เงินเคลมประกัน กี่วันได้

ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโคโรน่าไวรัสที่เกิดขึ้นในะระยะเวลากว่า 2 ปีที่ผ่านมาทำให้คนเริ่มให้ความสำคัญของการทำประกันสุขภาพมากขึ้น เพราะ ประกันสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยดูแลค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการรักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยแล้ว ประกันสุขภาพยังสามารถนำมาใช้เพื่อลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามหนึ่งในคำถามยอดฮิตของการเคลมประกันสุขภาพก็คือ เงินเคลมประกันกี่วันได้ เพราะเราต้องสำรองเงินจ่ายไปก่อนทำให้หลายคนกังวลว่าจะได้เงินจำนวนนั้นคืนมาจริงหรือไม่ ต้องรอนานแค่ไหน และมีความยุ่งยากหรือไม่ในการเคลมประกันสุขภาพ ซึ่งในบทความนี้ Luma จะมาเผยคำตอบว่าเงินเคลมประกันกี่วันได้มาติดตามกันเลย


ชี้แจงแถลงไข…รอเงินเคลมประกันกี่วันได้

แม้ประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะมีบริการจ่ายตรง (Direct billing) ที่ทำให้ผู้เอาประกันไม่จำเป็นต้องสำรองเงินจ่ายเมื่อเข้ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเครือข่ายอยู่แล้ว แต่ในบางกรณีก็ผู้เอาประกันก็จำเป็นต้องสำรองจ่ายไปก่อนด้วยเหตุผลบางประการขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัย โดยหลังจากที่หลักฐานทั้งหมดถูกส่งไปถึงบริษัทประกันภัยเป็นที่ครบถ้วนแล้วจะใช้เวลาในการตรวจสอบข้อมูลประมาณ 15 วันทำการ ซึ่งไม่รวมวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ หากเอกสารไม่ครบถ้วน หรือมีการขอเอกสารเพิ่มเติม ก็อาจมีการขยายเวลาเปิดเพิ่มเป็น 30 – 90 วันได้


เคลมประกันสุขภาพทำได้อย่างไร

เคลมประกัน กี่วันได้, เงินเคลมประกัน กี่วันได้

การเคลมประกันสุขภาพสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่

กรณีไม่ต้องสำรองเงินจ่าย

บริษัทประกันภัยส่วนใหญ่จะมีสถานพยาบาลที่เป็นคู่สัญญาหรือเป็นเครือข่าย ซึ่งเมื่อผู้เอาประกันภัยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเครือข่ายดังกล่าว ทางบริษัทประกันจะเป็นผู้ดูแลค่ารักษาพยาบาลนั้นด้วยบริการจ่ายตรง หรือ Direct Billing ผู้เอาประกันเพียงแสดงบัตรประชาชนพร้อมกับบัตรประกันสุขภาพก็สามารถเข้ารับการรักษาได้ทันทีโดยไม่ต้องสำรองเงินจ่าย หรือสำรองเงินจ่ายเพียงค่าใช้จ่ายส่วนเกินเท่านั้น

กรณีที่ต้องสำรองเงินจ่าย

ในบางครั้งผู้เอาประกันภัยต้องทำการสำรองเงินค่ารักษาเองก่อน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่ผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลที่ไม่ใช่คู่สัญญากับบริษัทประกันภัย หรือบริษัทประกันภัยต้องตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้ต้องสำรองเงินจ่ายก่อน ในกรณีนี้ผู้เอาประกันสามารถส่งเอกสารเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้ในภายหลังได้

ส่งเคลมประกัน ต้องเตรียมเอกสารใดบ้าง

เอกสารเคลมเงินประกันสุขภาพ

ในการเคลมประกันสุขภาพ ผู้เอาประกันสุขภาพจะต้องทำการส่งเอกสารทางไปรษณีย์หรือตามช่องทางที่บริษัทประกันภัยระบุ บางบริษัทสามารถทำการเคลมประกันสุขภาพออนไลน์ผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันได้ อย่างไรก็ตามการเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะมีผลต่อการตรวจสอบและพิจารณาคืนเงินและทำให้การเคลมประกันเป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนด

เอกสารที่ใช้ในการเรียกร้องสินไหมทดแทนมีดังนี้

  • แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหม สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์หรือแฟ้มเอกสารที่มาพร้อมกับกรมธรรม์ประกันภัย
  • ใบรับรองแพทย์ฉบับจริง เอกสารฉบับนี้ต้องมีการระบุอย่างชัดเจนว่า ผู้เอาประกันมีการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจริง และรักษาด้วยอาการและโรคใดอย่างชัดเจน
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลฉบับจริง และใบสรุปค่ารักษาพยาบาล โดยจำเป็นต้องส่งให้ครบทุกหน้าหากมีหลายหน้า เพื่อให้บริษัทประกันภัยตรวจสอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตั้งแต่วันที่เข้ารับการรักษาจนถึงวันที่สิ้นสุดการรักษาพยาบาลได้
  • สำเนาหน้าบัญชีสมุดเงินฝากธนาคารที่ระบุชื่อผู้ทำประกันเป็นเจ้าของบัญชี
  • เอกสารอื่น ๆ กรณีบริษัทประกันภัยร้องขอเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตามการรายการเอกสารการเคลมประกันสุขภาพอาจมีความแตกต่างกันได้บ้างขึ้นอยู่กับบริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันจึงควรตรวจสอบกับบริษัทหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัยอีกครั้งหนึ่ง และควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนที่สุดเพื่อไม่ให้การเคลมประกันสุขภาพล่าช้า


 

มาดูสาเหตุ! ส่งเคลมประกันแล้วได้เงินช้าหรือไม่ได้เงินเลย เกิดจากอะไร

เคลมเงินประกันสุขภาพไม่ผ่านเพราะอะไร

ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ของการเคลมประกันสุขภาพคือ การได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนที่ล่าช้า หรือเกิน 15 วันทำการตามที่กล่าวข้างต้น ในบางกรณีผู้เอาประกันภัยอาจไม่ได้รับเงินค่าสินไหมทดแทนเลย โดยสาเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้มีดังนี้

  • กรมธรรม์ประกันสุขภาพหมดอายุ
  • บริษัทประกันภัยมีการขอเอกสารเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาการเคลมประกันสุขภาพ
  • บริษัทประกันภัยพบว่าผู้เอาประกันภัยมีโรคหรือปัญหาสุขภาพที่เป็นมาก่อนการเอาประกันภัย (Pre-existing condition)  
  • โรคหรืออาการที่ผู้เอาประกันเข้าทำการรักษาพยาบาลอยู่นอกเหนือเงื่อนไขการคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย
  • เอกสารที่ส่งให้บริษัทประกันภัยไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน

อย่างไรก็ตามผู้เอาประกันภัยสามารถสอบถามไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อสอบถามสาเหตุและสถานะของการเคลมประกันสุขภาพของท่านได้ผ่านทางแผนกสินไหมทดแทนของบริษัทประกันภัยที่ท่านทำประกันไว้ได้


 

สรุป

การเคลมประกันภัยดูเหมือนจะเป็นขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่หากผู้เอาประกันส่งเอกสารครบถ้วน แถลงข้อมูลสุขภาพในขั้นตอนการขอเอาประกันภัยตามความจริง อ่านรายละเอียดเงื่อนไขความคุ้มครองและการเรียกร้องสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยอย่างละเอียดแล้ว ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเงินเคลมประกันอีกเลย


 

Table of Contents

You May Also Like

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period ในประกันสุขภาพ คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …

ค่ารักษา RSV
บทความ

ค่ารักษา RSV ในโรงพยาบาลเท่าไหร่

การรักษาอาร์เอสวี (RSV) ปัจจุบันยังไม่มีวิธีและยารักษา RSV เฉพาะ การรักษาจะมุ่งเน้นไปที่การบรรเทาอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อน โดยแพทย์จะสั่งยาเพื่อรักษาตามอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไอ ยาละลายเสมหะ หรือยาขยายหลอดลม รวมไปถึงรักษาแบบประคับประคองอาการโดยให้พักผ่อนให้เพียงพอ ให้ทานอาหารอ่อน ในเด็กบางรายที่มีเสมหะเหนียวมากต้องทำการพ่นยาขยายหลอดลมผ่านทางออกซิเจนละอองฝอย เคาะปอด และดูดเสมหะออก การรักษา RSV มักใช้เวลาประมาณ …