ไขข้อสงสัย กัญชาทางการแพทย์ (Cannabis Based Medicine) คืออะไร?

การใช้สารสกัดจากกัญชาเพื่อรักษาผู้ป่วย (Cannabis Based Medicine) นั้นมีมานานแล้ว แต่หลังจากที่พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 อนุญาตให้ใช้กัญชาทางการแพทย์ได้อย่างเป็นทางการ ตลอดมาจนถึงฉบับร่างล่าสุดนี้ จากร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ปลดล็อกกัญชา กัญชง พ้นจากยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะทำให้การใช้กัญชาทางการแพทย์กลายเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีการใช้กันอย่างแพร่หลายขึ้นด้วย วันนี้ลูม่าจึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้มากขึ้นไปพร้อมกันกับบทความนี้

ทำความเข้าใจการใช้กัญชาในประเทศไทย

ก่อนอื่นเรามาทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกัญชากันอีกสักครั้ง เพื่อให้พอทราบถึงที่มาที่ไปก่อนจะลงลึกไปถึงการใช้กัญชาทางการแพทย์ เพราะเชื่อว่าหลายคนอาจจะกำลังสับสนหรืออาจจะตามไม่ทันว่าปัจจุบันมีข้อสรุปเรื่องนี้อย่างไรบ้าง 

  • พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2562 ยังคงห้ามให้มีการผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ยกเว้นเพื่อประโยชน์ทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัยและพัฒนา ที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว *ห้ามใช้เพื่อนันทนาการ

  • ต่อมาปลายปี 2563 ประกาศกระทรวงสาธารณสุขได้ปลดล็อกทุกส่วนของกัญชาและกัญชงให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยไม่จัดเป็นยาเสพติดอีกต่อไป ใน 2 ลักษณะคือ 1.สารสกัดจากพืชกัญชาที่ได้จากการอนุญาตปลูกในประเทศ ในทุกส่วนที่มีปริมาณสาร THC หรือ Tetrahydrocannabinol ไม่เกิน 0.2% โดยสารที่พบในพืชกัญชานี้ มีผลในการลดปวด ลดเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการคลื่นไส้ แต่หากได้รับในขนาดสูงจะทำให้มีอาการเมาเคลิ้ม ใจสั่น หน้ามืด เห็นภาพหลอน รบกวนการรับรู้การตัดสินใจและความจำ และ 2. สารสกัดจากเมล็ดกัญชาที่ได้จากการปลูกในประเทศ

  • ล่าสุด 25 ม.ค.2565 (ร่าง) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าจะไม่มีกัญชาอยู่ในยาเสพติดแล้ว แต่สารสกัดที่มี THC เกิน 0.2% ยังจัดเป็นยาเสพติดอยู่ ซึ่งขณะนี้กำลังรอประกาศในราชกิจจานุเบกษาอย่างเป็นทางการ
กัญชารักษาการแพทย์

สรุปง่าย ๆ ว่าคนไทยจะสามารถใช้กัญชาได้ก็ต่อเมื่อเป็นสารสกัดกัญชาที่ใช้ในกระบวนการทางการแพทย์ที่มีขั้นตอนเพาะปลูกในประเทศ แปรรูป ตลอดจนการรักษาที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขแล้วเท่านั้น โดยที่สารสกัดดังกล่าวจะต้องมี THC ไม่เกิน 0.2% 

สำหรับ กัญชาทางการแพทย์ (Cannabis Based Medicineหมายถึง ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่มีส่วนประกอบจากสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoid) ที่ได้จากการสกัดพืชกัญชา เช่น Δ9-Tetrahydrocannabinol (THC) ที่ทำให้รู้สึกมึนเมา ตัวเบา ตื่นเต้น เร้าใจ และ Cannabidiol (CBD) ที่มีฤทธิ์ต้านอาการเมาเคลิ้มและอาการทางจิตของ THC และช่วยลดความตื่นเต้นตกใจ  โดยต้องอยู่ภายใต้ข้อกำหนดเหล่านี้ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของผู้ป่วย 

  • แพทย์ผู้ใช้กัญชาทางการแพทย์ต้องผ่านการอบรมจากหลักสูตรที่กรมการแพทย์รับรอง
  • สถานพยาบาลที่จะให้การรักษาต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
  • แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ต้องระบุได้ และได้รับการรับรองจากอย.
กัญชาทางแพทย์

กัญชาทางการแพทย์ใช้รักษาโรคอะไรบ้าง

แม้ปัจจุบันจะมีการนำสารสกัดจากกัญชามาใช้รักษาสารพัดโรค แต่ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขแสดงให้เห็นว่ามีเพียง 5 กลุ่มโรค/กลุ่มอาการเท่านั้นที่กัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ได้แก่

  • กล้ามเนื้อหดเกร็ง (Spasticity) จากโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis)
    กัญชาทางการแพทย์สามารถช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งจากโรคดังกล่าวได้ แต่ไม่ได้ช่วยลดอาการอื่น ๆ ของโรค และไม่สามารถป้องกันการเป็นซ้ำ หรือรักษาโรคให้หายขาดได้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขยังไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เป็นวิธีแรกในการรักษา แต่ควรใช้เมื่อวิธีการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันตามปกติไม่ได้ผล
  • โรคลมชักที่รักษายากหรือดื้อยา (Intractable Epilepsy)
    สารสกัดจากกัญชาที่มีปริมาณ CBD 20 ส่วน ต่อสารประกอบ THC 1 ส่วน สามารถใช้รักษาโรคลมชักในผู้ป่วยเด็กบางกลุ่มคือ Dravet syndrome, Lennox-Gastaut syndrome หรือโรคลมชักในผู้ป่วยเด็กที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยากันชักทั่วไปได้ ซึ่งควรใช้ในลักษณะของการรักษาร่วม และติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด รวมถึงระมัดระวังการใช้กัญชาฯ ในเด็กหรือคนที่อายุน้อยกว่า 25 ปี (ยกเว้นมีข้อบ่งชี้บางประการ) เพราะสารสกัดกัญชาอาจทำให้เกิดโรคทางจิตเภท เช่น ซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้
  • อาการปวดปลายประสาท (Neuropathic Pain)
    ผู้ป่วยที่ได้รับยาแก้ปวดปลายประสาทมาแล้วมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ชนิด แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น แพทย์สามารถเลือกใช้กัญชาทางการแพทย์ในการรักษาขั้นต่อไปได้ ในลักษณะของการให้เป็นยาเสริมควบคู่กับยาแผนปัจจุบัน
  • อาการคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด (Chemotherapy Induced Nausea and Vomiting)
    คลื่นไส้อาเจียนเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยหลังจากได้รับเคมีบำบัด โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่า หากรักษาด้วยยาแผนปัจจุบันแล้วไม่ได้ผลก็สามารถใช้กัญชาทางการแพทย์ควบคู่การรักษาตามมาตรฐานของแพทย์ได้ แต่ต้องเป็นอาการข้างเคียงของเคมีบำบัดเท่านั้น ไม่ใช่อาการจากการแพ้ท้องรุนแรงหรือจากโรคอื่น โดยใช้สารสกัดกัญชาชนิดอัตราส่วน THC ต่อ CBD 1:1 หรือ ใช้สารสกัดกัญชาชนิด THC เด่น
  • ภาวะเบื่ออาหารในผู้ป่วย AIDS
    เพิ่มความอยากอาหารด้วยสารสกัดกัญชาชนิด THC เด่น โดยเริ่มจากปริมาณน้อยๆ วันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหาร แล้วค่อยปรับเพิ่มขึ้นทีละนิดตามดุลพินิจของแพทย์

อย่างไรก็ตามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังคงแนะนำว่า การใช้สารสกัดจากกัญชาควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ และไม่ควรสารสกัดจากกัญชาได้รับปริมาณที่มากเกินกำหนด (Overdose) เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อร่างกายที่รุนแรงได้ เช่น ความดันโลหิตแปรปรวน ใจสั่น ชีพจรไม่คงที่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสติสัมปชัญญะผิดปกติ เป็นต้น

สำหรับความคุ้มครองของประกันสุขภาพเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ลูม่าขอแนะนำให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและตรวจสอบกับบริษัทประกันภัยของท่านอีกครั้ง และหากใครที่กำลังมองหาประกันสุขภาพแต่ไม่รู้จะเริ่มต้นจากที่ไหน ลูม่าขออาสาเป็นผู้ช่วยในการค้นหาแผนประกันสุขภาพที่ดูแลครอบคลุมและตอบโจทย์ความต้องการให้กับคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสุขภาพคลิก

Table of Contents

You May Also Like

ประกันมะเร็งที่ไหนดี
บทความ

ประกันมะเร็งที่ไหนดี 2567

โรคมะเร็งใกล้ตัวกว่าที่คิด และ หนึ่ง ใน หก คน ทั่วโลก เสียชีวิตด้วยสาเหตุโรคมะเร็ง ไม่ว่าเรื่องกรรมพันธุ์ หรือ สาเหตุใดไม่อาจทราบ LUMA เองก็ได้เจอโรคมะเร็งในสมาชิกเพิ่มขึ้น และที่น่าตกใจกว่านั้น อายุของผู้ป่วยน้อยลงกว่าที่ผ่านมา การหาประกันที่คุ้มครองมะเร็ง เป็นสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าเลือกแบบประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ครอบคลุมการรักษามะเร็ง หรือ เลือกแบบ …

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี
บทความ

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ไหนดี 2567

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายมีให้เลือกค่อนข้างเยอะในทุกวันนี้ และด้วยข้อมูลที่คอนข้างเยอะ รายละเอียดที่ต้องสนใจเยอะ ทำให้การตัดสินใจอาจจะลำบากกว่าที่ควรเป็น LUMA ได้ทำการบ้านมาให้แล้ว ว่าบริษัทไหนดีอย่างไร LUMA AXA MTL LMG Pacific Cross Allianz Ayudhya วิริยะประกันภัย April Falcon Insurance ในเมื่อเลือกแล้ว …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …