นิ้วล็อค ภัยใกล้ตัวที่ไม่ได้อยู่แค่พนักงานออฟฟิศ

นิ้วล็อค

นิ้วล็อค เป็นอาการที่นิ้วไม่สามารถเหยียด หรือไม่สามารถงอกลับมาได้อย่างปกติ และสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ยิ่งในปัจจุบันผู้คนต้องติดต่อสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน รวมไปถึงอิทธิพลการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) หรือการเรียนออนไลน์ที่ต้องติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มเกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวสูงขึ้นด้วย

นิ้วล็อค เกิดจากอะไร

นิ้วล็อคเกิดจากการที่เส้นเอ็นหรือปลอกหุ้มเอ็นของนิ้วมือ มีอาการอักเสบหรือบวม ส่งผลให้เส้นเอ็นประสาทและปลอกหุ้มของนิ้วมืออยู่ในภาวะไม่สมดุลกัน โดยเส้นเอ็นประสาทไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าปลอกหุ้มเอ็นได้ ซี่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วมือ ได้แก่

การทำงาน

อาชีพที่ใช้งานนิ้วอย่างหนัก มีแนวโน้มที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้ง่ายมากขึ้น เช่น แม่บ้าน นักดนตรี คนทำสวน นักกีฬา หรือพนักงานออฟฟิศ

โรคประจำตัว

นิ้วล็อคสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ วัณโรค โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) และโรคไฮโปไทรอยด์ รวมไปถึงกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี จะมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้ง่ายขึ้น

รูปแบบการใช้ชีวิต

แต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นอาการนิ้วล็อคจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทุกวัย โดยหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อค คือการใช้เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อติดต่อกันมากขึ้น เช่น การรับ – ส่งข้อความผ่านสมาร์ทโฟน ที่ส่งผลให้นิ้วมือถูกใช้งานหนักมากขึ้น

รักษานิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคเป็นอย่างไรบ้าง

อาการของนิ้วล็อคจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่ความรุนแรงของอาการ ซึ่งสามารถอธิบายอาการที่พบบ่อยของนิ้วล็อคได้ ดังนี้

  • รู้สึกเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือหรือนิ้วโป้ง และรู้สึกว่าขยับส่วนดังกล่าวได้ยากขึ้น
  • งอนิ้วมือแล้วพบว่ามีอาการสะดุด มีเสียงกรอบแกรบขณะที่ขยับนิ้วมือ
  • พบก้อนตามฐานนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือ
  • นิ้วมืองอได้ยากขึ้น เหยียดไม่ออก และไม่สามารถขยับนิ้วได้

แนวทางป้องกันอาการนิ้วล็อค 

สำหรับการป้องกันการเกิดนิ้วล็อคสามารถทำได้หลายวิธี สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้งานของนิ้วหนักมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดของอาการบาดเจ็บได้ภายในอนาคต ดังนี้ 

  • จำกัดชั่วโมงการใช้งานสมาร์ทโฟน และหลีกเลี่ยงการพิมพ์ข้อความบนสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน แต่เปลี่ยนเป็นการสื่อสารผ่านทางเสียง หรือเปลี่ยนมาสื่อสารผ่านการโทรแทน

  • ถ้าหากเริ่มมีอาการปวดตึงข้อมือหรือนิ้วมือ ให้จุ่มมือลงไปในน้ำอุ่นเป็นระยะเวลา 5 – 10 นาที เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือที่ถูกใช้งานหนัก

  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ซ้อมดนตรีที่ใช้นิ้วในระยะเวลาที่เหมาะสม หากทำกิจกรรมเป็นระยะเวลานาน ในระหว่างพักควรมีการบริหารข้อมือและนิ้วมือ

  • ลดการทำงานที่ส่งผลต่อการใช้นิ้วมือและข้อมือ

นิ้วล็อค รักษาอย่างไรบ้าง

วิธีการรักษานิ้วล็อค สามารถทำได้ด้วยการบรรเทาอาการเบื้องต้นและรักษาด้วยการผ่าตัด

การบรรเทาเบื้องต้น

การบรรเทาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • หากมีอาการบวม ปวด หรือติดเชื้อ ควรปรึกษาเภสัชเพื่อรับประทานยาให้ตรงกับอาการ
  • พักกิจกรรมที่ใช้งานนิ้วหนัก 
  • สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • หมั่นนวดบริหารนิ้วมือ 
  • หากรู้สึกปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ

รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดแบบปิด

  • การผ่าตัดแบบเปิด : เป็นวิธีที่คนนิยมทำมากที่สุด โดยแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อผ่าตัด เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว จะใช้เวลาในการฟื้นตัวของนิ้วมือเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความรวดเร็วในการการฟื้นตัวของผู้ป่วย

  • การผ่าตัดแบบปิด : แพทย์จะทำการสะกิดปลอกหุ้มเอ็นผ่านผิวหนัง สำหรับการผ่าตัดรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงต่อเส้นประสาทและเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณข้างเคียง เมื่อผ่าตัดเสร็จจึงมีอาการปวดบริเวณที่ผ่าตัดและมีอาการชาปลายนิ้ว เมื่อการผ่าตัดดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมที่ใช้งานนิ้วมือได้ ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

นิ้วล็อคเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วมือ ได้แก่ การทำงาน โรคประจำตัว หรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ดังนั้นการทราบถึงวิธีการป้องกันนิ้วล็อค จะช่วยลดอาการบาดเจ็บนิ้วมือได้เบื้องต้น ลองหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ หมั่นดูแลสุขภาพของนิ้วและข้อมือให้มีสุขภาพดี เพราะนิ้วและข้อมือมีความสำคัญไม่ต่างจากการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ภายในร่างกาย และหากรู้สึกปวดนิ้วมือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นิ้วมือมีอาการบวม หรืออักเสบ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรักษาอาการดังกล่าว

Table of Contents

You May Also Like

ประกันมะเร็งที่ไหนดี
บทความ

ประกันมะเร็งที่ไหนดี 2567

โรคมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่คิด และ หนึ่ง ใน หก คน ทั่วโลก เสียชีวิตด้วยสาเหตุโรคมะเร็ง ไม่ว่าเรื่องกรรมพันธุ์ หรือ สาเหตุใดไม่อาจทราบ LUMA เองก็ได้เจอโรคมะเร็งในสมาชิกเพิ่มขึ้น และที่น่าตกใจกว่านั้น อายุของผู้ป่วยน้อยลงกว่าที่ผ่านมา การหาประกันที่คุ้มครองมะเร็ง เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเลือกแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมการรักษามะเร็ง หรือ เลือกแบบ …

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี
บทความ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี 2567

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายมีให้เลือกค่อนข้างเยอะในทุกวันนี้ และด้วยข้อมูลที่คอนข้างเยอะ รายละเอียดที่ต้องสนใจเยอะ ทำให้การตัดสินใจอาจจะลำบากกว่าที่ควรเป็น LUMA ได้ทำการบ้านมาให้แล้ว ว่าบริษัทไหนดีอย่างไร LUMA AXA MTL LMG Pacific Cross Allianz Ayudhya วิริยะประกันภัย April Falcon Insurance ในเมื่อเลือกแล้ว …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …