ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน

ผู้รับประกันภัย คือ

คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 

ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย

หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย 
  • – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ 
  • – ให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย เช่น การให้ข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการรับแจ้งเคลม 

 

สิทธิของผู้รับประกันภัย คือ 

  • – รับเบี้ยประกันภัย รวมถึงปรับเบี้ยประกันภัยในกรณีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 
  • – บอกเลิกสัญญา ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่แจ้งข้อความจริงหรือผิดสัญญาประกันภัย รวมถึงไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย 
  • – ระงับความคุ้มครอง ในกรณีผู้เอาประกันภัยไม่จ่ายเบี้ยประกันภัย ฝ่าฝืนเงื่อนไขในกรมธรรม์ หรือผู้เอาประกันไปรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่ได้อยู่ในเครือข่าย 
  • – ตรวจสอบข้อมูลสุขภาพผู้เอาประกันทั้งก่อนทำสัญญาและระหว่างที่มีผลบังคับใช้  รวมไปถึงเอกสารการรักษาพยาบาลของผู้เอาประกันด้วย 
  • – เรียกค่าสินไหมทดแทนจากผู้เอาประกันกรณีผู้เอาประกันแจ้งข้อความเท็จหรือจงใจทำให้เกิดความเสียหา

ผู้เอาประกัน คือ 

ถึงแม้ชื่อเรียกจะฟังแล้วชวนให้คิดถึงผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากการทำประกันหรือกรมธรรม์นั้นๆ แต่จริงๆแล้วไม่ได้ถูกทั้งหมด เพราะผู้เอาประกันคือบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกันภัย รวมถึงเป็นผู้ที่จ่ายเบี้ยประกันตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์นั้นด้วย ซึ่งผู้ที่ได้ประโยชน์จากกรมธรรม์นั้นอาจไม่ใช่ผู้เอาประกันเสมอไปหากผู้เอาประกันทำสัญญาและจ่ายเบี้ยประกันโดยมีเงื่อนไขให้ผู้อื่นเป็นผู้รับประโยชน์แทน ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ทำประกันสุขภาพให้ลูก หรือพ่อแม่ทำประกันชีวิตเอาไว้โดยระบุให้ลูกคือผู้ได้รับผลประโยชน์หากตนเองเสียชีวิต ผู้เอาประกันในที่นี้คือพ่อแม่ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้ได้รับประโยชน์จากการทำประกันนั้นก็ตาม แต่บางกรณีผู้เอาประกันก็สามารถเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากการทำประกันได้เหมือนกัน เช่น ผู้เอาประกันทำประกันสุขภาพให้ตัวเองเพื่อแบ่งเบาภาระค่ารักษาพยาบาล  

 

หน้าที่หลักของผู้เอาประกัน ได้แก่ 

  • – จ่ายเบี้ยประกันตามกำหนด  
  • – แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและบุคคลที่จะเอาประกันอย่างถูกต้อง  
  • – แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น  
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 

สิทธิของผู้เอาประกันมีดังนี้ 

  • – ได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ 
  • – ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 
  • – ขอทราบข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ 

ผู้อยู่ในอุปการะ คือ

เป็นผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้เอาประกันที่ได้รับการระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย โดยสามารถเป็นได้ทั้งคู่สมรส ผู้ที่อยู่กินฉันท์สามีภรรยากับผู้เอาประกัน รวมไปถึงบุตร ซึ่งบุตรสามารถเป็นได้ทั้งบุตรของผู้เอาประกันเอง บุตรบุญธรรม หรือบุตรภายใต้การปกครอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องเป็นบุตรที่ยังต้องพึ่งพาการสงเคราะห์จากผู้เอาประกันอยู่ 

 

หน้าที่หลักของผู้อยู่ในอุปการะคือ 

  • – เป็นผู้รับผลประโยชน์ 
  • – แจ้งข้อมูลและเอกสาร 
  • – รักษาสิทธิ์ 
  • – แจ้งการเปลี่ยนแปลง 
  • – ปฏิบัติตามเงื่อนไข 

 

สิทธิของผู้อยู่ในอุปการะมีดังนี้  

  • – สิทธิได้รับเงินชดเชย เช่น เงินชดเชยรายได้ เงินชดเชยการศึกษา  
  • – สิทธิได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ 
  • – สิทธิในการตรวจสอบกรมธรรม์ 
  • – สิทธิในการร้องเรียน 
ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

ผู้ได้รับความคุ้มครอง คือ

  • หมายถึงผู้ที่ได้รับผลประโยชน์และความคุ้มครองตามกรมธรรม์ โดยผู้ได้รับความคุ้มครองสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ  

    1. 1. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้เอาประกันเอง  
    1. 2. ผู้ได้รับความคุ้มครองที่เป็นผู้อยู่ในอุปการะ

ผู้รับผลประโยชน์ คือ

บุคคลที่จะได้รับเงินชดเชยจากบริษัทประกันภัยตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ โดยทั่วไป ผู้รับผลประโยชน ในกรมธรรม์ประกันสุขภาพจะระบุชื่อไว้ ดังนี้ 

  • – ผู้เอาประกันภัย เป็นผู้รับผลประโยชน์หลัก กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – บุคคลที่เอาประกันไว้ให้ เช่น คู่สมรส บุตร บิดา มารดา กรณีเข้ารับการรักษาพยาบาล 

โดยส่วนมากแล้วตอนสมัครทำประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจะต้องเลือกลงชื่อผู้รับผลประโยชน์ไว้อย่างน้อยหนึ่งคน  

หน้าที่หลักของผู้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – แจ้งเคลม แจ้งบริษัทประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันภัยเข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – รักษาสิทธิ์ โดยแจ้งบริษัทประกันภัยหากได้รับความคุ้มครองไม่ครบถ้วนตามกรมธรรม์หรือร้องเรียนหากไม่พอใจการบริการของบริษัท 
  • – แจ้งบริษัทหากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล  
  • – ชำระเบี้ยประกันภัย กรณีผู้เอาประกันภัยไม่สามารถชำระได้ 
  • – แจ้งการเสียชีวิต กรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต 

สิทธิของผู้ได้รับผลประโยชน์ คือ 

  • – ผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิได้รับเงินชดเชย กรณีผู้เอาประกันเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิต 
  • – สิทธิเลือกโรงพยาบาลที่อยู่ในเครือข่ายของบริษัทประกันภัย 
  • – มีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์และการเคลม 
  • – สิทธิร้องเรียน กรณีไม่ได้รับความคุ้มครองตามที่ควรได้รับหรือได้รับบริการที่ไม่ดีจากบริษัทประกันภัย 

 

ความแตกต่างของทั้ง 2 ประเภท คือ

ผู้เอาประกัน 

  • – เป็นบุคคลที่ทำสัญญากับบริษัทประกัน 
  • – มีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ผู้อยู่ในอุปการะ 

  • – เป็นบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 
  • – ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เอาประกัน 
  • – ไม่จำเป็นต้องมีหน้าที่ชำระเบี้ยประกัน 
  • – ไม่มีสิทธิ์เลือกผู้รับผลประโยชน์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์ยกเลิกกรมธรรม์ 
  • – ไม่มีสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลในกรมธรรม์ 

 

ทั้งนี้ทั้งนั้นความแตกต่างของผู้เอาประกันกับผู้อยู่ในอุปการะและสิทธิ์ความคุ้มครองอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันสุขภาพแต่ละฉบับ 

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิของผู้ได้รับความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ

สิทธิทั่วไป 

  • – สิทธิได้รับความคุ้มครอง คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลภายใต้วงเงินคุ้มครองตามที่ระบุไว้ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ รวมไปถึงค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไข 
  • – สิทธิได้รับข้อมูล คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับข้อมูลเกี่ยวกับกรมธรรม์ เช่น เงื่อนไข ความคุ้มครอง วงเงินคุ้มครอง ระยะเวลารอคอย 
  • – สิทธิร้องเรียน คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิร้องเรียนบริษัทประกันกรณีไม่พอใจการบริการหรือการชดเชยค่าสินไหมทดแทน 

สิทธิเฉพาะ 

  • – สิทธิเลือก คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษาพยาบาล 
  • – สิทธิได้รับบริการ คือ ผู้ได้รับความคุ้มครองมีสิทธิได้รับบริการต่างๆตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น บริการตรวจสุขภาพ บริการฉุกเฉิน 

 

ทั้งหมดนี้คือผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ทั้งหมด เมื่อคุณต้องอ่านกรมธรรม์หรือเงื่อนไขสัญญาใดๆที่เกี่ยวข้องกับประกันสุขภาพก็จะสามารถบอกถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลที่ถูกกล่าวถึงได้แล้ว แต่อย่าลืมว่าเงื่อนไขและข้อตกลงมักแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท ดังนั้นการอ่านกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนทำประกันเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพ, ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง
Table of Contents

You May Also Like

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …

สิทธิรักษาพยาบาล
บทความ

สิทธิรักษาพยาบาล 3 ระบบของไทย

สิทธิรักษาพยาบาลในประเทศไทย คือ สิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยทุกคน ที่รัฐบาลมอบให้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการด้านสุขภาพได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม สิทธิรักษาพยาบาลของไทยมีอะไรบ้าง  คนไทยทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากภาครัฐ โดยมีระบบหลัก 3 ระบบ ดังนี้ สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ สิทธิประกันสังคม สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (30 บาทรักษาทุกโรค/บัตรทอง) สิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการ คือ  สิทธิรักษาพยาบาลที่ข้าราชการและบุคคลในครอบครัว เช่น …