ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันให้เข้าใจ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจกันมากขึ้น เพราะเรื่องสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญของคนเราลำดับต้น ๆ ที่ควรพิจารณาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากขึ้น รวมถึงค่ารักษาที่สูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำประกันสุขภาพติดตัวไว้จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ การซื้อประกันสุขภาพจะเป็นการช่วยลดภาระทางการเงิน ประกันสุขภาพสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในรักษาค่าพยาบาลหากป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยต่าง ๆ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครองการรักษาแบบ IPD และ OPD 

รวมถึง 

  • อุบัติเหตุ
  • ค่าตรวจต่างๆ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังการเข้าพักรักษาแบบผู้ป่วยไหน
  • ผลประโยชน์อื่นๆ ตามเอกสารแนบท้าย

ประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย และ
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

แต่ถ้าหากใครยังไม่รู้ว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเป็นยังไง สามารถตามไปอ่านได้ที่ LUMA ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร

ประกันสุขภาพ แบ่งออกเป็นกี่แบบ

ประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย และ
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

แต่ถ้าหากใครยังไม่รู้ว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเป็นยังไง สามารถตามไปอ่านได้ที่ LUMA ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร, ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันให้เข้าใจ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง  

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการป่วยไข้หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีแบ่งการคุ้มครองผลประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้ 

1. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยภายใน (IPD)

IPD เป็นการย่อมาจาก In-Patient Department หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ผู้ป่วยใน คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายพื้นที่ของประกันสุขภาพมักประกอบด้วย เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาลและอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น 

ผู้ป่วยในอาจจะเข้ารักการรักษาด้วยอาการที่ค่อนข้างหนัก เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หรือ อาหารเป็นพิษขั้นรุนแรง หรือการผ่าตัดต่างๆ ที่ต้องคอยรักษาและดูอาการก่อน

2. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD)

OPD เป็นการย่อมาจาก Out-Patient Department หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ผู้ป่วยนอก ลักษณะหลักของการเป็นผู้ป่วยนอก คือคนไข้ไม่ต้องรักษาตัว หรือนอน ที่โรงพยาบาล ที่เข้าใจกันว่า แอดมิท เข้าโรงพยาบาล แต่เป็นการดูแลผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพเล็กน้อย หรือ อาการไม่รุนแรงมาก เช่น อาการปวดหัว แพ้อากาศ มีไข้ เป็นหวัด หรือ เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่นปวดท้อง สามารถให้คุณหมอตรวจแล้วรับยากลับบ้าน จะเป็นการรักษาตัวที่บ้าน ไม่ใช่ที่โรงพยาบาล

ความคุ้มครองสำหรับ OPD จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ไม่ว่าเป็นค่าหมอ ค่าพยาบาล หรือ ค่าบริการโรงพยาบาล รวมไปถึงค่ายากลับบ้าน และค่าตรวจต่างๆที่ไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาล

3. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง  

หากเกิดอุบัติเหตุ สามารถใช้ประกันในการรักษาไม่ว่าจะเป็นแบบ OPD หรือ IPD ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดทางกรมธรรม์ เช่น ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ต่อให้ไม่ได้ซื้อความคุ้มครองสำหรับ OPD แต่หากเกิดอุบัติเหตุ ความคุ้มครองตรงจะสามารถนำมาใช้ได้

4. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 

ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเกิดขึ้นภายใน จำนวนวันที่ระบุ ก่อน หลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หมายถึง หากไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง แล้วทำการทดสอบต่างๆ ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และระบุการรักษาเป็นโรคเดียวกัน จะสามารถ ใช้ความคุ้มครองตรงนี้ได้

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในต่อครั้ง สำหรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องภายใน จำนวนวันที่ระบุ หลังจากออกจากการเข้าพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน

5. ผลประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ/เอกสารแนบท้าย

เป็นการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมจากข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ ได้แก่ การคลอดบุตร การรักษาฟัน การดูแลโดยพยาบาลพิเศษที่มีความจำเป็นตามคำสั่งของแพทย์ และการรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง 

ทั้งนี้ ประกันสุขภาพบางแผนจะไม่ได้คุ้มครองหมดทั้งหมด ดังนั้นผู้เอาประกันควรอ่านรายละเอียดกรมธรรม์ประกัน ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อก่อนทุกครั้ง 

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

สรุป 

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง ขั้นตอนต่อไปของการเลือกซื้อประกันสุขภาพก็คือ การศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ประกันสุขภาพแผนต่าง ๆ ที่สนใจ รวมไปถึงศึกษาว่าบริษัทประกันภัยนั้น ๆ เป็นอย่างไร มีความน่าเชื่อถือหรือมีความมั่นคงหรือไม่ เพื่อที่จะได้มีความมั่นใจว่าบริษัทประกันภัยจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเราเมื่อเกิดการเจ็บป่วยได้ 

Table of Contents

You May Also Like

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี
บทความ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี 2567

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายมีให้เลือกค่อนข้างเยอะในทุกวันนี้ และด้วยข้อมูลที่คอนข้างเยอะ รายละเอียดที่ต้องสนใจเยอะ ทำให้การตัดสินใจอาจจะลำบากกว่าที่ควรเป็น LUMA ได้ทำการบ้านมาให้แล้ว ว่าบริษัทไหนดีอย่างไร LUMA AXA MTL LMG Pacific Cross Allianz Ayudhya วิริยะประกันภัย April Falcon Insurance ในเมื่อเลือกแล้ว …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …