สำหรับผู้ถือแผนประกัน Luma Thailand Pass

คลิกปุ่มด้านบนเพื่อยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลต่อไปนี้
– ที่อยู่
– ผู้รับผลประโยชน์
– ชื่อผู้ถือประกัน
– เลขที่หนังสือเดินทาง
– วันที่เริ่มต้นประกันภัย

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแผนประกัน Luma Thailand Pass

ความคุ้มครองแผนประกัน Luma Thailand Pass

แผนประกันนี้คุ้มครองเฉพาะโรค COVID-19 หรือให้ความคุ้มครองอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ ด้วย?

แผนประกัน Luma Thailand Pass ให้ความคุ้มครองค่าการรักษาพยาบาลสำหรับอุบัติเหตุและความเจ็บป่วยต่าง ๆ รวมถึงโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตลอดระยะเวลาการพำนักอยู่ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามแผนประกันนี้ไม่คุ้มครองอุบัติเหตุจากการขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนต์

แผนประกันนี้ให้ความคุ้มครองทันทีหรือไม่?

วันเริ่มต้นประกันภัยควรเป็นวันที่ท่านคาดว่าจะเดินทางถึงประเทศไทย เพื่อให้ความคุ้มครองทันทีที่ท่านเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมือง

หมายเหตุ : บริษัทของสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงวันที่เริ่มต้นประกันภัยหากแผนประกันของท่านได้ให้ความคุ้มครองเรียบร้อยแล้ว แม้ว่าท่านจะยังไม่ได้เดินทางมายังประเทศไทย

ท่านสามารถยื่นคำร้องเพื่อขอเปลี่ยนแปลงวันที่เริ่มต้นประกันภัย หากวันเดินทางของท่านมีการเปลี่ยนแปลงที่นี่

ฉันสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่ายด้วยแผนประกันนี้ได้หรือไม่?

แผนประกันนี้อำนวยความสะดวกให้ความสะดวกผู้ถือกรมธรรม์ในเรื่องการรักษาพยาบาลโดยไม่ต้องสำรองจ่ายในกรณีผู้ป่วยในเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับการรักษาพยาบาลกรณีผู้ป่วยนอก ผู้เอาประกันจำเป็นต้องทำการสำรองจ่ายและเคลมค่ารักษาพยาบาลในภายหลัง อย่างไรก็ตามสำหรับการรักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยในสำหรับโรคที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) บริษัทจะพิจารณาเป็นกรณีไป

แผนประกันนี้ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลหรือไม่ หากฉันตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) โดยไม่แสดงอาการระหว่างการกักตัว?

แผนประกัน Luma Thailand Pass ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลที่ถือว่ามีความจำเป็นทางการแพทย์เท่านั้น

หากท่านมีการตรวจพบเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID – 19) โดยไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ตามมาตรการล่าสุดของกระทรวงสาธารณสุข ท่านไม่มีความจำเป็นต้องกักตัว

สำหรับค่าใช้จ่ายในการกักตัว (ค่าห้องพัก, สเปรย์แอลกอฮอล์ม, หน้ากากอนามัย และอื่น ๆ) จะไม่ได้รับการคุ้มครองจากแผนประกันภัยนี้ หากผู้ถือกรมธรรม์ที่ติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) โดยไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเพียงเล็กน้อยเลือกกักตัวที่โรงแรม ฮอสพิเทล หรือแยกผู้ป่วยด้วยตนเอง

อย่างไรก็ตามหากผู้ถือกรมธรรม์ที่ไม่มีอาการได้รับคำแนะนำและส่งต่อโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ (เช่น แพทย์ได้รับการรับรอง) โดยบังคับให้กักตัวในโรงพยาบาลหรือฮอสพิเทล กรมธรรม์จะครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการแยกผู้ป่วย

ฉันสามารถต่ออายุกรมธรรม์ได้หรือไม่?

สำหรับชาวต่างชาติที่ถือกรมธรรม์ Luma Thailand Pass ที่กำลังจะหมดอายุ ท่านสามารถต่ออายุกรมธรรม์ได้ในระหว่างที่ท่านอาศัยอยู่ในประเทศไทย ท่านสามารถต่ออายุกรมธรรม์อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีช่วงเว้นว่างได้ ทั้งนี้โปรดศึกษาความสอดคล้องของระยะเวลาในการคุ้มครองของกรมธรรม์ใหม่กับวีซ่าของท่าน

ในกรณีที่ท่านไม่ได้ซื้อกรมธรรม์รายปี ความคุ้มครองจะสิ้นสุดลงเมื่อท่านเดินทางออกจากประเทศไทย (Single Entry) ตามเงื่อนไขและข้อกำหนดของกรมธรรม์ สำหรับท่านที่ถือกรมธรรม์รายปีท่านสามารถเดินทางเข้าประเทศไทยกี่ครั้งก็ได้ (Multiple Entries)

หมายเหตุ :

1. กรมธรรม์ฉบับแรกจะเริ่มให้ความคุ้มครองเมื่อท่านผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเรียบร้อยแล้ว (ในวันที่เดินทางมาถึงประเทศไทย

2. สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ Phuket Sandbox ท่านสามารถเลือกซื้อความคุ้มครอง 30 วันหรือ 60 วัน อย่างไรก็ตามทางบริษัทของสงวนสิทธิ์ในการต่ออายุ

ระยะเวลาคุ้มครองใดที่ฉันควรเลือกซื้อ?

ระยะเวลาคุ้มครองของแผนประกันควรสอดคล้องกับระยะเวลาทั้งหมดที่ท่านตั้งใจจะพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นอย่างน้อย หากท่านมีความสงสัย ท่านสามารถตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวได้กับสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของท่าน

ฉันสามารถเปลี่ยนวันที่เริ่มต้นกรมธรรม์ได้หรือไม่?

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เดินทางเข้ามายังประเทศไทย ท่านสามารถเปลี่ยนแปลงวันที่เริ่มต้น กรมธรรม์ได้ก่อนวันที่กรมธรรม์คุ้มครองจะเริ่มต้น  โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรมธรรม์ยังไม่ได้เริ่มคุ้มครอง มิเช่นนั้นทางบริษัทอาจไม่สามารถการันตีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในหัวข้อ “สำหรับผู้ถือแผนประกัน Luma Thailand Pass” ซึ่งอยู่ในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์นี้

ฉันสามารถเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในหนังสือรับรองการประกันภัย (Certificate of Insurance/COI) ได้หรือไม่?

สำหรับผู้ที่ซื้อกรมธรรม์และยังไม่ได้เดินทางมายังประเทศไทย ท่านสามารถยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลใบรับรองการประกันภัย (COI)ได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในหัวข้อ “สำหรับผู้ถือแผนประกัน Luma Thailand Pass” ซึ่งอยู่ในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์นี้

การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดในหนังสือรับรองการประกันภัย (Certificate of Insurance/COI) มีค่าธรรมเนียมเท่าไหร่?

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เดินทางมายังประเทศไทย ท่านสามารถเปลี่ยนวันเริ่มต้นกรมธรรม์ได้ โดยไม่มีค่าธรรมเนียม โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่ากรมธรรม์ยังไม่ได้เริ่มคุ้มครอง มิเช่นนั้นทางบริษัทอาจไม่สามารถการันตีการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในหัวข้อ “สำหรับผู้ถือแผนประกัน Luma Thailand Pass” ซึ่งอยู่ในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์นี้

ฉันสามารถซื้อแผนประกัน Luma Thailand Pass ได้ในขณะที่ฉันอยู่ในประเทศไทยใช่หรือไม่?

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ไม่มีประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองในประเทศไทยสามารถซื้อแผนประกัน Luma Thailand Pass ได้ 

การสมัครประกันภัย

ฉันควรระบุที่อยู่ใดในการกรอกใบคำขอเอาประกันภัย?

สถานที่พักอาศัยของท่านระหว่างการพำนักอยู่ในประเทศไทย (ยกเว้น จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)

ถ้าฉันยังไม่มีวันเดินทางที่แน่นอน ฉันควรระบุวันที่เริ่มต้นกรมธรรม์อย่างไร?

ท่านสามารถระบุวันที่ล่วงหน้า หากท่านได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการเดินทางที่แน่ชัดแล้ว ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าวได้

‘ผู้รับผลประโยชน์’ หมายความว่าอย่างไร?

ผู้รับผลประโยชน์ หมายถึง บุคคลที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ว่าจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จากการเสียชีวิต เช่น คู่สมรส บิดา มารดา และบุตร

ฉันอายุมากกว่า 75 ปี ฉันสามารถซื้อแผนประกัน Luma Thailand Pass ได้หรือไม่?

สำหรับท่านที่มีอายุมากกว่า 75 ปี และมีความประสงค์จะซื้อประกัน Luma Thailand Pass กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราที่ [email protected] เพื่อแนะนำความคุ้มครองที่เหมาะสม

ฉันสามารถซื้อแผนประกัน Luma Thailand Pass ให้กับลูกของฉันที่มีอายุต่ำกว่า 1 ปีได้หรือไม่?

สำหรับท่านที่ต้องการซื้อแผนประกัน Luma Thailand Pass ให้แก่บุตรหลานที่อายุต่ำกว่า 1 ปี กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราที่ [email protected] เพื่อแนะนำความคุ้มครองที่เหมาะสม

การเข้าเมือง

โปรดทราบว่า Luma Thailand Pass เป็นแผนประกันการเดินทาง ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบลงทะเบียนแจ้งการเดินทางเข้าประเทศไทย (Thailand Pass) ของรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตามแผนประกันการเดินทาง Luma Thailand Pass สามารถใช้เพื่อลงทะเบียนในระบบดังกล่าวได้

หนังสือรับรองการประกันจะได้รับการยอมรับจากสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยใช่หรือไม่?

เราการันตีว่าสถานทูตและสถานกงสุลไทยจะยอมรับหนังสือรับรองการประกันภัย โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราเพื่อให้ความช่วยเหลือหากหนังสือรับรองการประกันภัยของท่านถูกปฏิเสธ

หากการขอวีซ่าของฉันถูกปฏิเสธจากสถานทูตไทย ฉันสามารถยกเลิกกรมธรรม์และขอคืนเงินได้หรือไม่?

ท่านสามารถยกเลิกกรมธรรม์และยื่นคำร้องขอคืนเงินได้ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำในหัวข้อ “สำหรับผู้ถือแผนประกัน Luma Thailand Pass” ซึ่งอยู่ในส่วนบนของหน้าเว็บไซต์นี้

ฉันสามารถลงทะเบียน Thailand Pass หรือรับหนังสือรับรองการเข้าประเทศ (Certificate of Entry/COE) ได้อย่างไร?

ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 หนังสือรับรองการเข้าประเทศถูกเปลี่ยนเป็น Thailand Pass พร้อมคิวอาร์โค้ด (QR Code) โดยท่านสามารถลงทะเบียนในระบบลงทะเบียนแจ้งการเดินทางเข้าประเทศไทยได้ที่เว็บไซต์อย่างเป็นทางการที่ https://tp.consular.go.th/ 

โปรดทราบว่า Luma Thailand Pass เป็นแผนประกันการเดินทาง ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องกับระบบลงทะเบียนแจ้งการเดินทางเข้าประเทศไทย (Thailand Pass) ของรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตามแผนประกันการเดินทาง Luma Thailand Pass สามารถใช้เพื่อลงทะเบียนในระบบดังกล่าวได้ที่ https://tp.consular.go.th/

ท่านสามารถตรวจสอบขั้นตอนและแนวทางการดำเนินการได้ที่สถานทูตหรือสถานกงสุลไทยในประเทศของท่าน

การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

ฉันสามารถติดต่อใครได้บ้างในกรณีฉุกเฉิน?

ท่านสามารถติดต่อ ทูนประกันภัย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 078 5625 หรือ 02 078 5621 หรือส่งอีเมลไปที่ [email protected] และโปรดสำเนาถึง [email protected] 

บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปยังบัญชีธนาคารภายในประเทศไทยหรือบัญชีธนาคารในต่างประเทศของผู้เอาประกันภัยได้หรือไม่?

บริษัทสามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้ทั้ง 2 กรณี โดยท่านสามารถส่งรายละเอียดต่อไปนี้ไปยังฝ่ายเคลมสินไหม

  • ชื่อบัญชี
  • เลขที่บัญชี
  • ที่อยู่ผู้เอาประกัน
  • เบอร์โทรศัพท์
  • ชื่อธนาคารและสาขา
  • ที่อยู่ธนาคาร
  • SWIFT Code
  • IBAN Code/ Routing Number (IBAN Code for European zone / Routing Number for American zone)
  • สกุลเงิน

You May Also Like

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ
สุขภาพ

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดคออาจเป็นภาวะที่สร้างความรำคาญและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากได้ โดยมีปัญหาการนอนหลับเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง การนอนในท่าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยบรรเทาอาการตึงบริเวณคอและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น บทความนี้จะเจาะลึกถึงท่านอนที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดคอ การทำความเข้าใจวิธีจัดแนวกระดูกสันหลังและรองรับคอที่ถูกต้องตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณตื่นขึ้นมารู้สึกสดชื่นและไม่ปวดคอ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนอนตะแคง นอนหงาย หรือคนที่พลิกตัวบ่อยๆ การหาท่านอนที่เหมาะก็ไม่ใช่เรื่องยาก ทำไมตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดคอ อาการปวดคอหลังตื่นนอนเป็นปัญหาที่พบโดยทั่วไปซึ่งมักมีสาเหตุมาจากท่าทางการนอนหลับที่ไม่ดี หมอนที่ไม่รองรับสรีระร่างกาย หรือผลข้างเคียงจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง …

โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สุขภาพ

ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) โรคข้ออักเสบเป็นคำอธิบายลักษณะความผิดปกติที่เกิดกับข้อต่อส่วนต่างๆ โดยประเภทของโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยได้แก่โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แม้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อเหมือนกัน แต่สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษานั้นแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยการทำลายเซลล์เยื่อหุ้มข้อต่อ …

ปวดไหล่
สุขภาพ

อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดไหล่หลังออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รักการออกกำลังกายรู้สึกเหนื่อยหน่ายและหมดแรง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์หรือเป็นมือใหม่ ก็มักจะต้องรับมือการอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่บ่อยๆ บทความนี้จะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ ของอาการปวดไหล่หลังการออกกำลังกาย โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดไหล่ ความแตกต่างระหว่างอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ การประเมินความรุนแรงของอาการ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อบรรเทาอาการปวด วิธีแก้อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกายอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงการออกกำลังกายผิดท่า การออกกำลังกายมากเกินไป หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ …