลสำคัญมาจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่ดีพอเมื่อเทียบกับผู้ใหญ่ นอกจากเป็นตัวกระตุ้นให้เด็กเกิดโรคหอบหืด โรคภูมิแพ้แล้ว ยังมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาด้านสติปัญญา สมอง การพัฒนาทางร่างกาย ซึ่งไม่ใช่แค่เด็กเล็กเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทารกที่กำลังอยู่ในครรภ์มารดาด้วย หากแม่รับ PM2.5 ย่อมเสี่ยงที่ลูกคลอดออกมาแล้วจะเติบโตช้ากว่าปกติ หรือร้ายแรงที่สุดอาจถึงขั้นแท้งลูก และเพิ่มอัตราทารกเสียชีวิตในครรภ์ด้วย 

  1. 2. ผลกระทบต่อผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

ในระยะยาวเมื่อยังต้องทนอยู่กับ PM2.5 ตลอด ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคต่าง ๆ ตามที่ระบุเอาไว้ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งปอด ปอดอักเสบเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวายเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองตีบ – แตก มีสูงมาก ยิ่งถ้าเป็นคนมีโรคประจำตัวด้านระบบทางเดินหายใจอยู่แล้ว เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ อาการของโรคจะแสดงออกบ่อยครั้งและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ  

ฝุ่น PM2.5

วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ให้ส่งผลกระทบน้อยที่สุด

การรู้จักกับวิธีรับมือปัญหาต่าง ๆ ย่อมช่วยผ่อนหนักให้เบาลง ซึ่งก็รวมถึงหากคุณรู้วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ไม่ให้เข้าสู่ร่างกาย หรือได้รับปริมาณน้อยที่สุดก็ย่อมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ด้วย โดยคำแนะนำที่อยากบอกต่อมีดังนี้

  1. 1. หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่น

ข้อนี้คือวิธีตรงตัวและทำได้ง่ายมากที่สุด เมื่อรู้ว่าต้องออกไปพื้นที่กลางแจ้งมี PM2.5 เยอะ หรือแม้แต่อยู่บริเวณร่มที่ใดก็ตามควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นเอาไว้เสมอ ซึ่งหน้ากากที่ดีแนะนำเป็น หน้ากาก N95 เพราะสามารถกรองฝุ่นความละเอียดสูงได้ถึง 95% หรือจะเป็นหน้ากาก N99 ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก อีกสิ่งสำคัญต้องสวมอย่างถูกวิธีและทิ้งทันทีหลังใช้งานเสร็จ ไม่นำมาใส่ซ้ำ 

  1. 2. ปิดประตู-หน้าต่างไม่ให้ฝุ่นเข้ามาด้านใน

กรณีที่คุณอยู่ในบ้าน ออฟฟิศ โรงงาน หรือที่ใดก็ตามแล้วภายนอกมีฝุ่นจิ๋วเยอะมาก แนะนำปิดประตู-หน้าต่าง เพื่อป้องกันฝุ่นไม่ให้เข้ามาภายใน อาจเปิดระบบระบายอากาศและเครื่องฟอกอากาศช่วยเพื่อลดความอึดอัดลงก็จะดีมาก 

  1. 3. เช็กค่าฝุ่นละอองก่อนเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันที่สามารถเช็กค่าฝุ่นละอองได้ หากคุณต้องเดินทางไปยังพื้นที่สุ่มเสี่ยงกับการมีปริมาณฝุ่นเยอะ ๆ แนะนำให้เช็กข้อมูลอย่างละเอียด จากนั้นก็เตรียมหน้ากากป้องกันและวางแผนให้ดี ไม่ออกพื้นที่กลางแจ้งมากเกินไป 

ประกันสุขภาพทั้งผู้ใหญ่และเด็ก อีกตัวช่วยของการใส่ใจสุขภาพ 

อย่างไรก็ตามแม้ทุกคนจะพยายามดูแลตัวเองอย่างดีเพื่อหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยที่มีสาเหตุจากฝุ่น PM2.5 แต่บ่อยครั้งอาการของโรคต่าง ๆ ก็ยังอาจเกิดขึ้นได้ วิธีในการช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ดีที่สุดจึงหนีไม่พ้นการซื้อ “ประกันสุขภาพ” ทั้งของผู้ใหญ่และประกันสุขภาพเด็ก เพราะการรักษาตัวแต่ละครั้งมีจำนวนเงินไม่ใช่น้อย ๆ การซื้อประกันเริ่มต้นหลักพันหรือหลักหมื่น แต่มีวงเงินครอบคลุมหลักแสน หลักล้าน ยังไงก็ตอบโจทย์กว่า ยิ่งทุกวันนี้ในเมืองไทยของเราแทบต้องพบเจอกับ PM2.5 ทุกพื้นที่ด้วยแล้ว อย่าประมาทแล้วสร้างความปลอดภัยเบื้องต้นด้านสุขภาพทางการเงินเมื่อต้องเข้ารักษาตัวจะดีที่สุด 

Table of Contents

You May Also Like

ประกันมะเร็งที่ไหนดี
บทความ

ประกันมะเร็งที่ไหนดี 2567

โรคมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่คิด และ หนึ่ง ใน หก คน ทั่วโลก เสียชีวิตด้วยสาเหตุโรคมะเร็ง ไม่ว่าเรื่องกรรมพันธุ์ หรือ สาเหตุใดไม่อาจทราบ LUMA เองก็ได้เจอโรคมะเร็งในสมาชิกเพิ่มขึ้น และที่น่าตกใจกว่านั้น อายุของผู้ป่วยน้อยลงกว่าที่ผ่านมา การหาประกันที่คุ้มครองมะเร็ง เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเลือกแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมการรักษามะเร็ง หรือ เลือกแบบ …

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี
บทความ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี 2567

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายมีให้เลือกค่อนข้างเยอะในทุกวันนี้ และด้วยข้อมูลที่คอนข้างเยอะ รายละเอียดที่ต้องสนใจเยอะ ทำให้การตัดสินใจอาจจะลำบากกว่าที่ควรเป็น LUMA ได้ทำการบ้านมาให้แล้ว ว่าบริษัทไหนดีอย่างไร LUMA AXA MTL LMG Pacific Cross Allianz Ayudhya วิริยะประกันภัย April Falcon Insurance ในเมื่อเลือกแล้ว …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …