คำศัพท์ประกันสุขภาพควรรู้ก่อนซื้อประกัน

สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการซื้อประกันไม่ว่าจะรูปแบบไหนคือการอ่านรายละเอียดประกันอย่างครบถ้วน เพื่อประโยชน์และความเข้าใจของคุณก่อนตัดสินใจซื้อประกัน แต่หลายครั้งเราพบ ยิ่งพยายามทำความเข้าใจเท่าไหร่ ก็พบว่าคำศัพท์ประกันสุขภาพนั้นมีแต่คำที่เราไม่ค่อยคุ้นเคย อย่างไรก็ตามแม้จะไม่เคยเห็นคำเหล่านี้ในชีวิตประจำวัน แต่เป็นเรื่องที่จำเป็นที่สุดที่เราจะทำความเข้าใจศัพท์ประกันสุขภาพที่กำกับไว้ในเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นวันนี้เราจึงมีคำอธิบายที่ช่วยให้คุณเข้าใจคำศัพท์เหล่านั้นมากขึ้นมาฝากผู้อ่าน

opd คือ

ผู้ป่วยนอก OPD (Outpatient-Department)

ผู้ป่วยนอก (Outpatient-Department) หรือที่มักย่อสั้น ๆ ว่า OPD ผู้ป่วยที่เข้าไปรับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านเพราะไม่มีความจำเป็นต้องให้การดูแลโดยแพทย์และพยาบาล หรือไม่ต้องติดตามอาการต่อจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องนอนพักที่โรงพยาบาล โดยส่วนมากแล้วจะเป็นผู้ที่มีอาการป่วยไม่รุนแรงและเป็นโรคที่พบเจอได้บ่อย ๆ เช่นโรคหวัด ภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วยนอก (Outpatient-Department) นั้นคือค่าบริการทางการแพทย์ที่เกิดจากการรักษา เช่น ค่าตรวจของแพทย์ ค่ายาฉีด ยาทา ยาทาน ยาที่ให้กลับบ้าน ค่ารักษาพยาบาลหัตถการต่าง ๆ จนถึงค่ารักษาพยาบาลของการรอดูอาการที่ใช้เวลาในโรงพยาบาลไม่เกิน 6 ชั่วโมง เช่น การทำแผล การเย็บแผล การผ่าตัดขนาดเล็ก ๆ เป็นต้น

สิ่งที่ผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อประกันจะต้องทำความเข้าใจให้ชัดเจนคือ ประกันสุขภาพบางประเภทนั้นจะไม่คุ้มครองครอบคลุมทั้งการรักษาแบบผู้ป่วยนอก (Outpatient-Department)  และการรักษาแบบผู้ป่วยใน (Inpatient-Department) ในกรมธรรม์เดียวกัน แต่จะให้คุณได้เลือกซื้อความคุ้มครองการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตามบางกรมธรรม์จะครอบคลุมทั้งสองกรณีภายใต้ข้อจำกัดของวงเงินที่ต่างกันไปแล้วแต่เบี้ยประกัน ดังนั้นผู้ที่กำลังตัดสินใจทำประกันสุขภาพอย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดส่วนนี้ให้รอบคอบก่อนตัดสินใจด้วย

ผู้ป่วยใน IPD (Inpatient-Department)  

           ผู้ป่วยใน (Inpatient-Department) ผู้ที่เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับคำแนะนำให้ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ยังไม่สามารถกลับบ้านได้ทันที โดยจะต้องเข้ารับการรักษาโดยต้องนอนพักอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลามากกว่า 6 ชั่วโมงหลังการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ แต่ทั้งนี้จะไม่รวมกับการรับตัวผู้ป่วยเอาไว้แต่เสียชีวิตก่อนทั้งที่ยังไม่ครบ 6 ชั่วโมง

คำศัพท์ประกัน

กรมธรรม์ (Policy) 

 สำหรับศัพท์ประกันสุขภาพคำแรกคือคำว่า กรมธรรม์ นั่นเอง กรมธรรม์คือหัวใจหลักของการซื้อประกันสุขภาพเลยก็ว่าได้ เพราะมันคือตราสารที่มีลายมือชื่อของผู้ทำประกันภัย และรายละเอียดต่าง ๆ เช่น จำนวนเงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ​ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยและผู้รับ

ประกันภัย เอกสารกรมธรรม์นี้เองที่เราจะต้องยึดเอาไว้เป็นหลักฐานและเงื่อนไขตลอดระยะเวลาการคุ้มครอง

 

ค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) 

ค่าที่ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบ ตามจำนวนที่ระบุไว้ในกรมธรรม์กับบริษัทประกันภัย ซึ่งไม่ใช่ส่วนของการสำรองจ่าย หรือค่ารักษาพยาบาลที่เบิกได้ทีหลัง แต่เป็นส่วนที่ประกันจะไม่ได้ครอบคลุมเอาไว้ โดยจะระบุไว้ในสัญญา ข้อดีคือจะทำให้เบี้ยประกันถูกลง เหมาะสำหรับกรณีที่มีประกันอื่น ๆ อยู่แล้วสามารถเบิกประกันอื่นก่อนได้ ยกตัวอย่างเช่นหากในกรมธรรม์ระบุว่าผู้เอาประกันจะจ่ายค่าเสียหายส่วนแรก 5,000 บาท เท่ากับว่าหากมีค่ารักษาที่ต้องจ่ายเมื่อเกิดเจ็บป่วยจำนวน 20,0000 บาท ผู้เอาประกันจะต้องจ่าย 5,000 บาทและส่วนที่เหลือประกันจะจ่ายให้ทั้งหมด (หรือใช้ประกันอื่นเบิกจ่ายไปก็ได้) ข้อดีคือหากผู้ทำประกันยอมรับค่าเสียหายส่วนแรกมาก ก็จะทำให้เบี้ยประกันถูกลงกว่าเดิม เหมาะสำหรับคนที่รับความเสี่ยงเองได้ระดับหนึ่ง หรือคนที่มีประกันอยู่แล้วและอยากซื้อประกันเพิ่มสำรองเพิ่มเติมเผื่อประกันแรกไม่สามารถครอบคลุมรายการทั้งหมดของค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นได้

 

ระยะเวลารอคอยประกันสุขภาพ (Waiting Period)

ระยะเวลารอยคอยประกันสุขภาพหมายถึงระยะเวลาหลังทำประกันสุขภาพแล้ว แต่กรมธรรม์ยังไม่สามารถเคลมค่ารักษาได้จนกว่าจะพ้นระยะที่กำหนด เช่น หลังจากการทำประกันแล้วโรคโดยทั่วไปจะกำหนดไว้ไม่เกิน 30 วัน หากมีอาการป่วยระหว่างนั้นจะต้องรอการรักษา(หากรอได้) หรือผู้ทำประกันต้องจ่ายเอง และโรคบางชนิดจะต้องรอ 120 วันเช่น เนื้องอก ถุงน้ำ หรือมะเร็งทุกชนิด ริดสีดวงทวาร ไส้เลื่อนทุกชนิด ต้อเนื้อ หรือต้อกระจกเป็นต้น ทั้งนี้รายละเอียดนั้นแล้วแต่กรมธรรม์ สาเหตุที่ต้องกำหนดระยะเวลารอคอยประกันสุขภาพ (Waiting Period) นั้นก็เป็นการป้องกันกรณีผู้เอาประกันเรียกร้องค่ารักษาโรคที่เป็นมาก่อนการเอาประกันตาม สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน (Pre-existing Condition) โรคร้ายแรงหลายโรคที่ปรากฏอาการช้าจึงใช้ระยะเวลานานกว่าโรคทั่วไปนั่นเอง 

 

เบี้ยประกันสุขภาพ (Health Insurance Premium)          

ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้กับบริษัทที่คุณทำประกันด้วยเพื่อให้เกิดความคุ้มครอง ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถแบ่งจ่ายเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปีได้ เพื่อให้กรมธรรม์ที่ทำไว้ยังคงมีผลคุ้มครองต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่แล้วค่าเบี้ยประกันจะต่างกันไปในแต่ละรายบุคคลขึ้นอยู่กับ อายุ สุขภาพโดยรวม เพศ และประวัติการเจ็บป่วยและสภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน (Pre-existing Condition)

 

ส่วนบวกเพิ่มเบี้ยประกัน (Premium loading) 

คือเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มเพราะผู้ทำประกันมีความเสี่ยงสูงกว่าปกติ เช่นคนที่เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีอันตราย เสี่ยงต่อการติดเชื้อ สูบบุหรี่ เป็นโรคอ้วน เป็นต้น

ipd คือ

ค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment)

คือประกันในรูปแบบที่ผู้ทำประกันมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล โดยจะระบุสัดส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์เอาไว้ ข้อดีเบี้ยประกันจะถูกลงตามเปอร์เซ็นต์ที่ผู้ทำประกันจะแบกรับหากเกินการรักษา ยกตัวอย่างเช่น กรมธรรม์ที่ให้ผู้ทำประกันร่วมจ่ายร้อยละ 20 หากเกิดการรักษาที่ 20,000 บาทผู้เอาประกันจะต้องจ่ายทั้งหมด 4,000 บาท ที่เหลือจะเป็นค่าใช้จ่ายที่บริษัทประกันจ่ายให้นั่นเอง ต่างจากค่าค่าเสียหายส่วนแรก (Deductible) คือสัดส่วนที่ต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นตามยอดค่าใช้จ่ายในการรักษาแต่ละครั้งนั่นเอง

 

สภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกัน (Pre-existing Condition)

คำศัพท์ประกันสุขภาพคำนี้หมายถึง สภาพลักษณะอาการโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ทำประกัน โดยโรคดังกล่าวคือโรคที่คนปกติโดยทั่วไปพึงรู้ว่ามีความผิดปกติที่เกิดขึ้นและควรได้รับการรักษา ซึ่งหากเกิดขึ้นแล้วและผู้ทำประกันทราบแต่ไม่ได้แจ้งให้บริษัททราบ บริษัทประกันภัยจะไม่ให้ความคุ้มครองการรักษาอาการที่เกิดจากสภาพที่ว่านั้นใน ทั้งนี้แล้วตามกฎหมายบริษัทประกันจะไม่สามารถอ้างหรือยกเรื่องดังกล่าวมาปฏิเสธความคุ้มครองค่ารักษาหากกรมธรรม์นั้น ๆ มีผลบังคับมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และโรคเรื้อรังหรือการบาดเจ็บหรืออาการเจ็บป่วยนั้นไม่เคยปรากฏอาการมาก่อน หรือไม่มีการปรึกษาแพทย์ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมาก่อนวันที่กรมธรรม์จะมีผลคุ้มครอง

 

ตารางระบุรายการผลประโยชน์ (Table of Benefits) 

เป็นตารางระบุรายการผลประโยชน์ต่าง ๆ และข้อจำกัดทางการเงินภายใต้แผนประกันสุขภาพแก่ผู้เอาประกัน ด้วยข้อมูลนี้ ผู้เอาประกันจะทราบได้ว่า มีบริการและการรักษาใดบ้างที่ครอบคลุม ตารางระบุรายการผลประโยชน์ (Table of Benefits) นี้เองที่ผู้ที่กำลังตัดสินใจทำประกันจะต้องอ่านทำความเข้าใจให้ชัดเจนและหากมีข้อสงสัยส่วนใดอย่าลังเลที่จะปรึกษาตัวแทนประกันภัยทันทีก่อนตัดสินใจ

 

ทุนประกัน (Sum Insured) 

สำหรับทุนประกันนั้นคือเงินที่ได้จากการคุ้มครองเมื่อทำประกัน โดยบริษัทประกันภัยจ่ายให้แก่ผู้เอาประกันภัยกรณีที่ผู้เอาประกันประสบเหตุตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ซึ่งสำหรับประกันสุขภาพนั้นมักจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลและเงินชดเชยเนื่องจากการเข้าโรงพยาบาล ยอดเงินขึ้นตามจำนวนเงินที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยทุนประกันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับเบี้ยประกันที่จ่ายด้วยเช่นกัน

 

โรงพยาบาลเครือข่าย (Network Hospitals) 

คำศัพท์ประกันสุขภาพคำนี้ก็เป็นอีกคำที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะหมายถึงรายชื่อโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่ลูกค้าที่ทำประกันกับบริษัทประกันภัยสามารถรับการรักษาโดยไม่ต้องสำรองเงินใช้จ่ายก่อน บริษัทประกันที่มีความน่าเชื่อถือมักมีรายชื่อโรงพยาบาลเครือข่าย (Network Hospitals) เยอะ เพิ่มความสะดวกให้แก่ลูกค้าซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่สะดวกได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพราะบริษัทประกันจะจ่ายให้กับโรงพยาบาลโดยตรงนั่นเอง

Bangkok Hospital Insurance
Praram 9 Hospital Insurance
Bumrungrad Insurance
Simitivej Hospital Insurance

การตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพทุกครั้งจะต้องทำการอ่านรายละเอียดกรมธรรม์อย่างละเอียดรอบคอบถึงความคุ้มครองและเงื่อนไขต่าง ๆ ดังนั้นการทำความเข้าใจคำศัพท์ประกันสุขภาพเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้ที่มองหาประกันสุขภาพสามารถเลือกประกันที่ตรงกับความต้องการของตนเองได้ดียิ่งขึ้น หวังว่าผู้อ่านทุกคนจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ และขอย้ำว่าหากมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับกรมธรรม์สามารถสอบถามตัวแทนประกันให้อธิบายรายละเอียดและตอบข้อสงสัยให้กระจ่างได้โดยไม่ต้องเกรงใจ เช่นนั้นแล้วคุณจะได้ประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สนุก ๆ ของตัวเองอย่างแน่นอน

Table of Contents

You May Also Like

ค่ารักษา RSV
บทความ

ค่ารักษา RSV ในโรงพยาบาลเท่าไหร่

การรักษาอาร์เอสวี (RSV) ปัจจุบันยังไม่มีวิธีและยารักษา RSV เฉพาะ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะสั่งยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม รวมไปถึงรักษาแบบประคับประคองอาการโดยให้พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ทานอาหารอ่อน ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมากต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก การรักษา RSV มักใช้เวลาประมาณ …

ประกันเดินทางต่างประเทศช่วยได้ยังไงบ้าง
บทความ

เมื่อมีประกันเดินทางต่างประเทศช่วยได้ยังไงบ้าง มาหาคำตอบเลย

ทุกครั้งเมื่อวางแผนเตรียมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือด้วยเหตุผลใดก็ตามมักมีคำบอกเตือนจากคนรอบข้างกันอยู่เสมอว่าควรทำประกันเดินทางต่างประเทศติดไว้ด้วย เผื่อเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นอย่างน้อยที่สุดก็ยังสบายใจด้านค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตามสำหรับใครที่ยังมีข้อสงสัยว่าหากเกิดเหตุดังกล่าวจริงประกันเดินทางช่วยได้ยังไงบ้าง ตอบโจทย์ความคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ขอพาทุกคนมาหาคำตอบเกี่ยวกับเรื่องของประกันเดินทางกันเลยดีกว่า! ความแตกต่างของประกันเดินทางกับประกันบุคคลประเภทอื่น  สิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมากคือเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ระบุเอาไว้ โดยประกันเดินทางจะให้ความคุ้มครองเมื่อคุณท่องเที่ยวในประเทศแล้วเกิดเหตุไม่คาดฝันทำให้ต้องเข้าโรงพยาบาล ขณะที่ประกันเดินทางต่างประเทศก็คุ้มครองเมื่อผู้เอาประกันพำนักอาศัยอยู่ต่างประเทศเป็นการชั่วคราว เช่น ไปเที่ยว เยี่ยมญาติ เยี่ยมเพื่อน ติดต่อธุรกิจ หรือเรียนคอร์สระยะสั้น แล้วเกิดเหตุไม่คาดฝันจนต้องรับการรักษาในโรงพยาบาลที่ต่างประเทศ ประกันตัวนี้จะให้ความคุ้มครองทันที เพียงแค่แจ้งรายละเอียดให้กับบริษัทรับรู้เท่านั้น   ประกันเดินทางช่วยได้ยังไงบ้าง  …

วีซ่าออสเตรีย
บทความ

สรุปวิธีขอวีซ่าออสเตรียประเภทท่องเที่ยวฉบับอัปเดตปี 2024

“ออสเตรีย” หนึ่งในดินแดนตอนใต้ของแถบยุโรปกลาง ประเทศที่อัดแน่นไปด้วยสถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ และเรื่องราวอันน่าสนใจ นี่จึงเป็นเหตุผลที่หลายคนตัดสินใจอยากเดินทางไปเที่ยวออสเตรียสักครั้งในชีวิต แต่สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่เรื่องเงินหรือแผนท่องเที่ยวชั้นยอดเท่านั้น เพราะ “วีซ่าออสเตรีย” คืออีกใบเบิกทางสำคัญที่สามารถบอกทุกคนได้เลยว่ามีโอกาสเดินทางเข้าประเทศของเขาหรือไม่ จึงขอสรุปข้อควรต้องรู้และวิธีขอวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรีย ฉบับปี 2023 มาฝาก ข้อมูลควรรู้เกี่ยวกับการขอวีซ่าออสเตรียประเภทท่องเที่ยว ในการขอวีซ่าออสเตรียประเภทท่องเที่ยวจะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “วีซ่าเชงเก้น” สามารถพำนักอาศัยอยู่ในประเทศกลุ่มเชงเก้น (รวมออสเตรีย) ได้ไม่เกิน …