โรคมะเร็งปอดคืออะไร ? อาการ สาเหตุ และแนวทางวิธีการรักษา

Methinee Chinmetheephithak

Methinee Chinmetheephithak

ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทความทางการแพทย์

โรคมะเร็งสามารถพบได้ในทุกเพศทุกวัย และมีแนวโน้มที่จะพบในผู้ที่มีอายุน้อยเยอะขึ้นเรื่อย ๆ และยังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยอีกด้วย โรคมะเร็งปอดคือ โรคมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับ 2 ในเพศชาย และเป็นอันดับ 4 ของโรคมะเร็งในเพศหญิง โรคมะเร็งไม่ได้แม้จะสร้างความเจ็บปวดทางกายและใจให้ผู้ป่วยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงนำความกังวลและความเครียดมาสู่คนรอบข้างอีกด้วย แต่ทั้งนี้โรคมะเร็งปอดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด เทคโนโลยีการรักษาในปัจจุบันทำให้โรคเร็งปอดที่สามารถรักษาได้ด้วย หากพบใจในระยะต้นๆ ในบทความนี้เราจะทำความรู้จักกับโรคมะเร็งปอด สาเหตุ อาการ รวมถึงการป้องกัน อย่างละเอียด 

รู้หรือไม่ ? โรคมะเร็งปอดคือโรคที่คร่าชีวิตคนไทยกว่าหมื่นรายต่อปี

โรคมะเร็งปอดคือ 1 ใน 5 อันดับมะเร็งที่คร่าชีวิตคนไทย โรคมะเร็งปอดคือเซลล์ของเนื้อปอดที่แบ่งตัวมากผิดปกติ และเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วโดยไม่สามารถควบคุมได้ จนกลายเป็นก้อนเซลล์ที่ผิดปกติ แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่โรคมะเร็งได้ลุกลามไปมากแล้ว โรคมะเร็งปอดที่ตรวจพบได้ในปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก อัตราการเกิดสูงถึง 80-85% ชนิดที่สองคือ โรคมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก อัตราการเกิดประมาณ 10-15% และพบว่าเซลล์มะเร็งชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว

มาทำความรู้จักกับ “โรคมะเร็งปอด” อะไรคือสาเหตุหลักของโรคนี้

โรคมะเร็งปอดเกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของภายในปอด หลังจากนั้นเซลล์ได้เกิดกลายพันธุ์เป็นเนื้อร้าย และเข้าไปขัดขวางกระบวนการทำงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่แล้วโรคมะเร็งปอดจะเริ่มจากจุดเล็ก ๆ โดยเฉพาะบริเวณถุงลมขนาดเล็กภายในปอด แล้วจึงลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ โดยรอบ แม้ว่าในปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของโรคมะเร็งปอดได้ แต่พบว่ามีความเสี่ยงบางประการที่อาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด ดังนี้

  • โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากการสูบบุหรี่
  • โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากก๊าซเรดอน
  • โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากการสูดดมควันบุหรี่
  • โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากอาการปอดติดเชื้อ
  • โรคมะเร็งปอดที่เกิดจากสารพิษและมลภาวะ
  • การรับประทานอาหารเสริมเบต้าแคโรทีน
  • การกินผักผลไม้น้อย
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือเป็นผู้ป่วยติดเชื้อ HIV

ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด จำแนกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้และปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างไรก็ตามการตื่นตัวต่อปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอดได้

เพศ

โรคมะเร็งปอดยังคงครองแชมป์โรคมะเร็งที่พบได้บ่อยในเพศชาย โดยอัตราการเกิดสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุหลักมาจากการสูบบุหรี่ การใช้กัญชา โคเคน หรือผู้ที่มีภาวะขาดวิตามินเอ ยิ่งอายุมากขึ้นความเสี่ยงยิ่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย การลดความเสี่ยงที่ดีที่สุดคือ หยุดใช้สารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดทุกชนิด

เชื้อชาติ

โรคมะเร็งปอดเป็นปัญหาสำคัญของทางสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจากผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และจากสถิติพบว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งมากกว่าครึ่งอยู่ในโซนเอเชีย สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะมีจำนวนประชากรมาก อีกทั้งมาตรการการป้องกันและวินิจฉัยโรคยังไม่ทันสมัยมากพอ

อายุ

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปอดสามารถพบได้ในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ ส่วนใหญ่แล้วเริ่มต้นที่ 30 ปีขึ้นไป หรือน้อยกว่านั้น เพศชายที่อายุตั้งแต่ 50-60 ปีขึ้นไป โอกาสเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงถึง 2 เท่า ด้วยอายุที่มากขึ้นทำให้ความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

สภาพการทำงาน

รู้หรือไม่ว่าสภาพการทำงานที่เป็นพิษ ก็ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้ เช่น ผู้ที่ต้องทำงานร่วมกับคนสูบบุหรี่ หรือผู้ที่ทำงานตามสถานบันเทิง ผู้ที่ทำงานเหมืองแร่ การก่อสร้าง หรือทำงานเกี่ยวกับผ้าเบรก คลัตช์ ฉนวนกันความร้อน และอุตสาหกรรมสิ่งทอ เป็นต้น

มะเร็งปอดเกิดจากอะไร

การสูบบุหรี่และยาสูบ

บุหรี่และยาสูบเป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดมากที่สุด กว่า 80% ของการเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งปอดเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการสูบบุหรี่โดยตรง การสูบบุหรี่แค่ไม่กี่มวนต่อวันก็ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงได้ ดังนั้นการเลิกบุหรี่จึงถือว่าเป็นวิธีลดความเสี่ยงที่ดีที่สุด

ควันบุหรี่มือสอง

ควันบุหรี่มือสองที่เราสูดดมเข้าไป แม้เป็นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ก็ก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ต้องใช้ชีวิตอยู่กับผู้สูบบุหรี่ เช่น เด็กเล็ก ทารก เมื่อสูบควันบุหรี่เข้าไปมาก ๆ อาจส่งผลให้ปอดทำงานผิดปกติได้

ความอ้วน

เนื่องจากโรคมะเร็งไม่ได้มาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เกิดขึ้นจากหลาย ๆ ปัจจัยมารวมกัน และหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดคือ ความอ้วน เนื่องจากมีระดับอินซูลินในเลือดสูง ทำให้ไปกระตุ้นต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้

พันธุกรรม

ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งปอด ย่อมมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ครอบครัวไม่เคยมีประวัติเป็นโรคมะเร็ง เนื่องจากโรคมะเร็งได้รับการถ่ายทอดจากพันธุกรรมโดยตรง รวมถึงยีนบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับเซลล์มะเร็งบางชนิดด้วย

อาการของโรคมะเร็งปอด สัญญาณเตือนของโรคมะเร็งปอด

อาการของโรคมะเร็งปอดสามารถพบในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย เนื่องจากโรคมะเร็งได้ลุกลามไปยังอวัยวะต่าง ๆได้ และความรุนแรงในอาการของโรคมะเร็งปอดจะแตกต่างกันไป ผู้ป่วยบางรายไม่รู้สึกผิดปกติอะไรเลย มีแค่อาการเหนื่อยง่ายเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีอาการบางอย่างที่ควรเฝ้าระวังคือ

  • ไอเรื้อรังเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน
  • หายใจหอบถี่
  • เสียงแหบ
  • หายใจเสียงหวีด
  • มีอาการเจ็บบริเวณหน้าอกส่วนบน
  • เลือดออกมาพร้อมเสมหะ
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

โรคมะเร็งปอด มีกี่ระยะ

โรค มะเร็งปอดสามารถตรวจหาระยะได้ผ่านการฉายรังสี โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่พบว่ามีก้อนบางอย่างอยู่ในปอด หรือตรวจพบจุดเล็ก ๆ บริเวณเนื้อปอด

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่มะเร็งเริ่มแพร่กระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง

ระยะที่ 3 เป็นระยะที่พบว่ามะเร็งกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองและช่องอก

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ปอดอีกข้าง หรือต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณคอ เป็นต้น

มะเร็งปอดรักษายังไง

การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอด

การตรวจโรคมะเร็งปอด เบื้องต้นแพทย์จะทำการประเมินอาการและตรวจร่างกาย เช่น การฟังเสียงหายใจ หลังจากนั้นทำการซักถามประวัติและปัจจัยเสี่ยงเช่น สูบบุหรี่หรือไม่ หรือมีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่หรือเปล่า อาจจะมีการสอบถามเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงานร่วมด้วย เพื่อตรวจสอบว่าได้รับควันหรือสารพิษที่เป็นอันตรายต่อปอดหรือไม่ การวินิจฉัยโรคมะเร็งปอดสามารถทำได้หลายวิธีดังนี้

  • การเอกซเรย์ปอดหรือซีทีสแกน เพื่อให้เห็นตำแหน่งของเนื้อเยื่อที่ต้องการตรวจสอบ
  • การตรวจเสมหะด้วยกล้องจุลทรรศน์
  • การตัดชิ้นเนื้อเพื่อวิเคราะห์ มักทำคู่กับซีทีสแกน
  • การส่องกล้องตรวจภายในหลอดลม เพื่อตรวจดูบริเวณเนื้อเยื่อปอดที่อาจผิดปกติ
  • การตรวจช่องกลางทรวงอกโดยการส่องกล้อง เป็นการผ่าตัดบริเวณส่วนบนของกระดูกอก เพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อหรือต่อมน้ำเหลืองมาตรวจ

วิธีการรักษาโรคมะเร็งปอด

วิธีการรักษาโรคมะเร็งปอดมีหลายรูปแบบ อยู่ที่ประเภทของมะเร็งและระยะการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งปอดจะได้ผลดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ประการ เช่นสุขภาพโดยทั่วไปของผู้ป่วยและความต้องการส่วนบุคคล

การผ่าตัด

เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งปอดที่ยังไม่มีการแพร่กระจาย เพราะสามารถหายขาดได้ ในบางกรณีมีการใช้การฉายแสงหรือเคมีบำบัด เพื่อให้ก้อนมะเร็งเล็กลงก่อนทำการผ่าตัด

การบำบัดด้วยรังสี

เป็นการใช้รังสีพลังงานสูงในการลดขนาดก้อนเนื้อ โดยใช้วิธีฆ่าทำลายเซลล์มะเร็ง เป็นทางเลือกหลักในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดระยะลุกลาม

การให้ยาเคมีบำบัด

เป็นการใช้พิเศษเพื่อลดขนาดของเซลล์มะเร็ง มีทั้งยาเม็ดสำหรับรับประทานและยาฉีดเข้าเส้นเลือด การทำเคมีบำบัดใช้บรรเทาอาการปวดจากโรคมะเร็งได้ด้วย

การรักษามะเร็งด้วยยาแบบจำเพาะเจาะจง

เป็นการใช้ยาเพื่อขัดขวางและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

เป็นการใช้ภูมิคุ้มกันเพื่อจัดการเซลล์มะเร็ง ผู้ป่วยจะได้รับยาเพื่อรบกวนกระบวนการผลิตโปรตีนที่เซลล์มะเร็งใช้ในการป้องกันตนเองจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

มะเร็งปอด คือ

บทสรุป

ขึ้นชื่อว่าโรคมะเร็งคงไม่มีใครอยากเป็น เพราะกว่าจะรู้ตัวว่าเป็นโรคร้าย หรือกว่าจะแสดงอาการ ร่างกายก็ทรุดโทรมลงไปมากแล้ว และโรคมะเร็งปอดคือปัญหาที่พบได้อันดับต้น ๆ ของประชากรไทย ดังนั้นจึงควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อทำการคัดกรองมะเร็งอย่างละเอียด เมื่อเรารู้แล้วว่ามะเร็งเป็นภัยเงียบ การเตรียมตัวเพื่อวางแผนกระจายความเสี่ยงก็ควรทำประกันมะเร็งกับ LUMA ถือว่าเป็นการวางแผนดูแลสุขภาพที่รอบคอบ เพื่อที่คุณได้รับการรักษาอย่างมีคุณภาพและจะได้อยู่ใช้ชีวิตกับคนที่คุณรักไปนาน ๆ

You May Also Like

เสริมภูมิคุ้มกัน
สุขภาพ

อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน มีอะไรบ้าง

การอยู่บ้านช่วงวิกฤตไม่ได้หมายความว่าคุณต้องกินแต่อาหารที่ปรุงลวกๆ การทำอาหารที่บ้านช่วยให้คุณมีกิจกรรมทำและปลดปล่อยจิตใจจากความวิตกกังวลในช่วงเวลาที่ท้าทายนี้ หากคุณเตรียมวัตถุดิบเข้าครัวไว้แล้ว ก็เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ลงมือทำสารพัดเมนูที่คุณชอบ ในช่วงที่มีไวรัสระบาด คุณต้องการอาหารที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงและปลอดภัยจากการเจ็บป่วย ถ้าเย็นนี้คุณอยากทำอาหารทานเอง ลองซื้ออาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อไปนี้ที่ร้านค้าใกล้บ้านคุณดูสิ บรอกโคลี บรอกโคลีมีชื่อเสียงว่าเป็นสุดยอดอาหารและสามารถนำไปใช้ทำอาหารได้หลากหลายเมนูนอกจากนี้ยังหาซื้อได้ง่ายจากตลาด แคลอรี่ต่ำ เต็มไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ กุญแจสำคัญในการรักษาสารอาหารและพลังงานให้คงเดิมคือใช้บรอกโคลีสดและปรุงให้ไม่สุกเกินไป วิธีเลือกซื้อและเก็บรักษาบรอกโคลี: เมื่อซื้อบรอกโคลี ให้เลือกดอกที่เนื้อแน่น กระชับ และมีสีเขียวเข้ม ไม่ควรเลือกดอกที่มีชิ้นส่วนร่วนหลุด เปลี่ยนเป็นสีเหลือง …

ความดันโลหิตสูง
สุขภาพ

ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหรือที่เรียกกันว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ เพราะเป็นโรคไม่มีอาการบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงคืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร? ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการหัวใจวาย ตาบอด และโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรู้สึกได้ โดยปกติจะไม่มีสัญญาณเตือน คุณจึงอาจจะไม่รู้เลยว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มใช้ยาตัวใหม่ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจระดับความดันโลหิตโดยแพทย์ ซึ่งมักตรวจทุกครั้งเมื่อคุณไปโรงพยาบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี …

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …