อัพเดทข้อมูลล่าสุด:
- August 21, 2024
ในปัจจุบันการมี ประกันสุขภาพ เพียงฉบับเดียวอาจไม่เพียงพอแล้ว หลายคนจึงมองหาประกันสุขภาพและประกันอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองให้ครอบคลุมกับค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้นในทุกปี หลายคนถือทั้งประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันโรคร้ายแรง รวมไปถึงประกันมะเร็ง ไหนจะซื้อให้คนในครอบครัวอีก ก็คงมีกันบ้างที่หลงลืมเกี่ยวกับรายละเอียดของกรมธรรม์ ในบทความนี้จึงขอนำเสนอวิธีตรวจสอบกรมธรรม์ โดยจะพามารู้จักช่องทางต่าง ๆ ในการเช็คว่าเรามีประกันอะไรบ้างแบบเข้าใจง่าย ติดตามได้ในบทความนี้เลย
3 วิธีตรวจสอบกรมธรรม์ ง่ายและสะดวก
สำหรับคนที่อาจหลงลืมไปว่าที่ผ่านมาได้ทำประกันอะไรกับบริษัทประกันเจ้าไหนไว้บ้าง หรือแม้กระทั่งทำกรมธรรม์หายก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะในปัจจุบันมีช่องทางที่ให้คุณเช็คประกันและตรวจสอบข้อมูลได้อย่างสะดวกถึง 3 ช่องทาง ดังนี้
ตรวจสอบผ่านทางออนไลน์
วิธีที่แรกคือการตรวจกรมธรรม์จากบริษัทประกันภัยทั่วประเทศผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสามารถตรวจสอบได้จากแอปพลิเคชัน “กรมธรรม์ของฉัน หรือ My Policy” ซึ่งทำได้ไม่ยาก ผ่าน LINE Official Account ของ “คปภ. รอบรู้ หรือ @OICConnect” นั่นเอง โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เพิ่ม LINE Official Account @OICConnect เป็นเพื่อน
2. ลงทะเบียนและทำการยืนยันตัวตนผู้ใช้งานด้วยการถ่ายบัตรประชาชน และถ่ายภาพตนเองคู่กับบัตรประชาชน
3. กรอกเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้งาน เพื่อขอรับรหัส OTP เพื่อยืนยันตัวตน
4. เมื่อลงทะเบียนสำเร็จแล้วก็สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ของคุณได้ทันที
ขั้นตอนที่ 1
ขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 3
ขั้นตอนที่ 4
ขั้นตอนที่ 5
ขั้นตอนที่ 6
ขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนที่ 8
ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับสำนักงาน คปภ.
วิธีตรวจสอบกรมธรรม์วิธีต่อมาคือ การยื่นเรื่องตรวจสอบที่สำนักงาน คปภ. หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยโดยตรงนั้นเอง ซึ่งสามารถทำได้โดยการโทรศัพท์ไปยังสายด่วนประกันภัย 1186 หรือยื่นคำร้องตามขั้นตอนต่อไปนี้
ขั้นตอนการยื่นคำร้องกับ คปภ. ผ่านทางอีเมล์
2. กรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นคำร้องต่อไปนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำร้อง
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาใบมรณบัตร
- สำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี
- สำเนาทะเบียนรถ
- หลักฐานอื่น เช่น หนังสือสำคัญการเปลี่ยนชื่อ ทะเบียนสมรส
3. นำแบบฟอร์มและเอกสารทั้งหมดส่งในอีเมล
ใครสามารถยื่นคำร้องเพื่อตรวจสอบกรมธรรม์ได้บ้าง
นอกจากเราจะสามารถตรวจสอบกรมธรรม์ของตนเองในกรณีหลงลืมหรือต้องการตรวจสอบข้อมูลแล้ว ยังสามารถตรวจสอบว่าคนใกล้ชิดของเราถือกรมธรรม์อะไรไว้บ้างหากเกิดเหตุจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูลประกัน โดยวิธีตรวจสอบกรมธรรม์ที่กล่าวมาข้างต้นสามารถทำได้ 2 กรณี
1. กรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ยื่นคำร้องของตรวจสอบข้อมูลของตนเอง
2. กรณีขอตรวจข้อมูลกรมธรรม์ของคนใกล้ชิดเมื่อเกิดเหตุจำเป็น
ตรวจสอบโดยการยื่นเรื่องกับ ฐานข้อมูลกลางประกันวินาศภัย
วิธีสุดท้ายเป็นการตรวจสอบกรมธรรม์โดยยื่นเรื่องกับฐานข้อมูลกลางประกันภัย หรือ TID ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท ไทยอินชัวเรอส์ดาต้าแนท จำกัด (Thai Insurers Datanet Co., Ltd) โดย TID เป็นบริษัทที่ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลด้านการประกันวินาศภัยทุกประเภทในประเทศไทยนั้นเอง สามารถตรวจสอบกรมธรรม์ได้ที่เว็บไซต์ www.insure.co.th หรือส่งอีเมล์ไปยัง [email protected] ก็ได้เช่นกัน
การตรวจสอบกรมธรรม์มีประโยชน์อย่างไร
การที่เราสามารถตรวจสอบและเข้าถึงข้อมูลการทำประกันภัยได้ถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะนอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในกรณีที่ผู้ถือกรมธรรม์ทำประกันหลายฉบับหรือทำกรมธรรม์หายแล้ว ยังช่วยให้ผู้ถือประกันภัยสามารถวางแผนการต่ออายุกรมธรรม์หรือซื้อประกันเพิ่มเติมได้ ช่วยในการวางแผนทางการเงินสำหรับการชำระเบี้ยประกันภัย และนอกจากนี้หากคนใกล้ตัวมีเหตุจำเป็นต้องใช้ประกัน ก็สามารถตรวจสอบข้อมูลเหล่านั้นได้ไม่ยาก
สรุป
จะเห็นได้ว่าการตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยในปัจจุบันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป ไม่ว่าคุณทำประกันไว้หลายเล่ม หรือทำกรมธรรม์หาย หรือต้องการตรวจสอบกรมธรรม์ของคนใกล้ชิดก็สามารถตรวจสอบได้ผ่านทาง 3 ขั้นตอนที่แจ้งมาข้างต้น ไม่ว่าจะผ่านทางแอปพลิเคชันที่เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ยื่นคำร้องผ่านคปภ. โดยตรง หรือขอตรวจสอบข้อมูลจากฐานข้อมูลกลางก็ได้เช่นกัน