แนะการทำพาสปอร์ต/ต่อพาสปอร์ต และเรื่องต้องรู้ของคนที่กำลังจะเดินทาง

เรื่องสำคัญสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากเรื่องการเตรียมสัมภาระ การวางแผน และการทำประกันเดินทางต่างประเทศแล้ว การทำพาสปอร์ตหรือต่อพาสปอร์ต ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญมาก เนื่องจากหนังสือเดินทางเป็นเอกสารที่ใช้แสดงตัวตนในต่างแดนได้ ซึ่งในการต่อหนังสือเดินทางหรือทำหนังสือเดินทางใหม่ ก็มีเรื่องให้ต้องเตรียมตัวอยู่อย่างเช่นการต่อพาสปอร์ต ใช้อะไรบ้าง หรือแม้แต่สถานที่ทำหนังสือเดินทางที่หลายคนอยากรู้ ครั้งนี้จึงเป็นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำ/ต่อ Passport โดยเฉพาะ 

หนังสือเดินทาง (Passport) คืออะไร?

หนังสือเดินทางหรือ Passport เป็นเอกสารที่ใช้แสดงตัวตนในต่างประเทศแทนบัตรประชาชน ออกโดยกองหนังสือเดินทางกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อใช้ประกอบการเดินทางไปยังต่างประเทศ โดยในหนังสือเดินทางจะมีเลขประจำตัวที่ระบุตัวตนของผู้ถือ Passport ไว้  

หากเดินทางไปยังต่างประเทศครั้งแรก จะต้องทำพาสปอร์ตใหม่ แต่ถ้ามีหนังสือเดินทางอยู่แล้วแต่หมดอายุ จะต้องต่อพาสปอร์ตก่อน จึงจะเดินทางออกนอกประเทศได้

Passport มีกี่แบบ?

พาสปอร์ตมีกี่แบบ

หนังสือเดินทางไทยนั้นมีทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเดินทางธรรมดา หนังสือเดินทางราชการ หนังสือเดินทางทูต และหนังสือเดินทางชั่วคราว โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 

หนังสือเดินทางธรรมดา

หนังสือเดินทางธรรมดา เป็นหนังสือเดินทางสำหรับบุคคลทั่วไปที่มีสัญชาติไทย ลักษณะของหนังสือเดินทางประเภทนี้จะมีหน้าปกสีเลือดหมู อายุของ Passport คือ 5 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วจะหมดอายุและไม่สามารถใช้งานได้อีก ผู้ถือหนังสือเดินทางที่หมดอายุจะต้องทำการต่อพาสปอร์ตเมื่อต้องการเดินทางออกนอกประเทศในครั้งต่อไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ พาสปอร์ตอายุไม่เกิน 5 ปี และพาสปอร์ตอายุไม่เกิน 10 ปี ซึ่งทั้ง 2 ประเภทจะมีปกติและแบบด่วน โดย  

  • พาสปอร์ตอายุไม่เกิน 5 ปี เล่มปกติ 1,000 บาท ซึ่งจะได้หนังสือเดินทางภายใน 3-5 วันหลังทำ และแบบด่วน 3,000 บาท ซึ่งจะได้หนังสือเดินทางภายในวันเดียวกับวันที่ทำ 
  • พาสปอร์ตอายุไม่เกิน 10 ปี เล่มปกติ 1,500 บาท ซึ่งจะได้หนังสือเดินทางภายใน 3-5 วันหลังทำ และแบบด่วน 3,500 บาท ซึ่งจะได้หนังสือเดินทางภายในวันเดียวกับวันที่ทำ 

เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือเดินทางธรรมดา  

ข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทำพาสปอร์ตหรือต่อพาสปอร์ต ใช้อะไรบ้าง มีดังนี้ 

  • บัตรประจำตัวประชาชนไทยตัวจริง  
  • กรณีต่อพาสปอร์ต จะต้องใช้หนังสือเดินทางฉบับปัจจุบันที่มีรูปถ่ายและรายละเอียดของผู้ยื่นคำร้อง (กรณีหนังสือเดินทางหายให้นำสำเนามา 1 ชุด)

หนังสือเดินทางราชการ

หนังสือเดินทางราชการ จะมีลักษณะเล่มเป็นหน้าปกสีน้ำเงินเข้ม จุดประสงค์หลักคือใช้ในราชการ สำหรับเดินทางไปทำประโยชน์ให้แก่ราชการตามที่กระทรวงต่างประเทศอนุมัติ ผู้ที่ถือหนังสือประเภทนี้ได้จะต้องเป็นข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่สามารถใช้ในการเดินทางส่วนตัวได้ ซึ่งถ้าหากต้องการเดินทางแบบส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานใด ๆ จะต้องใช้หนังสือเดินทางธรรมดาประกอบการเดินทางในครั้งนั้น  

สำหรับค่าธรรมเนียมในการขอหนังสือเดินทางราชการอยู่ที่ 1,000 บาท ผู้ดำเนินการสามารถนำใบเสร็จรับเงินไปเบิกคืนจากหน่วยงานต้นสังกัดได้ โดย Passport ราชการมีอายุไม่เกิน 5 ปีเช่นเดียวกับ Passport ธรรมดา  

เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือเดินทางราชการ 

ข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทำพาสฟอร์ตราชการหรือต่อพาสปอร์ต ใช้อะไรบ้าง มีดังนี้ 

  • หนังสือนำจากต้นสังกัดระดับปลัดกระทรวง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอให้ออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้ผู้ยื่นคำร้องเดินทางไปราชการให้ระบุประเทศ กำหนดวันเวลาที่จะเดินทาง พร้อมสำเนา 1 ชุด 
  • สำเนาบันทึกหรือสำเนาคำสั่งที่อนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการ แสดงรายละเอียดการเบิกค่าใช้จ่ายได้ตามสิทธิซึ่งอยู่ในหลักเกณฑ์ตามพระราชกฤษฎีกาค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ (ประกอบด้วย ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะเดินทาง ฯลฯ) กรณีที่ได้รับทุนสนับสนุนจากที่อื่น เช่น จากต่างประเทศ หรือหน่วยงานในประเทศ ขอเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบ 
  • บัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมบัตรประจำตัวประชาชน 
  • กรณีเป็นพนักงานของรัฐ หรือ พนักงานมหาวิทยาลัย โปรดนำหลักฐานแสดงระยะเวลาการปฏิบัติงานกับต้นสังกัด เช่น สัญญาการจ้างมาแสดง เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดอายุการใช้งานของหนังสือเดินทาง 

หนังสือเดินทางทูต

หนังสือเดินทางทูต มีลักษณะปกสีแดงสด จะออกให้เฉพาะบุคคลที่เป็นไปตามข้อกำหนดของระเบียบกระทรวงการต่างประเทศว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ.2548 ข้อ 6 กำหนดให้ออกหนังสือเดินทางทูตแก่บุคคลดังต่อไปนี้ 

  1. 1. พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
  1. 2. พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส 
  1. 3. พระราชวงศ์และบุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ 
  1. 4. ประธานองคมนตรี และองคมนตรี 
  1. 5. นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี 
  1. 6. ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา 
  1. 7. ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุธรณ์ 
  1. 8. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด 
  1. 9. อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ 
  1. 10. ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และผู้บัญชาการทหารเหล่าทัพ 
  1. 11. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ 
  1. 12. ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี 
  1. 13. คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ (2) ถึงข้อ (8) 
  1. 14. บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ หรืออดีตเอกอัครราชทูต หรือในกรณีที่เห็นสมควรให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ มอบหมายมีอำนาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางทูตได้ 

สำหรับหนังสือเดินทางทูตนั้นมีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปีเช่นกัน และถ้าหากเสร็จภารกิจหรือผู้ถือขาดคุณสมบัติที่จะถือหนังสือเดินทางทูต ให้ส่งหนังสือเดินทางทูตนั้นแก่กระทรวงการต่างประเทศ 

สำหรับการทำหนังสือเดินทางประเภทนี้ ผู้ร้องต้องยื่นคำร้องด้วยตนเองเพื่อบันทึกข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ภาพใบหน้าและลายพิมพ์นิ้วมือ เพื่อนำไปบันทึกลงในไมโครชิพที่ฝังในหนังสือเดินทาง 

เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือเดินทางทูต 

ข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทำพาสปอร์ตเดินทางทูตหรือต่อพาสปอร์ต ใช้อะไรบ้าง โดยในหนังสือเดินทางประเภทนี้ แบ่งเป็น 2 กรณีคือเดินทางไปราชการและเดินทางไปประจำการต่างประเทศ 

การเดินทางไปราชการ ต้องใช้เอกสารดังนี้ 

  • เอกสารประกอบการขอหนังสือเดินทางทูตในกรณีเดินทางไปราชการ 
  • หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทาง โดยแจ้งการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ ณ ประเทศใด พร้อมระบุวัตถุประสงค์และกำหนดการเดินทาง 
  • สำเนาบันทึกอนุมัติตัวบุคคลให้เดินทางไปราชการต่างประเทศ โดยมีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเดินทางไปราชการต่างประเทศ 
  • บัตรประจำตัวข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมบัตรประชาชน 

การเดินทางไปประจำการต่างประเทศ ต้องใช้เอกสารดังนี้ 

  • หนังสือนำจากหน่วยราชการต้นสังกัดลงนามโดยปลัดกระทรวงหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 
  • บันทึกจากกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร (กพร.) กระทรวงการต่างประเทศ ถึงผู้อำนวยการกองหนังสือเดินทางขอความอนุเคราะห์ให้ออกหนังสือเดินทางแจ้งการเดินทางไปรับตำแหน่งทางการทูตพร้อมครอบครัว และรายละเอียดต่าง ๆ เช่น การเดินทางไปแทนบุคคลซึ่งครบวาระประจำการ เป็นต้น 
  • บัตรข้าราชการที่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก พร้อมบัตรประชาชน (กรณีคู่สมรสเป็นข้าราชการจะต้องมีใบลาอนุมัติให้ลาติดตามแนบด้วย 

หนังสือเดินทางชั่วคราว

หนังสือเดินทางชั่วคราว เป็น Passport ที่จะออกให้กับคนที่มีปัญหา Passport ชำรุดหรือสูญหาย แต่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางไปยังต่างประเทศแบบเร่งด่วน และไม่สามารถรอหนังสือเดินทางเล่มใหม่ได้ จึงต้องทำหนังสือเดินทางชั่วคราวใช้แทนไปก่อน โดยหนังสือเดินทางชั่วคราวจะมีอายุการใช้งานเพียง 1 ปีเท่านั้น และถูกยกเลิกทันทีที่ได้รับหนังสือเดินทางเล่มใหม่ 

ข้อจำกัดคือหนังสือเดินทางชั่วคราวจะไม่มี Machine readable barcode เหมือน Passport แบบปกติ และบางประเทศอาจไม่ยอมรับ Passport ประเภทนี้ 

เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือเดินทางชั่วคราว 

ข้อมูลสำหรับคนที่ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการทำพาสปอร์ตชั่วคราว มีดังนี้ 

  • ใบแจ้งความ (ถ้ามี)       
  • สำเนาหนังสือเดินทางเล่มเดิม (ถ้ามี) 
  • สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 2 ชุด       
  • รูปถ่ายขนาดเดียวกับที่ ใช้ในหนังสือเดินทาง จำนวน 3 รูป       
  • แบบฟอร์มคำร้องขอหนังสือเดินทางชั่วคราว (แบบฟอร์มที่ 4) จำนวน 2 ชุด       
  • บันทึกสอบสวน (แบบฟอร์มที่ 2) จำนวน 2 ชุด       
  • บันทึกประกอบคำร้องกรณีหนังสือเดินทางสูญหาย (แบบฟอร์มที่ 3) จำนวน 2 ชุด       
  • หากไม่สามารถมารับเล่มใหม่ด้วยตนเอง โปรดเตรียมซองส่งกลับมาด้วย โดยซื้อซองแบบ Royal Mail Special Delivery (next day) สำหรับน้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม  

จะเห็นว่าหนังสือเดินทางทุกแบบมีอายุการใช้งานจำกัด เมื่อหมดอายุแล้วสิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปก็คือการต่อพาสปอร์ตตามขั้นตอนที่กำหนด  

ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการทำพาสปอร์ต/ต่อพาสปอร์ต/ทำหนังสือเดินทาง/ต่อหนังสือเดินทาง 

สถานที่ทำพาสปอร์ต

ทำพาสปอร์ตที่ไหน

ในการทำพาสปอร์ต จะต้องดำเนินการที่สำนักงานที่รองรับการทำหนังสือเดินทางโดยเฉพาะ ซึ่งมีอยู่หลายแห่ง ดังนี้ 

สถานที่ทำพาสปอร์ต 

ที่อยู่ 

เวลาเปิดทำการ 

ทำพาสปอร์ต 

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ 

123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทาง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 

ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา (อาคารบี ประตูฝั่งทิศตะวันออก) ชั้น 7 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา – ศรีนครินทร์ 

ศูนย์การค้าธัญญาพาร์ค ศรีนครินทร์ ชั้น 1 โซน C 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สายใต้ใหม่ – ตลิ่งชัน 

อาคาร SC Plaza สถานีขนส่งกรุงเทพ (สายใต่ใหม่) ถนนบรมราชชนนี 

 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว มีนบุรี 

ศูนย์การค้าบิ๊กซี สาขาสุวินทวงศ์ 29 ถนนสุวินทวงศ์ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กทม. 10510 

 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว MRT คลองเตย 

สถานีรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) คลองเตย ถนนพระราม 4 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กทม. 10110 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปทุมวัน 

ศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ (MBK CENTER)ชั้น 5 โซน A ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 

เปิดบริการวันจันทร์ – อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์ – อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ธัญบุรี 

ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ชั้น 3 ถนนพหลโยธิน ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00 – 18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางใหญ่ 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เวสต์เกต ชั้น G ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ นนทบุรี 

เปิดบริการวันจันทร์ – อาทิตย์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ และเสาร์ – อาทิตย์ที่เป็นวันหยุดยาว) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงใหม่ 

ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา (อาคาร SMEs2) 

เลขที่ 456 หมู่ 1 ถนนเลียบคลองชลประทาน ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เชียงราย 

อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หลังใหม่ ถนนศูนย์ราชการ ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พิษณุโลก 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา พิษณุโลก ชั้น G เลขที่ 9/99 หมู่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครสวรรค์ 

ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขา 2 ชั้น 2 ถนนมาตุลี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุดรธานี 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา อุดรธานี ชั้น 3 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ขอนแก่น 

ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว อุบลราชธานี 

อาคารศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ชั้น 1 ด้านหลังผั่งทิศตะวันตก จังหวัดอุบลราชธานี 34000 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครราชสีมา 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา นครราชสีมา ชั้น 3 เลขที่ 990,998 ถนนมิตรภาพ-หนองคาย ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จันทบุรี 

อาคารลานค้าชุมชน ถ.เลียบเนิน ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี 22000 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สุราษฎร์ธานี 

ห้างสหไทย การ์เด้นพลาซา ชั้น 3 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา เฟสติวัล ชั้น B ตำบลวิชิต อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว สงขลา 

อาคารโครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ (ใกล้ท่าแพขนานยนต์) อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ยะลา 

ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว พัทยา 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พัทยา เลขที่ 333/102 หมู่ที่ 9 ตำบลหนองปรือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี 20260 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 09.00 – 17.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.30น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บุรีรัมย์ 

โครงการบุรีรัมย์ คาสเซิล (Buriram Castle) เลขที่ 444/8 หมู่ 15 ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว นครศรีธรรมราช 

ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ชั้น 3 หมู่ 7 ตำบลนาสาร อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว หนองคาย 

สำนักงานออกหนังสือผ่านแดนชั้น 2 ศูนย์แสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 08.30 – 16.30 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 16.00น.) 

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว เพชรบุรี 

ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน เพชรบุรี ชั้น 2 เลขที่ 162 หมู่ 1 ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี 

เปิดบริการวันจันทร์ – ศุกร์ (ยกเว้นวันหยุดราชการ) 

เวลา 10.00-18.00 น. (ไม่หยุดพักกลางวัน / ปิดรับคิว 17.30 น.) 

ค่าธรรมเนียมการทำพาสปอร์ต 

ค่าธรมมเนียมพาสปอร์ต

ในการทำหนังสือเดินทาง รวมถึงการต่อหนังสือเดินทางมีค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละประเภท ดังนี้ 

  • หนังสือเดินทางธรรมดา 
     
  1.                 1. อายุไม่เกิน 5 ปี แบบปกติ 1,000 บาท 
  2.                 2. อายุไม่เกิน 5 ปี แบบด่วน 3,000 บาท 
  3.                 3. อายุไม่เกิน 10 ปี แบบปกติ 1,500 บาท 
  4.                 4. อายุไม่เกิน 10 ปี แบบด่วน 3,500 บาท
  • หนังสือเดินทางราชการ 1,000 บาท 

เรียกว่าการทำพาสปอร์ตหรือการต่อพาสปอร์ต เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากสำหรับการเดินทางไปต่างประเทศ จึงควรดำเนินการให้ทันเวลาและเตรียมค่าธรรมเนียมให้พร้อม แต่นอกจากเรื่องของการทำหนังสือเดินทาง ก็ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่สำคัญอย่างเช่นการทำประกันเดินทางต่างประเทศ ที่ช่วยให้อุ่นใจเมื่อต้องเดินทางไกลไปถึงต่างประเทศ  

Table of Contents

You May Also Like

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …

สิทธิรักษาพยาบาล
บทความ

สิทธิรักษาพยาบาล 3 ระบบของไทย

สิทธิรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐบาลมอบให้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สิทธิรักษาพยาบาลของไทยมีอะไรบ้าง  คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากภาครัฐ โดยมีระบบหลัก 3 ระบบ ดังนี้ สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค/บัตรทอง) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คือ  สิทธิรักษาพยาบาลที่ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว เช่น …