ประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี 2567 แนะนำความสบายใจให้กับพ่อแม่

ประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี?

แผนประกันสุขภาพสำหรับเด็กมีให้เลือกเยอะมาก วันนี้ ทาง LUMA ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้ว ว่าซื้อประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี

  1. 1. LUMA
  2. 2. Allianz Ayudhya – อลิอันซ์ อยุธยา
  3. 3. MTL – เมืองไทยประกันชีวิต
  4. 4. Pacific Cross –  แปซิฟิค ครอส
  5. 5. April
  6. 6. AXA
  7. 7. FWD
  8. 8. AIA

ไม่ใช่แค่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่มีประกันสุขภาพเพื่อความสบายใจทางการเงินเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย แต่ปัจจุบัน “ประกันสุขภาพเด็ก” ก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่พ่อแม่ผู้ปกครองต้องใส่ใจให้ดี ด้วยทางเลือกที่มีค่อนข้างเยอะในสมัยนี้ การเลือกประกันให้ลูกจึงเป็นเรื่องสำคัญ และควรใส่ใจรายละเอียด ทำความเข้าใจกับความคุ้มครองให้ครบ และอ่านกรมธรรม์อย่างดี 

1. LUMA ประกันสุขภาพเด็ก

ใครยังไม่รู้ว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี 2567 ขอแนะนำประกันสุขภาพเด็กจาก LUMA โดดเด่นด้วยความคุ้มค่าที่พร้อมดูแลลูกน้อยแบบครบถ้วน ด้วยโรงพยาบาลในเครือข่ายกว่า 250 ที่ในประเทศไทย ทำให้การเข้ารักษาเวลาเจ็บป่วยมีขั้นตอนที่ง่ายและรวดเร็ว ด้วยบริการ Direct Billing ไม่ต้องสำรองจ่าย และสามารถนำความคุ้มครองไปใช้ต่างประเทศ LUMA มีสำนักงานทั่วเอเชีย และ ยุโรป

 

LUMA ประกันสุขภาพเด็ก มีจุดเด่นอะไรบ้าง

มากไปกว่านั้นทำประกันสุขภาพเด็ก LUMA Hi5 และ PRIME ยังจ่ายเบี้ยแบบสบายกระเป๋า เพราะเลือกจ่ายแบบมี Deductible เพื่อให้ค่าเบี้ยประกันถูกลง พร้อมรับส่วนลดสูงสุดถึง 20% ตอบโจทย์ทุกครอบครัวแน่นอน

 

ประกันสุขภาพเด็ก จาก LUMA สามารถเลือกค่าห้องและค่าอาหาร ตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 20,000 บาท และสิทธิพิเศษของแผนนี้ สามารถเข้าใช้บริการที่โรงพยาบาล BNH, สมิติเวช และ บํารุงราษฎร์ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินสำหรับค่าห้อง 

 

สำหรับใครที่ถือแผนประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่รู้สึกว่าความคุ้มครองไม่พอสำหรับค่ารักษาการแพทย์ทุกวันนี้ อาจจะมีวงเงินค่าห้องที่น้อยกว่าราคาห้องโรงพยาบาลสมัยนี้ หรือ เป็นแผนประกันสุขภาพที่ระบุวงเงินในการรักษา สามารถนำแผนแรกมาใช้เป็น Deductible หรือที่เรียกว่า ความรับผิดชอบส่วนแรก และรับส่วนลดค่าเบี้ย Hi5 และ PRIME สูงสุด 45%

แนะนำโดย คุณ Aum Napat

สามารถดูการเปรียบเทียบประกันสุขภาพเด็กได้เพิ่มเติม LUMA รวบรวมแผนประกันสุขภาพเด็กและเปรียบเทียบและลงรายละเอียดผลประโยชน์ ตาม ความคุ้มครอง งบ และ เงื่อนไขในการทำประกันไว้ให้เรียบร้อยแล้ว

2. Allianz Ayudhya ประกันสุขภาพเด็ก

Allianz Ayudhya อลิอันซ์ อยุธยา แผนแมกซ์ แคร์

บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา คุ้มครองตั้งแต่ 300,000 บาท ถึง 5 ล้านบาท ต่อครั้ง คุ้มครองทั้งการเจ็บและเจ็บป่วย โดยไม่จำกัดจำนวนครั้งการรักษาต่อปี  เหมาะสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 1 เดือน 1 วัน ไปจนถึงอายุ 15 มี มีความคุ้มครองให้เลือกทั้งผู้ป่วยใน และ ผู้ปวยนอก 

 

จุดเด้นของแผน แม็กซ์ แคร์:

ไม่ต้องสำรองจ่าย ด้วยเครือข่ายสถานพยาบาลกว่า 490 แห่งในประเทศไทย แต่สำหรับบริษัทอลิอันซ์ อยุธยา แผนแมกซ์ แคร์ มีระยะเวลารอคอย 30 วัน แปลว่าไม่สามารถใช้ประกันรักษาโรคทั่วไปได้ในระยะเวลา 30 วัน หลังจากเริ่มกรมธรรม์ และหากมีการรักษา อาจจะเป็นเหตุให้ทางบริษัทยกเลิกกรมธรรม์ได้

 

สำหรับเด็กอายุ 0-5 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองสมัครร่วมทุกกรณี และสำหรับประกันสุขภาพเด็กอลิอันซ์ อยุธยา ต้องมีประกันชีวิตเป็นกรมธรรม์หลัก ถึงจะซื้อประกันสุขภาพได้

3. เมืองไทยประกันชีวิต ประกันสุขภาพเด็ก

เมืองไทยประกันชีวิต โครงการ ดี คิดส์ พลัส (D Kids Plus)

 บริษัทต่อมาทุกคนคงคุ้นเคยชื่อเสียงกันไม่น้อย โดยโครงการนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่ลูกอายุ 30 วัน จนถึง 10 ขวบ

 

จุดเด่นของ โครงการ ดี คิดส์ พลัส:

สำหรับเมืองไทยประกันชีวิต จำเป็นต้องทำประกันสุขภาพเด็กพร้อมกับประกันชีวิต และ สำหรับเด็กอายุน้อย จะมีค่าใช้จ่ายส่วนแรกทุกครั้งที่ใช้บริการ

4. Pacific Cross ประกันสุขภาพเด็ก

Pacific Cross Standard และ Standard Plus

อีกหนึ่งบริษัทที่กำลังเป็นที่น่าสนใจ คือ Pacific Cross ด้วยแผน Standard การคุ้มครองเริ่มต้นที่ 270,000 บาทต่อการรักษา และ ค่าห้องเริ่มต้นวันละ 2,000 บาท  และแผน Standard Plus ที่คุ้มครอง 450,000 บาทต่อการรักษา และค่าห้องให้ 3,000 บาทต่อวัน 

 

สามารถต่ออายุได้ตลอดชีพ และรับส่วนลดในกรณีที่ไม่มีการเคลมหรือใช้ประกัน เครือข่ายโรงพยาบาลของ แปซิฟิค ครอส์สามารถใช้ในประเทศไทยกว่า 450 แห่ง โดยไม่ต้องสำรองจ่าย เวลาไปใช้บริการ 

 

นอกจากนี้ จุดเด่นของบริษัทนี้ มีความคุ้มครองกรณีฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมงทั่วโลก อุ่นใจได้เลย

5. April ประกันสุขภาพเด็ก

April Essential

บริษัทดังจากต่างประเทศที่มีบริษัทจดทะเบียนที่ประเทศไทย April มอบความคุ้มครองตั้งแต่ 16 ล้านบาท ถึง 65 ล้านบาท ทำให้ประกันแผนต่างๆ พอเพียงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ 

ไม่จำกัดวงเงินค่าห้อง ด้วยจ่ายตามจริงเวลาเข้ารักษาห้องเดี่ยวมาตรฐาน และ คุ้มครองอุบัติเหตุภายใน 48 ชั่วโมง จ่ายตามจริง 

 

จุดเด่นของ April:

จุดสำคัญที่ควรทำการเข้าใจก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพเด็ก ของ April มีค่าใช้จ่ายส่วนร่วมเมื่อใช้บริการโรงพยาบาลทุกครั้ง หากเป็นแผนเด็กเดี่ยว

6. AXA ประกันสุขภาพเด็ก

AXA Smart Care

บริษัท AXA มีแผนประกันสุขภาพเด็กให้เลือก อย่างเช่น Axa Smart Care Essential 1 วงเงินคุ้มครอง 1 ล้านบาท ต่อการรักษา และวงเงินค่าห้อง วันละ 3,000 บาท สำหรับห้องเดี่ยวมาตรฐาน

 

สำหรับอายุ 0-5 ปี จำเป็นต้องมีผู้ปกครองพ่วงด้วย และมีระยะเวลารอคอย 30 วัน ถึงจะใช้งานประกันได้ 

7. FWD ประกันสุขภาพเด็ก

 FWD Delight Care

คำถามสำหรับคนที่ยังลังเลใจว่าจะซื้อประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี นี่คืออีกทางเลือกที่น่าสนใจมาก จัดเต็มวงเงินคุ้มครองค่ารักษาเหมาจ่ายสูงสุด 1,250,000 บาท / ปี (คุ้มครองโควิด) สมัครได้ทันทีเมื่อลูกอายุ 1 เดือน 1 วัน ดูแลกันจนถึงอายุ 80 ปี ผลประโยชน์ค่ารักษาจากโรคมะเร็งลุกลามคุ้มครองเพิ่มเติม 1 เท่า ประหยัดเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วยการมี Deductible เข้ารับการรักษาทันทีในโรงพยาบาลเครือข่าย ไม่ต้องสำรองจ่าย สนใจทำประกันเด็กที่นี่ก็จัดว่าครอบคลุมในระดับหนึ่ง

 

FWD เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่จำเป็นต้องซื้อประกันสุขภาพ และ ประกันชีวิตพ่วงกัน สามารถเลือกแผนประกันชีวิตต่างๆ ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปกครอง

8. AIA ประกันสุขภาพเด็ก

AIA H&S Extra

ปิดท้ายสำหรับคนที่กำลังคิดอยู่ว่าจะซื้อประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี สัญญาเพิ่มเติมจาก AIA นี้ก็ถือว่าตอบโจทย์ ซื้อได้ทันทีตั้งแต่อายุ 15 วัน คุ้มครองให้อายุถึง 99 ปี จ่ายผลประโยชน์ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกตามจริงสูงสุด 9,000 บาท หากไม่มีการเคลมจะได้รับประโยชน์เงินคืนพิเศษเพิ่มเติมสูงสุด 4,500 บาท แต่จำเป็นต้องมีประกันชีวิตกับ AIA อยู่แล้วอย่างน้อย 1 ฉบับ ไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้อย่างเดียว

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

แนะนำแนวทางในการเลือกซื้อประกันสุขภาพเด็ก

เมื่อเข้าใจถึงความสำคัญกันไปเรียบร้อยจะเห็นว่าการทำประกันสุขภาพเด็กเป็นสิ่งสำคัญมาก อย่างไรก็ตามก่อนตัดสินใจว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี 2567 พ่อแม่ก็ต้องมีแนวทางประเมินเบื้องต้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดทั้งในเรื่องของเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายแต่ละปี รวมถึงเมื่อต้องใช้ประกันกับลูกน้อย ยังสามารถครอบคลุมอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้มากที่สุดแบบไม่ต้องเสียเงินเพิ่มหรือจ่ายน้อยที่สุด ลองมาศึกษาเลย

 

ประเมินสุขภาพและความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดกับลูก

สิ่งแรกที่ต้องรู้ก่อนเลือกซื้อประกันสุขภาพเด็กคือสุขภาพและความเสี่ยงของโรคที่อาจเกิดขึ้นกับลูกได้ ด้วยเด็กแต่ละคนมีสุขภาพและภูมิคุ้มกันแตกต่างกันออกไป เช่น เด็กบางคนมีโรคประจำตัวอย่างภูมิแพ้ หอบหืด ขณะที่บางคนอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ อาทิ ไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนย่าฯลฯ การประเมินทั้ง 2 เรื่องนี้จะช่วยให้พ่อแม่เลือกประกันเด็กที่เหมาะ และครอบคลุมการรักษามากที่สุด

 

ตรวจสอบสวัสดิการด้านสุขภาพของที่ลูกมีอยู่

การตรวจสอบสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพของลูกจะช่วยให้พ่อแม่ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทำประกันสุขภาพของเด็กลงไปได้เยอะมาก เพราะไม่จำเป็นต้องเลือกแผนที่ครอบคลุมในทุกหมวด ซึ่งส่งผลให้เบี้ยราคาสูงเช่น ลูกมีสวัสดิการเบิกค่ารักษาพยาบาลจากพ่อที่เป็นข้าราชการอยู่แล้ว ก็อาจเลือกทำประกันสุขภาพ แค่เฉพาะโรคร้ายแรง หรือทำประกันเงินออมสะสมทรัพย์เก็บไว้ในอนาคตก็ได้เช่นกัน

 

เปรียบเทียบข้อมูลโรงพยาบาลที่คาดว่าน่าจะเข้ารับการรักษา

เรื่องนี้ก็มีผลต่อการซื้อประกันสุขภาพเช่นกัน เพราะโรงพยาบาลแต่ละแห่งมีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันออกไป พ่อแม่จึงต้องเปรียบเทียบให้ชัดเจนว่าเมื่อลูกมีการเจ็บป่วยและต้องเข้ารักษาตัวอยากใช้บริการที่โรงพยาบาลใดมากที่สุด เพื่อจะได้เลือกซื้อประกันอย่างเหมาะสม และ ไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันแพงเกินไป (ในกรณีค่ารักษาของโรงพยาบาลที่เลือกไม่แพง) หรือไม่ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติม (กรณีค่ารักษาของโรงพยาบาลที่เลือกแพง)

 

ศึกษาแผนความคุ้มครองของประกันสุขภาพเด็ก

แผนประกันสุขภาพเด็กแต่ละบริษัทมีความแตกต่างกัน จึงต้องศึกษาให้ละเอียดว่าแต่ละกรมธรรม์มีความคุ้มครองเรื่องใดบ้าง ให้วงเงินเท่าไหร่ มีเงื่อนไขพิเศษอื่นใดหรือไม่ เพื่อจะได้ไม่ต้องมาถกเถียงกันภายหลังหรือรู้สึกว่าเบี้ยประกันที่จ่ายไปไม่คุ้มค่า

 

ประเมินงบที่พร้อมจ่ายกับแผนประกันที่เลือก

ก่อนตัดสินใจว่าจะซื้อประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี ลองนำข้อมูลต่าง ๆ ที่วางแผนเอาไว้ทั้งเรื่องสุขภาพของลูก ความเสี่ยงต่อการเกิดโรค สวัสดิการที่เขามี งบประมาณที่พ่อแม่พร้อมจ่ายแต่ละปี มาเทียบกับแผนประกันอย่างเหมาะสม โดยดูทั้งเรื่องรายละเอียดความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครองแต่ละกรณี รวมถึงวงเงิน Deductible (ความรับผิดส่วนแรก) ในบางเงื่อนไข

 

เลือกบริษัทประกันที่มีแผนเหมาะกับลูกมากที่สุด

เมื่อพิจารณาเงื่อนไขทุกอย่างละเอียดครบถ้วนแล้วก็เลือกบริษัทประกันที่มีแผนเหมาะสมกับการดูแลลูกน้อย รวมถึงไม่หนักหนาเกินไปสำหรับพ่อแม่ในการจ่ายชำระเบี้ยแต่ละปี

 

ศึกษารายละเอียดและทำสัญญากรมธรรม์

หลังตัดสินใจได้เรียบร้อยว่าจะเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี ต้องเข้าใจต่อถึงสัญญาประกันแต่ละบริษัท หรือแต่ละกรมธรรม์ ซึ่งมักแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสุขภาพ โรคประจำตัว ประวัติการรักษาพยาบาล เช่น บางกรณีมีหมายเหตุไม่คุ้มครองโรคที่เคยรับรักษามาก่อนหน้า เป็นต้น ดังนั้นก่อนเซ็นสัญญาทำประกันต้องอ่านอย่างละเอียดทุกจุด

 

ตรวจสอบข้อมูลกรมธรรม์อีกครั้ง

เมื่อทุกอย่างลงตัวเรียบร้อยเจ้าหน้าที่จะดำเนินการทำหนังสือสัญญากรมธรรม์ให้กับพ่อแม่ เมื่อได้รับแล้วต้องตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งว่าตรงกับที่พูดคุยไว้หรือไม่ ตั้งแต่ชื่อ-สกุล ข้อมูลส่วนตัว เงื่อนไขเกี่ยวกับการรับประกัน และอื่น ๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาภายหลัง เวลาต้องใช้ประกัน

คุณพ่อคุณแม่ ที่ LUMA เลือกประกันสุขภาพให้ลูกอย่างไร?

ประกันสุขภาพเด็ก

ฉันมีลูก 2 คนค่ะ ทำประกันสุขภาพให้ลูกตั้งแต่วันที่คลอดลูกเลยค่ะ เพิ่มเป็นสมาชิกเข้าไปในแผนครอบครัวที่ถืออยู่ สำหรับฉัน เวลาเปรียบเทียบประกันสุขภาพให้ลูก จะให้ความสำคัญกับความคุ้มครอง ทั้งปีมีวงเงินให้เท่าไร เพียงพอสำหรับการรักษาต่างๆในทุกวันนี้ไหม แล้วก็ต้องดูราคาเบี้ยประกันด้วยค่ะ 
Kanniga, แผนก IT

ทำประกันสุขภาพให้ลูกสาวตั้งแต่อายุ 15 วันค่ะ เพราะตอนนั้น เขากำหนดเวลา เร็วที่สุดที่สามารถทำให้เด็กแรกเกิดได้ คือ 15 วันหลังการคลอด สำหรับครอบครัวฉัน ตอนเลือกแผนประกัน เน้นไปทางผู้ป่วยในมากกว่าค่ะ เพราะเวลาต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายสูงมาก เลยเลือกแผนประกันที่คุ้มครอง IPD สูงค่ะ 
Chontara, แผนก Claim

ประกันสุขภาพเด็ก

เพิ่งทำประกันให้ลูกคนที่ 2 พอครบ 15 วันหลังคลอด รีบทำเลยค่ะ พอเป็นลูกคนที่ 2 เลยเข้าใจมากขึ้นว่าความคุ้มครองที่ต้องการ ต้องครอบคลุมอะไรบ้าง ตอนที่เลือกแผนประกันสุขภาพให้ลูก ต้องมีวงเงินอย่างน้อย 3 ล้านบาทต่อปี และ ความคุ้มครองผู้ป่วยใน เน้นดูค่าห้องเป็นพิเศษ เพราะสมัยนี้ ค่าใช้จ่ายสูงมาก ชอบมีค่าใช้จ่ายส่วนเกินที่จะต้องจ่ายตอนจะกลับบ้าน เลยเลือกแผนที่มีค่าห้องสูง หรือจ่ายตามจริงทั้งหมด ส่วนความคุ้มครองผู้ป่วยนอก ก็ดู แต่ไม่มากเพราะสำหรับเด็ก ป่วยแต่ละครั้งหนักจนต้องนอนโรงพยาบาลทุกที สำหรับฉัน ความคุ้มครอง OPD จะพิจารณาหากความคุ้มครองสำหรับการฉีดวัคซีนมันน่าสนใจ ถ้ามันไม่คุ้มครองเท่าไร ก็จะเลือกเฉพาะ IPD (ผู้ป่วยใน)
Xaynaly, แผนก Client Solutions

สรุป

ก่อนตัดสินใจเลือกว่าจะทำประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดีอย่าลืมพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทั้งเรื่องงบที่ต้องจ่ายแต่ละปีรวมถึงความคุ้มครองครอบคลุมกับการเจ็บป่วยของลูกน้อย ย้ำว่าการมีประกันสุขภาพเด็กคือเรื่องสำคัญมากเพราะการเจ็บป่วยของลูกรอไม่ได้ หากรับการรักษาแบบทันท่วงทีแถมไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย ยังไงย่อมดีกว่าต้องจ่ายเต็ม ๆ ด้วยตนเองทุกครั้งอย่างแน่นอน

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน

ผู้รับประกันภัย คือ

คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย

หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย 
  • – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 
  • – ให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการรับแจ้งเคลม 

 

สิทธิของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับเบี้ยประกันภัย รวมถึงปรับเบี้ยประกันภัยในกรณีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • – บอกเลิกสัญญา ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งข้อความจริงหรือผิดสัญญาประกันภัย รวมถึงไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย 
  • – ระงับความคุ้มครอง ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย ฝ่าฝืนเงื่อนไขในกรมธรรม์ หรือผู้เอาประกันไปรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย 
  • – ตรวจสอบข้อมูลสุขภาพผู้เอาประกันทั้งก่อนทำสัญญาและระหว่างที่มีผลบังคับใช้  รวมไปถึงเอกสารการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันด้วย 
  • – เรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันกรณีผู้เอาประกันแจ้งข้อความเท็จหรือจงใจทำให้เกิดความเสียหา

ผู้เอาประกัน คือ 

ถึงแม้ชื่อเรียกจะฟังแล้วชวนให้คิดถึงผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำประกันหรือกรมธรรม์นั้นๆ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ถูกทั้งหมด เพราะผู้เอาประกันคือบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกันภัย รวมถึงเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์นั้นด้วย ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากกรมธรรม์นั้นอาจไม่ใช่ผู้เอาประกันเสมอไปหากผู้เอาประกันทำสัญญาและจ่ายเบี้ยประกันโดยมีเงื่อนไขให้ผู้อื่นเป็นผู้รับประโยชน์แทน ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ทำประกันสุขภาพให้ลูก หรือพ่อแม่ทำประกันชีวิตเอาไว้โดยระบุให้ลูกคือผู้ได้รับผลประโยชน์หากตนเองเสียชีวิต ผู้เอาประกันในที่นี้คือพ่อแม่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์จากการทำประกันนั้นก็ตาม แต่บางกรณีผู้เอาประกันก็สามารถเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันได้เหมือนกัน เช่น ผู้เอาประกันทำประกันสุขภาพให้ตัวเองเพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล  

 

หน้าที่หลักของผู้เอาประกัน ได้แก่ 

  • – จ่ายเบี้ยประกันตามกำหนด  
  • – แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่จะเอาประกันอย่างถูกต้อง  
  • – แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น  
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 

สิทธิของผู้เอาประกันมีดังนี้ 

  • – ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 
  • – ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 
  • – ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ 

ผู้อยู่ในอุปการะ คือ

เป็นผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้เอาประกันที่ได้รับการระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย โดยสามารถเป็นได้ทั้งคู่สมรส ผู้ที่อยู่กินฉันท์สามีภรรยากับผู้เอาประกัน รวมไปถึงบุตร ซึ่งบุตรสามารถเป็นได้ทั้งบุตรของผู้เอาประกันเอง บุตรบุญธรรม หรือบุตรภายใต้การปกครอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นบุตรที่ยังต้องพึ่งพาการสงเคราะห์จากผู้เอาประกันอยู่ 

 

หน้าที่หลักของผู้อยู่ในอุปการะคือ 

  • – เป็นผู้รับผลประโยชน์ 
  • – แจ้งข้อมูลและเอกสาร 
  • – รักษาสิทธิ์ 
  • – แจ้งการเปลี่ยนแปลง 
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไข 

 

สิทธิของผู้อยู่ในอุปการะมีดังนี้  

  • – สิทธิได้รับเงินชดเชย เช่น เงินชดเชยรายได้ เงินชดเชยการศึกษา  
  • – สิทธิได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ 
  • – สิทธิในการตรวจสอบกรมธรรม์ 
  • – สิทธิในการร้องเรียน 
ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

ผู้ได้รับความคุ้มครอง คือ

  • หมายถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยผู้ได้รับความคุ้มครองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ  

    1. 1. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้เอาประกันเอง  
    1. 2. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้อยู่ในอุปการะ

ผู้รับผลประโยชน์ คือ

บุคคลที่จะได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไป ผู้รับผลประโยชน ในกรมธรรม์ประกันสุขภาพจะระบุชื่อไว้ ดังนี้ 

  • – ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – บุคคลที่เอาประกันไว้ให้ เช่น คู่สมรส บุตร บิดา มารดา กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 

โดยส่วนมากแล้วตอนสมัครทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเลือกลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้อย่างน้อยหนึ่งคน  

หน้าที่หลักของผู้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – แจ้งเคลม แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – รักษาสิทธิ์ โดยแจ้งบริษัทประกันภัยหากได้รับความคุ้มครองไม่ครบถ้วนตามกรมธรรม์หรือร้องเรียนหากไม่พอใจการบริการของบริษัท 
  • – แจ้งบริษัทหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล  
  • – ชำระเบี้ยประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยไม่สามารถชำระได้ 
  • – แจ้งการเสียชีวิต กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต 

สิทธิของผู้ได้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับเงินชดเชย กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 
  • – สิทธิเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย 
  • – มีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการเคลม 
  • – สิทธิร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่ควรได้รับหรือได้รับบริการที่ไม่ดีจากบริษัทประกันภัย 

 

ความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภท คือ

ผู้เอาประกัน 

  • – เป็นบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกัน 
  • – มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ผู้อยู่ในอุปการะ 

  • – เป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 
  • – ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เอาประกัน 
  • – ไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – ไม่มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างของผู้เอาประกันกับผู้อยู่ในอุปการะและสิทธิ์ความคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันสุขภาพแต่ละฉบับ 

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิของผู้ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิทั่วไป 

  • – สิทธิได้รับความคุ้มครอง คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลภายใต้วงเงินคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมไปถึงค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไข 
  • – สิทธิได้รับข้อมูล คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ เช่น เงื่อนไข ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง ระยะเวลารอคอย 
  • – สิทธิร้องเรียน คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิร้องเรียนบริษัทประกันกรณีไม่พอใจการบริการหรือการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 

สิทธิเฉพาะ 

  • – สิทธิเลือก คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – สิทธิได้รับบริการ คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น บริการตรวจสุขภาพ บริการฉุกเฉิน 

 

ทั้งหมดนี้คือผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ทั้งหมด เมื่อคุณต้องอ่านกรมธรรม์หรือเงื่อนไขสัญญาใดๆที่เกี่ยวข้องกับประกันสุขภาพก็จะสามารถบอกถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลที่ถูกกล่าวถึงได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าเงื่อนไขและข้อตกลงมักแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ดังนั้นการอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนทำประกันเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

Free Look Period ในประกันสุขภาพ คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ

ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period)  

โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันผ่านทางโทรศัพท์ ทั้งนี้ทั้งนั้นเงื่อนไขอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัยและประเภทของกรมธรรม์ 

สิทธิประโยชน์ของช่วงเวลานี้ คือ  

  • – ผู้เอาประกันภัยสามารถศึกษาเอกสารกรมธรรม์อย่างละเอียด  
  • – ทำความเข้าใจเรื่องความคุ้มครองและเงื่อนไขยกเว้น  
  • – เปรียบเทียบกับกรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ  
  • – ยกเลิกกรมธรรม์หากไม่พอใจในเงื่อนไข  
  • – เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยตัดสินใจอย่างรอบคอบเกี่ยวกับความคุ้มครองประกันภัย  
  • – ลดความเสี่ยงในการซื้อกรมธรรม์ที่ไม่ตรงกับความต้องการ 

การยกเลิกและค่าใช้จ่าย 

หากผู้เอาประกันภัยตัดสินใจยกเลิกภายในระยะ Free Look Period จะได้รับเงินเบี้ยประกันภัยคืนเต็มจำนวน ซึ่งการใช้สิทธิ Free Look Period โดยทั่วไปแล้วไม่มีค่าใช้จ่าย ผู้เอาประกันสามารถยกเลิกกรมธรรม์ประกันได้โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใดๆ 

อย่างไรก็ตาม อาจมีข้อยกเว้นบางประการ ขึ้นอยู่กับบริษัทประกันและประเภทของกรมธรรม์ 

  • – บางบริษัทประกันอาจมีค่าธรรมเนียมการยกเลิก แม้จะอยู่ในช่วง Free Look Period 
  • – บางกรมธรรม์ประกันอาจมีการหักค่าเบี้ยประกัน สำหรับช่วงเวลาที่คุ้มครอง 
  • – บางบริษัทประกันอาจไม่คืนเงินค่าตรวจสุขภาพ ที่ผู้เอาประกันได้รับในช่วง Free Look Period
free look period คืออะไร

สิ่งที่ควรรู้ เกี่ยวกับ Free Look Period

  • 1. ระยะเวลาพิจารณาเริ่มนับจากวันที่ได้รับกรมธรรม์ ไม่ใช่วันซื้อ 
  • 2. กรณีต้องการยกเลิกควรแจ้งบริษัทประกันภัยเป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลาพิจารณา แต่อย่าลืมเผื่อเวลาสำหรับการส่งเอกสารคืนให้ถึงมือบริษัทเอาไว้ด้วย มิเช่นนั้นอาจถือว่าเป็นการขอยกเลิกเกินระยะเวลาพิจารณา 
  • 3. หากมีการเคลมภายในระยะเวลาพิจารณา เงินคืนอาจมีการปรับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัท 

 

ข้อควรระวัง สำหรับช่วง Free Look Period

มีข้อควรระวังบางประการที่ผู้เอาประกันควรทราบ ดังนี้ 

  • 1. การยกเลิกกรมธรรม์ภายใน Free Look Period ไม่ได้หมายความว่าจะได้รับเงินคืนเสมอไป 
    • 1.1 ในบางกรณี ผู้เอาประกันอาจต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกกรมธรรม์ 
    • 1.2 ในกรณีที่มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนแล้ว ผู้เอาประกันอาจได้รับเงินคืนไม่เต็มจำนวน 
  • 2. การยกเลิกกรมธรรม์ภายใน Free Look Period อาจส่งผลต่อประวัติการทำประกัน 
    • 2.1 บริษัทประกันอาจพิจารณาผู้เอาประกันที่มีประวัติการยกเลิกกรมธรรม์บ่อยเป็นความเสี่ยงและอาจถูกเสนอเบี้ยประกันที่สูงขึ้น 
  • 3. การยกเลิกกรมธรรม์ภายใน Free Look Period อาจส่งผลต่อสุขภาพ 
    • 3.1 ในกรณีที่กรมธรรม์ประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันอาจสูญเสียสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลบางประการ 
free look period คืออะไร

 

สรุป 

ระยะเวลาพิจารณา (Free Look Period) เป็นสิทธิสำคัญที่ช่วยให้ผู้เอาประกันภัยตัดสินใจได้อย่างชาญฉลาดเกี่ยวกับความคุ้มครองประกันสุขภาพ ซึ่งผู้เอาประกันควรรู้เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของตัวเอง อย่างไรก็ตามระยะเวลาพิจารณาอาจแตกต่างกันไปและอาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ผู้เอาประกันจึงควรศึกษาเงื่อนไขและรายละเอียดของกรมธรรม์ให้ดีก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพ

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ