ซีเอ็มวี (CMV): สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส

Methinee Chinmetheephithak

Methinee Chinmetheephithak

ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบทความทางการแพทย์
Luma's Medical Team

ซีเอ็มวี (CMV): สิ่งที่พ่อแม่ต้องรู้เกี่ยวกับเชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus)

เชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (CMV) เป็นเชื้อไวรัสที่มีอยู่ปกติทั่วไปแต่ไม่ได้รับการรู้จักทั้งจากคนทั่วไปหรือพ่อแม่มากมายนัก เพราะโดยปกติจะพบในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องเช่นผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ปลูกถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยถ่ายไขกระดูก รวมไปถึงหญิงตั้งครรภ์ หากเกิดจากการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ในระหว่างที่ตั้งครรภ์อาจส่งผลให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กในครรภ์ได้ซึ่งจะทำให้เกิดการติดเชื้อแต่กำเนิดในทารกได้ (Congenital CMV infection)

โดยอัตราติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) นั้นเกิดขึ้นสูงกว่าถึง 20 เท่าของโรคท็อกโซพลาสโมซิส(โรคไข้ขี้แมว)ที่เป็นอีกหนึ่งข้อกังวลทางการแพทย์ในช่วงเวลาตั้งครรภ์

ลูกแรกเกิด

ซีเอ็มวี (CMV) คืออะไร

เชื้อไซโตเมกาโลไวรัส (Cytomegalovirus) คือ เชื้อไวรัสที่อยู่ในจำพวกตระกูลเริม ไวรัสส่วนใหญ่ที่ติดต่อผ่านทางเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี เชื้อไวรัสนี้จะแพร่กระจายผ่านทางสารคัดหลั่งที่ขับออกจากร่างกาย เช่น น้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะ โดยปกติเชื้อไวรัสพวกนี้ส่วนใหญ่มักไม่เป็นอันตราย 

ถึงอย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงจากโรคเรื้อรัง หรือจากการรักษาด้วยยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ ยาเป็นประจำก็จะมีความเสี่ยงสูงกว่าคนปกติที่ทั่วไปที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV)

อาการแสดงของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) เป็นอย่างไร

อาการแสดงของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) สำหรับหญิงตั้งครรภ์เป็นอย่างไร

อาการโดยปกติอาจพบ การอักเสบของระบบทางเดินอาหาร เช่นมีการกลืนเจ็บ กลืนลำบาก ถ่ายอุจจาระเหลวร่วมกับอาการไข้ ปอดอักเสบ เป็นต้น

ผลกของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) สำหรับหญิงที่ตั้งครรภ์นั้นมักมีอาการไม่รุนแรง

อาการแสดงของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ที่พบในทารก

ทารกในครรภ์ที่ติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) มีความเสี่ยงที่จะมีอาการต่าง ๆ ตั้งแต่แรกเกิด เช่น น้ำหนักตัวน้อยจากการคลอดก่อนกำหนด ตัวเหลือ ตับม้ามโต และระหว่างการเจริญเติบโต รวมถึงอาจเกิดความพิการทางสมอง ศีรษะเล็ก ซึม ตัวอ่อนปวกเปียก ดูดนมได้ไม่ดี รวมไปถึง ปัญหาทางการได้ยิน หรือแม้กระทั่งอาการหูหนวกได้

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิด

เมื่อทารกเกิดมาพร้อมกับเชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะเรียกว่า การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิด โดยที่ทารกบางคนอาจมีปัญหาสุขภาพตั้งแต่แรกเกิด ในขณะที่ทารกบางคนอาจแสดงอาการออกมาในภายหลังช่วงระหว่างการเจริญเติบโต

ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐหรือ CDC ได้ออกมาประกาศในเดือนพฤษภาคม 2022 ว่า การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) เป็นการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของความพิการแต่กำเนิดที่พบมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยทารก 1 ใน 200 คนนั้นจะเกิดมาพร้อมกับเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิด

และ 1 ใน 5 ของทารกที่มีเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิดจะมีอาการหรือปัญหาสุขภาพในระยะยาว เช่น การสูญเสียการได้ยิน

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิดตั้งแต่แรกเกิด อาจรวมถึงอาการเหล่านี้แต่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงเท่านี้:

  • การคลอดก่อนกำหนด
  • มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำและมีภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) (ทารกอาจมีการเจริญเติบโตที่บกพร่องในครรภ์ทำห้มีขนาดตัวเล็กกว่าที่คาดการณ์ไว้)
  • ผื่น
  • ดีซ่าน
  • ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly)
  • ภาวะตับและม้ามโตกว่าปกติ (Hepatosplenomegaly)
  • จอประสาทตาอักเสบ (Retinitis)
  • อาการชัก

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แต่กำเนิดในช่วงระหว่างการเจริญเติบโตของทารก อาจรวมถึงอาการเหล่านี้แต่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงเท่านี้ ยังรวมไปถึง:

  • ร่างกายตัวอ่อนปวกเปียกหรืออ่อนแอ
  • ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา
  • การสูญเสียการได้ยิน
  • การสูญเสียการมองเห็น
  • ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly)
  • อาการชัก 
ท้องลูกคนแรก

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) เป็นโรคติดต่อหรือไม่ และเชื้อซีเอ็มวี (CMV) แพร่กระจายอย่างไร

เชื้อซีเอ็มวี (CMV) สามารถแพร่กระจายได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • การสัมผัสโดยตรงกับของเหลวจากร่างกายที่ติดเชื้อ เช่น น้ำตา น้ำลาย น้ำปัสสาวะ หรือเลือด
  • จากแม่สู่ลูกในท้อง เชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะสามารถแพร่ผ่านรกและทำให้ทารกที่กำลังเติบโตในครรภ์ติดเชื้อได้
  • จากแม่สู่ลูกโดยผ่านทางเวลาที่แม่ให้นมลูก

สถานการณ์บางอย่างที่มีความเสี่ยงสูงต่อการสัมผัสเชื้อไวรัสซีเอ็มวี (CMV)

  • เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีจะมีโอกาสสูงที่จะแพร่เชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัวในขณะเล่น จูบ หรือกอด และส่งต่อเชื้อไปยังผู้ปกครอง
  • การดูแลทารก เช่น ในระหว่างเปลี่ยนผ้าอ้อม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV)
  • ประชากรกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้ที่ดูแลเด็กและพ่อแม่ที่มีลูกกำลังเข้าเรียนโรงเรียนเตรียมอนุบาล ในขณะที่พ่อแม่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ใหม่ไปด้วย

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) มักจะไม่แสดงอาการหรือผลกระทบใด ๆ สำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และนอกจากทารกในครรภ์แล้ว การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ยังมีความเสี่ยงสูงสำหรับผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

อาการของการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) เป็นอย่างไร

การตรวจหาการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) นั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เนื่องจากอาการของการติดเชื้อไวรัสนี้มักจะคล้ายกับโรคไข้หวัด ร่วมกับอาการคลื่นไส้ ซึ่งเป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อยในระหว่างการตั้งครรภ์

เราจะสามารถวินิจฉัยซีเอ็มวี (CMV) ได้อย่างไร

เชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะสามารถตรวจพบได้ด้วยการตรวจเลือดที่จะมีการตรวจหาแอนติบอดี2 ประเภท ได้แก่

  • แอนติบอดีIgM ที่ร่างกายจะผลิตขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อย่างเฉียบพลัน การตรวจหาแอนติบอดีIgM จะสามารถบ่งชี้ได้ว่ามีเพิ่งการติดเชื้อหรือกำลังติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อยู่หรือไม่
  • แอนติบอดีIgG ที่ร่างกายจะผลิตขึ้นหลังจากติดเชื้อและเชื้ออยู่ในกระแสเลือดเป็นเวลานาน การตรวจหาแอนติบอดีIgG จะสามารถบ่งชี้ถึงการสัมผัส/การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ในอดีตได้

หากการตรวจเลือดก่อนการตั้งครรภ์ตรวจพบแอนติบอดีIgG อาจหมายความว่าร่างกายมีแอนติบอดีเพียงพอที่จะป้องกันทั้งแม่และลูกในครรภ์ในระหว่างการตั้งครรภ์

หากการตรวจเลือดในระหว่างการตั้งครรภ์ไม่พบแอนติบอดีIgM หรือ IgG นานถึง 12 สัปดาห์โดยทั่วไปจะถือว่าเป็นผลที่น่าเชื่อถือ

การติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะรักษาได้อย่างไร และจะป้องกันตนเองจากการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) ได้อย่างไร

ในปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนหรือวิธีการรักษาการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็มีการรักษาที่ช่วยลดความรุนแรงของอาการและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากเชื้อไวรัสซีเอ็มวี(CMV)

โดยสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อขอคำแนะนำและการจัดการกับอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) อย่างเหมาะสม

เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจะสามารถให้ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับการรักษาและอาการแทรกซ้อนได้

วิธีการป้องกันการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV)

จากการวิจัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ชี้ให้เห็นว่าช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดต่อการติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) สำหรับมารดาหรือผู้ที่กำลังจะวางแผนการตั้งครรภ์คือภายในสองเดือนก่อนการตั้งครรภ์และตลอดสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์

ในช่วงเวลานี้เราจึงขอแนะนำให้ผู้ปกครองจำกัดการสัมผัสกับของเหลวจากร่างกายของเด็ก ดังนี้

  • เวลาปลอบเด็ก หลีกเลี่ยงการให้ปากของท่านสัมผัสกับน้ำตาของเด็ก แทนที่จะจูบแก้ม ให้จูบที่ศีรษะแทน
  • ล้างมือให้สะอาดหลังจากเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกหรือทุกครั้งที่สัมผัสกับปัสสาวะหรืออุจจาระ
  • หลีกเลี่ยงการแบ่งปันอาหารกับทารก อย่าใช้แก้วหรือช้อนส้อมใบเดียวกัน และงดเว้นการทานอาหารเหลือจากทารก

เราเข้าใจดีว่าคำแนะนำเหล่านี้อาจจะฟังดูยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ปกครองของเด็กเล็ก อย่างไรก็ตาม

นี่ก็เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้นจนกว่าช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงมากที่สุดที่จะติดเชื้อซีเอ็มวี (CMV) จะหมดไป

CMV คือ

“ฉันเคยติดเชื้อซีเอ็มวี ตอนที่อยู่ประเทศจีน แต่ยังโชคดีที่ตอนนั้นฉันไม่ได้ท้อง ฉันคิดว่าน่าจะติดจากลูกชายฉัน เพราะตอนนั้นเขาอายุแค่ 4 ขวบ และเด็กๆเป็นกันเยอะ จริงๆตอนแรก ฉันไม่เคยคิดว่าตัวเองจะติดเชื้อ ซีเอ็มวี ไม่เคยนึกถึงโรคนี้เลย รวมถึงแพทย์หลายๆท่านที่ประเทศจีน ตอนนั้นไม่มีใครคิดจะตรวจหาเชื้อซีเอ็มวี 

หลังจากตรวจแล้วตรวจอีก ทุกอย่างปกติดี ยกเว้นการทำงานของตับ พอดีฉันรู้จักกับแพทย์ท่านหนึ่งที่เป็นคนฝรั่งเศษด้วยกันเขาแนะนำให้ลองตรวจหาเชื้อซีเอ็มวี เพราะได้ข่าวมาว่า มีเด็กและผู้ปกครอง ที่โรงเรียนฝรั่งเศษที่จีน ติดเชื้อนี้ ฉันก็เลยลองตรวจดู

ตรวจครั้งแรก ไม่เจออะไร เลยลองดูไปก่อน อีก 2 สัปดาห์กลับมาตรวจอีกครั้ง เจอเชื้อซีเอ็มวีค่ะ 

พอรู้ตัวว่าติดเชื้อซีเอ็มวี ตกใจมากค่ะ แต่คุณหมอไม่ได้ให้ทานยาอะไร อธิบายว่าเชื้อมันจะหายเองและ ให้ปรับการกินค่ะ ฉันเลยปรับการใช้ชีวิต การเลือกกิน ไม่กินไขมัน น้ำมัน ของทอด งดเนื้อสัตว์ กินแต่พักนึ่งกับข้าว เป็นเวลาหนึ่งเดือน

พอครบหนึ่งเดือน ฉันกลับไปตรวจกับคุณหมออีกครั้ง เชื้อหายหมดแล้ว การทำงานของตับปกติดี คุณหมอยังตกใจในผลที่ออกมา เพราะใช้เวลาเพียงแค่หนึ่งเดือน และปรับการกิน ทำให้หายสนิท คุณหมอเองยังพูดเลย ว่าไม่เคยเจอคนไข้หายเร็วขนาดนี้!”

Fred, ทีมผู้บริหาร

You May Also Like

ความดันโลหิตสูง
สุขภาพ

ทำความรู้จักโรคความดันโลหิตสูง และ วิธีลดความดันโลหิต

ความดันโลหิตสูงหรือที่เรียกกันว่า ‘ฆาตกรเงียบ’ เพราะเป็นโรคไม่มีอาการบ่งชี้แสดงให้เห็นว่ามีความผิดปกติ แต่จริงๆ แล้วความดันโลหิตสูงคืออะไร และจะป้องกันได้อย่างไร? ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่พบบ่อยซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้หลายอย่าง รวมถึงอาการหัวใจวาย ตาบอด และโรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูงเป็นภาวะที่คุณไม่สามารถรู้สึกได้ โดยปกติจะไม่มีสัญญาณเตือน คุณจึงอาจจะไม่รู้เลยว่ากำลังมีภาวะดังกล่าว ดังนั้นการตรวจวัดระดับความดันโลหิตเป็นประจำจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มใช้ยาตัวใหม่ตั้งแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงยิ่งขึ้นได้ วิธีที่ดีที่สุดที่จะทราบว่าคุณมีภาวะความดันโลหิตสูงหรือไม่ คือการตรวจระดับความดันโลหิตโดยแพทย์ ซึ่งมักตรวจทุกครั้งเมื่อคุณไปโรงพยาบาลในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าภายในปี …

สุขภาพจิตดี
สุขภาพ

ออกกำลังกายช่วยให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้จริงเหรอ

การออกกำลังกายมักเกี่ยวกับความเป็นอยู่ที่ดีทางกาย สิ่งที่คนส่วนใหญ่คาดหวังว่าจะได้รับจากการออกกำลังกายจึงเป็นรูปร่างสัดส่วนที่ดีและความแข็งแรง แต่คุณอาจจะสังเกตได้ว่า ไม่ว่าจะออกไปเดินเร็วกลางแจ้งหรือยกน้ำหนักในยิม หลังจากออกกำลังกายคุณจะรู้สึกพอใจหรือมีความสุข ความรู้สึกดีเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นแค่เพียงชั่วคราว ดังที่หลายงานวิจัยพบว่าการออกกำลังกายสามารถช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้นได้ การออกกำลังหายจึงมีข้อดีนอกเหนือไปจากสุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่ยังช่วยบรรเทาความเครียดชั่วคราว คลายความวิตกกังวล และช่วยให้ปัญหาสุขภาพจิตดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2007 นักวิจัยจากอิสราเอลค้นพบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเพียงหนึ่งชั่วโมงต่อสัปดาห์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เมื่อต้นปี 2017 สถาบันการกีฬาและวิทยาศาสตร์การกีฬาแห่งเยอรมนี พบว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำช่วยเพิ่มความสามารถของผู้เข้าร่วมวิจัยในการจัดการกับความเครียดในชีวิตจริง การออกกำลังกาย …

ดื้อยา
สุขภาพ

การดื้อยา: ทำความรู้จักกับการดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย

ยาปฏิชีวนะหรือที่เรียกว่ายาต้านแบคทีเรียเป็นยาที่ทำลายหรือชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย นับตั้งแต่การค้นพบเพนิซิลลินโดยอเล็กซานเดอร์ เฟลมมิงในปี 1928 ยาปฏิชีวนะได้ปกป้องและช่วยชีวิตผู้คนหลายร้อยล้านคนจากโรคติดเชื้อมากมาย อย่างไรก็ตาม ยาปฏิชีวนะใช้เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น และไม่สามารถใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสหรือโรคติดเชื้อปรสิตส่วนใหญ่ได้ และควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสมตามที่แพทย์ระบุเท่านั้น การใช้ยาปฏิชีวนะมากเกินไปจะทำให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์หลายล้านล้านชนิดซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และทรัพยากรสิ่งมีชีวิตบนโลกมีจำนวนลดลง แต่ในขณะเดียวกันจุลินทรีย์ดื้อยาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและทำให้ยากต่อการรักษาขึ้นเรื่อยๆ การหยุดใช้ยาปฏิชีวนะก่อนที่แพทย์กำหนดจะทำให้การรักษาในอนาคตไม่ได้ผล เนื่องจากแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้สัมผัสกับยาปฏิชีวนะไปแล้ว และอาจเกิดการดื้อต่อยาปฏิชีวนะได้ หากมีการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกวิธีและเกินจำเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จะส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากกว่าเกิดประโยชน์ เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่สร้างภัยพิบัติให้กับอารยธรรมยุคใหม่ การดื้อยาปฏิชีวนะกลายเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่งที่ประชากรโลกทั่วโลกกำลังเผชิญ ปัญหาเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะในประเทศไทย จากการศึกษาวิจัยสำคัญที่ถูกอ้างอิงอย่างกว้างขวางและตีพิมพ์ในปี …