“นิ้วล็อค” ภัยใกล้ตัวที่ไม่ได้อยู่แค่พนักงานออฟฟิศ พร้อมวิธีรักษาและป้องกัน

นิ้วล็อค

นิ้วล็อค เป็นอาการที่นิ้วไม่สามารถเหยียด หรือไม่สามารถงอกลับมาได้อย่างปกติ และสามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเพศทุกวัย ยิ่งในปัจจุบันผู้คนต้องติดต่อสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน รวมไปถึงอิทธิพลการทำงานจากที่บ้าน (Work from home) หรือการเรียนออนไลน์ที่ต้องติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ทำให้ผู้คนมีแนวโน้มเกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวสูงขึ้นด้วย

นิ้วล็อค เกิดจากอะไร

นิ้วล็อคเกิดจากการที่เส้นเอ็นหรือปลอกหุ้มเอ็นของนิ้วมือ มีอาการอักเสบหรือบวม ส่งผลให้เส้นเอ็นประสาทและปลอกหุ้มของนิ้วมืออยู่ในภาวะไม่สมดุลกัน โดยเส้นเอ็นประสาทไม่สามารถเคลื่อนที่เข้าปลอกหุ้มเอ็นได้ ซี่งปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วมือ ได้แก่

การทำงาน

อาชีพที่ใช้งานนิ้วอย่างหนัก มีแนวโน้มที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้ง่ายมากขึ้น เช่น แม่บ้าน นักดนตรี คนทำสวน นักกีฬา หรือพนักงานออฟฟิศ

โรคประจำตัว

นิ้วล็อคสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ วัณโรค โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) และโรคไฮโปไทรอยด์ รวมไปถึงกลุ่มคนที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี จะมีแนวโน้มที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บดังกล่าวได้ง่ายขึ้น

รูปแบบการใช้ชีวิต

แต่ละคนมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นอาการนิ้วล็อคจึงสามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทุกวัย โดยหนึ่งในพฤติกรรมที่ทำให้เสี่ยงต่ออาการนิ้วล็อค คือการใช้เครื่องมือสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพื่อติดต่อกันมากขึ้น เช่น การรับ – ส่งข้อความผ่านสมาร์ทโฟน ที่ส่งผลให้นิ้วมือถูกใช้งานหนักมากขึ้น

รักษานิ้วล็อค

อาการนิ้วล็อคเป็นอย่างไรบ้าง

อาการของนิ้วล็อคจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่ความรุนแรงของอาการ ซึ่งสามารถอธิบายอาการที่พบบ่อยของนิ้วล็อคได้ ดังนี้

  • รู้สึกเจ็บบริเวณโคนนิ้วมือหรือนิ้วโป้ง และรู้สึกว่าขยับส่วนดังกล่าวได้ยากขึ้น
  • งอนิ้วมือแล้วพบว่ามีอาการสะดุด มีเสียงกรอบแกรบขณะที่ขยับนิ้วมือ
  • พบก้อนตามฐานนิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือ
  • นิ้วมืองอได้ยากขึ้น เหยียดไม่ออก และไม่สามารถขยับนิ้วได้

แนวทางป้องกันอาการนิ้วล็อค 

สำหรับการป้องกันการเกิดนิ้วล็อคสามารถทำได้หลายวิธี สามารถป้องกันได้ด้วยการหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมที่ส่งผลต่อการใช้งานของนิ้วหนักมากขึ้น เพื่อป้องกันการเกิดของอาการบาดเจ็บได้ภายในอนาคต ดังนี้ 

  • จำกัดชั่วโมงการใช้งานสมาร์ทโฟน และหลีกเลี่ยงการพิมพ์ข้อความบนสมาร์ทโฟนเป็นระยะเวลานาน แต่เปลี่ยนเป็นการสื่อสารผ่านทางเสียง หรือเปลี่ยนมาสื่อสารผ่านการโทรแทน

  • ถ้าหากเริ่มมีอาการปวดตึงข้อมือหรือนิ้วมือ ให้จุ่มมือลงไปในน้ำอุ่นเป็นระยะเวลา 5 – 10 นาที เพื่อลดความตึงของกล้ามเนื้อบริเวณนิ้วมือที่ถูกใช้งานหนัก

  • ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น ซ้อมดนตรีที่ใช้นิ้วในระยะเวลาที่เหมาะสม หากทำกิจกรรมเป็นระยะเวลานาน ในระหว่างพักควรมีการบริหารข้อมือและนิ้วมือ

  • ลดการทำงานที่ส่งผลต่อการใช้นิ้วมือและข้อมือ

นิ้วล็อค รักษาอย่างไรบ้าง

วิธีการรักษานิ้วล็อค สามารถทำได้ด้วยการบรรเทาอาการเบื้องต้นและรักษาด้วยการผ่าตัด

การบรรเทาเบื้องต้น

การบรรเทาอาการบาดเจ็บเบื้องต้นสามารถทำได้หลายวิธี เช่น

  • หากมีอาการบวม ปวด หรือติดเชื้อ ควรปรึกษาเภสัชเพื่อรับประทานยาให้ตรงกับอาการ
  • พักกิจกรรมที่ใช้งานนิ้วหนัก 
  • สามารถประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
  • หมั่นนวดบริหารนิ้วมือ 
  • หากรู้สึกปวดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการบาดเจ็บ

รักษาได้ด้วยการผ่าตัด

การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ การผ่าตัดแบบเปิดและการผ่าตัดแบบปิด

  • การผ่าตัดแบบเปิด : เป็นวิธีที่คนนิยมทำมากที่สุด โดยแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อผ่าตัด เมื่อผ่าตัดเสร็จแล้ว จะใช้เวลาในการฟื้นตัวของนิ้วมือเป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ – 6 เดือน ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของความรวดเร็วในการการฟื้นตัวของผู้ป่วย

  • การผ่าตัดแบบปิด : แพทย์จะทำการสะกิดปลอกหุ้มเอ็นผ่านผิวหนัง สำหรับการผ่าตัดรูปแบบนี้จะมีความเสี่ยงต่อเส้นประสาทและเส้นเอ็นที่อยู่บริเวณข้างเคียง เมื่อผ่าตัดเสร็จจึงมีอาการปวดบริเวณที่ผ่าตัดและมีอาการชาปลายนิ้ว เมื่อการผ่าตัดดำเนินการเสร็จเรียบร้อย ผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทำกิจกรรมที่ใช้งานนิ้วมือได้ ภายในระยะเวลาไม่กี่วัน

นิ้วล็อคเป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย ไม่ว่าจะวัยเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน หรือวัยสูงอายุ โดยปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดอาการอักเสบเส้นเอ็นของนิ้วมือ ได้แก่ การทำงาน โรคประจำตัว หรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไปของแต่ละบุคคล ดังนั้นการทราบถึงวิธีการป้องกันนิ้วล็อค จะช่วยลดอาการบาดเจ็บนิ้วมือได้เบื้องต้น ลองหันมาเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ หมั่นดูแลสุขภาพของนิ้วและข้อมือให้มีสุขภาพดี เพราะนิ้วและข้อมือมีความสำคัญไม่ต่างจากการดูแลสุขภาพด้านอื่น ๆ ภายในร่างกาย และหากรู้สึกปวดนิ้วมือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน นิ้วมือมีอาการบวม หรืออักเสบ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเพื่อรักษาอาการดังกล่าว

You May Also Like

ความดันโลหิตสูง
สุขภาพ

ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหรือที่เรียกกันว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ เพราะเป็นโรคไม่มีอาการบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงคืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร? ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการหัวใจวาย ตาบอด และโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรู้สึกได้ โดยปกติจะไม่มีสัญญาณเตือน คุณจึงอาจจะไม่รู้เลยว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มใช้ยาตัวใหม่ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจระดับความดันโลหิตโดยแพทย์ ซึ่งมักตรวจทุกครั้งเมื่อคุณไปโรงพยาบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี …

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …