ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันให้เข้าใจ

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย ถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้คนให้ความสนใจกันมากขึ้น เพราะเรื่องสุขภาพ เป็นเรื่องสำคัญของคนเราลำดับต้น ๆ ที่ควรพิจารณาอย่างจริงจัง โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ในปัจจุบันที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากขึ้น รวมถึงค่ารักษาที่สูงเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ การทำประกันสุขภาพติดตัวไว้จึงถือเป็นเรื่องสำคัญ การซื้อประกันสุขภาพจะเป็นการช่วยลดภาระทางการเงิน ประกันสุขภาพสามารถช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในรักษาค่าพยาบาลหากป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุหรือโรคภัยต่าง ๆ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย คุ้มครองการรักษาแบบ IPD และ OPD 

รวมถึง 

  • อุบัติเหตุ
  • ค่าตรวจต่างๆ
  • ค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังการเข้าพักรักษาแบบผู้ป่วยไหน
  • ผลประโยชน์อื่นๆ ตามเอกสารแนบท้าย

ประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย และ
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

แต่ถ้าหากใครยังไม่รู้ว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเป็นยังไง สามารถตามไปอ่านได้ที่ LUMA ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร

ประกันสุขภาพ แบ่งออกเป็นกี่แบบ

ประกันสุขภาพ ส่วนใหญ่แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก ๆ ได้แก่

  • ประกันสุขภาพแบบแยกจ่าย และ
  • ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย

แต่ถ้าหากใครยังไม่รู้ว่าประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายเป็นยังไง สามารถตามไปอ่านได้ที่ LUMA ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคืออะไร

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร, ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง มาดูกันให้เข้าใจ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง  

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการป่วยไข้หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีแบ่งการคุ้มครองผลประโยชน์ในการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ดังนี้ 

1. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยภายใน (IPD)

IPD เป็นการย่อมาจาก In-Patient Department หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ผู้ป่วยใน คุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเมื่อต้องเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล ซึ่งค่าใช้จ่ายพื้นที่ของประกันสุขภาพมักประกอบด้วย เช่น ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ายา ค่าแพทย์เยี่ยม ค่าผ่าตัด ค่ารถพยาบาลและอุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น 

ผู้ป่วยในอาจจะเข้ารักการรักษาด้วยอาการที่ค่อนข้างหนัก เช่น ไส้ติ่งอักเสบ หรือ อาหารเป็นพิษขั้นรุนแรง หรือการผ่าตัดต่างๆ ที่ต้องคอยรักษาและดูอาการก่อน

2. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับผู้ป่วยนอก (OPD)

OPD เป็นการย่อมาจาก Out-Patient Department หรือที่ภาษาไทยเรียกว่า ผู้ป่วยนอก ลักษณะหลักของการเป็นผู้ป่วยนอก คือคนไข้ไม่ต้องรักษาตัว หรือนอน ที่โรงพยาบาล ที่เข้าใจกันว่า แอดมิท เข้าโรงพยาบาล แต่เป็นการดูแลผู้ป่วยที่อาจจะมีปัญหาเรื่องสุขภาพเล็กน้อย หรือ อาการไม่รุนแรงมาก เช่น อาการปวดหัว แพ้อากาศ มีไข้ เป็นหวัด หรือ เกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร เช่นปวดท้อง สามารถให้คุณหมอตรวจแล้วรับยากลับบ้าน จะเป็นการรักษาตัวที่บ้าน ไม่ใช่ที่โรงพยาบาล

ความคุ้มครองสำหรับ OPD จะคุ้มครองค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ ไม่ว่าเป็นค่าหมอ ค่าพยาบาล หรือ ค่าบริการโรงพยาบาล รวมไปถึงค่ายากลับบ้าน และค่าตรวจต่างๆที่ไม่ต้องนอนที่โรงพยาบาล

3. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง  

หากเกิดอุบัติเหตุ สามารถใช้ประกันในการรักษาไม่ว่าจะเป็นแบบ OPD หรือ IPD ในช่วงระยะเวลาที่กำหนดทางกรมธรรม์ เช่น ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ต่อให้ไม่ได้ซื้อความคุ้มครองสำหรับ OPD แต่หากเกิดอุบัติเหตุ ความคุ้มครองตรงจะสามารถนำมาใช้ได้

4. ผลประโยชน์ชดเชยสำหรับค่าบริการทางการแพทย์ก่อนและหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน 

ค่าบริการทางการแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเกิดขึ้นภายใน จำนวนวันที่ระบุ ก่อน หลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน หมายถึง หากไปพบแพทย์ด้วยอาการปวดท้อง แล้วทำการทดสอบต่างๆ ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน และระบุการรักษาเป็นโรคเดียวกัน จะสามารถ ใช้ความคุ้มครองตรงนี้ได้

ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกหลังการเข้าพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในต่อครั้ง สำหรับการรักษาพยาบาลต่อเนื่องภายใน จำนวนวันที่ระบุ หลังจากออกจากการเข้าพักรักษาเป็นผู้ป่วยใน

5. ผลประโยชน์เพิ่มเติมอื่นๆ/เอกสารแนบท้าย

เป็นการขยายความคุ้มครองเพิ่มเติมจากข้อตกลงในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งผู้เอาประกันภัยสามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ ได้แก่ การคลอดบุตร การรักษาฟัน การดูแลโดยพยาบาลพิเศษที่มีความจำเป็นตามคำสั่งของแพทย์ และการรักษาการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยที่มีค่าใช้จ่ายสูง 

ทั้งนี้ ประกันสุขภาพบางแผนจะไม่ได้คุ้มครองหมดทั้งหมด ดังนั้นผู้เอาประกันควรอ่านรายละเอียดกรมธรรม์ประกัน ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อก่อนทุกครั้ง 

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไร

สรุป 

หลังจากที่ได้ทราบกันไปแล้วว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายคุ้มครองอะไรบ้าง ขั้นตอนต่อไปของการเลือกซื้อประกันสุขภาพก็คือ การศึกษารายละเอียดของกรมธรรม์ประกันสุขภาพแผนต่าง ๆ ที่สนใจ รวมไปถึงศึกษาว่าบริษัทประกันภัยนั้น ๆ เป็นอย่างไร มีความน่าเชื่อถือหรือมีความมั่นคงหรือไม่ เพื่อที่จะได้มีความมั่นใจว่าบริษัทประกันภัยจะสามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของเราเมื่อเกิดการเจ็บป่วยได้ 

Table of Contents

You May Also Like

วีซ่าออสเตรเลีย
บทความ

อัปเดตการขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยว ฉบับปี 2024

การไปเที่ยวออสเตรเลียจัดเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของหลายคน นอกจากความสวยงามด้านสถาปัตยกรรมแล้ว ยังมีเรื่องน่าสนใจทั้งสัตว์ป่า ชุมชนคนไทย และอีกมากมาย ซึ่งใครวางแผนอยากสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่แบบนี้ก็จำเป็นต้องมี “วีซ่าออสเตรเลีย” ก่อนเดินทางเข้าประเทศด้วยเช่นกัน จึงขออัปเดตวิธีขอวีซ่าท่องเที่ยวออสเตรเลียและข้อมูลน่าสนใจฉบับปี 2024 ให้ทุกคนทำตามกันเลย ข้อมูลเบื้องต้นในการขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยว สำหรับผู้ที่สนใจขอวีซ่าออสเตรเลียประเภทท่องเที่ยวจะถูกจัดอยู่ในหมวดของ Visitor Visa สามารถใช้ได้ทั้งจุดประสงค์การท่องเที่ยว ทำธุรกิจ เยี่ยมญาติ รวมถึงการเรียนคอร์สระยะสั้นไม่เกิน 3 …

New Health Standard คืออะไร
บทความ

New Health Standard คืออะไร

ความหมายของ New Health Standard  New Health Standard คือมาตรฐานของประกันสุขภาพแบบใหม่ ที่มีการบังคับใช้อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำไมถึงต้องเปลี่ยนเป็น New Health Standard? เพื่อสร้างมาตรฐานประกันสุขภาพแบบใหม่ให้เหมาะสมกับสังคมสมัยใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวิวัฒนาการทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมากจากเมื่อก่อน …

community rating คือ
บทความ

Community Rating คืออะไร?

Community Rating เป็นหลักการที่ใช้ในการกำหนดระดับค่าเบี้ยประกันหรือค่าบริการทางด้านการแพทย์โดยไม่คำนึงถึงประวัติการเป็นโรคหรือสภาพสุขของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมประกันสุขภาพ เพื่อง่ายต่อการเข้าถึงการรักษาและประกันสุขภาพสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้น โดยทั่วไปการเสนอราคาหรือการเสนอประกันในระบบ Community Rating จะไม่พิจารณาข้อมูลส่วนบุคคลเช่น อายุหรือประวัติการเป็นโรคของผู้เอาประกัน ทำให้ค่าเบี้ยหรือค่าบริการมีความเท่าเทียมกันหรือใกล้เคียงสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ แม้ว่าบางบุคคลอาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าบางคนในกลุ่มก็ตาม หรือบางคนอาจมีอาการเรื้อรังที่ต้องการการรักษาบ่อยมากกว่าคนอื่น แต่ค่าเบี้ยหรือค่าบริการยังคงเท่าเทียมกันสำหรับทุกคนในกลุ่มนั้นๆ หลักการ Community Rating มีจุดประสงค์เพื่อให้มีความยุติธรรมและเสมอภาคต่อทุกคนในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพโดยไม่สนใจสถานะสุขภาพหรือความสามารถในการจ่ายเงินของบุคคลแต่ละคนในกลุ่มนั้น ๆ โดยมักจะใช้ในระบบประกันสุขภาพของประเทศหรือระบบที่เปิดให้กับสาธารณชนทั่วไปให้เข้าถึงได้ง่าย ๆ …