โรคมือ เท้า ปาก! โรคใกล้ตัวที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้

hand foot mouth disease

หนึ่งโรคติดต่อในวัยเด็กที่มีความอันตรายต่อลูกน้อยจนพ่อแม่แทบทุกคนล้วนเป็นกังวลอย่างมากนั่นคือ “โรคมือเท้าปาก” เพราะนอกจากจะติดต่อระหว่างเด็กด้วยกันง่ายแล้ว เวลาต้องเห็นลูกมีอาการไม่สบายตัว ร้องไห้งอแง มันยิ่งทำให้คนเป็นพ่อแม่ปวดใจแบบไม่มีคำบรรยาย ลองมาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า โรคมือเท้าปาก คืออะไร มีอาการแบบไหน วิธีรักษาและการป้องกันโรคฮิตในวัยเด็กต้องทำยังไงบ้าง เพื่อให้ลูกห่างไกลจากความอันตรายเหล่านี้

โรคมือเท้าปาก คืออะไร มาทำความรู้จักกันเลย

โรคมือเท้าปาก คือ โรคที่เกิดจากในกลุ่มเอนเทอโรไวรัสซึ่งมีมากกว่า 100 สายพันธุ์ แต่สายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุคือ คอกซากีไวรัส เอ16 (Coxsackievirus A16) และ เอนเทอโรไวรัส 71 (Enterovirus 71)  หรือ EV 71 มักพบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ปกติแล้วอาการของโรคมักไม่ค่อยรุนแรงมากนัก ยกเว้นการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ไข้สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรืออัมพาตกล้ามเนื้อ ก็อาจสุ่มเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เช่นกัน

จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบุว่าโรคฮิตในวัยเด็กนี้มักเกิดกับเด็กอายุระหว่าง 0-4 ปี เป็นส่วนใหญ่ รองลงมาคือเด็กอายุ 5-9 ปี ซึ่งถ้าประเมินให้เห็นภาพง่ายขึ้น ช่วงวัยที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยมือเท้าปาก คือ เด็กในวัยเรียนที่ต้องอยู่ร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ ซึ่งสถานที่ระบาดของโรคมีได้ทั้งสถานรับเลี้ยงเด็ก โรงเรียนอนุบาล ศูนย์เด็กเล็ก ไปจนถึงโรงเรียนประถม หรือแม้แต่ในสนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า ก็อาจมีเชื้อเหล่านี้ปะปนอยู่ตามสิ่งของที่เด็กสัมผัสได้

โรคมือเท้าปาก ติดต่อได้อย่างไร

อย่างที่กล่าวไปกว่าโรคมือเท้าปากมาจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส ซึ่งสาเหตุของการเกิดโรคในวัยเด็กนี้มาจากการที่เด็กอาจสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่าง ๆ น้ำมูก น้ำลาย ไปจนถึงของเสียอย่างอุจจาระผู้ป่วย ไปจนถึงการสัมผัสเชื้อแบบทางอ้อม เช่น น้ำ อาหาร มือของพ่อแม่ ผู้เลี้ยงดู

จากนั้นเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายผ่านระบบทางเดินหายใจหรือการอมนิ้วมือที่สัมผัสเชื้อ การหยิบของโดยไม่ล้างมือเข้าปากก็ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมานั่นเอง ซึ่งความอันตรายอย่างหนึ่งของโรคมือเท้าปาก คือ ตัวเชื้อจะฟักตัวในร่างกายของเด็กประมาณ 1 สัปดาห์ และในระยะนี้สามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้แม้ตัวผู้มีเชื้อจะยังไม่แสดงอาการใด ๆ ก็ตาม นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าโรคนี้ระบาดและติดต่อกันได้ง่ายมาก

Hand foot mouth disease treament

อาการของโรคมือเท้าปากที่พ่อแม่ต้องคอยสังเกต

หากรู้ว่าลูกของคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อมือเท้าปาก เช่น มีการระบาดภายในโรงเรียนที่ลูกเรียนอยู่ หรือการพาไปสถานที่สาธารณะต่าง ๆ พ่อแม่ควรต้องสังเกตอาการมือเท้าปากให้ดี หากพบเจอความผิดปกติใดก็ตามจะได้รีบพบแพทบ์และเข้ารักษาอย่างทันท่วงที

ซึ่งอาการโรคมือเท้าปากหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 สัปดาห์ จะค่อย ๆ แสดงออก เริ่มจากอ่อนเพลีย รู้สึกตัวร้อนและมีไข้ต่ำ ๆ ประมาณ 38 องศาเซลเซียส จากนั้นอีกประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มรู้สึกเจ็บในช่องปากพร้อมกับมีตุ่มพองขนาดเล็กบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และตุ่มแผลบริเวณลิ้น กระพุ้งแก้ม เพดานปาก แล้วจึงแตกออกเป็นแผลหลุมแบบตื้น บางรายอาจเกิดตุ่มบริเวณรอบอวัยวะเพศ รอบก้น มีผื่นตามแขน ขา ลำตัว เบื่ออาหาร ทานได้น้อย เจ็บปากจนน้ำลายไหลออกมาเยอะ ซึ่งส่วนมากอาการจะเกิดประมาณ 1 สัปดาห์จากนั้นจะค่อย ๆ ทุเลาลง

อย่างไรก็ตามในบางรายที่มีภาวะแทรกซ้อนก็อาจแสดงความรุนแรงของโรคมากขึ้นซึ่งจุดนี้หลังจากเข้ารับการรักษาเบื้องต้นแล้วพ่อแม่ยังต้องคอยสังเกตลูกอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการที่บ่งบอกว่าควรรีบพบแพทย์อีกครั้งอย่างเร่งด่วน ได้แก่

  • ซึมลงชัดเจน ไม่อยากเล่น ไม่ทานอาหารหรือนม

  • ปวดศีรษะมากชนิดทนแทบไม่ไหว ร้องไห้งอแงตลอดแทบทุกเวลา

  • เพ้อ พูดไม่รู้เรื่อง สื่อสารไม่เข้าใจ เด็กบางคนบ่นว่าเห็นภาพแปลก ๆ

  • คอแข็ง ปวดช่วงต้นคอ อาเจียน รู้สึกสับสน

  • ตัวสั่น สะดุ้งหรือผวากับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

  • ไอ หายใจหอบเร็ว มีเสมหะเยอะ หน้าซีด หรืออาจมีไข้สูงร่วม ชัก เกร็ง ช็อกหมดสติ

โรคมือเท้าปากรักษาได้อย่างไร

ปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มียารักษาแบบเฉพาะทาง การรักษาเบื้องต้นหากเด็กติดเชื้อนี้ให้พ่อแม่คอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้น หากไม่แน่ใจว่ารุนแรงแค่ไหนรีบพาไปพบแพทย์เพื่อประเมินก่อน จากนั้นแพทย์จะรักษาตามความเหมาะสม ซึ่งเบื้องต้นพ่อแม่สามารถทำตามคำแนะนำของคุณหมอได้ดังนี้

  • มีไข้ รู้สึกปวดจากตุ่มแผลบริเวณต่าง ๆ ของร่างกายสามารถให้ทานยากลุ่มแก้ปวด ลดไข้ได้
  • บ้วนน้ำเกลือเพื่อดูแลสุขภาพช่องปากแทนการแปรงฟันหรือบ้วนน้ำยาล้างปากชั่วคราว (สำหรับเด็กโต) แนะนำให้ใช้น้ำเกลืออุณหภูมิปกติจะได้ผลลัพธ์ที่ดีทั้งเรื่องทำความสะอาดเชื้อโรคและล้างแผลไปในตัว
  • เน้นทานอาหารอ่อน กลืนง่าย ไม่ต้องเคี้ยวเยอะ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป ผลไม้เนื้อนิ่ม อาทิ กล้วย มันบด หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด หรืออาหาร-เครื่องดื่มร้อนจัด
  • ให้ลูกพยายามดื่มน้ำสะอาดมาก ๆ เข้าไว้ อย่างน้อยทุกครึ่งชั่วโมง ป้องกันปัญหาร่างกายขาดน้ำ แต่ถ้าเห็นว่าเด็กเพลียมากแนะนำพาไปพบแพทย์เพื่อให้น้ำเกลือจะดีที่สุด

สำหรับอาการโรคมือเท้าปากที่ไม่รุนแรงมากนัก ประมาณ 5-7 วัน เด็กก็จะเริ่มกลับมาเป็นปกติและหายจากโรคได้ไม่ยากเลย

โรคมือเท้าปาก ป้องกันได้อย่างไร

เมื่อโรคมือเท้าปากถือเป็นโรคติดต่อวัยเด็กที่พบเจอได้ตลอดและมีโอกาสระบาดได้ในทุกพื้นที่หากมีเด็กอยู่ร่วมกันจำนวนมาก การรู้วิธีป้องกันอย่างถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงไม่ให้ลูกน้อยสัมผัสเข้ากับเชื้อจนก่อให้เกิดโรค ซึ่งพ่อแม่สามารถบอกกล่าวสอนกับเด็ก และปฏิบัติตนเองได้ ดังนี้

  • สอนให้เด็กล้างมืออย่างสม่ำเสมอก่อนสัมผัสกับใบหน้าหรือหยิบของกินเข้าปาก โดยต้องฟอกสบู่หรือน้ำยาล้างมือทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการพาลูกไปในสถานที่มีการแพร่ระบาดของโรค เช่น ห้างสรรพสินค้า สนามเด็กเล่น ตลาด โรงภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์ หรือในกรณีที่รู้ว่าโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กที่ดูแลลูกอยู่เริ่มมีการระบาดก็ให้งดไปชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
  • ทำความสะอาดอุปกรณ์ภาชนะต่าง ๆ ที่เด็กต้องใช้ในการทานอาหาร ดื่มน้ำ ไม่ว่าจะเป็นจาน ชาม ช้อน ส้อม แก้วน้ำ ซึ่งตรงนี้ควรทำทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน (สถานศึกษาควรมีมาตรฐานในเรื่องนี้หากกำลังเกิดการแพร่ระบาด)
  • พยายามให้ลูกทานอาหารปรุงสุกใหม่ ใช้ช้อนกลางเสมอเมื่อต้องทานร่วมกับผู้อื่น และดื่มน้ำสะอาดด้วยแก้วของตนเองเท่านั้น
  • หากรู้ว่าลูกของตนเองเริ่มมีอาการป่วยแนะนำให้หยุดเรียนทันทีเพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไปสู่เด็กคนอื่น มีระยะเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • หมั่นซักเสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า สิ่งที่ต้องสัมผัสกับสารคัดหลั่งของเด็กให้สะอาด อย่าให้เข้านำกลับไปใช้ซ้ำ เพราะอาจมีเชื้อติดอยู่และเกิดการแพร่ระบาดไปยังผู้อื่นได้
  • สอนให้เด็กพยายามหลีกเลี่ยงไม่คลุกคลีคนที่ติดเชื้อมือเท้าปาก
  • หากสังเกตว่าลูกมีอาการของโรคแนะนำให้รีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจให้ชัดเจนและลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไปยังเด็กคนอื่น ๆ หรือแม้แต่ตัวผู้ปกครองก็ตาม

ประสบการณ์ โรคมือเท้าปาก จากพนักงานลูม่า

hand foot mouth disease baby thailand

ลูกชายคนโตของฉันเคยเป็นตอนอายุประมาณ 2-3 ขวบ ติดมาจากที่โรงเรียน ตอนนั้นนโยบายของโรงเรียน (โรงเรียนอนุบาลนานาชาติ) คือการปิดชั้นเรียนหากมีการติดโรคมือเท้าปาก มากกว่า 2 คน เพื่อให้ทางโรงเรียนได้ทำความสะอาด และจำกัดการแพร่กระจายภายในชั้นเรียนและไปยังชั้นเรียนอื่นๆ

ฉันรีบพาไปที่โรงพยาบาลแล้วให้แอดมิท นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลเพราะลูกไม่ยอมกินและอาการอาเจียนหนัก เลยเป็นห่วงเรื่องการขาดน้ำ พอถึงมือหมอ ก็รับเป็นคนไข้แล้วเฝ้าดูอาการลูกชาย มีการให้สารอาหารผ่านสายเลือดและน้ำเกลือ ตอนนั้นลูกคนแรก ก็กลัว กังวลไปหมดเลย 

ตอนนั้นครอบครัวฉันทำประกันสุขภาพเด็กกับบริษัทลูม่า และทุกอย่างได้รับความคุ้มครอง ไม่ได้มีค่าใช้จ่ายส่วนเกินอะไร พอถึงวันกลับบ้าน เซ็นเอกสาร แล้วกลับได้เลย เพราะเข้ารักษาที่โรงพยาบาลสมิติเวช เป็นหนึ่งในเครือข่ายของลูม่า ทำให้ไม่ต้องสำรองจ่ายหรืออะไรเลย

แต่เรื่องที่ตลกคือ ครอบครัวที่รักษาอยู่ตรงข้ามกับห้องลูกชายฉัน ก็คือ เด็กอีกคนที่เป็นโรค มือเท้าปาก จากโรงเรียน ในห้องเดียวกัน กลายเป็นว่า เราทั้ง 2 ครอบครัวเป็นต้นเหตุในการปิดชั้นเรียนในสัปดาห์นั้น

หลังจากนั้นไม่กี่ปี ลูกชายคนที่สองก็ติดโรคมือเท้าปากเหมือนกัน ตอนนั้นเขาอายุประมาณ 1 ขวบ ซึ่งตรงกับช่วงที่มีการประกาศล็อคดาวน์ครั้งแรกที่ไทย ฉันคิดว่าเขาน่าจะได้รับเชื้อจากพี่ชายเขาที่นำเชื้อกลับมาจากโรงเรียน อาการเขาไม่รุนแรงมาก มีแค่ไข้เล็กน้อย และมีจุดขึ้นที่เท้า ครั้งนั้นเลยไม่ได้พาไปหาหมอ รักษาเองที่บ้านแล้วคอยเฝ้าดูอาการเขา

  • -Thuyvan (แผนกการตลาด)

หลายชายของฉันเคยเป็นโรคมือเท้าปากตอนอายุประมาณ 2 ขวบ ตอนนั้นสังเกตเห็นผื่นแดงบนฝ่ามือของเขา และเห็นว่าเขาไม่ค่อยกินอาหาร  เลยตัดสินใจพาไปหาหมอที่โรงพยาบาล ตอนนั้นหมอก็แนะนำให้นอนแอดมิทไว้ดูอาการ

ระหว่างตอนที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาล หลานก็มีไข้ ไม่ค่อยกินข้าว ไม่อยากอาหาร และร้องไห้บ่อย จำไม่ค่อยได้ว่านานเท่าไรแต่น่าจะประมาณ 5 วันที่รักษาจนหาย

  • -Yha (แผนกเคลม)

You May Also Like

ประกันสุขภาพถือได้กี่ฉบับ
บทความ

ประกันสุขภาพถือได้กี่ฉบับ

ในการถือกรมธรรม์ประกันสุขภาพ สามารถถือได้มากกว่า 1 ฉบับ และคนส่วนใหญ่อาจจะเลือกที่จะถือมากกว่า 1 ฉบับ เพื่อกระจายความเสี่ยง และ นำความคุ้มครองมาเติมในส่วนที่อาจจะไม่เพียงพอ การที่ถือประกันสุขภาพหลายฉบับ ไม่ได้แปลว่าเคลมได้ทุกอย่างทุกครั้ง โดยอาจจะต้องพิจราณาการใช้งานตามนี้: 1. ประเภทของประกันสุขภาพ : การเรียกร้องค่าสินไหม หรือ การเคลม หากจะใช้ประกันมากกว่า …

ผู้เกี่ยวข้องในประกันสุขภาพ
บทความ

ผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันสุขภาพมีใครบ้าง

สำหรับมือใหม่ที่พึ่งทำความรู้จักกับวงการประกันภัยอาจจะเกิดความไม่เข้าใจหรือสงสัยเกี่ยวกับคำเรียกบุคคลต่างๆที่อยู่ในกรมธรรม์ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายถึงความหมายและความแตกต่างของบุคคลเหล่านี้ให้ฟังกัน ผู้รับประกันภัย คือ คู่สัญญาฝ่ายที่ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย โดยทั่วไปผู้รับประกันคือ บริษัทประกันภัย ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับประกัน มีบทบาทสำคัญใน การบริหารจัดการความเสี่ยง และ การให้ความคุ้มครอง แก่ผู้เอาประกันภัย หน้าที่หลักของผู้รับประกันภัย คือ  – รับความเสี่ยงแทนผู้เอาประกันภัย – ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ …

Free Look Period คือ
บทความ

Free Look Period คืออะไร?

สำหรับใครที่พึ่งเริ่มศึกษาเกี่ยวกับการทำประกัน เรื่องสำคัญที่จำเป็นต้องรู้อีกเรื่องหนึ่งเพื่อไม่ให้เสียสิทธิของตัวเองหลังจากการซื้อกรมธรรม์แล้วคือ Free Look Period หรือ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ เป็นสิทธิ์ที่บริษัทประกันภัยมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัยหลังจากการซื้อกรมธรรม์ประกันภัยฉบับใหม่ เพื่อให้ผู้เอาประกันภัยมีเวลาศึกษารายละเอียดและตัดสินใจว่าต้องการยกเลิกกรมธรรม์หรือยังคงต้องการความคุ้มครองต่อไป โดยหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ภายในระยะเวลาพิจารณานี้จะไม่ต้องเสียค่าปรับใดๆ ระยะเวลาสำหรับ ‘ระยะเวลาพิจารณา’ (Free Look Period) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 15 วันสำหรับการติดต่อซื้อประกันกับทางตัวแทนหรือผ่านระบบธนาคาร และ 30 …