รักษารากฟันคืออะไร รักษารากฟันประมาณเท่าไหร่ ?

รักษารากฟัน

สุขภาพของฟันเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กับการดูแลสุขภาพร่างกายด้านอื่นเลย หากดูแลรักษาสุขภาพฟันไม่ดีก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะฟันพุ ฟันหัก ฟันแตก ฯลฯ ซึ่งหากการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามก็จะส่งผลต่อรากฟันที่ส่งผลให้เกิดอาการปวด บวม หากอาการรุนแรงมากขึ้น และเกิดหนองบริเวณเหงือก ทำให้ต้องรักษารากฟัน วันนี้ลูม่าจะพาทุกมาไขข้อสงสัยเกี่ยวกับการรักษารากฟัน จะพาไปเจาะลึกว่าการรักษารากฟันคืออะไร การรักษารากฟันมีแบบไหนบ้าง รักษารากฟันเจ็บไหม และรวมไปถึงค่ารักษารากฟันในไทย 

การรักษารากฟันคืออะไร

การรักษารากฟัน คือ การตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณกลางฟันบริเวณซี่ใดซี่หนึ่ง ดังนั้นในขั้นตอนการรักษารากฟัน จึงเป็นการทำความสะอาดหรือทำลายบริเวณที่อักเสบนั่นเอง ในการรักษารากฟัน บริเวณที่ติดเชื้อถูกจะถอนออก หรือทำความสะอาดพื้นผิวรอบ ๆ อุดฟัน และจัดรูปทรงของฟันให้อยู่เป็นระเบียบดังเดิมด้วยเทคนิคและเครื่องมือทางการแพทย์โดยเฉพาะ ซึ่งการอุดฟันสามารถใช้วัสดุแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความแตกต่างกันออกไปในคนไข้แต่ละคน    

เมื่อฟันได้รับความเสียหายจากเชื้อแบคทีเรีย จะเกิดเป็นอาการฟันผุและติดเชื้อในฟันบริเวณเนื้อเยื่อในโพรงฟัน (Dental pulp) โดยสัญญาณที่บ่งบอกว่าบริเวณเนื้อเยื่อในโพรงฟัน (Dental pulp) ถูกทำลาย มีดังนี้ 

  • ปวดฟันเป็นระยะเวลานาน  
  • เสียวฟันง่าย  
  • เหงือกบวม 
  • เหงือกมีหนอง  
  • ฟันห่าง  
  • เคี้ยวอาหารแล้วปวดฟัน 
  • ฟันแตก
  • ฟันหลุด 

การรักษารากฟันมีแบบไหนบ้าง  

การรักษารากฟัน สามารถแบ่งรักษาแบ่งออกเป็น 2 วิธี ดังนี้ 

  1. ารกรอฟันเพื่อฉีดน้ำยาลงไปในคลองรากฟัน : การรักษารากฟันด้วยวิธีการปกติ โดยกรอฟันเพื่อให้สามารถเข้าสู่คลองรากฟัน กำจัดเนื้อเยื่อบริเวณโพรงประสาทด้วยน้ำยาที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อโรค และเทน้ำยาลงไปในคลองฟันเพื่อไม่ให้เชื้อโรคลุกลามหรือกลับมาได้ ระหว่างที่รักษาจะมีการฉีดยาชาเพื่อบรรเทาอาการเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยปวดมากบริเวณที่ทำการรักษา 

  2. การถอนฟันออก : การถอนฟันออกเป็นวิธีสำหรับการกำจัดแบคทีเรียออกจากปากได้ดี แต่การเก็บรักษาฟันเดิมไว้จะส่งผลดีกว่ามาก เพราะถ้าหากถอนฟันออกไป ฟันบริเวณด้านข้างจะเริ่มล้มลงและเข้าสู่ช่องว่าง ฟันผุง่ายขึ้นเพราะทำความสะอาดได้ยากเนื่องจากอาการเอียงของฟัน และประสิทธิภาพของการเคี้ยวจะทำได้น้อยลง สุดท้ายต้องใส่ฟันปลอมบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันโอกาสที่ฟันซี่อื่น ๆ จะล้มได้ และการรักษารากฟันด้วยวิธีการถอนฟันออก จะไม่เจ็บเท่าการรักษาฟันด้วยวิธีกรอฟัน แต่การรักษารากฟันด้วยการถอนฟันจะส่งผลเสียต่อระยะยาวมากกว่า 

รักษารากฟันเจ็บไหม  

หากคุณกำลังวางแผนที่จะรักษารากฟันและกังวลว่ารักษารากฟันจะเจ็บไหม การรักษารากฟันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ขั้นตอนระหว่างที่ทำเจ็บน้อยมาก อาจจะมีอาหารปวดบ้างเล็กน้อย ผู้ช่วยทันตแพทย์หรือพยาบาลจะทำการฉีดยาชาเพื่อบรรเทาอาการระหว่างที่รักษา โดยหลังจากที่ทำการรักษารากฟันเสร็จแล้ว คนไข้อาจจะมีการปวดเล็กน้อยเนื่องจากยาชาหมดฤทธิ์ อาการปวดอาจจะเกิดขึ้นได้ 2-3 วันหลังรักษารากฟัน  

ถ้าหากปวดฟันหนักมาก สามารถรับประทานเพื่อบรรเทาอาการลงได้ หากรับประทานยาแล้วอาการยังไม่หาย ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์เพื่อดูอาการอีกที  และเมื่อทำการรักษารากฟันเสร็จแล้ว ให้หลีกเลี่่ยงการรับประทานอาหารแข็ง และรับประทานอาหารที่เคี้ยวง่ายประมาณ 2 – 7 วัน เพื่อให้ฟันบริเวณที่ทำการรักษามาได้ฟื้นตัว 

รักษารากฟัน

ค่ารักษารากฟันประมาณเท่าไหร่ 

การรักษารากฟันในไทยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6,000 – 13,000  บาท และถ้าหากคนไข้เคยรักษารากฟันมาแล้ว การรักษารากฟันซ้ำจะเพิ่มราคาจากปกติประมาณ 2,000 – 3,000 บาท เพราะทันตแพทย์ต้องถอดเครื่องมือเดิมออกจากบริเวณฟันซี่ดังกล่าวก่อน และราคารักษารากฟันยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น ๆ อีกด้วย เช่น  

  • สถานพยาบาล : ค่ารักษาพยาบาลการรักษารากฟันยังขึ้นอยู่กับสถานพยาบาลที่คนไข้เข้าไปรับบริการ เช่น โรงบาลรัฐฯ โรงพยาบาลเอกชน หรือคลินิกทันตกรรม ฯลฯ แต่ละที่ก็จะมีค่ารักษาพยาบาลที่แตกต่างกันออกไป 

  • ความรุนแรงของอาการ : การรักษารากฟันขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและความรุนแรงของฟันที่ต้องรักษาโดยทันตแพทย์จะเป็นผู้ประเมินคนไข้  

  • ตำแหน่งของฟัน : ทันตแพทย์จะเป็นคนประเมินความยากและง่ายของการรักษารากฟัน ส่วนมากบริเวณฟันด้านในสุด การรักษารากฟันจะค่อนข้างยากมากกว่าการรักษาฟันบริเวณด้านหน้า ดังนั้นการรักษารากฟันด้านในจึงมีราคาสูงกว่าการรักษารากฟันด้านใน 

สรุป  

การรักษารากฟัน เป็นการรักษาที่จะช่วยทำให้แบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่อในโพรงฟัน (Dental pulp) ไม่ลุกลามไปมากกว่าเดิม ด้วยการตัดโพรงประสาทฟัน หรือเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่อยู่บริเวณกลางฟันบริเวณซี่ใดซี่หนึ่ง และการรักษารากฟันยังไม่เจ็บอย่างที่คิด ควรรีบรักษาให้ทันเวลาเพื่อป้องกันการลุกลามของบริเวณที่มีเชื้อโรคสะสม  

การมีประกันสุขภาพจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของค่ารักษาทันตกรรม สามารถดูแผนประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ความต้องการของคุณได้ที่นี่ และอย่าลืมแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ เลือกใช้ยาสีฟันและแปรงสีฟันที่เหมาะสมกับสภาพฟันและเหงือกของคุณ พบทันตแพทย์เป็นประจำทุก ๆ 6 เดือนเพื่อตรวจเช็คสภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง

Last update: 

Table of Contents