BMIคืออะไร? สำรวจสุขภาพด้วยค่าดัชนีมวลกายก่อนวางแผนลดน้ำหนัก

ปัจจุบันเราสามารถติดตามสุขภาพร่างกายด้วยเครื่องมือที่เรียบง่ายและรวดเร็วอย่างการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จากน้ำหนักและส่วนสูง เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นและไขมันที่สะสมเป็นเวลานานเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคร้ายแรงที่อาจนำไปสู่การจำกัดเสถียรภาพในการใช้ชีวิต ดังนั้นการติดตามสภาพร่างกายจึงเป็นการเตรียมรับมือกับโรคต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตามค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ยังจำเป็นต้องพิจารณาร่วมกับข้อบ่งชี้ด้านสุขภาพอื่น ๆ ในการระบุปัญหาสุขภาพ ลูม่าจึงได้รวบรวมข้อมูลที่ควรทราบเกี่ยวกับ BMI เอาไว้ดังนี้

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) คืออะไร ใช้ทำอะไร?

BMI (Body Mass Index) หรือ ค่าดัชนีมวลกาย เป็นการคำนวณที่ใช้ศึกษาความสมดุลของมวลร่างกายโดยคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงที่นิยมใช้ในการสำรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่อายุ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งสามารถคำนวณได้ง่ายและรวดเร็ว BMI ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19 และปัจจุบันค่าดัชนีมวลกายถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือบ่งชี้ความเสี่ยงด้านสุขภาพ พิจารณาความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ร่างกายสมส่วน

bmiคิดยังไง

เกณฑ์และการคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI)

การคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สามารถคำนวณได้จากน้ำหนักตัวหน่วยกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเมตรยกกำลังสอง ยกตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัม สูง 170 cm จะได้สมการดังนี้ 60/1.72= 20.8

หรือสามารถคำนวณด้วยโปรแกรมคำนวณค่าดัชนีมวล (BMI) จาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มีการจำแนกความเสี่ยงด้านสุขภาพออกเป็น 5 กลุ่มความเสี่ยง โดยเกณฑ์ดัชนีมวลกายในแต่ละกลุ่มมีการกำหนดแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดเกณฑ์ของค่าดัชนีมวลกายสำหรับคนไทยที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปดังนี้เอาไว้ดังนี้

BMIคือ, BMIคืออะไร? สำรวจสุขภาพด้วยค่าดัชนีมวลกายก่อนวางแผนลดน้ำหนัก

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) บอกอะไรเราบ้าง?

ค่าดัชนีมวลกายเป็นค่าที่ใช้เพื่อคาดคะเนความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ แต่ไม่ใช่ข้อบ่งชี้อาการของโรคใดโรคหนึ่ง จากเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข หากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) อยู่ที่ 18.5-22.9 กิโลกรัมต่อตารางเมตร หมายถึงบุคคลนั้น ๆมีร่างกายสมส่วน ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่ำ แต่หากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5 หรือสูงกว่า 22.9 สามารถคาดคะเนความเสี่ยงด้านสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้

ความเสี่ยงด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ต่ำกว่า 18.5

  • ภาวะทุพโภชนาการ
  • สูญเสียมวลกระดูก
  • ระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
  • โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ความเสี่ยงด้านสุขภาพสำหรับผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 22.9

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  • ความดันโลหิตสูง
  • ไขมันในเลือดสูง
  • โรคเบาหวาน

สิ่งที่ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) บอกเราไม่ได้

ความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ พิจารณาจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ของบุคคลนั้น ๆ ว่าต่ำหรือสูงกว่าเกณฑ์ร่างกายสมส่วน แต่การคำนวณค่าดัชนีมวลกายคำนวณจากตัวเลขน้ำหนักและส่วนสูงเท่านั้น โดยที่ตัวเลขน้ำหนักที่นำไปคำนวณไม่ได้แยกความแตกต่างระหว่าง มวลกล้ามเนื้อ ปริมาณไขมันในร่างกาย มวลกระดูก การคำนวณยังขาดการพิจารณาปัจจัยด้านสุขภาพเฉพาะบุคคลเช่น อายุ เพศ พฤติกรรม เชื้อชาติ และข้อบ่งชี้ของโรคบางโรค ตัวอย่างเช่น ระดับความดันโลหิต ระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือด ฯลฯ การคำนวณค่าดัชนีมวลกายจึงอาจไม่เหมาะกับนักกีฬา นักเพาะกาย และสตรีที่ตั้งครรภ์

ดังนั้นค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เป็นเพียงเครื่องมือสำรวจร่างกายเครื่องมือหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เครื่องมือตรวจสุขภาพแต่อย่างใด และการสำรวจร่างกายด้วยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ยังสามารถใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ได้แก่

  • Waist-to-Hip Ratio หรือ อัตราส่วนรอบเอวต่อสะโพก
  • Waist-to-Height Ratio หรือ อัตราส่วนรอบเอวต่อส่วนสูง
  • การวัดรอบเอว
  • การวัดไขมันในร่างกาย

สัญญาณที่ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) กำลังบอกให้เราลดน้ำหนัก

จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ในประเทศที่ประชากรประสบภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนจำนวนมากมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าประเทศที่มีค่าดัชนีมวลกายต่ำ ซึ่งค่าดัชนีมวลกายที่สูงกว่าเกณฑ์ร่างกายสมส่วนเป็นสัญญาณว่าร่างกายอยู่ในความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นการรับรู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายด้วยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) จึงเป็นสัญญาณสู่การวางแผนลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพ สำหรับการวางแผนลดน้ำหนักสามารถประกอบไปด้วย การปรับโภชนาการในมื้ออาหาร และการออกกำลังกายยกตัวอย่างเช่น

  • การรับประทานอาหารในสัดส่วนที่เหมาะสมตามธงโภชนาการของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  • การควบคุมอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การทำ IF, Low-carb diet, Ketogenic Diet, และ การเน้นรับประทานอาหารจากพืช ฯลฯ
  • การออกกำลังกายประเภทต่าง ๆ เช่น การออกกำลังกายแบบ Weight Training การคาร์ดิโอแบบ LISS MISS HIIT และการเล่นกีฬา

อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายและการควบคุมอาหารควรคำนึงถึงสมรรถภาพทางร่างกายและโรคประจำตัว สำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดด้านสุขภาพควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย

bmi คืออะไร

ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ไม่ใช่เครื่องมือที่แม่นยำที่สุด แต่ในเบื้องต้นก็สามารถบอกภาวะร่างกายได้ ตั้งแต่ น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ร่างกายสมส่วน น้ำหนักเกินเกณฑ์ ไปจนถึง โรคอ้วน และค่าดัชนีมวลกาย (BMI) สามารถบ่งบอกความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ได้เช่นกัน การคำนวณค่าดัชนีมวลกายจึงสามารถพิจารณาร่วมกับการวางแผนลดน้ำหนักเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ และรักษารูปร่างให้สมส่วนสุขภาพดี

You May Also Like

เสริมภูมิคุ้มกัน
สุขภาพ

อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง

การอยู่บ้านช่วงวิกฤตไม่ได้หมายความว่าคุณต้องกินแต่อาหารที่ปรุงลวกๆ การทำอาหารที่บ้านช่วยให้คุณมีกิจกรรมทำและปลดปล่อยจิตใจจากความวิตกกังวลในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ หากคุณเตรียมวัตถุดิบเข้าครัวไว้แล้ว ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลงมือทำสารพัดเมนูที่คุณชอบ ในช่วงที่มีไวรัสระบาด คุณต้องการอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดภัยจากการเจ็บป่วย ถ้าเย็นนี้คุณอยากทำอาหารทานเอง ลองซื้ออาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อไปนี้ที่ร้านค้าใกล้บ้านคุณดูสิ บรอกโคลี บรอกโคลีมีชื่อเสียงว่าเป็นสุดยอดอาหารและสามารถนำไปใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนูนอกจากนี้ยังหาซื้อได้ง่ายจากตลาด แคลอรี่ต่ำ เต็มไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ กุญแจสำคัญในการรักษาสารอาหารและพลังงานให้คงเดิมคือใช้บรอกโคลีสดและปรุงให้ไม่สุกเกินไป วิธีเลือกซื้อและเก็บรักษาบรอกโคลี: เมื่อซื้อบรอกโคลี ให้เลือกดอกที่เนื้อแน่น กระชับ และมีสีเขียวเข้ม ไม่ควรเลือกดอกที่มีชิ้นส่วนร่วนหลุด เปลี่ยนเป็นสีเหลือง …

ความดันโลหิตสูง
สุขภาพ

ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหรือที่เรียกกันว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ เพราะเป็นโรคไม่มีอาการบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงคืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร? ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการหัวใจวาย ตาบอด และโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรู้สึกได้ โดยปกติจะไม่มีสัญญาณเตือน คุณจึงอาจจะไม่รู้เลยว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มใช้ยาตัวใหม่ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจระดับความดันโลหิตโดยแพทย์ ซึ่งมักตรวจทุกครั้งเมื่อคุณไปโรงพยาบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี …

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …