ประกันสุขภาพคืออะไร แตกต่างจากประกันแบบอื่นอย่างไร

ปัจจุบันมีหลายปัจจัยที่ทำให้สุขภาพของทุกคนแย่ลงทั้งเรื่องมลพิษ โรคอุบัติใหม่ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต ซึ่งแต่ละครั้งเมื่อเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงอยู่พอสมควร จะดีกว่าหรือไม่หากคุณเลือกทำ “ประกันสุขภาพ” ให้กับตนเองและคนที่รักเพื่อเซฟเงินตรงจุดนี้ ซึ่งใครที่ยังสงสัยว่าประกันประเภทดังกล่าวแตกต่างจากประกันชนิดอื่นอย่างไร มีคำตอบมาบอกแล้ว 

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับประกันสุขภาพ 

ก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ อยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมดของประกันประเภทนี้เพื่อให้สามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง ตรงกับความต้องการของตนเอง ไม่รู้สึกเสียดายเงินจากการจ่ายออกไปในแต่ละครั้ง 

ประกันสุขภาพ คืออะไร 

ประกันสุขภาพ คือ รูปแบบของการทำประกันโดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคต่าง ๆ แล้วต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งการเจ็บป่วยด้วยตัวโรคหรือจากอุบัติเหตุ รวมค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) ผู้ป่วยนอก (OPD) และยังอาจครอบคลุมถึงค่าชดเชยหลายรูปแบบ เช่น ค่าชดเชยรายได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ผู้เอาประกันได้ทำไว้ด้วย  

ประกันสุขภาพคือ

ประกันสุขภาพ มีกี่ประเภท 

ปัจจุบันการทำประกันสุขภาพจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ตามลักษณะของการรับประกันของบริษัท ได้แก่ 

  1. ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม

หรือประกันกลุ่ม หมายถึง ลักษณะของการทำประกันที่เจ้าของธุรกิจมักทำเอาไว้ให้กับพนักงานของตนเองเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการให้กับบุคลากรในองค์กรกรณีเจ็บป่วยหรืออื่น ๆ ตามเงื่อนไขที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองแบบเดียวกันทั้งหมดขึ้นอยู่กับประเภทของประกันที่เลือก จุดเด่นสำคัญคือจะใช้วิธีคำนวณเบี้ยประกันเฉลี่ยเป็นอัตราเดียวกันทั้งหมด ค่าใช้จ่ายต่อคนจึงถูก อย่างไรก็ตามการรักษาอาจไม่ได้ครอบคลุมหรือเจาะจงโรคมากนัก 

  1. ประกันสุขภาพรายเดี่ยว

หรือบางคนจะเรียก ประกันสุขภาพส่วนบุคคลก็ได้เช่นกัน เป็นลักษณะของตัวบุคคลซื้อประกันเพื่อคุ้มครองด้านสุขภาพให้กับคน ๆ เดียว สามารถเลือกประเภท ข้อกำหนดที่เหมาะสมกับตัวผู้เอาประกันได้ (แต่ขึ้นอยู่กับทางบริษัทประกันจะอนุมัติด้วยหรือไม่) จุดเด่นย่อมหนีไม่พ้นความครอบคลุมในการรักษาที่มักตรงกับความเสี่ยงการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นกับบุคคลนั้น ๆ ทว่าค่าเบี้ยประกันมักสูงขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น เพศ อายุ ความเสี่ยงของการใช้ชีวิต  

ซึ่งความคุ้มครองของประกันสุขภาพจะแบ่งออกตามเงื่อนไขของแต่ละกรมธรรม์ได้ระบุเอาไว้ ซึ่งบางกรมธรรม์อาจครอบคลุมมากกว่า 1 รูปแบบได้ ดังนี้ 

  • คุ้มครองการเป็นผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับการเจ็บป่วยต้องรักษาในโรงพยาบาลนานกว่า 6 ชั่วโมง ตั้งแต่การปรึกษาแพทย์ ค่ายา ค่าห้อง ค่าตรวจรักษา ค่าอาหาร ค่ารถพยาบาล และอื่น ๆ ซึ่งวงเงินคุ้มครองมักสูงจึงมีค่าเบี้ยประกันสูงตามไปด้วย 
  • คุ้มครองการเป็นผู้ป่วยนอก (OPD) มักใช้กับการเจ็บป่วยเล็กน้อย ไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาล เช่น ไข้หวัด อาหารเป็นพิษ  
  • คุ้มครองโรคร้ายแรง (ECIR) ส่วนใหญ่มักเป็นความคุ้มครองเพิ่มเติม ให้ความครอบคลุมด้านค่าใช้จ่ายเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคร้าย เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองตีบ / แตก โรคไต ฯลฯ เบี้ยประกันจะสูงเพราะโรคเหล่านี้ใช้เวลารักษานานและค่ารักษาสูง 
  • ชดเชยรายได้ (HIP) หากต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลประกันชนิดนี้จะคุ้มครองเป็นตัวเงินจากการขาดรายได้ของผู้เอาประกัน แต่จะไม่เกี่ยวข้องกับค่ารักษาใด ๆ 
ประกันมีกี่แบบ

ประกันสุขภาพ ยังจำเป็นอยู่หรือไม่? 

ขอยืนยันตรงนี้ว่า “ประกันสุขภาพ” ยังคงเป็นสิ่ง “จำเป็น” สำหรับทุกคน เหตุเพราะอย่างที่เกริ่นไปว่าปัจจุบันมีปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ง่าย และค่ารักษาพยาบาลก็สูงขึ้นตามค่าครองชีพ การทำประกันประเภทนี้หากเทียบระหว่างเบี้ยประกันที่จ่ายกับความคุ้มครองถือว่าแตกต่างกันมาก เช่น บางฉบับเบี้ยประกันประมาณ 20,000 บาท / ปี แต่ให้ความคุ้มครองสูงสุด 5 แสนบาท เป็นต้น 

บางคนอาจมองว่าตนเองมีประกันสังคมอยู่แล้ว แต่เมื่อเจาะลึกในรายละเอียดการดูแลรักษาเมื่อเจ็บป่วยด้วยบางโรคจำนวนเงินที่ประกันสังคมจ่ายถือว่าน้อยมากและแทบไม่เพียงพอกับการรักษาด้วยซ้ำ ดังนั้นหากคุณรู้ว่าตนเองอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยเรื่องไหน การมีประกันสุขภาพย่อมสบายใจด้านค่าใช้จ่ายมากกว่าแน่นอน 

ประกันสุขภาพ แตกต่างจากประกันประเภทอื่นอย่างไร 

เมื่อเข้าใจข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับประกันสุขภาพกันเรียบร้อย คราวนี้ก็อยากพาทุกคนมาเรียนรู้ถึงข้อแตกต่างกับประกันประเภทอื่นอย่างไร รวมถึงแตกต่างกับประกันชีวิตมากน้อยแค่ไหน ตอนกำลังวางแผนซื้อจะได้ไม่ต้องคิดมากหรือเสียเงินเยอะเกินเหตุ 

ประกันอุบัติเหตุ 

ประกันอุบัติเหตุ หรือ PA คือ ลักษณะของประกันที่จะให้ความคุ้มครองเฉพาะเมื่อผู้เอาประกันเกิดอุบัติเหตุไม่ว่าจะเป็นการบาดเจ็บเล็กน้อย ไปจนถึงการรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่าผ่าตัดและหัตถการ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นอันเกิดจากการที่ผู้เอาประกันประสบโดยมีสาเหตุจากอุบัติเหตุ รวมถึงเงินชดเชยกรณี สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพและเสียชีวิต ซึ่งบางแผนประกันอาจมีค่าชดเชยรายได้ให้ด้วย ข้อแตกต่างจากประกันสุขภาพคือ จะไม่ให้ความคุ้มครองหากผู้เอาประกันต้องรักษาตัวกับโรงพยาบาลเนื่องจากเจ็บป่วยด้วยตัวโรคเอง 

ประกันชีวิต 

ประกันชีวิต คือ ลักษณะของการได้รับเงินชดเชยเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ทุพลลภาพถาวร หรือชราภาพครบตามจำนวนอายุที่กำหนดไว้ บริษัทประกันจะเป็นผู้สั่งจ่ายให้กับผู้เอาประกัน หรือผู้รับผลประโยชน์ที่ระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ (กรณีเสียชีวิต) บางกรณีอาจจ่ายเป็นกองมรดกหรือจ่ายให้ทายาทของตัวผู้เอาประกันหากไม่ได้มีการระบุข้อมูลผู้รับประโยชน์ หรือเป็นความประสงค์ของผู้เอาประกันเอง มีความแตกต่างจากประกันสุขภาพคือจะไม่ได้ครอบคลุมค่าดูแลรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย ทั้งนี้ยังแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ได้แก่ 

ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (ระยะสั้น) 

บางคนจะเรียกประกันแบบ Term มีระยะเวลาการคุ้มครองสั้นประมาณ 10-20 ปี เลือกระยะเวลาในการจ่ายเบี้ยประกันหรือระยะเวลาในการให้ความคุ้มครองได้ จะรับเงินต่อเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่ระบุโดยบริษัทประกันจ่ายให้กับผู้รับผลประโยชน์ ค่าเบี้ยประกันชีวิตประเภทนี้มักถูกแต่เป็นลักษณะจ่ายทิ้งไม่เกิดมูลค่าเงินสดใด ๆ ในกรมธรรม์ เหมาะกับคนที่เป็นหัวหน้าครอบครัว มีภาระหน้าที่เยอะต้องมีหลักประกันไว้หากเกิดเรื่องไม่คาดฝัน หรือต้องการใช้เพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (ระยะยาว) 

ถือเป็นประเภทของประกันชีวิตที่ได้รับความนิยมมากสุดโดยผู้เอาประกันภัยจะจ่ายเบี้ยประกันเพียงระยะเวลาที่กำหนดไว้ เช่น 10 ปี 20 ปี หรือใช้อายุของตนเองเป็นการกำหนด เช่น จ่ายถึงอายุ 50 ปี ข้อดีคือจะได้รับการคุ้มครองตลอดชีวิต มีเบี้ยคงที่ หากยังมีชีวิตอยู่จนครบตามอายุหรือกรณีทุพพลภาพตามที่กรมธรรม์ระบุก็ได้เงินก้อนใหญ่ แต่ถ้าเสียชีวิตผู้รับผลประโยชน์ก็ได้เงินส่วนนี้แทน เหมาะกับทุกคนอยากมีเงินก้อนไว้ให้คนข้างหลัง หรือใช้ในยามชราภาพ รวมถึงยังใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย 

ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ 

เป็นลักษณะของประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองรวมถึงยังเป็นการออมเงินไปในตัวด้วย จะมีเงินคืนให้กับผู้เอาประกันภัยระหว่างอายุสัญญาและเมื่อครบกำหนดสัญญา เช่น 5 ปี 8 ปี 10 ปี จุดเด่นคืออัตราดอกเบี้ยคงที่ มีเงินคืนกลับมาให้แม้ยังไม่เสียชีวิต เหมาะกับคนที่ต้องการสร้างวินัยให้กับตนเองเพื่อออมเงิน หรืออยากลงทุนได้กำไรจากดอกเบี้ยเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ไม่ค่อยกล้าเสี่ยงมากนัก  

ประกันกลุ่ม 

ประกันกลุ่ม คือ รูปแบบที่ผู้เอาประกันทำประกันฉบับเดียวเอาไว้ให้กับคนจำนวนมาก เช่น เจ้าของบริษัททำให้พนักงาน มักเป็นสวัสดิการเพิ่มเติม ทุกคนจะได้รับความคุ้มครองแบบเดียวกันหมด มีการออกกรมธรรม์ประกันภัยหลักเพียงแค่ฉบับเดียวให้กับผู้ซื้อ ค่าเบี้ยประกันต่ำ และมีหลายรูปแบบให้เลือกไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิตแบบกลุ่ม ประกันอุบัติเหตุแบบกลุ่ม ประกันทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิงแบบกลุ่ม รวมถึงประกันสุขภาพแบบกลุ่มด้วย 

สรุป 

นี่คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับประกันสุขภาพที่หยิบมาฝากทุกคนให้วางแผน ศึกษาข้อมูล และตัดสินใจซื้อกันง่ายขึ้นกว่าเดิม จะเห็นว่าแตกต่างจากประกันอุบัติเหตุ ประกันชีวิต รวมถึงประกันกลุ่มอยู่พอสมควร หลังอ่านจบแล้วหากคุณสนใจทำประกันสุขภาพ ขอแนะนำประกันดี ๆ จาก LUMA มีหลายรูปแบบให้เลือกตั้งแต่ประกันสุขภาพเด็ก ประกันสุขภาพครอบครัว ประกันค่าคลอดบุตร ประกันชดเชยรายได้ ประกันคุ้มครองโรคเบาหวาน แผนประกันตามใจคุณ Hi5 และ PRIME ตอบโจทย์ทุกคน สบายใจเรื่องเงินทองเมื่อเจ็บป่วยทุกกรณี เข้าโรงพยาบาลในเครือไม่ต้องสำรองจ่ายด้วย  

You May Also Like

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ
สุขภาพ

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดคออาจเป็นภาวะที่สร้างความรำคาญและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากได้ โดยมีปัญหาการนอนหลับเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง การนอนในท่าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยบรรเทาอาการตึงบริเวณคอและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น บทความนี้จะเจาะลึกถึงท่านอนที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดคอ การทำความเข้าใจวิธีจัดแนวกระดูกสันหลังและรองรับคอที่ถูกต้องตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณตื่นขึ้นมารู้สึกสดชื่นและไม่ปวดคอ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนอนตะแคง นอนหงาย หรือคนที่พลิกตัวบ่อยๆ การหาท่านอนที่เหมาะก็ไม่ใช่เรื่องยาก ทำไมตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดคอ อาการปวดคอหลังตื่นนอนเป็นปัญหาที่พบโดยทั่วไปซึ่งมักมีสาเหตุมาจากท่าทางการนอนหลับที่ไม่ดี หมอนที่ไม่รองรับสรีระร่างกาย หรือผลข้างเคียงจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง …

โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สุขภาพ

ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) โรคข้ออักเสบเป็นคำอธิบายลักษณะความผิดปกติที่เกิดกับข้อต่อส่วนต่างๆ โดยประเภทของโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยได้แก่โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แม้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อเหมือนกัน แต่สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษานั้นแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยการทำลายเซลล์เยื่อหุ้มข้อต่อ …

ปวดไหล่
สุขภาพ

อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดไหล่หลังออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รักการออกกำลังกายรู้สึกเหนื่อยหน่ายและหมดแรง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์หรือเป็นมือใหม่ ก็มักจะต้องรับมือการอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่บ่อยๆ บทความนี้จะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ ของอาการปวดไหล่หลังการออกกำลังกาย โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดไหล่ ความแตกต่างระหว่างอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ การประเมินความรุนแรงของอาการ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อบรรเทาอาการปวด วิธีแก้อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกายอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงการออกกำลังกายผิดท่า การออกกำลังกายมากเกินไป หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ …