วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปยังทวีปยุโรปกลุ่มประเทศเชงเก้นทั้ง 26 ประเทศ สามารถเลือกขอ “วีซ่าเชงเก้น” เพื่อการพำนักอาศัยระยะสั้นไม่เกิน 90 วัน ภายใน 180 วัน ด้วยวัตถุประสงค์ด้านการท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ อบรมระยะสั้น หรือติดต่อธุรกิจได้โดยไม่ต้องไล่ขอวีซ่าทีละประเทศ แต่ก็มีบางคนเมื่อทำการขอตามขั้นตอนปกติแล้วปรากฏ “วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน” กลายเป็นคำถามขึ้นมาทันทีว่าแล้วต้องทำยังไงต่อ มีวิธีแก้ไขอะไรบ้าง ลองศึกษาข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องนี้กันเลย 

วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน

ติดตาม ข่าวสาร และ โปรโมชั่นต่างๆ

วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน, วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

Rejected Visa คืออะไร 

เมื่อทำการยื่นเอกสารต่าง ๆ ผ่านตัวแทนรับยื่นวีซ่า หรือสถานทูตฯ จะต้องรอผลพิจารณาวีซ่าเชงเก้นตามระยะเวลาที่กำหนดตั้งแต่ 7 วันขึ้นไป จากนั้นสถานทูตฯ จะทำการส่งเอกสารตอบรับกลับมาว่าวีซ่าเขงเก้นของคุณผ่านหรือไม่ ในกรณีที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านตัวจดหมายจะระบุเอาไว้ชัดเจนว่า “Rejected Visa” หรือการปฏิเสธรับทำวีซ่า หมายถึง สถานทูตฯ มีการประเมินทั้งจากเอกสารและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ แล้ว บุคคลดังกล่าวยังไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอกับการเดินทางไปยังประเทศกลุ่มเชงเก้น จึงยังไม่อนุมัติในการทำวีซ่านั่นเอง 

เหตุผลที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน เกิดจากอะไรได้บ้าง 

สำหรับเหตุผลที่วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยซึ่งขอสรุปให้เห็นภาพชัดเจนเพื่อจะได้จัดเตรียมทุกอย่างแบบครบถ้วน ลดความเสี่ยงการขอวีซ่าเชงเก้นแล้วเกิดปัญหาตามมาภายหลัง 

  1. 1. เอกสารที่ยื่นไปทั้งหมดยังมีความไม่น่าเชื่อถือในบางจุด เช่น Statement รายการเดินบัญชีย้อนหลังมีเงินเก็บอยู่น้อยเกินไป มีเงินเข้าเป็นรายได้ไม่ชัดเจน มีรายจ่ายบางเดือนมากกว่ารายได้ มีเงินเข้ามายังบัญชีก้อนใหญ่ก่อนขอวีซ่าไม่กี่วัน มีรายได้ไม่สมเหตุสมผลกับเงินเก็บ ฯลฯ
  2. 2. ไม่มีหลักฐานการทำงานที่ชัดเจนในเมืองไทย อายุการทำงานน้อยเกินไป หนังสือรับรองการทำงานระบุข้อมูลไม่ครบถ้วน เช่น วันลางาน ระยะเวลาที่ลางาน ชื่อบริษัท ตำแหน่งภายในบริษัท รายได้ ฯลฯ รวมถึงหลักฐานการศึกษา (กรณีเป็นนักศึกษา) สถานทูตฯ อาจประเมินถึงความเสี่ยงที่จะลักลอบไปเป็นแรงงานผิดกฎหมาย และไม่สามารถเดินทางกลับได้ตามวัน-เวลาที่ระบุ จึงไม่อนุมัติวีซ่าเชงเก้น
  3. 3. หลักฐานด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้ยื่นขอวีซ่ากับสปอนเซอร์ไม่สอดคล้องกัน หรือยังขาดความน่าเชื่อถือ
  4. 4. การกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าไม่ถูกต้อง หรือมีจุดที่ระบุรายละเอียดไม่ชัดเจน เช่น ไม่ระบุวันเดินทางกลับ ลืมใส่ข้อมูลส่วนตัวบางจุด ไม่ระบุวัตถุประสงค์การเดินทางชัดเจน เป็นต้น
  5. 5. ไม่สามารถตอบคำถามกับเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ ได้ในกรณีมีการเรียกสัมภาษณ์พูดคุยเพิ่มเติม หรือตอบไม่ตรงคำถาม ตอบคนละข้อมูลกับที่ระบุเอาไว้ในเอกสารการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น เป็นต้น
  6. 6. มีการปกปิดข้อมูล หรือพยายามตั้งใจไม่บอกว่าเคยถูกปฏิเสธวีซ่าประเทศอื่น ๆ มาก่อนหน้า แม้บางคนมองว่ามันทำให้ความน่าเชื่อถือลดลง แต่ก็เป็นเรื่องอดีตและเจ้าหน้าที่สถานทูตยังมองถึงความจริงใจ ไม่ปกปิด อีกมุมหนึ่งหากคุณนิ่งเฉย หรือเจ้าหน้าที่สอบถามแล้วบอกว่าไม่เคย ปรากฏมีการค้นข้อมูลแล้วพบว่าเคยถูกปฏิเสธก็มีสิทธิ์ไม่ผ่านได้เช่นกัน
วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน, วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน ต้องทำอย่างไร รวมทุกเรื่องที่ควรรู้

วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านทำยังไง มีคำแนะนำมาบอก 

จากเหตุผลต่าง ๆ ผู้ที่ขอวีซ่าเชงเก้นอาจรู้สึกกังวลใจหากตนเองเป็นหนึ่งในคนที่วีซ่าเขงเก้นไม่ผ่านทำยังไงดี มีวิธีแก้ไขหรือไม่ ต้องบอกแบบนี้ว่าจริงแล้วสถานทูตฯ ก็ไม่ได้ใจร้ายหรือกลั่นแกล้งโดยระบุในเอกสารว่า Rejected Visa แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ ตามเอกสารที่ระบุไว้ก็อาจมีความเสี่ยงที่ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถประเมินเป็นลักษณะดังกล่าวได้ วิธีแก้ปัญหาเมื่อจดหมายตอบกลับว่าวีซ๋าเชงเก้นไม่ผ่านทำได้ดังนี้ 

  1. การยื่นอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้น

เมื่อผู้ขอวีซ่าเชงเก้นถูกปฏิเสธวีซ่า โดนยกเลิก เพิกถอนวีซ่าใด ๆ ก็ตาม ทางสถานทูตฯ จะเปิดโอกาสให้ได้ยื่นอุทธรณ์เพื่อโต้แย้งกับเหตุผลที่ระบุเอาไว้โดยกระทรวงการต่างประเทศจะเข้ามาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้ง ทั้งนี้มีข้อกำหนดว่าต้องทำการยื่นอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่ผลการพิจารณาวีซ่าเชงเก้นออกมา  

ซึ่งขั้นตอนหลัก ๆ ต้องทำการเขียนจดหมายยื่นอุทธรณ์วีซ่า (Appeal Letter for Visa Refusal) ชี้แจงเหตุผลจากข้อมูลที่สถานทูตระบุไว้ถึงการไม่อนุมัติวีซ่า เมื่อเขียนเรียบร้อยให้แนบพร้อมเอกสารการถูกปฏิเสธวีซ่าส่งไปยังที่อยู่ของสถานทูตฯ หรือใช้การส่งผ่านอีเมลก็ได้เช่นกัน สุดท้ายรอผลการตัดสินประมาณ 30 วัน 

โดยรายละเอียดที่ควรมีอยู่ในจดหมายการยื่นอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้น ประกอบด้วย 

  • ชื่อ – สกุล ของผู้ยื่นวีซ่า 
  • หมายเลขพาสปอร์ต 
  • ที่อยู่ปัจจุบัน  
  • อีเมล 
  • เบอร์โทรศัพท์ติดต่อได้ 
  • เชื้อชาติ, สัญชาติ, ประเทศ 
  • วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางในครั้งนี้ (กรณีเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวแนะนำให้ระบุสถานที่ท่องเที่ยว ระยะเวลาพำนัก และ เหตุผลที่ต้องการเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศต่าง ๆ ให้ชัดเจน) 
  • เหตุผลในการร้องขอเพื่อให้ทางสถานทูตพิจารณาเอกสารการยื่นวีซ่าใหม่อีกครั้ง 
  1. การยื่นขอวีซ่าเชงเก้นใหม่อีกครั้ง

อีกวิธีในการแก้ปัญหากรณีได้รับจดหมาย Rejected Visa หรือวีซ่าเชงเก้นไม่ผ่าน นั่นคือการเดินเรื่องขอวีซ่าใหม่ซึ่งขั้นตอนก็เหมือนกับการขอวีซ่าเชงเก้นปกติที่เคยทำเลย แต่ต้องมีการตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนโดยเฉพาะรายละเอียดที่ทางสถานทูตฯ ระบุเอาไว้ถึงเหตุผลที่ยังไม่อนุมัติวีซ่า 

วีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านเลือกอุทธรณ์หรือขอใหม่ดีกว่ากัน 

จากวิธีแก้ปัญหากรณีผลพิจารณาวีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านอาจยังทำให้เกิดข้อสงสัยขึ้นมาอีกเล็กน้อย ควรเลือกวิธีไหนที่เหมาะกับสถานการณ์ของตนเองมากที่สุด ก็ต้องขอแบ่งจุดเด่นและจุดควรพิจารณาของแต่ละทางเลือกเพื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้นกว่าเดิม 

หากคุณเลือกอุทธรณ์วีซ่าเชงเก้นจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม แค่ส่งจดหมายชี้แจง ระบุรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมเขียนเหตุผลร้องขอให้สถานทูตพิจารณาใหม่ แต่ก็ต้องใช้เวลารอไม่ต่ำกว่า 30 วัน ซึ่งไม่เหมาะกับคนที่เร่งรีบเดินทาง หรือมีเวลาเหลือไม่เพียงพอในการรอพิจารณาวีซ่าเชงเก้น 

ส่วนใครที่เลือกวิธียื่นขอวีซ่าใหม่จะง่ายกว่าตรงที่คุณทำตามขั้นตอนเดิมได้เลย แต่ต้องพิจารณาเหตุผลว่าสถานทูตฯ ไม่อนุมัติวีซ่าเชงเก้นเพราะอะไร แล้วก็เตรียมเอกสารใหม่ให้ครบถ้วน ใช้เวลารอคอยผลไม่เกิน 15 วัน แต่ก็จะแลกมาด้วยค่าใช้จ่ายใหม่ทั้งหมดของการทำวีซ่าเชงเก้นนั่นเอง 

บอกลาปัญหาวีซ่าเชงเก้นไม่ผ่านควรทำอย่างไรบ้าง 

  1. 1. จัดเตรียมเอกสารทั้งหมดให้ครบถ้วน โดยเฉพาะข้อมูลด้านการเงิน เช่น เช็ก Statement ของตนเองย้อนหลังไป 6 เดือนว่ามีโอกาสผ่านหรือไม่ มีเงินเหลือในบัญชีเพียงพอ รายรับมากกว่ารายจ่ายในแต่ละเดือน, ให้บริษัทออกเอกสารรับรองการทำงานโดยเขียนรายละเอียดทุกอย่างครบถ้วน, บริษัทออกหนังสือรับรองเงินเดือนระบุตัวเลขชัดเจน
  2. 2. ซื้อประกันเดินทางเชงเก้นที่มีวงเงินคุ้มครองไม่ต่ำกว่า 30,000 ยูโร หรือ 1.5 ล้านบาท
  3. 3. เอกสารบางอย่าง เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หนังสือรับรองเงินเดือน ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดทั้งตัวจริงและสำเนา
  4. 4. เช็กรายละเอียดการกรอกแบบฟอร์มขอวีซ่าเชงเก้นให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นเรื่องจริงทั้งหมด หรือในกรณีที่คุณไม่แน่ใจศูนย์รับยื่นวีซ่าเองก็มีบริการดังกล่าวให้เช่นกัน
  5. 5. มีการเตรียมความพร้อมของตนเองในกรณีที่อาจถูกเจ้าหน้าที่สถานทูตฯ เรียกตัวเพื่อสัมภาษณ์พูดคุยเพิ่มเติม

ก่อนยื่นวีซ่าเชงเก้นอย่าลืมซื้อประกันเดินทางเชงเก้นจาก LUMA 

อีกสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนได้รับผลพิจารณาวีซ่าเชงเก้นตามที่ตนเองคาดหวังนั่นคือต้องมีประกันเดินทางต่างประเทศที่ผ่านการอนุมัติจากประเทศกลุ่มเชงเก้น จึงขอแนะนำ ประกันเชงเก้นจาก LUMA มีแผนให้เลือกความคุ้มครองได้ตามที่ต้องการ ทุกแผนที่เสนอ ครบตามความต้องการในการยื่นขอวีซ่าเชงเก้น ให้สามารถเดินทางได้อย่างไร้กังวล

You May Also Like

ขอวีซ่าฟินแลนด์
Uncategorized

ประกันเดินทางต่างประเทศที่ไหนดี ปี 2567 มาดูกันเลย

หลาย ๆ คนเริ่มอยากออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศกันมากขึ้น แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าจะเลือกซื้อประกันเดินทางที่ไหนดี วันนี้ LUMA ได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วว่ามีที่ไหนที่น่าสนใจบ้าง ประกันเดินทางต่างประเทศที่ไหนดี LUMA Sompo AXA MSIG Allianz Travel ทิพยประกันภัย LUMA ประกันเดินทางต่างประเทศ LUMA ผู้เชียวชาญเรื่องประกัน ไม่ว่าเป็นประกันเดินทางต่างประเทศหรือประกันสุขภาพ …

ประกันเดินทางเชงเก้นคุ้มครองอะไร
เดินทาง

ประกันเชงเก้นคุ้มครองอะไรบ้าง? มาดูกันเลย

ประกันเชงเก้นควรคุ้มครอง วงเงินค่ารักษา 30,000 Euro หรือ 1,500,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลขณะอยู่ต่างประเทศ คุ้มครองอุบัติเหตุส่วนบุคคล ช่วยเหลือฉุกเฉินทั่วโลก 24 ชั่วโมง การเดินทางไปท่องเที่ยวประเทศแถบยุโรป อาจจะเป็นการท่องเที่ยวในฝันของใครหลาย ๆ คน อย่างไรก็ตาม การเดินทางเข้าประเทศในกลุ่มยุโรปนั้น จำเป็นต้องทำวีซ่าเพื่อเข้าประเทศเสียก่อน  โดยเฉพาะวีซ่าเชงเก้น …

ประกันสุขภาพเลือกแบบไหนดี
เดินทาง

ประกันสุขภาพมีกี่แบบ แล้วจะเลือกแบบไหนให้เหมาะกับตัวเองดี

ประกันสุขภาพมี 2 แบบ 1. ประกันสุขภาพกลุ่ม 2. ประกันสุขภาพส่วนบุคคล และยังสามารถมี สัญญาเพิ่มเติม เช่น  1. สัญญาเพิ่มเติมประกันชดเชยรายได้ 2. สัญญาเพิ่มเติมประกันโรคร้าย นอกจากการดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายของตนเองแล้ว การมี “ประกันสุขภาพ” ติดตัวไว้สักฉบับก็ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด ด้วยยุคนี้ความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมีเยอะมาก บวกกับค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้งก็หนักใช่เล่น …