9 วิธีเลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

9 วิธีเลือกประกันสุขภาพ

  1. 1. ประเมินความเสี่ยง
  2. 2. สวัสดิการที่มีอยู่แล้ว
  3. 3. เลือกค่ารักษาแบบแยกจ่าย
  4. 4. เลือกค่ารักษาแบบเหมาจ่าย
  5. 5. เครือข่ายโรงพยาบาลและการสำรองจ่าย
  6. 6. ปีะเมินระยะเวลารอคอย
  7. 7. เบี้ยประกันและงบประมาณที่มี
  8. 8. แบบมีความรักผิดชอบส่วนแรก (Deductible)
  9. 9. ชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย

ประกันสุขภาพ คือ รูปแบบการประกันภัยประเภทหนึ่งให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลเมื่อผู้เอาประกันต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลทั้งแบบผู้ป่วยนอก (OPD) ผู้ป่วยใน (IPD) ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ปัจจัยสำคัญจึงไม่ใช่แค่การมีประกันตัวนี้ไว้เท่านั้น แต่ต้องรู้จักวิธีเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะกับตนเอง เพื่อจะได้รับความคุ้มครองได้อย่างคุ้มค่าที่สุด เสียประกันปีละหลักหมื่นแต่ผลประโยชน์หลักล้าน ลองมาศึกษาเทคนิคที่จะช่วยให้การเลือกประกันสุขภาพเป็นเรื่องง่ายกว่าเดิมได้เลย 

เลือกประกันสุขภาพแบบไหน, 9 วิธีเลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

เลือกประกันสุขภาพแบบไหน, 9 วิธีเลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

แนะนำ วิธีเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะกับตนเอง 

  1. ประเมินความเสี่ยงของผู้ซื้อ

วิธีเลือกประกันสุขภาพลำดับแรกต้องประเมินความเสี่ยงของผู้ซื้อก่อนว่ามีโอกาสเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน แล้วโรคชนิดใดที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองบ้าง ซึ่งการประเมินดังกล่าวพิจารณาได้จากปัจจัยรอบตัว เช่น พันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์ มีพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เคยป่วยด้วยโรคอะไรบ้าง พฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งการทานอาหาร เครื่องดื่ม สูบบุหรี่ ปาร์ตี้สังสรรค์ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมที่ต้องใช้ชีวิตอยู่ประจำ ความเครียดในแต่ละวัน ลักษณะการเดินทางประจำ ฯลฯ เมื่อรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงแบบไหนก็จะทำให้เลือกประกันสุขภาพได้ตรงจุด คุ้มค่ากับเบี้ยประกันที่จ่ายหากเกิดโรคเหล่านั้นขึ้น 

  1. สวัสดิการที่ตนเองมี

การซื้อประกันสุขภาพถือเป็นตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายเมื่อต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล แต่ในความเป็นจริงไม่จำเป็นต้องซื้อให้ครอบคลุมหมดทุกความคุ้มครองเพราะยิ่งคุ้มครองเยอะเบี้ยประกันก็สูงขึ้นเป็นเรื่องปกติ ลองเช็กสวัสดิการที่ตนเองมีดูก็ได้ว่าสิ่งไหนไม่จำเป็นต้องมีอยู่ในประกันฉบับนี้ก็ตัดออกเพื่อเซฟงบในแต่ละปีที่ต้องจ่าย เช่น มีประกันสังคมอยู่ การเลือกความคุ้มครองค่าห้องก็ไม่ต้องสูงมากนัก มีประกันอุบัติเหตุกลุ่มจากบริษัทก็ไม่จำเป็นต้องซื้อแผนประกันที่รวมประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพกลุ่มจากบริษัท เทียบดูว่าคุ้มครองด้านไหน วงเงินเท่าไหร่ แล้วเลือกทำเพิ่มเติมเฉพาะสิ่งที่ไม่ได้คุ้มครอง เป็นต้น 

  1. เลือกค่ารักษาแบบแยกจ่าย

ค่ารักษาแบบแยกจ่าย หมายถึง การเลือกประกันสุขภาพที่คุณสามารถกำหนดวงเงินในแต่ละความคุ้มครองด้วยตนเองได้ให้พอเหมาะกับงบที่ตนเองพร้อมจ่ายแต่ละปี หรือไม่ทับซ้อนกับสวัสดิการที่มีอยู่แล้ว เช่น ค่าห้อง ค่าทำหัตถการ ค่าวิสัญญีแพทย์ ค่าตรวจเยี่ยมแพทย์คนไข้ ค่าใช้อุปกรณ์พิเศษทางการรักษา เป็นต้น ซึ่งข้อดีของวิธีเลือกประกันสุขภาพแบบนี้ช่วยเซฟงบลงได้เยอะมาก ไม่ต้องจ่ายซ้ำกับสิทธิของตนเอง แต่ก็ต้องมั่นใจเรื่องการประเมินความเสี่ยงเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองในระดับหนึ่ง เพราะกรณีคุณเข้ารักษาแล้วมีค่าใช้จ่ายเกินจากวงเงินคุ้มครอง ส่วนต่างที่เหลือผู้เอาประกันต้องรับผิดชอบด้วยตนเองทั้งหมด 

เลือกประกันสุขภาพแบบไหน, 9 วิธีเลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

เลือกค่ารักษาแบบเหมาจ่าย 

การเลือกค่ารักษาพยาบาลแบบเหมาจ่าย หมายถึง การซื้อประกันสุขภาพโดยบริษัทประกันได้กำหนดวงเงินรวมในการรักษาพยาบาลทุกกรณีเอาไว้แบบชัดเจน อาจกำหนดเป็นรายครั้งต่อการรักษา หรือรายปีขึ้นอยู่กับเงื่อนไข เช่น เหมาจ่ายค่ารักษาตลอดปีกรมธรรม์ 3 ล้านบาท เหมาจ่ายค่ารักษาในการเข้ารักษาตัวต่อครั้ง 5 แสนบาท เป็นต้น ข้อดีของการเลือกประกันสุขภาพแบบนี้จะทำให้คุณไม่ต้องกังวลใจเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น เพราะส่วนใหญ่วงเงินที่บริษัทประกันกำหนดก็เพียงพอต่อการรักษาอยู่แล้วแต่จะแลกมาด้วยการต้องเสียค่าเบี้ยประกันสูงมากกว่าแบบแยกจ่าย จึงเหมาะกับคนที่มั่นใจว่ามีเงินเพียงพอในการจ่ายเบี้ยแต่ละปี หรือคนที่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย 

  1. เครือข่ายโรงพยาบาลและการสำรองจ่าย

ข้อนี้เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจมาก ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพที่ไหนก็ตาม เหตุเพราะในการเข้ารักษาตัวแต่ละครั้งทุกคนย่อมคาดหวังที่จะได้รักษาที่โรงพยาบาลดี ๆ หรือโรงพยาบาลชั้นนำที่มีความเก่งกาจเกี่ยวกับโรคที่ตนเองเจ็บป่วยอยู่ ซึ่งการที่บริษัทประกันเป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลหลายแห่งย่อมส่งผลดีทั้งด้านบริการ ส่วนลดเพิ่มเติมกรณีมีเงินส่วนต่างที่ต้องจ่ายเอง รวมถึงการสำรองจ่ายซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนมักกังวลใจ ด้วยการรักษายุคนี้หากเป็นโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ การนอนโรงพยาบาลเพียงแค่ 4-5 วัน ก็มีสิทธิ์ค่าใช้จ่ายพุ่งสู่หลักแสนเอาง่าย ๆ การมีประกันโดยไม่ต้องสำรองจ่ายเพราะเป็นโรงพยาบาลเครือข่ายจึงช่วยลดความวุ่นวายส่วนนี้ได้เยอะมาก 

  1. ประเมินระยะเวลารอคอย

ระยะเวลารอคอย คือ ช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังจากทำประกันสุขภาพเรียบร้อยแต่กรมธรรม์ดังกล่าวยังไม่ให้ความคุ้มครองจนกว่าจะถึงช่วงเวลาที่กำหนดเอาไว้ เพื่อประเมินว่าผู้เอากรมธรรม์อาจเจ็บป่วยมาก่อนหน้าการทำประกันฉบับนั้น ๆ อธิบายแบบเข้าใจง่ายคือ บริษัทประกันเองก็ขอรอดูว่าผู้เอาประกันเจ็บป่วยอะไรมาก่อนหรือไม่ เพราะถ้ามีความเสี่ยงหรือป่วยก่อน แล้วอาการป่วยดังกล่าวแสดงออกก่อนถึงกำหนด นอกจากกรมธรรม์ไม่คุ้มครองยังอาจหมายถึงการทำประกันเป็นโมฆียะ หรือโมฆะได้เลย แต่ในอีกมุมหนึ่งหากคุณคือคนที่จะซื้อประกันก็สามารถนำเอาข้อมูลระยะเวลารอคอยมาประเมินเพื่อตัดสินใจซื้อได้เช่นกัน ปกติแล้วมักอยู่ราว ๆ 90 – 180 วัน ซึ่งไม่ควรเกินมากกว่านี้ เพราะบางคนอาจเจ็บป่วยจากโรคที่มีสาเหตุอยู่ในช่วงระยะเวลารอคอย ไม่ได้เกิดก่อนหน้าทำประกัน ก็เท่ากับไม่สามารถใช้ความคุ้มครองได้เช่นกัน 

เลือกประกันสุขภาพแบบไหน, 9 วิธีเลือกประกันสุขภาพแบบไหนให้เหมาะกับตัวเอง

เบี้ยประกันที่ต้องจ่ายและงบประมาณที่มี 

นี่คือสิ่งสำคัญมากในการเลือกประกันสุขภาพ เพราะต่อให้คุณอยากทำประกันดีที่สุดแค่ไหนทว่าสุดท้ายก็ต้องประเมินเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปีเหมาะกับงบที่ตนเองวางเอาไว้หรือไม่ สมมุติมีบริษัทประกัน 2 แห่ง ให้ความคุ้มครองแบบเดียวกันหมด แต่บริษัทแรกค่าเบี้ยถูกกว่าเล็กน้อยแบบนี้ก็นับเป็นตัวเลือกน่าสนใจ กับอีกมุมหากคุณรู้ว่าตนเองสามารถจ่ายเบี้ยประกันแต่ละปีไหวที่กี่บาทก็สามารถบอกกับตัวแทนเพื่อให้ผู้ขายเลือกแผนประกันที่เหมาะสมได้เลย และอย่าลืมว่าเบี้ยประกันในแต่ละปีมีโอกาสสูงขึ้นทั้งจากอายุที่มากขึ้น หรือความถี่ในการเคลม จึงต้องประเมินจุดนี้ให้ดีด้วย 

  1. เลือกประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก (Deductible)

อีกวิธีเลือกประกันสุขภาพที่จะช่วยเซฟเงินค่าเบี้ยประกันในแต่ละปีได้พอสมควรต้องยกให้กับการเลือกประเภทประกันสุขภาพแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก หรือ Deductible หมายถึง การที่ผู้เอาประกันต้องจ่ายค่ารักษาในส่วนแรกด้วยตนเองก่อน และถ้าหากค่าใช้จ่ายดังกล่าวเกินจากจำนวนเงินที่ตกลงความรับผิดชอบส่วนแรกเอาไว้ ทางบริษัทประกันก็จะจ่ายส่วนที่เหลือให้ เช่น คุณทำ Deductible ไว้ที่ 40,000 บาท หากค่ารักษาไม่เกิน 40,000 บาท ผู้เอาประกันก็ต้องจ่ายเองทั้งหมด แต่ถ้าค่ารักษาสรุปที่ 60,000 บาท อีก 20,000 บาท บริษัทประกันจะเป็นผู้จ่ายให้ ทั้งนี้การจ่ายเงินของบริษัทประกันก็จะจ่ายไม่เกินวงเงินคุ้มครองทั้งหมดเหมือนกับประกันสุขภาพปกติ 

  1. ชื่อเสียงของบริษัทประกันภัย

วิธีเลือกประกันสุขภาพข้อสุดท้ายอย่าลืมประเมินเรื่องชื่อเสียงของบริษัทประกันภัยที่จะซื้อด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจในกรณีที่ต้องเคลมค่ารักษาแล้วจะไม่มีปัญหาอื่นตามมาภายหลัง เช่น บริษัทเบี้ยวไม่จ่ายค่ารักษา ต้องสำรองจ่ายเองแล้วได้รับเงินคืนไม่ครบ เดินเรื่องยากมาก ใช้เวลารับเรื่องและพิจารณาเคลมนาน เป็นต้น ซึ่งพื้นฐานของการเช็กชื่อเสียงบริษัทที่คุณจะซื้อประกันก็ดูจากความคุ้นชิน การได้รับคำแนะนำจากคนใกล้ชิด อ่านรีวิวข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต ศึกษาข้อมูลของบริษัทนั้น ๆ อย่างละเอียด เป็นต้น 

สรุป 

ทั้งหมดนี้คือ 9 วิธีเลือกประกันสุขภาพให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด แม้ทุกคนรู้ดีว่าการมีประกันสุขภาพจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เยอะมากเมื่อต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล แต่ถ้าเลือกประกันสุขภาพได้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตนเองนอกจากความสบายใจเมื่อต้องเข้าโรงพยาบาลแล้วยังช่วยประหยัดเงินได้อีกเยอะมาก ที่สำคัญอย่าลืมเลือกบริษัทประกันที่น่าเชื่อถือ ไว้ใจได้ มีแผนประกันหลากหลาย และเปรียบเทียบกันหลายแห่งจนได้แผนประกันที่ดีที่สุด คุ้มครองแบบครอบคลุมอย่างคุ้มค่า แต่ไม่ทับซ้อนกับสิทธิที่ตนเองมีอยู่ก่อนหน้า 

LUMA ผู้เชี่ยวชาญเรื่องประกัน พร้อมดูแลทุกท่าน สามารถเลือกและเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพได้อย่างครอบคลุม ประกันสุขภาพ มีให้เลือกหลายแบบ หลายงบ และความคุ้มครองหลากหลาย ทาง LUMA ยินดีดูแลทุกท่าน อย่างเต็มที่

Last update: 

Table of Contents