อัพเดทล่าสุด!! 2023 ขอวีซ่าเชงเก้น เข้าได้กี่ประเทศ

ปัจจุบันการเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนไทยเป็นอย่างมาก แต่การจะเดินทางเข้าประเทศใดประเทศหนึ่งนั้น มีหลายปัจจัยที่แตกต่างกันไป หากเป็นการท่องเที่ยวแถบประเทศเพื่อนบ้าน หรือบางประเทศที่มีข้อยกเว้นพิเศษ ให้สามารถเดินทางเข้าประเทศได้เลยโดยไม่ต้องขอวีซ่า เพียงแค่มีพาสปอร์ตก็พอแล้วก็เป็นเรื่องง่าย แต่สำหรับการเดินทางไปเที่ยวประเทศแถบยุโรป ยังจำเป็นต้องขอวีซ่าหรือใบอนุญาตเข้าประเทศก่อน แต่ก็มีความสะดวกมากขึ้นกว่าเดิม เพราะเราสามารถขอวีซ่าเชงเก้น หรือ Schengen Visa ได้แล้ว วีซ่าเชงเก้นจะช่วยให้เราเดินทางเข้าประเทศต่าง ๆ ในยุโรปที่เข้าร่วมกลุ่มเชงเก้นได้อย่างสะดวกสบาย วันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากกันกับ อัพเดทล่าสุด!! 2023  ขอวีซ่าแชงเก้น เข้าได้กี่ประเทศ

travel plan

วีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) คืออะไร ใช้ประโยชน์อย่างไร

วีซ่าเชงเก้น คือ ใบอนุญาตเข้าเมืองที่ทำให้เราสามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศต่าง ๆ ในโซนทวีปยุโรป ได้สะดวกรวดเร็ว เพราะการเดินทางไปเที่ยวยุโรปในแต่ละครั้ง เราอาจจะเดินทางไปหลายประเทศ หากต้องขอวีซ่าทุก ๆ ประเทศเหมือนในอดีต ก็เป็นเรื่องยุ่งยากมาก สำหรับการทำวีซ่าเชงเก้นสามารถทำเพียงครั้งเดียว ก็ใช้เดินทางไปยังกลุ่มประเทศยุโรปได้มากมาย โดยวีซ่าชนิดนี้จะมีอายุใช้งานไม่เกิน 90 วัน ในการเดินทางเข้าประเทศในกลุ่มเชงเก้นทั้งหมด หากเดินทางไปหลายประเทศ ให้ยื่นขอวีซ่ากับประเทศที่จะเดินทางไปเป็นประเทศแรก

รู้จักที่มาของวีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa)

ที่มาของวีซ่าเชงเก้นเกิดขึ้นจากการทำข้อตกลงร่วมกัน ของประเทศในกลุ่มสมาชิกสหภาพยุโรป (EU – European Union) และยังรวมไปถึงประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกอีกหลาย ๆ ประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนสามารถเดินทางข้ามประเทศ เพื่อไปมาหาสู่กันได้โดยไม่ต้องขอวีซ่าเป็นรายประเทศ ซึ่งมติที่ประชุมร่วมครั้งนี้ได้มีขึ้นครั้งแรก ณ เมืองเชงเก้น ประเทศลักเซมเบิร์ก จนกลายเป็นที่มาของคำว่า วีซ่าเชงเก้นนั่นเอง

อัพเดทล่าสุด 2023 กลุ่มประเทศวีซ่าเชงเก้น มีประเทศอะไรบ้าง

  • ฝรั่งเศส (France)
  • เยอรมนี (Germany)
  • เดนมาร์ก (Denmark)
  • อิตาลี (Italy)
  • ฮังการี (Hungary)
  • กรีซ (Greece)
  • สวีเดน (Sweden)
  • สเปน (Spain)
  • ออสเตรีย (Austria)
  • เบลเยี่ยม (Belgium)
  • เอสโทเนีย (Estonia)
  • สโลวัก (Slovakia)
  • สโลวีเนีย (Slovenia)
  • โปรตุเกส (Portugal)
  • โปแลนด์ (Poland)
  • เนเธอร์แลนด์ (Netherlands)
  • ฟินแลนด์ (Finland)
  • แลตเวีย (Latvia)
  • ลิธัวเนีย (Lithuania)
  • สาธารณรัฐเชก (Czech)
  • ลักเซมเบิร์ก (Luxembourg)
  • มอลตา (Malta)
  • โครเอเชีย (Croatia)

และยังมีประเทศที่ไม่ได้รวมอยู่ในกลุ่มประเทศ EU แต่เป็นสมาชิกกลุ่มสมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) ที่เข้าร่วมด้วยอีก 4 ประเทศ ด้วยกัน คือ

  • สวิตเซอร์แลนด์ (Switzerland)
  • นอร์เวย์ (Norway)
  • ไอซ์แลนด์ (Iceland)
  • ลิกเตนสไตน์ (Liechtenstein)

และยังครอบคลุมไปถึงรัฐในยุโรปอีก 3 รัฐ ที่ไม่ได้เป็นประเทศกลุ่มสมาชิก EU แต่ถูกล้อมรอบด้วยประเทศยุโรป จึงเป็นส่วนหนึ่งของเขตเชงเก้นไปด้วยเช่นเดียวกัน คือ รัฐโมนาโก ซานมาริโน และนครวาติกัน

travel preparation

สิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมเพื่อแสดง สำหรับการเดินทางท่องเที่ยว

การเดินทางไปยังต่างประเทศนั้นในสถานการณ์โรคระบาดที่ยังเพียงแค่เบาบางลง ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางท่องเที่ยว หรือเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์ใดก็ตาม แนะนำให้ศึกษารายละเอียดของประเทศจุดหมายปลายทางให้ชัดเจนว่า แต่ละประเทศมีข้อจำกัดอะไรบ้าง โดยสามารถหาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของสถานทูตประเทศนั้น ๆ หรือจากเว็บไซต์กระทรวงการต่างประเทศของไทย สำหรับสิ่งที่ต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเดินทางมีดังนี้

  • หนังสือเดินทาง (Passport) ที่มีอายุคงเหลือมากกว่า 6 เดือน
  • วีซ่าเชงเก้น หรือใบอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ
  • ประกันการเดินทางต่างประเทศ ความคุ้มครอง 1,500,000 บาท 

 

ความสำคัญของประกันการเดินทางกับการขอวีซ่าเชงเก้น

สำหรับบางประเทศ ได้ระบุการทำประกันการเดินทางไว้ ในเงื่อนไขการขอวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยว การทำประกันการเดินทางจึงมีความจำเป็นต้องทำ เพราะหากไม่ทำก็อาจโดนปฏิเสธการขอวีซ่าเข้าประเทศได้ กลุ่มประเทศที่ต้องทำประกันการเดินทาง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศโซนยุโรป เช่น นอร์เวย์ สวีเดน เบลเยี่ยม ออสเตรีย ไอซ์แลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก โปรตุเกส กรีซ เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส อิตาลี ลักแซมเบิร์ก สเปน และอิตาลี

ทาง Luma เอง มีประกันเดินทางสำหรับไปยุโรป เหมาะสำหรับการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น (Schengen Visa) ด้วยความคุ้มครอง 1,500,000 บาท คุ้มครองทั้งการเดินทางไปประเทศในกลุ่มเชงเก้น และประเทศในสหภาพยุโรป รวมถึงสหราชอาณาจักร ยอมรับโดย สถานทูตฯ ทั่วโลก โดยมีให้เลือกทั้งแบบรายเที่ยวและรายปี สามารถสมัครเองได้ง่าย  ๆ ผ่านทางออนไลน์ และรอรับหนังสือรับรองประกันภัยผ่านอีเมลได้เลย 

แต่ไม่ว่าอย่างไร การทำประกันการเดินทางก็ถือเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับคนที่คิดจะเดินทางไปต่างประเทศ เพราะส่วนใหญ่แล้วจะให้ความคุ้มครองครอบคลุมความเสี่ยง และความจำเป็นในหลาย ๆ ด้าน เช่น คุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะ คุ้มครองหากกระเป๋าเดินทางทรัพย์สินหรือเอกสารเดินทางสูญหาย ความล่าช้าของกระเป๋าเดินทางคุ้มครองกรณีเที่ยวบินดีเลย์ หรือถูกยกเลิก หยุดชะงักการเดินทาง หรือความล่าช้าของเที่ยวบิน คุ้มครองค่าใช้จ่ายกรณีรักษาพยาบาลฉุกเฉิน เป็นต้น การทำประกันการเดินทางจะทำให้เกิดความสบายใจ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันนั่นเอง

ใครที่กำลังวางแผนจะเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยเฉพาะในโซนกลุ่มประเทศยุโรป ควรเตรียมตัวให้พร้อมมากที่สุด หลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย หลาย ๆ ประเทศก็เริ่มทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวกันอย่างคึกคักต่อเนื่อง ที่สำคัญต้องศึกษาข้อมูล รายละเอียดต่าง ๆ ให้รอบคอบชัดเจน เพราะการเดินทางเข้าประเทศหลังจากนี้ อาจจะมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่เพิ่มมากขึ้น และควรต้องดูแลระมัดระวังเรื่องสุขภาพในระหว่างการเดินทางให้เป็นอย่างดี

You May Also Like

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …

HPV คือ
สุขภาพ

HPV คืออะไร อาการ เป็นอย่างไร ควรทำความเข้าใจให้ดี

เรื่องสุขภาพ ยิ่งรู้ก็มากยิ่งดี และถ้ายิ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับโรค HPV (Human Papillomavirus) การรู้จักและทำความเข้าใจไวรัสชนิดนี้ที่พบได้อย่างแพร่หลาย ก็อาจเปลี่ยนชีวิตคุณได้เช่นกัน HPV เป็นไวรัสที่พบได้ทั่วไปมีมากกว่า 100 ชนิด และอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพได้หลายอย่าง ตั้งแต่หูดไปจนถึงมะเร็ง ในบทความนี้ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับเชื้อ HPV ทั้งการแพร่เชื้อ ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน …