รู้จัก 4 โรคร้ายแรง โรคฮิตที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย

เรื่องเจ็บไข้ได้ป่วยถือว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะดูแลสุขภาพดีแค่ไหน รวมไปถึงการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ฟังดูแล้วไกลตัวสำหรับคนทั่วไป โรคร้ายแรงเป็นโรคอาจไม่ได้เกิดขึ้นกับได้บ่อย ๆ และอาจไม่แสดงอาการให้เห็นตั้งแต่แรก แต่หากเกิดขึ้นแล้วก็เป็นโรคที่รักษายากและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงกว่าโรคทั่วไป Luma ขอชวนทุกคนมารู้จักโรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง และประกันโรคร้ายแรงจะเข้ามาบทบาทอย่างไรบ้างติดตามได้ในบทความนี้

ประกันโรคร้ายแรง คืออะไร

ก่อนที่จะไปรู้จักว่าโรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง เรามาทำความรู้จักประกันโรคร้ายแรงกันก่อนดีกว่า ประกันโรคร้ายแรง คือ แผนประกันที่มอบความคุ้มครองสำหรับการตรวจพบและเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งส่วนใหญ่จะมอบเป็นเงินก้อนเพื่อให้ผู้เอาประกันนำเงินก้อนนี้ไปใช้ในการรักษาตัวต่อไป 

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจมองว่าประกันสุขภาพที่ตนเองถืออยู่ก็น่าจะเพียงพอแล้ว แต่หากพิจารณาดูให้ดีจะพบว่า ประกันสุขภาพจะให้ความคุ้มครองเมื่อเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเท่านั้นและวงเงินความคุ้มครองส่วนใหญ่จะไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าปกติของโรคร้ายแรงได้
ดังนั้นประกันโรคร้ายแรงจึงเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องค่าใช้จ่ายที่อาจบานปลายในอนาคต

โรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง

หลังจากรู้จักประกันโรคร้ายแรงกันไปแล้วก็ได้เวลามาทำความรู้จักว่าโรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง โดยในที่นี้จะขอพูดถึง 4 โรคร้ายแรงสุดฮิตที่นอกจากจะเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยมากมายแล้ว ยังรักษาได้ยากและต้องใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์สูง และนำมาซึ่งค่าใช้จ่ายที่บานปลายอีกด้วย

โรคมะเร็ง โรคร้ายแรงอันดับหนึ่งในประเทศไทย

โรคร้ายมีอะไรบ้าง, รู้จัก 4 โรคร้ายแรง โรคฮิตที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย

โรคมะเร็งหรือ Cancer เป็นโรคที่สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โรคมะเร็งเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวมากกว่าปกติอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดก้อนเนื้อขึ้นภายในอวัยวะต่าง ๆ โดยมะเร็งที่พบในร่างกายมนุษย์มีมากกว่า 100 ชนิดด้วยกัน แต่มะเร็งที่พบบ่อยคือ มะเร็งตับ พบมากเป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทย รองลงมาคือ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากตามลำดับ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งสามารถทำได้โดยการผ่าตัดเอาก้อนที่เป็นมะเร็งออกไป การรักษาด้วยรังสีกำลังสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง และการใช้เคมีบำบัดหรือการใช้สารเคมีในการฆ่าเซลล์มะเร็ง ทั้งนี้อาจรักษาด้วยวิธีการเดียวหรือหลายวิธีขึ้นอยู่กับระยะของโรค ชนิดของเซลล์มะเร็ง อวัยวะ อายุ และสุขภาพร่างกายของผู้ป่วย อย่างไรก็ตามวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นจำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูงในการรักษาและการพักฟื้น

โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคร้ายแรงที่ไร้สัญญาณเตือน

coronary-heart-disease

โรคหลอดเลือดหัวใจหรือ Coronary Artery Disease ถือเป็นโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับที่ 2 รองจากโรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจถือเป็นฆาตกรเงียบเพราะเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการหรือความผิดปกติใด ๆ โดยโรคนี้เกิดจากการที่มีไขมันมาเกาะอยู่ที่ผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดการสะสมเป็นจำนวนมากจนหลอดเลือดหัวใจตีบและตัน ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านได้จนเกิดเป็นภาวะหัวใจขาดเลือดหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ซึ่งอาจส่งผลถึงชีวิตได้ ส่วนปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมาจากการพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน

โรคไตวายเรื้อรัง โรคร้ายอันตรายถึงชีวิต

kidney-fail-diseases

โรคไตวายเรื้อรังอีกโรคร้ายแรงที่น่ากลัวสำหรับใครหลายคน เพราะเป็นภาวะที่ไตถูกทำลายไปอย่างช้าๆ เป็นเวลานานจนกระทั่งถูกทำลายอย่างถาวร จะไม่สามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยโรคไตวายเรื้อรังจะไม่แสดงอาการใด ๆ ในระยะแรก แต่อาการของโรคจะเริ่มแสดงเมื่อไตถูกทำลายไปมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์แล้ว ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดขึ้นจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นพันธุกรรม การรับประทานอาหารรสจัด เค็มจัด หวานจัด เผ็ดจัด นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงยังมีความเสี่ยงอย่างมากในการเป็นโรคไตวายเรื้อรัง 

โรคไตวายเรื้อรังเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และกลับมาทำงานตามปกติได้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยสามารถชะลอการเสื่อมของไตได้โดยการควบคุมอาการของโรคประจำตัว ควบคุมการรับประทานอาหาร งดสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก แต่หากไตถูกทำลายจนถึงระยสุดท้ายแล้วก็จำเป็นที่จะต้องเลือกรักษาด้วย 3 วิธีต่อไปนี้ ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม การล้างไตทางช่องท้อง และการปลูกถ่ายไต ซึ่งอย่างที่ทราบกันดีว่ามีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงและต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จึงอาจทำให้ค่าใช้จ่ายบานปลายได้

โรคหัวใจล้มเหลว โรคร้ายที่มักเกิดเฉียบพลัน

heart-disease

โรคหัวใจล้มเหลวคือการภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะและส่วนต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอ รวมถึงไม่สามารถนำเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ จึงทำให้เกิดความดันเลือดในช่องปอด และเลือดคลั่งในปอดมากขึ้น ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดจึงมีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก แม้ในขณะพัก รวมถึงมีอาการบวมของร่างกาย โรคหัวใจล้มเหลวสามารถรักษาได้โดยการใช้ยา การฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าหัวใจ การผ่าตัดใส่เครื่องช่วยสูบฉีดเลือด และการผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ

ประกันโรคร้ายแรง สำคัญอย่างไร เหตุใดจึงควรซื้อ

จากข้อมูลด้านบนเกี่ยวกับโรคร้ายแรง มีอะไรบ้าง จะพบว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยและอันตรายมากกว่าที่หลายคนคาดคิด หลายโรคเป็นโรคที่ไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการเมื่ออาการรุนแรงแล้ว ซึ่งความคุ้มครองของประกันสุขภาพเพียงอย่างเดียวมักจะไม่เพียงพอในการรักษาพยาบาล หรือบางโรคไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องมีการติดตามอาการและพบแพทย์อยู่เสมอ จึงอาจทำให้เงินที่เตรียมไว้ในการรักษาตัวไม่เพียงพอจนหลายคนต้องทุบหม้อข้าวนำเงินที่เก็บออมไว้มาใช้เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาล ด้วยเหตุนี้ประกันโรคร้ายแรงจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ โดยประกันโรคร้ายแรงส่วนใหญ่จะมอบผลประโยชน์ในรูปแบบเงินก้อน ซึ่งผู้ป่วยสามารถนำเงินส่วนนี้เก็บไว้ใช้เพื่อรักษาตัวหรือเป็นมรดกให้แก่ลูกหลานหากเสียชีวิต นอกจากนี้ประกันโรคร้ายแรงยังมีเบี้ยประกันภัยที่ไม่แพงสำหรับผู้ที่อายุยังน้อยและยังสามารถนำไปลดหน่อยภาษีได้อีกด้วย

กรณีใดบ้างที่ประกันโรคร้ายแรงไม่คุ้มครอง

สำหรับความคุ้มครองของประกันโรคร้ายแรงจะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่เงื่อนไขและบริษัทประกันภัย ผู้เอาประกันภัยจึงควรศึกษาข้อมูล รายละเอียด และเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัยอย่างละเอียดก่อนทำการซื้อประกันโรคร้ายแรง

สรุป

โรคร้ายแรงมักจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ถึงแม้โรคจะไม่ได้เกิดขึ้นได้ง่าย ๆ กับทุกคน แต่ถ้าขึ้นชื่อว่าเป็นโรคร้ายแรง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ย่อมมีอันตรายถึงชีวิตและมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงตามมา การทำประกันโรคร้ายแรงเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นและเป็นการวางแผนอนาคตเพื่อตนเองและคนในครอบครัวในอนาค

Table of Contents

You May Also Like

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …

ประกันสุขภาพเด็ก
บทความ

ประกันสุขภาพเด็ก ควรคุ้มครองอะไรบ้างในปี 2567

ด้วยค่ารักษาโรงพยาบาลและค่าแพทย์ที่สูงขึ้นอย่างน่าตกใจ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายกำลังมองหาประกันสุขภาพเด็กที่มอบความคุ้มครองที่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสมัยนี้ และแน่นอน ในท้องตลาดมีให้เลือกเยอะแยะมากมาย บางครั้งอาจจะเลือกยากว่าควรเลือกประกันสุขภาพเด็กที่ไหนดี วันนี้ทาง LUMA เลยอยากจะมาชี้แจงให้เข้าใจกันแบบชัดๆ ง่ายๆ ว่า ประกันสุขภาพเด็กคุ้มครองอะไร และ ตรงไหนที่ควรให้ความสำคัญ ค่ารักษาผู้ป่วยใน ค่ารักษาแบบผู้ป่วยในหมายถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาโรคหรือบาดเจ็บที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล เรียกอีกชื่อว่า Inpatient Care หรือ …