เที่ยวอิตาลีครั้งนี้ไม่ง้อใคร เดินทางอย่างง่ายด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

เที่ยวอิตาลีทั้งทีถ้าอยากเดินทางเองก็ต้องศึกษาข้อมูลระบบขนส่งสาธารณะเอาไว้ เพื่อเติมเต็มทริปต่างประเทศให้สมบูรณ์แบบมากขึ้น หากนักท่องเที่ยวคนไหนมีข้อมูลระบบขนส่งที่แม่นยำติดตัวไว้ รับประกันเดินทางต่างประเทศครั้งนี้ไม่มีหลงแน่นอน สามารถเที่ยวเองได้ไม่ต้องง้อใคร และยังสามารถกำหนดงบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของตัวเองได้อีกด้วย ครั้งนี้ทางบทความก็ได้รวบรวมข้อมูลเรื่องระบบขนส่งในอิตาลีมาให้แล้ว ดังนี้ 

ภาพรวมระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลี 

ก่อนอื่นไปดูภาพรวมกันก่อนว่าระบบขนส่งสาธารณะภาพรวมในอิตาลีเป็นอย่างไรบ้าง มีรถโดยสารแบบไหนที่เปิดให้บริการ ก่อนจะลงลึกถึงรายละเอียดการเดินทางในเส้นทางต่างๆ โดยระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลี มีดังนี้ 

รถใต้ดิน อิตาลี

รถไฟฟ้าใต้ดิน (Metro) 

 การเดินทางในอิตาลีหากเป็นระบบขนส่งสาธารณะ ก็มีรถไฟใต้ดินเหมือนกับในหลายๆ ประเทศ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเดินทางที่สะดวกสบาย และมีความรวดเร็วจากระบบรางที่ไม่ต้องวิ่งบนท้องถนน อีกทั้งยังมีระยะเวลาที่แน่นอน ซึ่งดีต่อการเดินทางที่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ อีกทั้งยังมีผังการเดินทางที่ชัดเจน ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับการเดินทางในแต่ละครั้ง รับประกันเดินทางแบบไม่ผิดพลาด ทั้งในเรื่องของเวลาและเส้นทาง โดยรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีในบางเมือง อาทิ กรุงโรม มิลาน เนเปิลส์ เป็นต้น  

รถราง (Tram) 

ระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลี มีอีกหนึ่งรูปแบบนั่นก็คือรถราง ซึ่งเป็นรถที่วิ่งไปตามรางที่ถูกติดตั้งไว้บนพื้นดิน และการเดินทางก็วิ่งไปบนพื้นดิน เน้นสัญจรรอบนอกเมือง ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการเดินทางที่สะดวกสะบายเช่นกัน เนื่องจากรถวิ่งไปตามราง ทำให้การเดินทางมีระยะเวลาที่ค่อนข้างแน่นอน สำหรับการชำระเงินค่าโดยสาร จะต้องทำการซื้อตั๋วก่อนขึ้นรถ 

รสบัสประจำทาง (Bus) 

ระบบขนส่งสาธารณะอีกหนึ่งรูปแบบในอิตาลี นั่นก็คือรถบัสประจำทาง ก็เหมือนกันกับรถเมล์บ้านเรานั่นเอง เป็นการเดินทางที่วิ่งไปบนเส้นทางประจำของสายต่างๆ ซึ่งเป็นการสัญจรบนท้องถนน สำหรับการชำระเงินค่าโดยสาร จะต้องทำการซื้อตั๋วก่อนขึ้นรถเช่นกัน หากตรวจพบว่าไม่มีตั๋วผู้โดยสารจะถูกปรับตามอัตราที่กำหนดไว้  

เดินทางในอิตาลี

เรือโดยสาร (Water Bus) 

ระบบขนส่งที่น่าสนใจอีกหนึ่งรูปแบบของอิตาลีก็คือเรือโดยสารหรือที่เรียกว่า Water Bus โดยระบบนี้จะให้บริการในเมืองเวนิส เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศในเวนิสส่วนใหญ่เป็นเกาะเล็กๆ หลายเกาะ จึงนิยมเดินทางทางน้ำ และมีบริการเรือโดยสาร โดยเป็นเรือประจำทางของสายต่างๆ ในการจ่ายค่าโดยสารก็จะต้องซื้อตั๋วโดยสารก่อนขึ้นเรือ  

รถไฟ (Train) 

สำหรับการเดินทางระหว่างเมือง ระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลีก็มีรถไฟรองรับ เป็นรถไฟความเร็วสูง โดยเส้นทางรถไฟหลักในอิตาลี คือ  

  • เวนิส – ปาดัว – โบโลญญา – ฟลอเรนซ์ – โรม – เนเปิลส์ – ซาแลร์โน 
  • ตูริน – มิลาน – โบโลญญา – ฟลอเรนซ์ – โรม – เนเปิลส์ – ซาแลร์โน 
  • มิลาน – เบรสชา – เวโรนา – วินเซนซา – ปาดัว – เวนิส 

 สายการบิน 

อีกหนึ่งระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลีก็คือการเดินทางด้วยสายการบิน ที่สามารถใช้บริการได้ทั้งระหว่างประเทศและการเดินทางระหว่างเมืองในอิตาลี ซึ่งในประเทศอิตาลีก็มีสนามบินอยู่หลายแห่ง ได้แก่   

  • สนามบินในกรุงโรม ซึ่งมีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ Fiumicino (FCO) และสนามบิน Ciampino (CIA)  
  • สนามบินในมิลาน 3 แห่ง คือ Milan Malpensa (MXP) สนามบิน Linate (Lin) และ สนามบิน Orio al Serio (BGY)  
  • สนามบินในเวนิส ซึ่งมีอยู่ 2 แห่ง ได้แก่ Venice Marco Polo (VCE) และ Venice Treviso (TSE) 
  • สนามบินในปิซ่า คือ Pisa Airport (PSA) 
  • สนามบินในเนเปิลส์ คือ Capodichino Airport (NAP) 
  • สนามบินในฟลอเร้นซ์ คือ Amerigo Vespucci Airport (FLR) 
  • สนามบินในเวโรนา คือ Aeroporto di Verona-Villafranca หรืออีกชื่อหนึ่งคือ Aeroporto di Verona Valerio Catullo (VRN) 
  • สนามบินในเมืองโบโลญญา คือ Guglielmo Marconi international Airport (BLQ) 

แน่นอนว่าการเดินทางระหว่างประเทศ อย่างไรก็ต้องเดินทางด้วยสายการบิน ส่วนการเดินทางระหว่างเมืองในอิตาลี ที่เป็นเมืองไกลกัน ก็ถือว่าการเดินทางด้วยสายการบินมีความรวดเร็ว ใช้เวลาเดินทางระยะสั้นกว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง แต่อาจมีปัญหาเรื่อง Flight Delay ที่พบได้ไม่บ่อย และถ้าหากมีการทำประกันเดินทางต่างประเทศที่ครอบคลุมปัญหา Flight Delay ก็จะได้รับเงินชดเชยอีกด้วย 

ข้อมูลส่วนนี้เป็นภาพรวมระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลี ซึ่งถ้าหากว่านักท่องเที่ยวคนไหนมีแพลนเดินทางเยอะ ไปหลายที่ มีจุดหมายระหว่างเมืองหลายแห่ง แนะนำว่าควรทำประกันเดินทางต่างประเทศเอาไว้ด้วยจะดีที่สุด เพราะยิ่งเดินทางเยอะก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อเรื่องไม่คาดฝันเกิดขึ้น

ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงโรม 

รถไฟฟ้าใต้ดิน (Metro) 

ในกรุงโรมมีรถไฟใต้ดินให้บริการอยู่ 3 สาย หากเทียบกับเมืองหลวงในประเทศอื่น ถือว่าอิตาลีมีรถไฟใต้ดินให้บริการน้อยมาก เหตุเพราะเมื่อมีการขุดอุโมงค์เพื่อสร้างทางรถไฟใต้ดิน มักจะเจอซากทางโบราณคดีเกือบทุกครั้ง ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนเส้นทางและการวางตำแหน่งของสถานีอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้ใช้เวลานานในการก่อสร้างแต่ละครั้ง  

สำหรับเส้นทางสายหลักจำนวน 3 เส้นทาง คือสาย A สีส้ม, สาย B สีน้ำเงิน และสาย C แต่เพราะสาย C ก่อสร้างเสร็จแค่บางส่วน ในที่นี่จึงขอกล่าวถึงเพียง 2 สาย คือสาย A สีส้ม และสาย B สีน้ำเงิน ค่าบริการอยู่ที่เที่ยวละ 1.5 ยูโร ไม่ว่าจะเดินทางระยะไกลแค่ไหน แต่มีข้อจำกัดคือไม่สามารถอยู่ในระบบได้นานเกิน 100 นาทีในหนึ่งเที่ยว นอกจากบัตรเที่ยวเดียวยังมีบริการบัตรแบบเหมาจ่ายรายวัน ซึ่งตั๋วนี้จะใช้เดินทางรถไฟใต้ดินได้ และยังใช้เดินทางด้วยรถบัส รถรางได้ด้วย ราคาบัตรคือ  

  • Rome24 สามารถใช้ได้ 24 ชั่วโมง ราคา 7 ยูโร 
  • Rome48 สามารถใช้ได้ 48 ชั่วโมง ราคา 12.5 ยูโร 
  • Rome72 สามารถใช้ได้ 72 ชั่วโมง ราคา 18 ยูโร 
  • CIS ticket หรือแบบ 7 วัน ราคา 24 ยูโร 

นอกจากการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน ก็จะมีระบบขนส่งแบบรถบัสประจำทาง (Bus) และรถราง (Tram) รองรับในกรุงโรม สำหรับการจ่ายค่าโดยสาร ผู้โดยสารจะต้องซื้อบัตรโดยสารก่อนขึ้นรถทั้งรถไฟใต้ดิน รถบัสประจำทางและรถราง   

ระบบขนส่งสาธารณะในมิลาน 

รถไฟฟ้าใต้ดิน (Metro) 

มิลานมีระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่ยาวที่สุดในอิตาลี ด้วยระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 92 กิโลเมตร ประกอบไปด้วยเส้นทางทั้งหมด 4 เส้นทางคือ  

  • Metro 1 สีแดง ระยะทางรวมประมาณ 26.9 กิโลเมตร มีสถานีปลายทางคือที่ Rho Fiera และ Bisceglie 
  • Metro 2 สีเขียว ระยะทางรวมโดยประมาณ 39.4 กิโลเมตร มีสถานีปลายทางคือ Assago Milanofiori Forum และ Abbiategrasso  , 
  • Metro 3 สีเหลือง ระยะทางรวมโดยประมาณ 16.7 กิโลเมตร มีสถานีปลายทางคือ Comasina 
  • Metro 5 สีม่วง ระยะทางรวมโดยประมาณ 12.9 กิโลเมตร และมีสถานีปลายทางคือ San Siro Stadio 

นอกจากการเดินทางด้วยรถไฟใต้ดิน ก็จะมีระบบขนส่งแบบรถบัสประจำทาง (Bus) และรถราง (Tram) รองรับในมิลาน โดยค่าเดินทางจะซื้อเป็นบัตรโดยสารที่สามารถใช้ได้ทั้งรถไฟใต้ดิน รถราง และรถบัสประจำทาง คือ  

  • บัตรเที่ยวเดียว 1 ยูโร สามารถเดินทางได้สูงสุด 90 นาที 
  • บัตรรายวัน 3 ยูโร 
  • บัตร 48 ชั่วโมง 5.50 ยูโร 

 

ระบบขนส่งสาธารณะในเวนิส 

 เรือโดยสาร Water bus 

 เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศในเวนิสส่วนใหญ่เป็นเกาะเล็กๆ หลายเกาะ จึงนิยมเดินทางทางน้ำ และมีบริการเรือโดยสารมีท่าเรือประมาณ 120 ท่า และมีเส้นทางเดินเรือประมาณ 30 เส้นทาง โดยการให้บริการ Waterbus ในเวนิสจะเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ประเภทตั๋วโดยสารที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวคือ  

  • บัตรเที่ยวเดียวราคา 7.50 ยูโร ใช้เดินทางได้ 1 เที่ยวภายในระยะเวลา 75 นาทีหลังจาก validate ตั๋วในการใช้งานครั้งแรก 
  • บัตรรายวัน 1 วัน ราคา 20 ยูโร มีอายุ 24 ชั่วโมง หลังจาก validate ตั๋วในการใช้งานครั้งแรก 
  • บัตร 2 วัน ราคา 30 ยูโร มีอายุ 48 ชั่วโมง หลังจาก validate ตั๋วในการใช้งานครั้งแรก 
  • บัตร 3 วัน ราคา 40 ยูโร มีอายุ 72 ชั่วโมง หลังจาก validate ตั๋วในการใช้งานครั้งแรก 
  • บัตร 7 วัน ราคา 60 ยูโร มีอายุ 7 วัน หลังจาก validate ตั๋วในการใช้งานครั้งแรก  

นอกจากนี้ก็จะมีระบบขนส่งแบบรถบัสประจำทาง (Bus) และรถราง (Tram) รองรับในเวนิส  

ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นระบบขนส่งสาธารณะในอิตาลีที่สามารถเดินทางง่ายๆ ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องง้อทัวร์หรือไม่ต้องเช่ารถ นักเดินทางคนไหนมีแพลนเที่ยวอิตาลีอย่าลืมบันทึกข้อมูลเเหล่านี้เอาไว้ จากนั้นก็เตรียมตัวเตรียมใจ วางแผนเดินทางให้พร้อม ที่สำคัญสำหรับการเดินทางไกล ไม่ควรลืมทำประกันเดินทางไปอิตาลีเอาไว้ด้วย เพื่อคุ้มครองอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝัน จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่บานปลายไปกว่าที่วางไว้  

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …