ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC)

โรคข้ออักเสบเป็นคำอธิบายลักษณะความผิดปกติที่เกิดกับข้อต่อส่วนต่างๆ โดยประเภทของโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยได้แก่โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แม้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อเหมือนกัน แต่สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษานั้นแตกต่างกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง 

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยการทำลายเซลล์เยื่อหุ้มข้อต่อ ซึ่งเป็นเยื่อบุของเยื่อหุ้มรอบข้อต่อ สาเหตุที่แท้จริงของการที่ระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองต่อร่างกายตนเองยังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากปัจจัยด้านพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมกัน

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด (RA Factor) 

การตรวจวินิจฉัยอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือการตรวจหาสารรูมาตอยด์ (RF) ในเลือด RF เป็นแอนติบอดีที่ระบบภูมิคุ้มกันผลิตขึ้นเพื่อทำลายเนื้อเยื้อที่มีสุขภาพดี ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบและความเสียหายของข้อต่อ แม้ว่าไม่ใช่ทุกคนที่เป็นโรค RA จะมีระดับ RF สูง แต่การตรวจพบสารดังกล่าวก็เป็นเกณฑ์อย่างหนึ่งในการวินิจฉัยได้

โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โรคข้อเสื่อม vs.โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ที่มาและกลไกลการเกิดโรค

โรคข้อเสื่อม (OA) และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ไม่ได้มีแค่ปัจจัยกระตุ้นที่แตกต่าง แต่กลไกพื้นฐานในการเกิดโรคก็ต่างกันด้วย โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกี่ยวกับความเสื่อมของข้อต่อต่างๆ ในร่างกายเป็นหลัก เนื่องจากความชราและการสึกหรอของข้อต่อ เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนป้องกันที่หุ้มปลายกระดูกมีการเสื่อมเมื่ออายุเยอะขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม และเคลื่อนไหวข้อต่อได้ยาก

ในขณะที่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นภาวะภูมิต้านตนเอง เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำร้ายเยื่อหุ้มข้อต่อเสียเอง ส่งผลให้เกิดการอักเสบเรื้อรังที่อาจนำไปสู่ความเสียหายและความผิดปกติของข้อต่อเมื่อเวลาผ่านไป โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์แตกต่างจากโรคข้อเสื่อมตรงที่เกิดกับคนได้ทุกวัย ไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุเท่านั้น

อาการและข้อต่อที่ได้รับผลกระทบ

บางครั้งอาการของโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจคล้ายคลึงกันและสร้างความสับสนได้ ทั้งสองภาวะนี้ทำให้เกิดอาการปวดข้อ บวม และตึง อย่างไรก็ตาม รูปแบบและตำแหน่งของข้อต่อที่มีอาการช่วยแยกแยะความแตกต่างระหว่างทั้งสองโรคได้ โรคข้อเสื่อมมักส่งผลต่อข้อต่อที่รับน้ำหนัก เช่น หัวเข่า สะโพก และกระดูกสันหลัง ในขณะที่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักเกี่ยวข้องกับข้อต่อทั้งสองด้านของร่างกาย เช่น ข้อมือ เข่า และนิ้ว

อะไรร้ายแรงกว่ากันระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์?

การประเมินความรุนแรงของโรค 

ความรุนแรงของโรคข้อเสื่อมกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรพิจารณา โรคเข่าเสื่อม เป็นภาวะที่เกิดจากส่วนของร่างกายค่อยๆ สึกหรอ หลังจากใช้งานไปนานๆ หรืออายุมากขึ้น ทำให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก รวมถึงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและคุณภาพชีวิตโดยรวม แต่โดยทั่วไปแล้วจะไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามระบบต่างๆ ของร่างกาย

ในทางกลับกัน โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง มีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อระบบอื่นๆ ในร่างกาย หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์อาจทำให้เกิดความผิดปกติของข้อต่อ ความพิการ หรือแม้แต่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่ออวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจและปอด ดังนั้นในแง่ของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จึงมักถือว่าร้ายแรงกว่า

โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

มีโอกาสเป็นทั้งโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้หรือไม่?

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคที่เป็นร่วมกัน 

แม้ว่าจะพบไม่บ่อย แต่คนหนึ่งสามารถเป็นทั้งโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์พร้อมกันได้ เรียกภาวะเช่นนี้ว่าโรคข้ออักเสบร่วม การเป็นโรคข้ออักเสบประเภทหนึ่งอยู่แล้ว ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีโอกาสเป็นอีกประเภทหนึ่ง การรักษาโรคข้ออักเสบทั้งสองประเภทไปพร้อมๆ กันก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและพบได้ไม่บ่อย

การรักษาโรคข้ออักเสบร่วมมักใช้แนวทางสหสาขาวิชาชีพ รวมถึงการกินยาบรรเทาอาการอักเสบ ความเจ็บปวด และลดการลุกลามของโรค นอกจากนี้ การทำกายภาพบำบัดและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตยังส่งผลอย่างมากในการช่วยให้ข้อต่อทำงานได้ดีขึ้นและส่งเสริมสุขภาพร่างกายโดยรวม

การรักษาโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แนวทางการรักษาโรคข้อเสื่อม 

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมักใช้แนวทางรักษาแบบใช้ยาและไม่ใช้ยาร่วมกัน แพทย์อาจสั่งยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อบรรเทาอาการปวดและการอักเสบ ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัด การควบคุมน้ำหนัก และดูแลรักษาข้อต่อ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรคข้อเสื่อม

แนวทางที่ซับซ้อนขึ้นในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ 

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มีความซับซ้อนมากขึ้นเนื่องจากเป็นการจัดการกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ยาต้านรูมาติกที่ปรับเปลี่ยนการดำเนินโรคสำหรับผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (DMARDs) เช่น ยา Methotrexate มักใช้เพื่อระงับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันและชะลอการลุกลามของโรค ยาชีววัตถุ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่ส่วนใดส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน ได้ปฏิวัติแนวทางการรักษาโรครูมาตอยด์ ทำให้รักษาได้ตรงจุดกว่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต 

การปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตประจำช่วยในการรักษาโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้มาก การออกกำลังกายที่ปรับให้เหมาะกับสภาพของแต่ละบุคคลช่วยรักษาความยืดหยุ่นของข้อต่อและลดความตึง การรับประทานอาหารที่สมดุลและการควบคุมน้ำหนักมีความสำคัญอย่างมากในการลดภาระของข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อม

ความสำคัญของการตรวจรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ  

การวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การสังเกตุและตรวจพบอาการต่างๆ อย่างทันท่วงที ช่วยป้องกันความเสียหายของข้อต่อและส่งผลดีต่อการรักษาในระยะยาว การพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ กินยาตามที่แพทย์สั่ง และการสื่อสารอย่างต่อเนื่องกับผู้ให้บริการด้านการแพทย์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดการกับอาการเรื้อรังเหล่านี้

สรุป 

การทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่มีประสิทธิภาพ แม้โรคข้อเสื่อมจะเป็นภาวะความเสื่อมที่เกิดจากความชราเป็นหลัก แต่สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นโรคภูมิต้านตนเองที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ โดยความรุนแรงของอาการเหล่านี้แตกต่างกันไป แต่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์มักถือว่าร้ายแรงกว่าเนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลกระทบต่อระบบอื่นๆ ในร่างกายได้ รวมถึงมีความเป็นไปได้ที่บุคคลหนึ่งจะเป็นโรคข้ออักเสบทั้งสองประเภทพร้อมกัน เป็นการตอกย้ำถึงความซับซ้อนที่มากขึ้นในการจัดการกับโรคข้ออักเสบ

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

โรคข้อเสี่ยมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยต์, ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

You May Also Like

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ
สุขภาพ

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดคออาจเป็นภาวะที่สร้างความรำคาญและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากได้ โดยมีปัญหาการนอนหลับเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง การนอนในท่าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยบรรเทาอาการตึงบริเวณคอและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น บทความนี้จะเจาะลึกถึงท่านอนที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดคอ การทำความเข้าใจวิธีจัดแนวกระดูกสันหลังและรองรับคอที่ถูกต้องตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณตื่นขึ้นมารู้สึกสดชื่นและไม่ปวดคอ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนอนตะแคง นอนหงาย หรือคนที่พลิกตัวบ่อยๆ การหาท่านอนที่เหมาะก็ไม่ใช่เรื่องยาก ทำไมตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดคอ อาการปวดคอหลังตื่นนอนเป็นปัญหาที่พบโดยทั่วไปซึ่งมักมีสาเหตุมาจากท่าทางการนอนหลับที่ไม่ดี หมอนที่ไม่รองรับสรีระร่างกาย หรือผลข้างเคียงจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง …

ปวดไหล่
สุขภาพ

อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดไหล่หลังออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รักการออกกำลังกายรู้สึกเหนื่อยหน่ายและหมดแรง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์หรือเป็นมือใหม่ ก็มักจะต้องรับมือการอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่บ่อยๆ บทความนี้จะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ ของอาการปวดไหล่หลังการออกกำลังกาย โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดไหล่ ความแตกต่างระหว่างอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ การประเมินความรุนแรงของอาการ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อบรรเทาอาการปวด วิธีแก้อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกายอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงการออกกำลังกายผิดท่า การออกกำลังกายมากเกินไป หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ …

โรคข้ออักเสบรูมาตอยต์
สุขภาพ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ควรดูแลตนเองอย่างไร?

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองที่มุ่งเป้าไปที่ข้อต่อเป็นหลัก ทำให้เกิดอาการปวด บวม และตึง การจัดการกับภาวะเรื้อรังนี้อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย แต่ด้วยแนวทางที่ถูกต้อง ผู้ป่วยก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการจัดการกับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์คือการดูแลตนเอง ซึ่งคุณสามารถทำเองที่บ้านได้ง่ายๆ ในบทความนี้ เราได้รวบรวมแนวทางต่างๆ ตลอดจนเคล็ดลับการดูแลตนเอง …