ประโยชน์ของน้ำมันกัญชาคืออะไร สามารถช่วยรักษา โรคมะเร็ง ได้จริงหรือ?

ประโยชน์ของน้ำมันกัญชาคืออะไร สามารถช่วยรักษา โรคมะเร็ง ได้จริงหรือ?

ถึงแม้จะมีสมุนไพรมากมายบนโลก ที่คอยให้คุณประโยชน์แก่ร่างกายของเราให้แข็งแรงอยู่เสมอ แต่สำหรับ น้ำมันกัญชา นี้ อาจแตกต่างจากสมุนไพรอื่น ๆ เนื่องด้วยเป็นการสกัดที่มาจากต้นกัญชา ซึ่งถูกจัดเป็นสารเสพติดอีกชนิด ตามผู้ควบคุมทางกฎหมายของสำนักงานปราบปรามยาเสพติดในประเทศสหรัฐอเมริกา (Drug Enforcement Administration ; DEA) ได้ระบุไว้

อย่างไรก็ตามขณะนี้พวกเขายังไม่มีการอนุญาตให้ครอบครอง หรือทำการซื้อ-ขายตามกฎหมายของรัฐบาลกลางได้ รวมทั้งยังไม่มีการอนุมัติจากองค์การอาหาร และยาของสหรัฐอเมริกา (US Food and Drug Administration ; FDA) ที่นำน้ำมันกัญชาสำหรับใช้การแพทย์ แต่ในบางประเทศนั้นทางรัฐก็ได้มีการอนุญาตให้ใช้กัญชาเพื่อรักษาในทางการแพทย์ต่อสภาวะของโรคบางอย่าง ที่ถูกต้องภายใต้กฏหมาย และข้อบังคับของแต่ละรัฐ

ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่ต้องมีการพิสูจน์ ทดสอบ วิจัย ถึงการใช้น้ำมันกัญชาต่อไป แต่จะสามารถช่วยในการรักษา โรคมะเร็ง ได้หรือไม่ นั้น บทความนี้มีคำตอบมาให้ทุกคนได้ทราบกัน

 

น้ำมันกัญชาคืออะไร

น้ำมันกัญชา เป็นหนึ่งในสารตามธรรมชาติที่พบได้ในต้นกัญชง ซึ่งเป็นพืชชนิดย่อยของกัญชา โดยสารตามธรรมชาติดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า แคนนาบินอยด์ (Cannabinoids ; CBD) และยังมีสารประกอบของแคนนาบินอยด์ที่สำคัญอีก 2 ชนิด นั่นก็คือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol; THC) และ แคนนาบิไดออล (Cannabidiol; CBD)

ตามผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ The Permanente ในปี 2562 ให้ข้อมูลว่า สารสกัดนี้มีโมเลกุลของน้ำมันที่ค่อนข้างเข้มข้นมาก เพราะมีสารเคมีประกอบกว่า 100 ชนิด แต่ก่อนที่จะออกมาเป็นน้ำมันนั้น เพื่อเพิ่มความปลอดภัย จึงอาจมีการผ่านกระบวนการเจือจางความเข้มข้นด้วย น้ำมันตัวพา เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันเมล็ดป่าน เป็นต้น

นอกจากสารสกัดแบบน้ำมันแล้ว สารแคนนาบินอยด์ ยังสามารถผสมให้อยู่ในรูปแบบอื่น ตามความเหมาะสมในการรักษาในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ดังนี้

  • แบบทาบนผิวหนัง ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวด ลดการอักเสบ ต่อผิวหนังโดยตรง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาจถูกผสมมากับครีม ลิปบาล์ม แชมพู

  • ผสมกับทิงเจอร์ (Tincture) เป็นอีกวิธีที่ได้รับความนิยมในการใช้เช่นเดียวกัน คือการนำน้ำมันกัญชา ผสมหยดลงไปบนทิงเจอร์ 2-3 หยด บริเวณใต้ลิ้น และทิ้งไว้ประมาณไม่กี่วินาที การทำเช่นนี้จะช่วยให้สารประกอบสำคัญได้รับการดูดซึมเข้ากระแสเลือดอย่างรวดเร็วโดยผ่านเยื่อเมือกในช่องปาก

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะใช้ด้วยรูปแบบใด คุณจำเป็นต้องผ่านขั้นตอนทั้งหมดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสิ้น ไม่ควรนำไปปฏิบัติตามเองอย่างเด็ดขาด เพราะการรักษาแก้ไขปัญหาทางสุขภาพที่ดี ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างละเอียดของผู้มีประสบการณ์ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตคุณ

น้ำมันกัญชา

น้ำมันกัญชา ส่งผลต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง

ในทางการแพทย์ น้ำมันกัญชาอาจช่วยนำไปบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในแต่ละรายได้อย่างเหมาะสม แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยสุขภาพอย่างละเอียดร่วมด้วย โดยประโยชน์ที่คุณอาจจะได้รับจากน้ำมันกัญชาเมื่อใช้อย่างถูกต้องมี ดังต่อไปนี้

ลดความวิตกกังวล และอาการซึมเศร้า

เมื่อสุขภาพจิตได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์รุนแรง ก็อาจก่อให้เกิดโรควิตกกังวล หวาดกลัว จนไปถึงภาวะซึมเศร้าได้ และอาการเหล่านี้ พาให้ผู้ป่วยเกิดการพักผ่อนที่ไม่ได้ประสิทธิภาพ เช่น รู้สึกกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เป็นต้น 

จากการศึกษาการของประเทศบราซิลได้นำน้ำมันกัญชามาทดสอบกับเพศชาย จำนวน 57 คน  ผลสรุปออกมาว่า น้ำมันกัญชาในปริมาณ 300 มก. ให้ประสิทธิภาพในการลดอาการวิตกกังวลได้ค่อนข้างดี

บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

แท้จริงแล้วน้ำมันกัญชา เป็นสารสกัดที่ถูกใช้ในการบรรเทาอาการปวดเมื่อยมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่ราว ๆ ประมาณ 2,900 ปีก่อนคริสตกาล ปัจจุบันได้มีนักวิจัยค้นพบว่าสาร แคนนาบินอยด์ (Cannabinoids; CB) ที่มีคุณสมบัติในการรักษาสามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ เนื่องด้วยภายในร่ายกายของคนเรามีระบบพิเศษที่เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid system; ECS) ซึ่งเป็นระบบควบคุมการนอนหลับ ความอยากอาหาร และการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน เมื่อร่างกายเกิดการบาดเจ็บ ระบบนี้กับสารในน้ำมันกัญชาก็จะประสานกันช่วยทำหน้าที่ในการซ่อมแซมให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลดังเดิม

จากการศึกษาในงานวิจัยบางชิ้น มีการใช้สเปรย์พ่นคอที่มีส่วนผสมของเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol; THC) และ แคนนาบินอยด์ (Cannabinoids; CBD) ซึ่งได้รับการอนุมัติในหลายประเทศสำหรับการใช้รักษาอาการปวดเกิดจากโรคปลอกประสาทเสื่อม เข้าทดสอบกับผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อ และมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก ทั้งหมด 47 คน เป็นเวลาหนึ่งเดือน พบว่าอาการของพวกเขามีลำดับการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น และอาการกล้ามเนื้อกระตุกลดลง พร้อมทั้งปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการนอนหลับ เพิ่มการพักผ่อนจากอาการเหนื่อยล้าได้ดีขึ้นอีกด้วย

บำรุงสุขภาพหัวใจ

หากระดับความดันโลหิตของคุณสูงขึ้น ก็อาจเชื่อมโยงไปถึงความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจได้ จากงานวิจัยที่ได้ทำการทดสอบในการนำน้ำมันกัญชามารักษาในปริมาณ 600 มก. พบว่าระดับความดันโลหิตของเขานั้นลดลง รวมทั้งลดระดับความเครียด ที่เป็นตัวการหนึ่งของการเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น

หากใช้น้ำมันกัญชาไม่ถูกต้อง ผลจะเป็นอย่างไร

คงจะคิดไม่ถึงกันอย่างแน่นอนว่าน้ำมันกัญชา จะสามารถมีประโยชน์ได้มากมายได้เพียงนี้ แต่ถึงอย่างไร หากร่างกายได้รับสารในปริมาณมากเกินไป หรือผู้ป่วยบางคนมีอาการแพ้ ก็อาจเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้ได้ด้วยเช่นกัน

  • มีอาการท้องร่วง

  • รู้สึกอ่อนเพลีย

  • ความอยากอาหาร หรือน้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลง

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเกี่ยวข้องกับหัวใจร่วมด้วย อาจทำให้อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ วิงเวียนศีรษะ จนถึงขั้นหมดสติได้ รวมทั้งอาจทำให้อารมณ์ไม่คงที่ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

ซึ่งถ้าหากผู้ป่วย หรือผู้ที่ละเมิดในการใช้สารสกัดที่มีส่วนประกอบของกัญชาเกินขนาด และต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการเสพติดได้ จากข้อมูลของกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ (U.S. Department of Health and Human Services) พบว่าผู้ใช้กัญชาในทางที่ผิด อาจนำไปสู่อาการติดยาเสพติด โดยส่วนมากผู้ที่เริ่มลองใช้มักจัดอยู่ในกลุ่มช่วงก่อนวัยรุ่นที่มีอายุระหว่าง 13ปี จนเกิดการเสพติดไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ และอาจได้รับผลข้างเคียงต่อระบบประสาท และสมองจากสารเคมีในกัญชา อีกทั้งยังส่งผลให้เกิดอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น มีอาการหลงผิด (เห็นภาพหลอน) อาการหวาดระแวงอย่างไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น

น้ำมันกัญชา

ข้อสรุปเกี่ยวกับการใช้น้ำมันกัญชาในการรักษาโรคมะเร็ง

จากบทความข้างต้นที่กล่าวมา ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ยังคงเป็นข้อถกเถียงอย่างกันกว้างขวางในวงการแพทย์ และทีมวิจัย ถึงการใช้น้ำมันกัญชา รักษาโรคมะเร็ง ดังนั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute; NCI) ประเทศสหรัฐอเมริกา จึงได้ทบทวนในการศึกษาคลายข้อสงสัยนี้กันอีกครั้ง ในการวิจัยครั้งนี้พบว่ากัญชามีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเซลล์มะเร็งในกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ผู้ใช้ลดความเสี่ยงของการเกิดพัฒนาป่วยเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะไปได้ถึงร้อยละ 45 อ้างอิงจากการศึกษาในปี 2562 นักวิจัยตั้งสมมติฐานจากการทดลองขึ้นโดยมุ่งเน้นไปที่มะเร็งตับอ่อน พบว่าการใช้กัญชาอาจนำพาสารเข้าไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งหลายชนิด ทั้งนี้ยังคงต้องรอทำการพิสูจน์ให้ได้อย่างแน่ชัด พร้อมทั้งปรับประสิทธิภาพตัวยาเพื่อนำมารักษาผู้ป่วยต่อไป

ซึ่งถ้าหากอยู่ในรูปแบบของน้ำมันกัญชาที่ผ่านกระบวนการสกัดตามขั้นตอน และผ่านการรับรองจากรัฐแล้ว อาจให้ประโยชน์กับทางการแพทย์ในการนำมารักษาสภาพของโรคได้ แต่ถ้าหากละเมิดข้อบังคับนำมาใช้ในเชิงสูดดมจนเกิดการติดอย่างหนัก ก็อาจส่งผลให้ร่างกายของคุณทรุดลงกว่าเดิม อีกทั้งยังทำลายระบบประสาท และระบบการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ภายในอีกด้วย

อย่างไรก็ดีในบางการศึกษานั้น กลับมองว่าน้ำมันกัญชา อาจแค่ช่วยเพียงในการลดผลข้างเคียงจากการที่ผู้ป่วยผ่านการทำเคมีบำบัด ฉายรังสีกำจัดเซลล์มะเร็งเพียงเท่านั้น เพราะหลังจากที่เข้ารับการรักษาด้วยขั้นตอนนี้ อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร และเกิดความวิตกกังวลเพิ่มเติม การนำน้ำมันกัญชามาเป็นอีกตัวช่วยหนึ่ง อาจทำให้ผู้ที่ผ่านการรักษาด้วยการฉายรังสีบรรเทาอาการเหล่านี้ลงไปได้ โดยไม่รู้สึกทรมานมากนัก สุดท้ายแล้วสำหรับการใช้งานจากน้ำมันกัญชา เพื่อนำมารักษาโรคมะเร็ง ยังคงต้องมีการดำเนินการวิเคราะห์ และทดลองต่อไป หรือควรเข้าขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญถึงการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีที่เหมาะสม ถึงแม้จะมีงานวิจัยในเชิงมุมมองหลายด้าน ออกมามากมาย แต่ก็มิได้หมายความว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคนจะหายขาดจากการใช้น้ำมันกัญชานี้ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้ป่วย และคนรอบข้าง โปรดปฏิบัติตามคำแนะนำของทางแพทย์ในระหว่างที่ได้รับการรักษาอย่างเคร่งครัด เพื่อผลลัพธ์ที่ดี

อย่างไรก็ตามการเจ็บป่วยและโรคภัยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน หากคุณมีความกังวลใจเกี่ยวกับสุขภาพ รวมไปถึงโรคมะเร็งอยู่ ลูม่าขอเสนอแผน “ประกันสุขภาพ” ที่ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้คุณอย่างครอบคลุม ช่วยให้คุณอุ่นใจและไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายทุกเมื่อ

You May Also Like

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …

HPV คือ
สุขภาพ

HPV คืออะไร อาการ เป็นอย่างไร ควรทำความเข้าใจให้ดี

เรื่องสุขภาพ ยิ่งรู้ก็มากยิ่งดี และถ้ายิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรค HPV (Human Papillomavirus) การรู้จักและทำความเข้าใจไวรัสชนิดนี้ที่พบได้อย่างแพร่หลาย ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้เช่นกัน HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปมีมากกว่า 100 ชนิด และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ตั้งแต่หูดไปจนถึงมะเร็ง ในบทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อ HPV ทั้งการแพร่เชื้อ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน …