วางแผนทั้งสุขภาพและการเงินด้วยประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี

หลาย ๆ คนมักจะตั้งคำถามเกี่ยวกับการทำประกันสุขภาพว่า ทำไมต้องทำ จำเป็นต้องทำหรือเปล่า? หรือหากทำแล้วดีจริง ๆ หรือไม่? หรือบางคนก็คิดว่า ในแต่ละวันใช้ชีวิตปกติ เช้าไปทำงาน เย็นกลับบ้าน หรือนั่งทำงานในออฟฟิศไม่ได้มีความเสี่ยงอะไร ไม่เห็นจำเป็นต้องทำประกันสุขภาพเลย แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น การใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันถือว่ามีความเสี่ยงอยู่รอบด้านไปหมด ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ มลภาวะต่าง ๆ หรือแม้แต่อาหารการกิน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่กระทบต่อพฤติกรรมการใช้ชีวิตเราแทบทั้งหมด ส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว หนักเข้าก็กลายเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกินจะแบกไหว นี่จึงเป็นเหตุผลหลักว่า ทำไมการทำประกันสุขภาพถึงเป็นเรื่องจำเป็น อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่หลายคนยังไม่รู้ คือ ทำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย รายละเอียดเป็นอย่างไรติดตามได้ในบทความนี้

ทำความรู้จักประกันสุขภาพก่อนนำไปลดหย่อนภาษี

ประกันสุขภาพคืออะไร

ประกันสุขภาพ (Health Insurance) คือการที่บริษัทประกันภัยตกลงที่จะชดเชยค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลให้แก่ผู้เอาประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยเเงื่อนไขของการชำระค่ารักษาพยาบาล ความคุ้มครองว่าครอบคลุมส่วนไหนบ้างจะขึ้นอยู่กับแผนประกันสุขภาพที่เราเลือกซื้อ การประกันสุขภาพแยกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ดังนี้

ประกันสุขภาพบุคคล (Individual Health Insurance) ประกันประเภทนี้ เป็นการเลือกทำประกันเพื่อเลือกความคุ้มครองตามความต้องการส่วนตัว หรือตามลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นของแต่ละคน โดยจะมีการคำนวณเบี้ยประกันจากเพศ อายุ อาชีพ สุขภาพ และการดำเนินชีวิตชีวิตของผู้ทำประกัน

ประกันสุขภาพแบบกลุ่ม (Group Health Insurance) ประกันประเภทนี้ ส่วนใหญ่จะทำโดยบริษัทหรือองค์กร เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับพนักงาน ซึ่งจะครอบคลุมมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับการเลือกความคุ้มครองของแต่ละบริษัท หรือองค์กรนั้น ๆ และมักจะมีเบี้ยประกันต่ำ เพราะคำนวณค่าเฉลี่ยมาเป็นอัตราเดียวกันทั้งหมด

ซึ่งประกันสุขภาพทั้งแบบบุคคลและแบบกลุ่มประกอบด้วยความคุ้มครอง 7 หมวดที่เหมือนกัน ได้แก่

  1. 1. ค่าใช้จ่ายสำหรับค่าห้องและค่าอาหาร ค่าบริการทั่วไป และค่าใช้จ่ายกรณีมีการรักษาพยาบาลฉุกเฉินหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
  2. 2. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการผ่าตัด ค่าปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการผ่าตัด
  3. 3. ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการให้แพทย์มาดูแล
  4. 4. ค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษาที่คลินิก หรือแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล
  5. 5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร
  6. 6. ค่าใช้จ่ายในการรักษาฟัน
  7. 7. การชดเชยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการบริการโดยพยาบาลพิเศษขณะอยู่ในโรงพยาบาล หรือที่บ้านภายหลังจากการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามคำสั่งของแพทย์

โดยเมื่อผู้เอาประกันภัยเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล ผู้เอาประกันจะได้รับผลประโยชน์เบื้องต้น ดังนี้

ผลประโยชน์สำหรับกรณีป่วยใน (In-patient Department : IPD)
คือความคุ้มครองในกรณีที่แพทย์ผู้ทำการรักษาวินิจฉัยว่าผู้เอาประกันภัยต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเงื่อนไขจะต้องมีการพักรักษาตัวต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง รวมทั้งหากเสียชีวิตต้องอยู่ภายใน 6 ชั่วโมงด้วย กรณีนี้ประกันจะคุ้มครองค่าใช้จ่าย เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัดฉุกเฉิน ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าห้องพัก ค่าอาหาร ค่ารถพยาบาล ค่าบริการอื่น ๆ

ผลประโยชน์สำหรับกรณีผู้ป่วยนอก (Out-patient Department : OPD) คือความคุ้มครองในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล รักษาเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย เช่น ปวดหัวตัวร้อน เป็นไข้หวัด ปวดท้อง กรณีนี้ประกันจะคุ้มครองค่ารักษาพยาบาล ค่ายา ค่าปรึกษาแพทย์ ค่าเวชภัณฑ์ ซึ่งผลประโยชน์ส่วนอาจรวมอยู่ในแผนประกันภัยแล้ว หรือสามารถเลือกซื้อเพิ่มเติมได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันภัย

เบี้ยประกันสุขภาพกับการหักลดหย่อนภาษี ดีอย่างไร

สำหรับเงื่อนไขประกันลดหย่อนภาษีนั้น ตามกฎหมายได้กำหนดให้ทุกคนที่ทำประกันสุขภาพ สามารถใช้สิทธิ์เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีได้โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้เอาประกันสามารถนำประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี ไปหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท
  • ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 172 สามารถนำไปลดหย่อนร่วมกับประกันชีวิตได้
    แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • ต้องเป็นเบี้ยประกันสุขภาพที่ทำกับบริษัทที่ประกอบกิจการในประเทศไทยเท่านั้น
ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษีได้อย่างไร

เบี้ยประกันสุขภาพประเภทใดบ้างใช้หักลดหย่อนภาษีได้

จากการที่กฎหมายได้กำหนดให้ผู้ที่ทำประกันสุขภาพ สามารถใช้จำนวนเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีไปขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้ประจำปีได้นั้น ประกันลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ มีประเภทเบี้ยประกันแบบไหน รวมทั้งรายละเอียดและเงื่อนไขจำนวนเงินที่หักลดหย่อนได้ ดังนี้

1. เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง

เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง จะสามารถนำจำนวนเบี้ยประกันสุขภาพไปลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับการจำนวนเบี้ยประกันชีวิต ไม่เกิน 100,000 บาท หรือหากมีการทำประกันชีวิตแบบบำนาญ ก็สามารถนำไปรวมหักลดหย่อนภาษีได้อีกไม่เกิน 215,000 บาท

2. เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาและคู่สมรส

สำหรับเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาและคู่สมรสนั้น ก็สามารถนำจำนวนเบี้ยประกันลดหย่อนภาษีได้เช่นกัน โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้คนละไม่เกิน 15,000 บาท แต่อยู่ภายใต้เงื่อนไขรายได้ของพ่อและแม่ต้องไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และในกรณีคู่สมรสต้องเป็นผู้ไม่มีเงินได้ จึงจะสามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 15,000 บาททั้งนี้

สรุป

ประกันสุขภาพนอกจากจะเป็นตัวเลือกที่ดีในการวางแผนรับมือกับสถานการณ์เจ็บป่วยแล้ว ประกันสุขภาพยังเป็นทางเลือกในการวางแผนการเงินที่คุ้มค่าเป็นอย่างมาก เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยให้คุณไม่ต้องคอยกังวลกับค่ารักษาพยาบาลแสนแพงไม่ว่าจะเป็นจากโรคทั่วไป โรคร้ายต้องผ่าตัด หรือเจ็บหนักขนาดไหนก็ตาม และยังสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ทั้งของตนเองและของคนในครอบครัวอีกด้วย

สำหรับใครที่กำลังมองหาซื้อประกันสุขภาพดี ๆ คุ้มครองครบครัน ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมดูแลให้คุณใช้ชีวิตอย่างไร้ความกังวล Luma ที่มีแผนประกันรองรับหลากหลายครบตอบโจทย์ทุกความต้องการ ช่วยให้การทำประกันเป็นเรื่องง่ายด้วยเบี้ยประกันสุขภาพที่คุ้มค่าให้คุณอุ่นใจ ไร้กังวล และสนุกไปกับการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

You May Also Like

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ
สุขภาพ

นอนอย่างไรไม่ให้ปวดคอ

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดคออาจเป็นภาวะที่สร้างความรำคาญและทำให้การใช้ชีวิตประจำวันลำบากได้ โดยมีปัญหาการนอนหลับเป็นปัจจัยที่ทำให้อาการแย่ลง การนอนในท่าที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากช่วยบรรเทาอาการตึงบริเวณคอและช่วยให้นอนหลับสบายขึ้น บทความนี้จะเจาะลึกถึงท่านอนที่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดคอ การทำความเข้าใจวิธีจัดแนวกระดูกสันหลังและรองรับคอที่ถูกต้องตลอดทั้งคืนจะทำให้คุณตื่นขึ้นมารู้สึกสดชื่นและไม่ปวดคอ ไม่ว่าคุณจะเป็นคนนอนตะแคง นอนหงาย หรือคนที่พลิกตัวบ่อยๆ การหาท่านอนที่เหมาะก็ไม่ใช่เรื่องยาก ทำไมตื่นนอนแล้วรู้สึกปวดคอ อาการปวดคอหลังตื่นนอนเป็นปัญหาที่พบโดยทั่วไปซึ่งมักมีสาเหตุมาจากท่าทางการนอนหลับที่ไม่ดี หมอนที่ไม่รองรับสรีระร่างกาย หรือผลข้างเคียงจากปัญหาสุขภาพบางอย่าง …

โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
สุขภาพ

ความแตกต่างระหว่างโรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) โรคข้ออักเสบเป็นคำอธิบายลักษณะความผิดปกติที่เกิดกับข้อต่อส่วนต่างๆ โดยประเภทของโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยได้แก่โรคข้อเสื่อมและโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ แม้ว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับข้อต่อเหมือนกัน แต่สาเหตุ ความรุนแรง และการรักษานั้นแตกต่างกัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เมื่อภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง  โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (RA) เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติไปจากเดิม โดยการทำลายเซลล์เยื่อหุ้มข้อต่อ …

ปวดไหล่
สุขภาพ

อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย

เนื้อหาบทความนี้ นำเสนอโดย Bangkok Physio Center (BPC) อาการปวดไหล่หลังออกกำลังกายอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้รักการออกกำลังกายรู้สึกเหนื่อยหน่ายและหมดแรง ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬาที่มีประสบการณ์หรือเป็นมือใหม่ ก็มักจะต้องรับมือการอาการเจ็บกล้ามเนื้อหลังออกกำลังกายอยู่บ่อยๆ บทความนี้จะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ ของอาการปวดไหล่หลังการออกกำลังกาย โดยให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสาเหตุของอาการปวดไหล่ ความแตกต่างระหว่างอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ การประเมินความรุนแรงของอาการ และการรักษาที่มีประสิทธิภาพเพื่อบรรเทาอาการปวด วิธีแก้อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกาย อาการปวดหัวไหล่หลังออกกำลังกายอาจเกิดจากหลายปัจจัย รวมถึงการออกกำลังกายผิดท่า การออกกำลังกายมากเกินไป หรือความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ …