ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหรือที่เรียกกันว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ เพราะเป็นโรคไม่มีอาการบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงคืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร?

ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการหัวใจวาย ตาบอด และโรคหลอดเลือดสมอง

ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรู้สึกได้ โดยปกติจะไม่มีสัญญาณเตือน คุณจึงอาจจะไม่รู้เลยว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มใช้ยาตัวใหม่ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจระดับความดันโลหิตโดยแพทย์ ซึ่งมักตรวจทุกครั้งเมื่อคุณไปโรงพยาบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี 2568 อาจมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงถึง 1.56 พันล้านคน และในแต่ละปีคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตเนื่องจากความดันโลหิตสูง 7.5 ล้านคนทั่วโลก

ความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงคืออะไร?

การอ่านค่าความดันโลหิตกำหนดโดยตัวเลขสองตัว คือ ค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจบีบตัว หรือความดันตัวบน (systolic) และค่าแรงดันในหลอดเลือดแดงขณะหัวใจคลายตัว หรือความดันตัวล่าง (diastolic)

ค่าความดันตัวบนซึ่งเป็นตัวเลขสูงกว่า เป็นการวัดแรงที่หัวใจสูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย

ค่าความดันตัวล่าง คือการวัดความต้านทานต่อการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือด

ค่าที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 90/60mmHg และ 120/80mmHg หากค่าที่อ่านได้อยู่ที่ 140/90mmHg หรือสูงกว่า จะถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ส่วนค่าที่อยู่ระหว่างสองช่วงนี้อาจหมายถึงคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง จึงควรควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูงกว่านี้

อีกสิ่งหนึ่งคือ แต่ละคนมีค่าความดันโลหิตที่แตกต่างกันเล็กน้อย จึงควรทราบว่าค่าความดันปกติของตนเองอยู่ที่เท่าใด

สาเหตุของความดันโลหิตสูง?

สาเหตุของความดันโลหิตสูงหลายประการเกี่ยวข้องกับวิถีการใช้ชีวิตในแต่ละวัน ลักษณะนิสัยบางอย่างที่ส่งผลไม่ดีต่อสุขภาพอาจทำให้ความดันโลหิตของคุณพุ่งสูงขึ้นได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงหลักๆ ได้แก่:

  • น้ำหนัก: ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยง
  • การออกกำลังกาย: ผู้ที่ออกกำลังกายน้อยมักจะมีความเสี่ยงสูง
  • การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์: สารเคมีในบุหรี่สามารถทำลายเยื่อบุผนังหลอดเลือด บุหรี่จึงทำให้เกิดความดันโลหิตสูงเฉียบพลันได้ ในขณะที่แอลกอฮอล์อาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้ชั่วคราว ซึ่งจะกลับมาปกติเมื่อหยุดดื่มและตับขับแอลกอฮอล์ออกจากร่างกาย
  • อาหารการกิน: เกลือมากเกินไปและโพแทสเซียมน้อยเกินไปอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้
  • ความเครียด: ความเครียดในระดับสูงอาจทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นได้

แม้ว่าเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเครียด แต่เราก็สามารถลดผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

ปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติม ได้แก่ :

  • อายุ: ยิ่งอายุเยอะ ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูง
  • เชื้อชาติ: ความดันโลหิตสูงมักพบมากในกลุ่มคนที่มีเชื้อชาติแอฟริกัน
  • ประวัติครอบครัว: ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคความดันโลหิตสูง ก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในครอบครัว
ความดันโลหิตสูง, ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตสูง

วิธีที่ง่ายที่สุดในการป้องกันความดันโลหิตสูงคือการมีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพ ควบคุมน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำและปรับเปลี่ยนการกินโดยเลือกกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดปริมาณโซเดียมและการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเครียดเป็นสาเหตุหลักของความดันโลหิตสูง ดังนั้นพยายามผ่อนคลายและจัดการระดับความเครียดด้วยการทำสมาธิ ดนตรี และการออกกำลังกาย

การรักษาโรคความดันโลหิตสูง

หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง แพทย์มักจะแนะนำให้คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเลือกวิถีชีวิตที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เช่น รับประทานโซเดียมให้น้อยลง และหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ แต่ในบางกรณี การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตยังไม่เพียงพอ คุณอาจต้องใช้ยาบางชนิด เพื่อควบคุมระดับความดันโลหิต

หากคุณได้รับยาจากแพทย์ สิ่งสำคัญคือต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ และควรไปพบแพทย์อย่างน้อยปีละสองครั้ง เพื่อให้แพทย์ติดตามผลของการกินยาและตรวจสอบยาที่คุณซื้อจากร้านขายยา เนื่องจากยาบางชนิดมีผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเป็นปกติหากรับประทานเป็นประจำ เช่น ยาสูดพ่นสำหรับโรคหอบหืด ยาบรรเทาอาการปวดและแปะก๊วย

ความดันโลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่มักไม่แสดงอาการ แต่อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสุขภาพที่รุนแรงได้ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพื่อให้แน่ใจว่าความดันโลหิตของคุณอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ควรหมั่นตรวจอย่างสม่ำเสมอ และตั้งเป้าที่จะมีวิถีชีวิตที่ใส่ใจสุขภาพ

เพื่อป้องกันตัวเองจากโรคความดันโลหิตสูง การมีประกันสุขภาพที่คุ้มครองครอบคลุมก็เป็นเรื่องสำคัญ ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพของเราได้เลย

Table of Contents

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …