รู้จักโรคอ้วน ภัยร้ายที่คนไทยกำลังเผชิญ

โรคอ้วนเป็นโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม (Complex disorder) ซึ่งเกิดจากการมีไขมันในร่างกายมากเกินไป การเป็นโรคอ้วนหมายถึงว่าคุณมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่ร้ายแรงได้ง่ายขึ้น เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ระดับคอเลสเตอรอลสูงและความดันโลหิตสูง

การป้องกันไม่ให้เป็นโรคอ้วนหรือการลดน้ำหนัก ควรรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (แนะนำให้ออกกำลังกายเบาๆ อย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน) และเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต การลดน้ำหนักเพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพของคุณดีขึ้นและป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนได้

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศในเอเชียที่มีความชุกของโรคอ้วนสูงเป็นอันดับสองรองจากมาเลเซีย โรคอ้วนพบได้บ่อยในกรุงเทพฯ ทั้งชายและหญิง ร้อยละ 38.8 และ 49.4 ตามลำดับ ในขณะที่ภาคกลางพบผู้ชาย 33.3% และผู้หญิง 44.5% เป็นโรคอ้วน ภาคใต้มีผู้ชายและหญิงที่เป็นโรคอ้วนประมาณ 27.4% และ 44.7% ตามลำดับ ในขณะที่ภาคเหนือพบผู้ชาย 27.5% และผู้หญิง 36.3% ที่เป็นโรคอ้วน

โรคอ้วน

โรคอ้วนคืออะไร?

โรคอ้วนมีเกณฑ์ดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นตัวชี้วัด ซึ่งสามารถคำนวณเป็นอัตราส่วนของน้ำหนักต่อส่วนสูง หาก BMI เกิน 30 จะจัดอยู่ในกลุ่มโรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย 25-29.9 ถือว่ามีน้ำหนักเกิน อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างมวลไขมัน มวลกล้ามเนื้อ หรือมวลกระดูกได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถบอกการกระจายตัวของไขมันชนิดต่างๆ ในร่างกายได้อย่างแม่นยำ แต่สำหรับคนส่วนใหญ่ BMI ก็ถือเป็นตัวชี้วัดที่เป็นประโยชน์ในการวัดว่าพวกเขามีน้ำหนักที่ดีต่อสุขภาพหรือไม่

สาเหตุของโรคอ้วน

โรคอ้วนส่วนใหญ่เกิดจากการได้รับแคลอรี่เกินกว่าที่ร่างกายสามารถเผาผลาญได้ผ่านการออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน ซึ่งต่อมาจะถูกเก็บสะสมไว้เป็นไขมัน แคลอรี่เหล่านี้พบได้เฉพาะในอาหารที่มีไขมันและมีน้ำตาล การใช้ชีวิตแบบสมัยใหม่สามารถนำเราไปสู่การกินอาหารแคลอรี่สูงจำนวนมาก และใช้เวลานั่งมากเกินไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ออฟฟิศหรือพักผ่อนที่บ้าน

แม้ว่าสาเหตุหลักของโรคอ้วนจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิต แต่ก็สามารถเชื่อมโยงกับสาเหตุทั้งทางการแพทย์และไม่ใช่ทางการแพทย์ด้วยเช่นกัน

สาเหตุทางการแพทย์

  1. 1. ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)

ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์หรือภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำมีสาเหตุมาจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป โดยต่อมไทรอยด์ไม่สามารถผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ได้เพียงพอต่อความจำเป็นในการทำงานของร่างกาย และอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้

  1. 2. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) 

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ​​Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นภาวะที่อาจนำไปสู่โรคอ้วนเนื่องจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในเพศหญิง โดยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ สิว ขนดก (ขนยาวมากเกินไป) โรคผิวหนังช้าง (รอยดำบริเวณข้อพับ) และประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยที่สุดของ PCOS

  1. 3. กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing Syndrome)

ภาวะที่เกิดจากฮอร์โมนคอร์ติซอลในร่างกายมากเกินไปอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากเกินไปได้

โรคอ้วน

สาเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องทางการแพทย์

  1. 1. การขาดกิจกรรมทางกาย

เมื่อไม่ได้ออกกำลังกาย ระบบเผาผลาญจะทำงานช้าลง ซึ่งส่งผลเสียต่อการย่อยสลายสลายไขมันของร่างกาย วิถีชีวิตที่ไม่ค่อยได้ขยับร่างกายยังทำให้คุณมีน้ำหนักมากขึ้น เพราะจะกินมากขึ้นและออกกำลังกายน้อยลง

  1. 2. นิสัยการบริโภคอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

คุณมีแนวโน้มที่จะน้ำหนักเพิ่มขึ้นถ้าออกไปทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำหรือสั่งอาหารกลับบ้าน ซึ่งในปัจจุบันที่มีทั้งบริการ Grab Food และ Foodpanda ทำให้การสั่งอาหารมาทานที่บ้านยิ่งง่ายขึ้น เราสามารถเอาชนะสิ่งนี้ได้ด้วยการทำอาหารกินเองที่บ้านหรือพยายามสั่งอาหารที่ดีต่อสุขภาพและกินในปริมาณที่น้อยลง เพราะอาหารที่ไม่ได้ทำเองมักจะมีแคลอรีสูงและไม่ดีต่อสุขภาพ

  1. 3. นอนหลับไม่เพียงพอ

การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน คุณจึงรู้สึกหิวและเพิ่มความอยากกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงและไม่ดีต่อสุขภาพ ลองฟัง TED talk โดย Dr Matthew Walker ที่พูดถึงเรื่องนี้ดู

โรคอ้วนมาพร้อมความเสี่ยงอะไรบ้าง?

โรคอ้วนคือโรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของพันธุกรรม (Complex disorder) และส่งผลเสียที่เป็นอันตรายอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น เพราะอัตราส่วนไขมันในร่างกายต่อกล้ามเนื้อที่สูงขึ้นจะเพิ่มความเครียดให้กับกระดูกและเอ็นตลอดจนอวัยวะภายใน

โรคอ้วนเชื่อมโยงกับโรคอื่นๆ ที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานชนิดที่ 2 ความดันโลหิตสูง ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ ภาวะมีบุตรยาก โรคข้ออักเสบ เป็นต้น นอกจากนี้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าไขมันส่วนเกินในร่างกายเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งหลายชนิด ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งมดลูก หลอดอาหาร มะเร็งไต และมะเร็งตับอ่อน

ผลเสียจากโรคอ้วนยังมีแนวโน้มจะกระทบต่อคุณภาพชีวิต เช่น เกิดภาวะซึมเศร้า มีปัญหาทางเพศอย่างการสูญเสียความต้องการทางเพศ เกิดความอับอาย ความรู้สึกผิด ความอึดอัดใจ และการแยกตัวออกจากสังคม ขาดความมั่นใจในตนเอง และเกิดความรู้สึกเซื่องซึม

โรคอ้วน, รู้จักโรคอ้วน ภัยร้ายที่คนไทยกำลังเผชิญ

การรักษาโรคอ้วน

การรักษาโรคอ้วนส่วนใหญ่ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ผู้ให้บริการด้านสุขภาพหรือแพทย์ของคุณสามารถช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ วางแผนการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ และแผนการออกกำลังกาย ตารางการออกกำลังกายประจำวันที่ประกอบด้วยการออกกำลังกายเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง ความอดทน และการเผาผลาญอาหาร พร้อมด้วยการให้คำปรึกษาและการสนับสนุนในการลดความอ้วน ด้วยภูมิประเทศและทิวทัศน์ที่สวยงามติดระดับโลก ไทยจึงเป็นสถานที่ที่ยอดเยี่ยมในการค้นพบกิจกรรมที่ทำให้คุณเพลิดเพลินและยังช่วยให้คุณได้ออกกำลังกายไปพร้อมๆ กัน

และยังมีกลุ่มในโซเชียลมีเดียที่คุณสามารถเข้าร่วมเพื่อทำความรู้จักกับผู้คนที่ชอบกิจกรรมออกกำลังกายคล้ายๆ กัน

สำหรับบางคนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตหรือเข้าร่วมโปรแกรมลดน้ำหนัก อาจต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์

แพทย์สามารถสั่งยาที่ป้องกันการดูดซึมไขมันหรือระงับความอยากอาหารเพื่อช่วยให้น้ำหนักลดได้ แต่ในระยะเวลาที่จำกัดเท่านั้น ในบางกรณี ตัวเลือกสุดท้ายคือการผ่าตัดลดน้ำหนักหรือที่เรียกว่าการผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก การผ่าตัดลดขนาดกระเพาะเป็นการจำกัดปริมาณอาหารที่ปกติคุณสามารถรับประทานได้ หรือป้องกันไม่ให้ร่างกายรับและดูดซึมอาหารและแคลอรี่จากอาหาร ซึ่งวิธีการผ่าตัดลดขนาดกระเพาะ ได้แก่ การผ่าตัดบายพาสกระเพาะ การผ่าตัดใส่ห่วงรัดกระเพาะอาหาร (LABG) การผ่าตัดแบบสลีฟ และ ผ่าตัดผนังกระเพาะอาหารส่วนใหญ่ออกให้มีเพียงกระเพาะอาหารบางส่วนที่ยังทำหน้าที่เหมือนเดิม (Biliopancreatic Diversion with Duodenal Switch) 

กรมธรรม์ประกันสุขภาพของ LUMA มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดี ตั้งแต่การดาวน์โหลดสูตรอาหารเพื่อสุขภาพไปจนถึงสิทธิพิเศษต่างๆ สำหรับสมาชิก หากคุณสนใจแผนประกับสุขภาพที่ครอบคลุมและใส่ใจสุขภาพคุณ 

Table of Contents

You May Also Like

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …

สิทธิรักษาพยาบาล
บทความ

สิทธิรักษาพยาบาล 3 ระบบของไทย

สิทธิรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐบาลมอบให้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สิทธิรักษาพยาบาลของไทยมีอะไรบ้าง  คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากภาครัฐ โดยมีระบบหลัก 3 ระบบ ดังนี้ สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค/บัตรทอง) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คือ  สิทธิรักษาพยาบาลที่ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว เช่น …