ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

หลาย ๆ คนอยากทำประกันสุขภาพติดตัวไว้ แต่ก็อาจจะยังไม่รู้ว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพประเภทใดดี เพราะในปัจจุบัน ประกันสุขภาพมีสองประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่  

  • ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย และ
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย 

หากอยากรู้ว่าทั้งสองประเภทแตกต่างกันอย่างไรนั้น สามารถตามไปอ่านได้ที่ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร? รู้ไว้ก่อนเลือกซื้อ

วันนี้ทาง LUMA ได้รวมเหตุผลมาแล้วว่าทำไมคุณถึงต้องซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านกันได้เลย  

ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย 

ค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายที่สูง 

ต้องยอมรับว่าค่ารักษาพยาบาลในปัจจุบัน มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง ทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง โดยเฉพาะการรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ยิ่งหากป่วยเป็นโรคร้ายแรงด้วยแล้ว ค่ารักษาพยาบาลก็จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก และถ้าหากป่วยเป็นโรคที่ต้องใช้ระยะเวลารักษานาน และคุณทำประกันสุขภาพแบบแยกจ่ายที่มักจะมีวงเงินต่ำกว่า อาจจะมีโอกาสสูงมากที่วงเงินของประกันที่คุณทำไว้อาจจะไม่เพียงพอต่อค่ารักษา จนสุดท้ายคุณต้องจ่ายค่าใช้จ่ายส่วนเกินเอง  

การทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย ที่มอบวงเงินคุ้มครองสูงกว่า จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าอย่างน้อยก็จะได้รับความคุ้มครองในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาในระยะเวลาที่นานกว่า จนอาจจะถึงตอนที่การรักษาสิ้นสุดแล้ว ทำให้คุณไม่จำเป็นต้องมานั่งจ่ายค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เป็นการลดภาระทางการเงินไปได้ในอีกทางหนึ่ง 

 การทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย หากคุณมีครอบครัวแล้ว การทำประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของครอบครัวไปได้หากคุณเกิดป่วยขึ้นมา เพราะอย่างน้อยสมาชิกในครอบครัวของคุณก็ไม่จำเป็นต้องมาแบกรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้น  

ทำประกันสุขภาพ ใช้ลดหย่อนภาษีได้  

การทำประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย นอกจากจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บป่วยขึ้นมาแล้ว การทำประกันสุขภาพยังช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้อีกด้วย โดยประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 25,000 บาทต่อปี หากฐานภาษีของคุณสูง ก็จะสามารถลดหย่อนภาษีได้มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้คุณสามารถนำเงินที่เหลือในส่วนนี้ไปต่อยอดทำอย่างอื่นเพิ่มได้ 

จากที่กล่าวไปในข้างต้น จะเห็นว่าเหตุผลหลัก ๆ ที่ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย นั่นก็คือ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายมอบความคุ้มครองในวงเงินที่สูงกว่า รวมถึงให้ความคุ้มครองครอบคลุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มากกว่าประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย  

แต่ถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจว่า ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายนั้นคุ้มครองอะไรบ้าง ทาง LUMA ก็ได้มีบทความที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความคุ้มครองของประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายไว้ สามารถอ่านได้ที่ ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันให้เข้าใจ 

ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย, ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย


อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเลือกซื้อประกันภัยประเภทใด ๆ ก็ตาม เป็นเรื่องจำเป็นที่คุณจะต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ของตัวคุณก่อนที่จะเลือกทำประกันทุกครั้ง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคุณจะได้แผนประกันที่เหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด


1.ค่าเบี้ยประกัน
ค่าเบี้ยประกันถือเป็นสิ่งแรก ๆ ที่ควรนำมาพิจารณาก่อนการเลือกซื้อประกันสุขภาพทุกครั้ง โดยเฉพาะประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่จะมีค่าเบี้ยประกันที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย เนื่องจากประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจะคุ้มครองการรักษามากกว่า รวมถึงมีวงเงินที่สูงกว่า ดังนั้น คุณจึงควรเลือกซื้อประกันที่มีค่าเบี้ยประกันที่คุณสามารถจ่ายได้โดยไม่ต้องเดือดร้อน


2.โรงพยาบาลที่จะใช้บริการ
การพิจารณาถึงโรงพยาบาลที่คุณจะใช้บริการก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะสามารถคำนวณได้คร่าว ๆ ว่าการรักษาในแต่ละครั้งจะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาประมาณเท่าใด ทำให้คุณเลือกซื้อแผนประกันเหมาจ่ายที่วงเงินเพียงพอกับค่าใช่จ่ายในโรงพยาบาลนั้น ๆ ได้ อย่าลืมว่าถึงแม้ว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายนั้นจะคุ้มครองค่าใช้จ่ายแบบไม่แยกหมวด แต่ก็อาจมีการจำกัดวงเงินในบางค่าใช้จ่าย เช่น ค่าห้อง ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดของโรงพยาบาลให้ดีก่อนเลือกซื้อประกัน


3.สวัสดิการของตัวเอง
หากคุณมีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว ก็ควรลองดูก่อนว่าสวัสดิการที่มีอยู่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลมากเท่าใด เพื่อที่จะดูว่าแผนประกันสุขภาพใดที่จะช่วยมาแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมได้ โดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันที่สูงเกินกว่าความจำเป็น

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย, ทำไมต้องซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

สรุป

หลังจากที่ได้อ่านข้อมูลกันไปแล้ว ทาง LUMA เชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงจะเห็นถึงความสำคัญถึงการมีประกันสุขภาพเหมาจ่ายติดตัวไว้ เพราะประกันสุขภาพเหมาจ่ายจะสามารถช่วยแบ่งเบาภาระทางการเงินของคุณในเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารักษาที่โรงพยาบาล โดยไม่ได้มีจำกัดแต่ละหมวด ทำให้คุณมีโอกาสน้อยลงที่จะมีค่าใช้จ่ายส่วนเกิน

Table of Contents

You May Also Like

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …

สิทธิรักษาพยาบาล
บทความ

สิทธิรักษาพยาบาล 3 ระบบของไทย

สิทธิรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐบาลมอบให้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สิทธิรักษาพยาบาลของไทยมีอะไรบ้าง  คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากภาครัฐ โดยมีระบบหลัก 3 ระบบ ดังนี้ สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค/บัตรทอง) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คือ  สิทธิรักษาพยาบาลที่ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว เช่น …