เมื่อสภาพแวดล้อมและพฤติกรรมของมนุษย์ที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้น และอาจต้องสูญเสียค่ารักษาพยาบาลที่มากจนเกินไป จึงทำให้คนยุคสมัยใหม่ทำประกันสุขภาพกันมากขึ้น เพื่อความอุ่นใจและได้รับความคุ้มครอง แต่ในปัจจุบันหลาย ๆ คนต้องการประกันสุขภาพที่มีการจ่ายค่าเบี้ยประกันไม่แพง ซึ่ง “Copayment” เป็นประสุขภาพที่ให้คุณจ่ายค่าเบี้ยได้ถูกลง และไม่ลดความคุ้มครอง อีกทั้งรู้หรือไม่ว่า? ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา ทุกสัญญาประกันสุขภาพที่สมัครใหม่จะต้องอยู่ภายใต้มาตรฐานใหม่ (New Health Standard) ดังนั้นมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ Copayment คืออะไร แล้วคุ้มหรือไม่ที่จะทำประกันสุขภาพ มาติดตามพร้อม ๆ กันเลย
Copayment คืออะไร?
Copayment คือ การมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลในแต่ละครั้ง ซึ่งจะกำหนดและระบุเงื่อนไขการมีส่วนร่วมจ่ายไว้ในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ โดยให้ผู้ที่ทำประกันสุขภาพจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอัตราเปอร์เซ็นต์คงที่ จากค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด โดยยกตัวอย่าง ดังต่อไปนี้
สมมติ ประกันสุขภาพ เป็นแบบ Copayment 20% หรือการมีส่วนร่วมจ่าย 20% หมายความว่า หากมีการป่วยแล้วเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาล และมียอดค่ารักษาทั้งหมด 100,000 บาท ทางผู้ที่ทำประกันต้องจ่ายค่ารักษาเอง 20,000 บาท หรือ 20% ส่วนบริษัทประกันจะออกในส่วนที่เหลือ ก็คือ 80,000 บาท หรือ 80% ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกรรมธรรม์และทุกครั้งที่เข้ารับรักษาพยาบาล เป็นต้น
ข้อดีของการทำประกันสุขภาพแบบ Copayment
หากพูดถึงข้อดีของ Copayment จะช่วยในเรื่องของการประหยัดค่าเบี้ยประกัน และเลือกความคุ้มครองที่ต้องการได้ ซึ่งจะประหยัดก็ต่อเมื่อได้เลือกอัตรา Copayment เอาไว้ เช่น ในกรณีที่เลือก Copayment 20% สามารถประหยัดค่าเบี้ยประกันได้ถึง 20% และหากเกิดเลือก Copayment 50% ก็ถือว่าประหยัดเบี้ยประกันได้ถึง 50% เช่นกัน ทั้งนี้การประหยัดค่าเบี้ยประกันก็ไม่ได้ทำให้ความคุ้มครองลดลงไปเลย เหมาะสำหรับผู้ที่รักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในเท่านั้น และต้องมีสวัสดิการเดิมหรือประกันสุขภาพแบบอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย โดยนำไปเบิกหรือเคลมค่ารักษาพยาบาลร่วมกับฉบับอื่น รวมถึงนำประกันอื่น ๆ นำมาจ่ายในส่วนของค่า Copayment โดยที่ไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายเองเลยได้อีกด้วย
– เหมาะสำหรับผู้ที่มีสวัสดิการเดิมหรือประกันฉบับอื่น
– ค่าเบี้ยประกันถูกลงตามอัตรา Copayment ที่เลือกไว้
– ผู้ที่ทำประกันดำเนินการมีส่วนร่วมจ่ายเป็น % คงที่
– เลือกความคุ้มครองตามที่ต้องการได้เอง
ข้อจำกัดของการทำประกันสุขภาพแบบมี Copayment
สำหรับข้อจำกัดแน่นอนว่าต้องมีประกันสุขภาพหรือสวัสดิการอื่น ๆ อยู่ก่อนแล้ว เพราะการทำประกันสุขภาพแบบ Copayment ไม่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่ต้องการทำประกันสุขภาพเป็นฉบับแรก และหวังว่าจะได้รับความคุ้มครองทั้งหมดเหมือนฉบับปกติทั่วไป (Full Coverage) ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว จะทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วน คือ ค่าเบี้ยประกันและค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ถ้ายิ่งหากเลือกอัตรา Copayment ที่มีเปอร์เซ็นต์สูง ก็ส่งผลต่อการจ่ายค่ารักษาพยาบาลมากขึ้นตามอีกด้วย รวมไปถึงเมื่อต้องการยกเลิกประกันสุขภาพแบบ Copayment เพื่อมาใช้ประกันแบบ Full Coverage จะมีความยุ่งยากพอสมควร เพราะบริษัทประกันอาจจะมีการเรียกตัว เพื่อให้ผู้ทำประกันดำเนินการตรวจสุขภาพก่อนที่จะได้รับความคุ้มครอง และถ้าหากมีประวัติสุขภาพ ก็อาจจะไม่สามารถทำประกันสุขภาพแบบ Full Coverage ได้นั่นเอง
– ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำประกันสุขภาพแบบ Copayment เป็นฉบับแรกและฉบับเดียว
– ยกเลิก Copayment เปลี่ยนไปเป็น Full Coverage ได้ยาก
– เสียค่าใช้จ่าย 2 ส่วน คือค่าเบี้ยประกันและจ่ายค่ารักษา
– ยิ่งเลือกอัตรา Copayment สูง ยิ่งจ่ายค่ารักษาเยอะ
ประกันสุขภาพแบบมี Copayment เหมาะกับใคร
จากที่พูดถึงข้อดีและข้อจำกัดมาแล้วนั้น จะเห็นได้ว่าประกันสุขภาพ Copayment จะเหมาะกับผู้ที่มีประกันสุขภาพแบบกลุ่ม และสวัสดิการอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย หรือง่าย ๆ ก็คือมีประกันสุขภาพหลาย ๆ ฉบับแล้วนั้นเอง ซึ่งเหมาะกับผู้ที่ต้องการความคุ้มครองเพิ่มเติม โดยเฉพาะวงเงินค่ารักษาพยาบาล แต่ก็มีความต้องการจ่ายค่าเบี้ยประกันที่ถูกลง เพื่อนำไปใช้ในการเบิกและเคลมค่ารักษาพยาบาล ร่วมกับประกันสุขภาพฉบับอื่น และสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว อีกทั้งนำไปหักค่าการมีส่วนร่วมจ่าย Copayment ได้อีกด้วย
ประกันสุขภาพแบบ Copayment ต่างจากประกันสุขภาพแบบ Deductible อย่างไร
หลาย ๆ คงสงสัยว่าแล้วจะเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดีระหว่าง Copayment หรือ Deductible แบบไหนจะให้ความคุ้มค่ามากกว่ากัน แต่ถ้าให้พูดถึงความแตกต่าง คือ เรื่องจำนวนเงินที่ต้องรับผิดชอบในส่วนของค่ารักษาพยาบาล ซึ่งประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบ จะมีหลักการทำงานเหมือนกัน โดยต้องรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในเท่านั้น ทั้งนี้ประกันสุขภาพแบบ Copayment ต้องเลือกอัตราเปอร์เซ็นต์ของการมีส่วนร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาล และผู้ที่ทำประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลในอัตราคงที่ร่วมกับบริษัทประกัน เช่น เลือกทำประกันสุขภาพแบบ Copayment 20% บริษัทจะจ่ายค่ารักษาในส่วนที่เหลือ 80% แต่ถ้าเกิดเลือกอัตราเปอร์เซ็นต์เยอะ ผู้ทำประกันก็ต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเยอะเช่นกัน และจะจ่ายเช่นนี้ไปตลอดจนครบกรมธรรม์
ในส่วนของประกันสุขภาพแบบ Deductible คือ การรับผิดชอบส่วนแรก โดยผู้ทำประกันจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนแรก หากจำนวนยอดเกินกว่าที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ บริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาในส่วนที่เหลือตามที่ตกลงเอาไว้ ซึ่งแผนประกันสุขภาพแบบ Deductible สามารถกำหนดค่าเงินในการรับผิดชอบส่วนแรกได้ เช่น จำนวนเงิน 10,000 20,000 บาท เป็นต้น โดยมีหลักการทำงานตามตัวอย่าง หากมีประกันสุขภาพแบบ Deductible กำหนดไว้ให้มีความรับผิดชอบส่วนแรก คือ 20,000 บาท แล้วเกิดไปรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยในมีค่ารักษา 20,000 บาท ผู้ทำประกันจะต้องออกค่ารักษาส่วนนี้เอง แต่ถ้าค่ารักษาเกินที่ระบุไว้และมีค่า 50,000 บาท บริษัทจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลส่วนที่เหลือ คือ 30,000 บาท
จากความแตกต่างของประกันสุขภาพทั้ง 2 แบบ มองว่า Copayment ช่วยลดค่าเบี้ยประกันและค่ารักษาพยาบาลได้เยอะกว่า Deductible แต่ต้องแลกด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงในการเข้ารับรักษาพยาบาลแต่ละครั้ง และค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งมีจำนวนไม่เท่ากัน เพราะต้องจ่ายในอัตราเป็นเปอร์เซ็นต์ ส่วน Deductible ผู้ที่เข้ารับการรักษาต้องรับผิดชอบค่าใช้พยาบาลส่วนแรกตามที่ตกลงไว้กับบริษัทประกัน และในส่วนที่เหลือบริษัทประกันจะรับผิดชอบเอง
อย่างไรก็ตามหากถามว่าต้องเลือกประกันสุขภาพแบบไหนดี ขอแนะนำว่าให้เลือกประกันสุขภาพแบบคุ้มครองทั้งหมดหรือแบบปกติ (Full Coverage) ไว้ก่อน รวมถึงควรมีสวัสดิการที่มีความคุ้มครองในการดูแลค่ารักษาพยาบาล แม้ว่าประกันสุขภาพทั้งแบบ Copayment และ Deductible จะช่วยในเรื่องการประหยัดค่าเบี้ยประกันได้ถูกลงประมาณ 20-30% และผู้ทำประกันจำเป็นต้องออกค่ารักษาพยาบาลเองส่วนหนึ่งเหมือนกัน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ทำประกันทั้ง 2 แบบนี้ มักจะมีประกันแบบทั่วไปหรือสวัสดิการกันอยู่บ้างแล้ว เพียงแต่ทำประกันสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มวงเงินค่ารักษาพยาบาล และนำไปเบิกหรือเคลมค่ารักษาพยาบาลร่วมกับกรมธรรม์ฉบับอื่น อีกทั้งนำมาจ่ายในส่วนของค่า Copayment หรือ Deductible โดยที่ไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายเองเลย
สนใจอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ : ประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก (deductible) คืออะไร
บทสรุป
ผู้ที่ต้องการทำประกันควรพิจารณาและวางแผนว่า ถ้าหากเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล จะเลือกโรงพยาบาลที่ไหน? มีจำนวนค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่? และมีความคุ้มครองครอบคลุมทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหรือไม่? รวมถึงประกันหรือสวัสดิการที่มีอยู่นั้นมีวงเงินในการคุ้มครองไม่เพียงพอ ก็อาจจะเพิ่มประกันสุขภาพแบบ Copayment หรือประกันสุขภาพแบบ Deductible เพื่อเพิ่มวงเงินในความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล เพราะสุดท้ายแล้วการที่มีประกันสุขภาพมากกว่า 1 ใบ ช่วยดูแลเรื่องการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นตัวช่วยในการเบิกหรือเคลมเบิกค่ารักษาพยาบาลร่วมกับประกันสุขภาพ หรือสวัสดิการที่มีอยู่แล้วได้อีกด้วย
อีกทั้งไม่ต้องกลัวว่าต้องเสียค่าเบี้ยประกันเยอะ และออกค่ารักษาพยาบาลแพงเกินไป เพราะจากทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เพียงแค่มีประกันสุขภาพฉบับอื่นและสวัสดิการ ก็นำมาใช้จ่ายค่ารักษาในส่วน Copayment และ Deductible ได้เช่นกัน โดยที่ไม่ต้องออกเงินเลยสักบาทเดียว ดังนั้นหากไม่รู้ว่าจะเลือกทำประกันสุขภาพแบบไหนดี Luma มีบริการให้คำปรึกษาและเปรียบเทียบค่าเบี้ยประกัน เพื่อให้คุณพิจารณาตัดสินใจเลือกทำประกันสุขภาพได้เหมาะสมกับคุณมากที่สุดนั่นเอง